อนาคตของโลกฝากไว้ในมือทุกคน เพียงเริ่มต้นจากการจัดการขยะ

อนาคตของโลกฝากไว้ในมือทุกคน เพียงเริ่มต้นจากการจัดการขยะ
อนาคตของโลกฝากไว้ในมือทุกคน เพียงเริ่มต้นจากการจัดการขยะ
ในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา การจัดการขยะคือเรื่องที่ประชากรโลกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ จากการที่เราเริ่มเห็นผลกระทบที่ปรากฏเป็นรูปธรรมจากขยะที่ไม่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องตามกระบวนการ ประเด็นที่ถูกพูดถึงนอกจากจะเป็นเรื่องการแยกขยะและจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดการเกิดขยะ และเพิ่มการหมุนเวียนวัสดุให้กลับมาใช้งานอย่างคุ้มค่าสูงสุด
 
 

 
 
ผู้ประกอบการกับการปรับตัว
 
‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ (Circular Economy) คือคีย์เวิร์ดที่ครอบคลุมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เริ่มต้นที่การผลิตอย่างรับผิดชอบ การใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การกำจัดอย่างถูกวิธี และการหมุนเวียนวัสดุนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดการเกิดขยะ ทั้งหมดนี้เป็นพันธกิจสำคัญสำหรับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่จะต้องปรับตัวในการทำธุรกิจที่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดของเสียให้น้อยลง เพิ่มคุณค่าของวัสดุให้มากขึ้น
 
 

 
 
หันกลับมามองทางฝั่งของผู้ประกอบการเอง ในฐานะผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภค ยังต้องเพิ่มอีกข้อสำคัญ คือการปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากส่วนของเจ้าของแบรนด์ ที่ปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์เริ่มมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับคุณภาพของสินค้า ที่ยังคงตอบความต้องการของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น การปรับรูปลักษณ์การใช้งานให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลหลังใช้งานเสร็จ การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นวัสดุทางเลือกในการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการแนะนำการกำจัดอย่างถูกวิธี หรือเปิดช่องทางรับขยะจากการบริโภคให้กลับเข้ามาในระบบรีไซเคิลอีกครั้ง ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน
 
ในส่วนผู้ผลิต นวัตกรรมเป็นคำตอบที่ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวัสดุและกระบวนการผลิตที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตั้งแต่การผลิตสินค้าที่ทนทาน อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ยืดวงรอบการใช้งานวัสดุอย่างคุ้มค่า การเลือกใช้หรือพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นวัฏจักร เริ่มต้นที่การลดปริมาณของเสีย และลดการใช้พลังงานระหว่างกระบวนการผลิต นวัตกรรมวัสดุรักษ์โลกที่ง่ายต่อการจัดการปลายทาง ไปจนถึงขั้นตอนการจัดส่งที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด
 
 

 
 
อีกส่วนสำคัญนอกเหนือจากผู้ประกอบการ คือ ผู้บริโภคเองที่เริ่มตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในทุกครั้งที่เกิดการเลือกซื้อสินค้าใด ๆ ก็ตาม เพราะพฤติกรรมการเลือกของผู้บริโภคเองเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการต้องค้นหาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่ตอบความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ที่ใส่ใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าใจรายละเอียดของสินค้าที่ตัวเองใช้งานมากขึ้นกว่ายุคก่อน โดยยึดหลัก “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” นับเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
 
เอสซีจี กับ ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน”
 
ทิศทางธุรกิจของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในปี 2564 จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้าง “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตวัสดุต้นทาง ด้วยการศึกษาค้นคว้าและเสาะหานวัตกรรมที่ตอบโจทย์คุณภาพของสินค้า พร้อมกับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs)  โดยได้วางโรดแมป 4 ด้านตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เอสซีจีขับเคลื่อนมาโดยตลอด
 
 

 
 
เริ่มต้นจากการพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกและโซลูชัน โดยออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย โดยยังคงคุณสมบัติด้านการใช้งานไว้อย่างครบถ้วน (Design for Recyclability) ยกตัวอย่างที่จะเห็นต่อไปในคอลัมน์นวัตกรรมนั่นคือ SMXTM Technology ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดพลาสติก จึงใช้งานเม็ดพลาสติกน้อยลงโดยยังคุณสมบัติที่ดีเช่นเดิม
 
 

 
 
ลำดับถัดมาคือ การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post-Consumer Recycled Resin) โดยเป็นการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานจากผู้บริโภคกลับมารีไซเคิล ตอบโจทย์ผู้ผลิตบรรจุภัณธ์พลาสติกและเจ้าของแบรนด์ระดับโลก นับเป็นการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างทางเลือกการใช้งานวัสดุ ส่งเสริมการใช้งานวัสดุให้เกิดคุณค่าสูงสุด
 
 

 
 
การนำพลาสติกใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Advanced Recycling Process) โดยพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Recycled Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ ช่วยลดขยะสะสม และสร้างโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
และสุดท้ายคือการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastics จากวัตถุดิบทางการเกษตร ด้วยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาทั้งกับภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อค้นหาองค์ความรู้จากธรรมชาติที่จะตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้บริโภคให้เกิดทั้งประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพสินค้า และเป็นกลไกที่ช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
 
 

 
 
บทบาทสำคัญของผู้ประกอบการในยุคนี้ จึงเป็นเรื่องของการค้นหาเทคนิค วิธีการ และนวัตกรรม โดยกำหนดให้สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคคือเป้าหมายที่จะร่วมเดินทางไปข้างหน้าพร้อมกัน เพราะทุกคนคือส่วนหนึ่งของการสร้างอนาคตของโลกใบนี้ให้เติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน