จากจุดเริ่มต้นด้วยการทอผ้าไตรจีวรในงานจุลกฐินเมื่อปี 2556 มาในวันนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ประสบความสำเร็จกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตผืนผ้าจากเส้นใยที่ได้จากขยะเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรมอย่างใบสับปะรด และกำลังก้าวสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งใหม่กับผ้าทอผสมเส้นใยพลาสติกรีไซเคิล ผลงานจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่มุ่งส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน

คุณพัทธกานต์ วัฒนสหโยธิน ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอปลวกแดง คือผู้นำคนสำคัญที่รวบรวมกลุ่มชาวบ้านและผลักดันการคิดต่อยอดเพื่อสร้างผืนผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดระยอง

“จากเริ่มแรกที่เราทอผ้าจุลกฐินด้วยกี่โบราณเพียงอย่างเดียว ในปี 2558 เราเริ่มมีแนวคิดในการทำผ้าทอมือย้อมใบมังคุด ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าออกจำหน่าย ระหว่างนั้นก็มีความคิดตั้งคำถามว่า วัตถุดิบในครัวเรือนอะไรที่จะสามารถนำมาต่อยอดเป็นผ้าที่สะท้อนเรื่องราวของชุมชนได้บ้าง เราเลยมองไปที่คำขวัญของอำเภอปลวกแดง ซึ่งมีท่อนหนึ่งว่า ‘สับปะรดหวานฉ่ำ’ ซึ่งสับปะรดมันเป็นผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบลเรา พอปลูกเสร็จ ถึงเวลาเก็บเกี่ยวเกษตรกรก็จะเอาหักเอาแค่ผล แล้วก็ตีใบทิ้ง เราเลยมีความคิดที่ว่า ความเหนียวของใบสับปะรดน่าจะนำมาทอเป็นผ้าได้”


กระบวนการพัฒนาเส้นใยสับปะรดจึงเริ่มต้นขึ้นจากความพยายามลองผิดลองถูก บวกกับการศึกษาจุดดีจุดด้อยจากตัวอย่างผ้าใยสับปะรดของประเทศฟิลิปปินส์ สู่การปรับกระบวนการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ใช้งาน และประสบความสำเร็จเป็นผ้าใยสับปะรดในปี 2561 โดยใช้เส้นใยสับปะรดผสมกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 40 ต่อ 60 ซึ่งนำเอาข้อดีเรื่องความเหนียวของเส้นใยสับปะรดมาผนวกกับความนุ่มของเส้นใยฝ้ายได้ลงตัว

“ข้อดีของผ้าใยสับปะรดคือความเหนียว ทนต่อน้ำยาซักผ้าและการปั่นซักด้วยเครื่อง จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าได้มากกว่า รวมทั้งเนื้อผ้าก็จะมีเสน่ห์ที่สีของใยสับปะรดจะอยู่ในเนื้อผ้า พร้อมกับคุณสมบัติช่วยขัดผิวระหว่างการสวมใส่ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบง่าย ๆ ด้วยการนำเส้นใยไปตำในครกหินเพื่อกำจัดความคมของปลายใย ทำให้ผ้านุ่มขึ้น แก้ปัญหาเนื้อผ้าขูดผิวจนระคายเคืองจากเดิมที่พบในผ้าใยสับปะรดของฟิลิปปินส์ อีกอย่างหนึ่งคือเส้นใยสับปะรดจะดูดซับเหงื่อของเราได้ดี จึงสวมใส่สบาย”

การพัฒนากระบวนการผลิตนั้น นอกเหนือจากการคิดค้นวิธีการเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยให้ดีแล้ว ยังรวมถึงการประยุกต์เครื่องรีดใบ จากเดิมที่ต้องใช้แรงงานขูดใบด้วยช้อน เครื่องรีดใบเช่นนี้ช่วยให้รีดเส้นใยออกมาได้เร็วขึ้น และลดปัญหาการกระตุกใบกลับจากเครื่องแบบเดิม ๆ ที่มีในท้องตลาด ทั้งหมดเกิดจากการพัฒนาโดยกลุ่มชาวบ้านเองทั้งสิ้น

