จากข้อมูลปี 2561 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่จัดการขยะไม่ถูกต้องและปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และ 80% ของขยะทะเลทั้งหมดมาจากกิจกรรมบนบกที่เกิดจากชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน เหล่านี้เป็นอีกส่วนที่สร้างความวิตกถึงปัญหาในการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากปัญหาขยะในทะเลจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศในทะเล สัตว์น้ำน้อยใหญ่ และแนวปะการังแล้ว ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สุขอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วปัญหาขยะในทะเลไม่ใช่เรื่องไกลตัวของประชาชนทุกคนเลย
คุณโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย และผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากปัญหาขยะทะเลในภาพกว้างว่า

“ปัจจุบันปัญหาขยะทะเลสร้างผลเสียอย่างร้ายแรงในหลาย ๆ มิติ ที่เห็นประจักษ์ชัดเจนก็คือสภาพภูมิทัศน์ทางทะเลที่ไม่สวยงาม สิ่งที่ตามมาก็คือสุขอนามัยที่แหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งเรื่องรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของระบบเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และภาคการผลิตโดยรวม ผลเสียจึงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่อยู่ริมทะเลเท่านั้น ขยะทะเลจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราทุกคนเลย”

สิ่งที่เราต้องยอมรับประการหนึ่ง คือ แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายและแนวคิดในการยกให้ปัญหาขยะทะเลเป็นวาระแห่งชาติ แต่เนื่องจากบุคลากรที่มีจำกัดย่อมไม่เพียงพอต่อการปฎิบัติงานทุกพื้นที่ในประเทศ หัวใจสำคัญของการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นจังหวะและโอกาสอันดีที่ทางเอสซีจีได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทาง ทช. โดยใช้ความถนัดในเรื่องนวัตกรรมเข้ามาเสริมและเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดขยะทะเล

“ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทางเอสซีจีมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เมื่อสองภาคส่วนได้ผนึกกำลังเพื่อจะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีปัญหาขยะทะเล ซึ่งปัญหาขยะในแหล่งน้ำมีอยู่สองแบบคือขยะลอยน้ำและจมน้ำ ส่วนที่จมน้ำต้องให้เจ้าหน้าที่เราไปดำเก็บกู้ขึ้นมา ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงมาก เพราะฉะนั้นวิธีการที่ง่ายกว่าก็คือการเก็บขยะที่ยังไม่ทันจมลงน้ำซึ่งได้หารือกับทางเอสซีจีในการเข้ามาช่วยคิดค้นนวัตกรรมเรื่องทุ่นกักขยะลอยน้ำขึ้นมา”

“ทาง ทช.ได้ลงนามความร่วมมือกับเอสซีจีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะดำเนินการใน 13 จังหวัด 24 พื้นที่ ซึ่งเมื่อดำเนินการครบทุกจุดแล้วเราจะเอาผลทั้งหมดมาประมวล อย่างไรก็ตาม ขยะที่เก็บขึ้นมาได้ใช่ว่าจะนำไปกำจัดในทันที ต้องเอามาวิเคราะห์ ประเมินว่ามีขยะประเภทไหนเท่าไหร่บ้าง และต่อไปจะกำหนดมาตรการกับขยะ เหล่านั้นอย่างไร ซึ่งหวังว่าเมื่อเสร็จสิ้นพื้นที่นำร่องใน 24 พื้นที่แล้ว เราจะได้ผลเพื่อมากำหนดมาตรการในเชิงกลยุทธ์ได้ต่อไป”

จากการทำงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า 10 ปีในหลากหลายโครงการ เช่น โครงการบ้านปลา ในครั้งนี้เอสซีจีได้นำประสบการณ์มาร่วมพัฒนา “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” ต่อยอดจากทุ่นดักขยะแบบเดิมของทาง ทช. เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการกักเก็บขยะให้เหมาะกับสภาวะแวดล้อมการใช้งานจริง คุณน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์และกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้

“ทาง ทช. ได้เริ่มต้นการทำทุ่นดักขยะอยู่ก่อนในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วพบปัญหาว่า ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จะมีขยะที่ดักไว้หลุดออกนอกทุ่นกลับสู่แหล่งน้ำ จึงได้หารือกันว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันขยะไม่ให้หลุดออกไป ทางเอสซีจีจึงเสนอว่าควรทำทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิดปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งสามารถกักเก็บขยะไว้ได้เป็นอย่างดี เราได้พัฒนาและเริ่มวางใช้งานเป็นโครงการนำร่องในพื้นที่ 13 จังหวัด ทั้งหมด 24 จุด ทั่วประเทศ คาดว่าภายใน 6 เดือนจะช่วยกักขยะได้ประมาณ 30 ตัน”


การทำงานของทีมเอสซีจีไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงความสำเร็จของทุ่นกักขยะเท่านั้น แต่ยังคงวางแผนการจัดการขยะปลายทางและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันไปด้วย

“อีกประเด็นสำคัญที่เราได้วางแผนร่วมกันก็คือ หลังจากที่ได้ขยะทะเลขึ้นมาแล้ว ทีมงานเอสซีจีก็จะไปหารือกับแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นอย่างไร รวมถึงพูดคุยและให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่เก็บขึ้นมาแก่ชุมชนในพื้นที่ จากนั้นก็มีการทำฐานข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำผลกลับไปวางแผนการลดปริมาณขยะแต่ละประเภท การนำขยะที่ได้ไปสร้างมูลค่าหรือนำไปฝังกลบอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้กลับลงสู่แม่น้ำอีก”
จากทุ่นเก็บขยะที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทีมวิศวกรของทางบริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง AI, IoT และ Machine-Learning จนได้เป็นต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่เคยเป็นข้อจำกัด โดยคุณวุฒิชัย ชัยนันท์ฤทธิกุล Innovation Technology Center Manager บริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด เล่าให้เราฟังถึงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะตัวนี้

“หลังจากได้รับโจทย์ที่ชัดเจนจากทางทช.คือ ทำอย่างไรไม่ให้มีขยะแม้แต่ชิ้นเดียวหลุดจากพื้นที่ปากแม่น้ำลงสู่ทะเล เพราะเราไม่มีทางทราบได้เลยว่าขยะชิ้นที่หลุดไปนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรกับสิ่งมีชีวิตในทะเลบ้าง รวมถึงไม่ให้กีดขวางการสัญจรทางน้ำจากการทำงานของเรา ดังนั้น ทีมงานจะต้องสร้างหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำในการแยกแยะระหว่างขยะและสิ่งที่ไม่ใช่ขยะ และมีความสามารถในการเก็บขยะมาจัดเก็บในพื้นที่ที่กำหนด พร้อมทั้งมีระบบสื่อสารเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพสูงสุด”
ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา คุณอัมรินทร์ เมฆฉาย Equipment Technology Development & Simulation Engineer และทีมวิศวกรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาทั้งการออกแบบเครื่องกล เรือ กลไก วงจร รวมถึงการเขียนโปรแกรม ซึ่งนับเป็นงานที่ท้าทายมากสำหรับทีมงาน ทั้งหมดนี้เพื่อสร้าง “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

“จุดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้ขอแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกที่เป็นไฮไลต์คือความฉลาด สามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นขยะได้และมีความแม่นยำสูงมาก เนื่องจากขยะอยู่ในน้ำมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาตามคลื่นและกระแสน้ำ ตัวหุ่นยนต์เองก็เคลื่อนที่ตลอดเวลา หลังจากประเมินพบสิ่งที่เป็นขยะแล้ว การจะเข้าไปเก็บขยะได้นั้นจะต้องเคลื่อนที่ไปพร้อมกับคำนวณระยะทางการลอยหนีของขยะ เมื่อได้ระยะเหมาะสมจึงจะเปิดสายพานด้านหน้าเก็บขยะเข้ามา ซึ่งทั้งหมดใช้การคำนวณผ่านโปรแกรมที่เราออกแบบไว้”
“ส่วนที่สองก็คือ การเคลื่อนที่ด้วยกังหันจะช่วยเติมอากาศเข้าไปในน้ำได้ด้วย เป็นการเพิ่มออกซิเจน สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำก็จะได้รับประโยชน์ อีกทั้งกังหันจะช่วยพัดไม่ให้เศษขยะต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวติดกับหุ่นยนต์ได้”

“และส่วนสุดท้ายคือ การใช้ระบบ IoT เก็บข้อมูลเซ็นเซอร์ทุกตัวที่อยู่ในหุ่นตัวนี้ ทั้งปริมาณขยะที่เก็บได้ต่อเที่ยว ต่อวันเป็นเท่าไหร่ ตรวจสอบสถานะการทำงานว่าเป็นปกติหรือเกิดการขัดข้องที่จุดไหนหรือเปล่า และที่สำคัญคือระบุตำแหน่งการทำงานว่าหุ่นเคลื่อนที่ออกไปเกินขอบเขตหรือไม่ ทั้งหมดสามารถรู้ได้โดยใช้ระบบ IoT เชื่อมผ่านอินเตอร์เน็ต” ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นความภูมิใจที่ได้สร้างนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว ยังเป็นความภูมิใจที่ได้สร้างผลงานมาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของทั้งมนุษย์เราและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ
แม้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาขยะในทะเลได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนก็คือ ความร่วมมือจากประชาชนทุกคนที่จะต้องช่วยป้องกันการเกิดขยะทะเลตั้งแต่ต้นทาง สิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ตั้งแต่วันนี้เลยก็คือ การรู้จักใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าที่สุด และเมื่อไม่ใช้แล้วก็ดูแลจัดการขยะของตัวเราเองโดยการทิ้งขยะให้ถูกที่ เริ่มคัดแยกขยะที่บ้านของเราเอง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปบริหารจัดการต่อได้อย่างถูกวิธี ซึ่งผลดีที่เกิดขึ้นก็ย่อมสะท้อนกลับมาสร้างสังคมที่น่าอยู่ให้กับเราและคนรุ่นหลังต่อไป
คุณโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย และผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากปัญหาขยะทะเลในภาพกว้างว่า

“ปัจจุบันปัญหาขยะทะเลสร้างผลเสียอย่างร้ายแรงในหลาย ๆ มิติ ที่เห็นประจักษ์ชัดเจนก็คือสภาพภูมิทัศน์ทางทะเลที่ไม่สวยงาม สิ่งที่ตามมาก็คือสุขอนามัยที่แหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งเรื่องรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของระบบเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และภาคการผลิตโดยรวม ผลเสียจึงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่อยู่ริมทะเลเท่านั้น ขยะทะเลจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราทุกคนเลย”

สิ่งที่เราต้องยอมรับประการหนึ่ง คือ แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายและแนวคิดในการยกให้ปัญหาขยะทะเลเป็นวาระแห่งชาติ แต่เนื่องจากบุคลากรที่มีจำกัดย่อมไม่เพียงพอต่อการปฎิบัติงานทุกพื้นที่ในประเทศ หัวใจสำคัญของการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นจังหวะและโอกาสอันดีที่ทางเอสซีจีได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทาง ทช. โดยใช้ความถนัดในเรื่องนวัตกรรมเข้ามาเสริมและเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดขยะทะเล

“ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทางเอสซีจีมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เมื่อสองภาคส่วนได้ผนึกกำลังเพื่อจะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีปัญหาขยะทะเล ซึ่งปัญหาขยะในแหล่งน้ำมีอยู่สองแบบคือขยะลอยน้ำและจมน้ำ ส่วนที่จมน้ำต้องให้เจ้าหน้าที่เราไปดำเก็บกู้ขึ้นมา ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงมาก เพราะฉะนั้นวิธีการที่ง่ายกว่าก็คือการเก็บขยะที่ยังไม่ทันจมลงน้ำซึ่งได้หารือกับทางเอสซีจีในการเข้ามาช่วยคิดค้นนวัตกรรมเรื่องทุ่นกักขยะลอยน้ำขึ้นมา”

“ทาง ทช.ได้ลงนามความร่วมมือกับเอสซีจีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะดำเนินการใน 13 จังหวัด 24 พื้นที่ ซึ่งเมื่อดำเนินการครบทุกจุดแล้วเราจะเอาผลทั้งหมดมาประมวล อย่างไรก็ตาม ขยะที่เก็บขึ้นมาได้ใช่ว่าจะนำไปกำจัดในทันที ต้องเอามาวิเคราะห์ ประเมินว่ามีขยะประเภทไหนเท่าไหร่บ้าง และต่อไปจะกำหนดมาตรการกับขยะ เหล่านั้นอย่างไร ซึ่งหวังว่าเมื่อเสร็จสิ้นพื้นที่นำร่องใน 24 พื้นที่แล้ว เราจะได้ผลเพื่อมากำหนดมาตรการในเชิงกลยุทธ์ได้ต่อไป”

จากการทำงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า 10 ปีในหลากหลายโครงการ เช่น โครงการบ้านปลา ในครั้งนี้เอสซีจีได้นำประสบการณ์มาร่วมพัฒนา “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” ต่อยอดจากทุ่นดักขยะแบบเดิมของทาง ทช. เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการกักเก็บขยะให้เหมาะกับสภาวะแวดล้อมการใช้งานจริง คุณน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์และกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้

“ทาง ทช. ได้เริ่มต้นการทำทุ่นดักขยะอยู่ก่อนในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วพบปัญหาว่า ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จะมีขยะที่ดักไว้หลุดออกนอกทุ่นกลับสู่แหล่งน้ำ จึงได้หารือกันว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันขยะไม่ให้หลุดออกไป ทางเอสซีจีจึงเสนอว่าควรทำทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิดปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งสามารถกักเก็บขยะไว้ได้เป็นอย่างดี เราได้พัฒนาและเริ่มวางใช้งานเป็นโครงการนำร่องในพื้นที่ 13 จังหวัด ทั้งหมด 24 จุด ทั่วประเทศ คาดว่าภายใน 6 เดือนจะช่วยกักขยะได้ประมาณ 30 ตัน”


การทำงานของทีมเอสซีจีไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงความสำเร็จของทุ่นกักขยะเท่านั้น แต่ยังคงวางแผนการจัดการขยะปลายทางและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันไปด้วย

“อีกประเด็นสำคัญที่เราได้วางแผนร่วมกันก็คือ หลังจากที่ได้ขยะทะเลขึ้นมาแล้ว ทีมงานเอสซีจีก็จะไปหารือกับแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นอย่างไร รวมถึงพูดคุยและให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่เก็บขึ้นมาแก่ชุมชนในพื้นที่ จากนั้นก็มีการทำฐานข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำผลกลับไปวางแผนการลดปริมาณขยะแต่ละประเภท การนำขยะที่ได้ไปสร้างมูลค่าหรือนำไปฝังกลบอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้กลับลงสู่แม่น้ำอีก”
จากทุ่นเก็บขยะที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทีมวิศวกรของทางบริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง AI, IoT และ Machine-Learning จนได้เป็นต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่เคยเป็นข้อจำกัด โดยคุณวุฒิชัย ชัยนันท์ฤทธิกุล Innovation Technology Center Manager บริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด เล่าให้เราฟังถึงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะตัวนี้