“เรามาพบกับทางเอสซีจีในงานแสดงสินค้า ได้ทราบว่าทางเอสซีจีมีการวิจัยเรื่องเส้นใยพลาสติกจากการรีไซเคิล จึงได้ทำการทดลองร่วมกันว่าจะผสมเส้นใยพลาสติกเข้ากับผ้าได้อย่างไรบ้าง ในตอนนี้เราใช้เส้นใยของเราเป็นเส้นยืน (แนวตั้ง) และใช้เส้นใยพลาสติกเป็นเส้นพุ่ง (แนวนอน) ซึ่งก็อยู่ระหว่างการพัฒนาสูตรผสมต่อไปว่า ควรใช้อัตราส่วนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม รวมทั้งกระบวนการทออาจจะยากกว่าการทอฝ้ายธรรมดา เพราะด้วยหลักการที่ว่าให้ฝ้ายให้ความนุ่ม ฝ้ายจึงสามารถเกาะเกี่ยวเส้นใยให้ไม่หลุดรุ่ย แต่ด้วยคุณสมบัติของใยพลาสติกคือความลื่น ผ้าที่ออกมาอาจยังมีรูปทรงไม่คงที่ ต้องใช้ทักษะความชำนาญในขั้นตอนการทอมากขึ้น แต่อย่างน้อยทีมเราก็ได้เปิดมุมมองความรู้ว่าไม่เพียงแค่ฝ้ายเท่านั้นที่ทำได้ เส้นพลาสติกก็สามารถทอเป็นผืนผ้าได้เช่นกัน”

ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ทอผ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่ผู้พัฒนาเส้นใยพลาสติกเพื่อคิดค้นหารูปแบบการผลิตผืนผ้าที่สวยงามและใช้งานได้ดี ซึ่งนอกจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดแล้ว ทางเอสซีจีเองก็ให้การสนับสนุนเครื่องมือในการต่อยอดอาชีพเพิ่มเติม เช่น การมอบกี่กระตุก ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการผลิตได้มากกว่ากี่โบราณที่ใช้งานกันอยู่ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่ช่วยยกระดับกลุ่มจนได้รับเป็นตัวแทนในการต้อนรับหน่วยงานสำคัญในระดับจังหวัดและระดับประเทศ

“การทอผ้าจากเส้นใยพลาสติกไม่ได้ช่วยแค่เรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ แต่ยังช่วยเรื่องการเปลี่ยนมุมมองความรู้สึก และสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านในการจัดการขยะในครัวเรือนได้มากขึ้น เริ่มคิดเวลาจะใช้พลาสติก เริ่มช่วยแยกขยะอย่างแก้วกาแฟพลาสติก เพราะได้รู้ว่าถ้าเราแยกขยะ ขยะเหล่านี้จะนำกลับมาใช้ได้ ทำให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในตัวมันเพิ่มขึ้น”
ผอ.ทิ้งท้ายถึงสิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นปลูกฝังแนวคิดการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่นำไปปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันของชาวบ้านอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมมีส่วนสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเติบโต สร้างรายได้และบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
เสื้อ 1 ตัว เท่ากับช่วยลดขยะจากแก้วพลาสติกประเภท PET และ PP 114 ใบ และใบสับปะรด 12 ใบ


คุณพัทธกานต์ วัฒนสหโยธิน ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอปลวกแดง คือผู้นำคนสำคัญที่รวบรวมกลุ่มชาวบ้านและผลักดันการคิดต่อยอดเพื่อสร้างผืนผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดระยอง

“จากเริ่มแรกที่เราทอผ้าจุลกฐินด้วยกี่โบราณเพียงอย่างเดียว ในปี 2558 เราเริ่มมีแนวคิดในการทำผ้าทอมือย้อมใบมังคุด ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าออกจำหน่าย ระหว่างนั้นก็มีความคิดตั้งคำถามว่า วัตถุดิบในครัวเรือนอะไรที่จะสามารถนำมาต่อยอดเป็นผ้าที่สะท้อนเรื่องราวของชุมชนได้บ้าง เราเลยมองไปที่คำขวัญของอำเภอปลวกแดง ซึ่งมีท่อนหนึ่งว่า ‘สับปะรดหวานฉ่ำ’ ซึ่งสับปะรดมันเป็นผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบลเรา พอปลูกเสร็จ ถึงเวลาเก็บเกี่ยวเกษตรกรก็จะเอาหักเอาแค่ผล แล้วก็ตีใบทิ้ง เราเลยมีความคิดที่ว่า ความเหนียวของใบสับปะรดน่าจะนำมาทอเป็นผ้าได้”


กระบวนการพัฒนาเส้นใยสับปะรดจึงเริ่มต้นขึ้นจากความพยายามลองผิดลองถูก บวกกับการศึกษาจุดดีจุดด้อยจากตัวอย่างผ้าใยสับปะรดของประเทศฟิลิปปินส์ สู่การปรับกระบวนการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ใช้งาน และประสบความสำเร็จเป็นผ้าใยสับปะรดในปี 2561 โดยใช้เส้นใยสับปะรดผสมกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 40 ต่อ 60 ซึ่งนำเอาข้อดีเรื่องความเหนียวของเส้นใยสับปะรดมาผนวกกับความนุ่มของเส้นใยฝ้ายได้ลงตัว

“ข้อดีของผ้าใยสับปะรดคือความเหนียว ทนต่อน้ำยาซักผ้าและการปั่นซักด้วยเครื่อง จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าได้มากกว่า รวมทั้งเนื้อผ้าก็จะมีเสน่ห์ที่สีของใยสับปะรดจะอยู่ในเนื้อผ้า พร้อมกับคุณสมบัติช่วยขัดผิวระหว่างการสวมใส่ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบง่าย ๆ ด้วยการนำเส้นใยไปตำในครกหินเพื่อกำจัดความคมของปลายใย ทำให้ผ้านุ่มขึ้น แก้ปัญหาเนื้อผ้าขูดผิวจนระคายเคืองจากเดิมที่พบในผ้าใยสับปะรดของฟิลิปปินส์ อีกอย่างหนึ่งคือเส้นใยสับปะรดจะดูดซับเหงื่อของเราได้ดี จึงสวมใส่สบาย”

การพัฒนากระบวนการผลิตนั้น นอกเหนือจากการคิดค้นวิธีการเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยให้ดีแล้ว ยังรวมถึงการประยุกต์เครื่องรีดใบ จากเดิมที่ต้องใช้แรงงานขูดใบด้วยช้อน เครื่องรีดใบเช่นนี้ช่วยให้รีดเส้นใยออกมาได้เร็วขึ้น และลดปัญหาการกระตุกใบกลับจากเครื่องแบบเดิม ๆ ที่มีในท้องตลาด ทั้งหมดเกิดจากการพัฒนาโดยกลุ่มชาวบ้านเองทั้งสิ้น

“เรามาพบกับทางเอสซีจีในงานแสดงสินค้า ได้ทราบว่าทางเอสซีจีมีการวิจัยเรื่องเส้นใยพลาสติกจากการรีไซเคิล จึงได้ทำการทดลองร่วมกันว่าจะผสมเส้นใยพลาสติกเข้ากับผ้าได้อย่างไรบ้าง ในตอนนี้เราใช้เส้นใยของเราเป็นเส้นยืน (แนวตั้ง) และใช้เส้นใยพลาสติกเป็นเส้นพุ่ง (แนวนอน) ซึ่งก็อยู่ระหว่างการพัฒนาสูตรผสมต่อไปว่า ควรใช้อัตราส่วนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม รวมทั้งกระบวนการทออาจจะยากกว่าการทอฝ้ายธรรมดา เพราะด้วยหลักการที่ว่าให้ฝ้ายให้ความนุ่ม ฝ้ายจึงสามารถเกาะเกี่ยวเส้นใยให้ไม่หลุดรุ่ย แต่ด้วยคุณสมบัติของใยพลาสติกคือความลื่น ผ้าที่ออกมาอาจยังมีรูปทรงไม่คงที่ ต้องใช้ทักษะความชำนาญในขั้นตอนการทอมากขึ้น แต่อย่างน้อยทีมเราก็ได้เปิดมุมมองความรู้ว่าไม่เพียงแค่ฝ้ายเท่านั้นที่ทำได้ เส้นพลาสติกก็สามารถทอเป็นผืนผ้าได้เช่นกัน”

ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ทอผ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่ผู้พัฒนาเส้นใยพลาสติกเพื่อคิดค้นหารูปแบบการผลิตผืนผ้าที่สวยงามและใช้งานได้ดี ซึ่งนอกจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดแล้ว ทางเอสซีจีเองก็ให้การสนับสนุนเครื่องมือในการต่อยอดอาชีพเพิ่มเติม เช่น การมอบกี่กระตุก ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการผลิตได้มากกว่ากี่โบราณที่ใช้งานกันอยู่ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่ช่วยยกระดับกลุ่มจนได้รับเป็นตัวแทนในการต้อนรับหน่วยงานสำคัญในระดับจังหวัดและระดับประเทศ

“การทอผ้าจากเส้นใยพลาสติกไม่ได้ช่วยแค่เรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ แต่ยังช่วยเรื่องการเปลี่ยนมุมมองความรู้สึก และสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านในการจัดการขยะในครัวเรือนได้มากขึ้น เริ่มคิดเวลาจะใช้พลาสติก เริ่มช่วยแยกขยะอย่างแก้วกาแฟพลาสติก เพราะได้รู้ว่าถ้าเราแยกขยะ ขยะเหล่านี้จะนำกลับมาใช้ได้ ทำให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในตัวมันเพิ่มขึ้น”
ผอ.ทิ้งท้ายถึงสิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นปลูกฝังแนวคิดการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่นำไปปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันของชาวบ้านอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมมีส่วนสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเติบโต สร้างรายได้และบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
เสื้อ 1 ตัว เท่ากับช่วยลดขยะจากแก้วพลาสติกประเภท PET และ PP 114 ใบ และใบสับปะรด 12 ใบ