“หลังจากได้รับโจทย์ที่ชัดเจนจากทางทช.คือ ทำอย่างไรไม่ให้มีขยะแม้แต่ชิ้นเดียวหลุดจากพื้นที่ปากแม่น้ำลงสู่ทะเล เพราะเราไม่มีทางทราบได้เลยว่าขยะชิ้นที่หลุดไปนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรกับสิ่งมีชีวิตในทะเลบ้าง รวมถึงไม่ให้กีดขวางการสัญจรทางน้ำจากการทำงานของเรา ดังนั้น ทีมงานจะต้องสร้างหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำในการแยกแยะระหว่างขยะและสิ่งที่ไม่ใช่ขยะ และมีความสามารถในการเก็บขยะมาจัดเก็บในพื้นที่ที่กำหนด พร้อมทั้งมีระบบสื่อสารเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพสูงสุด”
ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา คุณอัมรินทร์ เมฆฉาย Equipment Technology Development & Simulation Engineer และทีมวิศวกรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาทั้งการออกแบบเครื่องกล เรือ กลไก วงจร รวมถึงการเขียนโปรแกรม ซึ่งนับเป็นงานที่ท้าทายมากสำหรับทีมงาน ทั้งหมดนี้เพื่อสร้าง “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

“จุดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้ขอแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกที่เป็นไฮไลต์คือความฉลาด สามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นขยะได้และมีความแม่นยำสูงมาก เนื่องจากขยะอยู่ในน้ำมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาตามคลื่นและกระแสน้ำ ตัวหุ่นยนต์เองก็เคลื่อนที่ตลอดเวลา หลังจากประเมินพบสิ่งที่เป็นขยะแล้ว การจะเข้าไปเก็บขยะได้นั้นจะต้องเคลื่อนที่ไปพร้อมกับคำนวณระยะทางการลอยหนีของขยะ เมื่อได้ระยะเหมาะสมจึงจะเปิดสายพานด้านหน้าเก็บขยะเข้ามา ซึ่งทั้งหมดใช้การคำนวณผ่านโปรแกรมที่เราออกแบบไว้”
“ส่วนที่สองก็คือ การเคลื่อนที่ด้วยกังหันจะช่วยเติมอากาศเข้าไปในน้ำได้ด้วย เป็นการเพิ่มออกซิเจน สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำก็จะได้รับประโยชน์ อีกทั้งกังหันจะช่วยพัดไม่ให้เศษขยะต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวติดกับหุ่นยนต์ได้”

“และส่วนสุดท้ายคือ การใช้ระบบ IoT เก็บข้อมูลเซ็นเซอร์ทุกตัวที่อยู่ในหุ่นตัวนี้ ทั้งปริมาณขยะที่เก็บได้ต่อเที่ยว ต่อวันเป็นเท่าไหร่ ตรวจสอบสถานะการทำงานว่าเป็นปกติหรือเกิดการขัดข้องที่จุดไหนหรือเปล่า และที่สำคัญคือระบุตำแหน่งการทำงานว่าหุ่นเคลื่อนที่ออกไปเกินขอบเขตหรือไม่ ทั้งหมดสามารถรู้ได้โดยใช้ระบบ IoT เชื่อมผ่านอินเตอร์เน็ต” ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นความภูมิใจที่ได้สร้างนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว ยังเป็นความภูมิใจที่ได้สร้างผลงานมาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของทั้งมนุษย์เราและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ
แม้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาขยะในทะเลได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนก็คือ ความร่วมมือจากประชาชนทุกคนที่จะต้องช่วยป้องกันการเกิดขยะทะเลตั้งแต่ต้นทาง สิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ตั้งแต่วันนี้เลยก็คือ การรู้จักใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าที่สุด และเมื่อไม่ใช้แล้วก็ดูแลจัดการขยะของตัวเราเองโดยการทิ้งขยะให้ถูกที่ เริ่มคัดแยกขยะที่บ้านของเราเอง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปบริหารจัดการต่อได้อย่างถูกวิธี ซึ่งผลดีที่เกิดขึ้นก็ย่อมสะท้อนกลับมาสร้างสังคมที่น่าอยู่ให้กับเราและคนรุ่นหลังต่อไป