ชุมชน คือหน่วยเล็ก ๆ ของสังคม แต่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะชุมชนคือกำลังสำคัญที่ช่วยพัฒนาสังคม ทั้งการเสริมสร้างสมาชิกในสังคม รวมทั้งแขกผู้มาเยือน ทั้งองค์กรที่อยู่รายรอบชุมชนและนักท่องเที่ยว ให้เติบโตไปพร้อมกันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
เช่นเดียวกันกับเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC และวิสาหกิจชุมชน 5 แห่งที่ร่วมแรง ร่วมมือ และร่วมใจกันยกระดับผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ SCGC ดำเนินการมาโดยตลอด ผนวกรวมเข้ากับอัตลักษณ์ท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านผลิตภัณฑ์จากผู้คนในชุมชน ผลิดอกออกผลเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ยกระดับรายได้ชุมชน เพื่อเป็นฟันเฟืองสำหรับเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนส่วนรวมได้ผ่านกำไรและรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งนอกจากความร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน และ SCGC แล้ว การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมสร้างธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ขยายต่อสู่การพัฒนาและนวัตกรรมในระดับชาติต่อไป
นวัตกรรมวิสาหกิจชุมชนงานผ้า : สร้างเครือข่าย ทอ ย้อม เย็บ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน

01 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อ.ปลวกแดง จ.ระยอง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกรวมกับนวัตกรรมวัสดุด้วยการนำใบสับปะรด มาทำเป็นเส้นใย ทอเป็นผืนผ้าด้วยกี่กระตุก ใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เอกลักษณ์นี้การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ในงานประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย
โดย SCGC สนับสนุนกี่กระตุก และอยู่ระหว่างการนำผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาให้ผ้านุ่มขึ้น และต่อยอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพลาสติกรีไซเคิลผสมเส้นใยสับปะรด โดยเสื้อ 1 ตัว (ต้นแบบ) ลดขยะจากแก้วพลาสติก PET/PP 114 ใบ และใบสับปะรด 12 ใบ

02 วิสาหกิจชุมชน แตนบาติก ผ้ามัดย้อม อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
นวัตกรรมผ้าย้อมครามน้ำทะเล ที่นำน้ำทะเลเข้ามาทดแทนการใช้น้ำเกลือในกระบวนการย้อมผ้าคราม ซึ่งส่งผลให้สีติดทนนานขึ้น และการทำสีผงธรรมชาติจากเปลือกและใบมังคุด โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (โครงการ ITAP) มาช่วยคิดสูตร เป็นการนำวัตถุดิบเหลือใช้ในชุมชนมาสร้างคุณค่า และเป็นมิตร ปลอดภัยกับผู้บริโภค
นอกจากเทคนิคด้านสีแล้ว ยังมีเทคนิคการกัดลายและสร้างอัตลักษณ์บนผืนผ้า จนเกิดเป็นลาย “หงส์เหิน” ลายจากหน้าบันของโบสถ์วัดลุ่ม จ.ระยอง การพัฒนาเติบโตจนคว้ารางวัลสุดยอดเครือข่ายองค์ความรู้จังหวัดดีเด่น (Knowledge – Based OTOP : KBO) ระดับจังหวัด จากกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2562
นำนวัตกรรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พร้อมสร้างอัตลักษณ์อาหารระยอง

03 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านทิวลิป ชุมชนเนินพยอม อ.เมือง จ.ระยอง
ขนมเปี๊ยะ 8 เซียน มี 8 ไส้มาตรฐาน มีจุดเด่นที่ แป้งนุ่ม ไส้แน่น โดยมี SCGC เป็นพี่เลี้ยงในด้านนวัตกรรมอาหาร ตั้งแต่การพัฒนาสูตรไส้ขนม โดยนำอาหารขึ้นชื่อของ จ.ระยอง ต่อยอดเป็น ขนมเปี๊ยะไส้แกงระยอง เช่น แกงหมูชะมวง แกงไก่กระวาน แกงหมูหน่อสับปะรด
ในส่วนของคุณภาพขนม นวัตกรรมอาหารมีส่วนอย่างยิ่งทั้งเรื่องการพัฒนาสูตรยืดอายุขนมโดยไม่ใส่สารกันบูด จนได้รับมาตรฐาน อย. และ OTOP 3 ดาว และการผลิต ‘ขนมเปี๊ยะแช่แข็ง’ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมอาหาร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

04 วิสาหกิจชุมชน สร้างอาชีพชุมชนเกาะกก อ.เมือง จ.ระยอง
ผลิตภัณฑ์สินค้าจากข้าวและสมุนไพรชุมชน โดยแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่ ให้เป็นขนมข้าวไรซ์เบอรี่ชนิดแท่ง ภายใต้ชื่อ Rice Me (ไรซ์มี) ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาผืนนาแปลงสุดท้ายในมาบตาพุด
SCGC เอง มีส่วนร่วมในการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยออกแบบนวัตกรรมเครื่องจักร ที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมกับการเชิญสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (วช.) พัฒนาสูตรผลไม้ท้องถิ่น พร้อมนำผู้เชี่ยวชาญจัดทำข้อมูลโภชนาการ และปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถในการวางขายที่ร้านสะดวกซื้อระดับประเทศ จนได้รับรางวัลดีเด่นชุมชนสุขภาพดีวิถีไทย

05 วิสาหกิจชุมชน สละลอยแก้วและสละอบแห้งสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง
จากเกษตรกรผู้ปลูกสละที่ประสบปัญหาราคาสละตกต่ำ จึงนำสละพันธุ์สุมาลี มาแปรรูปเป็น สละลอยแก้วและสละอบแห้งช่วยยืดอายุของสละและเพิ่มมูลค่า โดยมี SCGC ช่วยต่อยอดนวัตกรรมการแปรรูป โดยร่วมกับ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (IFRPD) ม.เกษตรศาสตร์ แปรรูปสละสด ให้เป็นสละอบแห้ง ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ และสละแช่อิ่มอบแห้ง เก็บรักษาได้นานถึง 3 เดือน และได้รับมาตรฐาน อย. และ OTOP 4 ดาว
นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) ในโครงการ อว.จ้างงาน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ไอศกรีมจากสละ เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
นอกจากโครงการพัฒนาผ่านนวัตกรรมที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านทางวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่งแล้ว ทาง SCGC เอง ยังมีการจัดโครงการอบรมให้ความรู้กับกลุ่มร้านค้าชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปแบบห้องเรียน และเวิร์กชอป โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2017 จวบจนถึงปัจจุบัน
เพราะชุมชนคือบุคคลสำคัญที่ช่วยให้สังคมก้าวต่อไปได้ การส่งเสริมความยั่งยืนผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างนวัตกรรม จึงเป็นเหมือนการกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดพัฒนา และสร้างชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
เช่นเดียวกันกับเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC และวิสาหกิจชุมชน 5 แห่งที่ร่วมแรง ร่วมมือ และร่วมใจกันยกระดับผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ SCGC ดำเนินการมาโดยตลอด ผนวกรวมเข้ากับอัตลักษณ์ท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านผลิตภัณฑ์จากผู้คนในชุมชน ผลิดอกออกผลเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ยกระดับรายได้ชุมชน เพื่อเป็นฟันเฟืองสำหรับเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนส่วนรวมได้ผ่านกำไรและรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งนอกจากความร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน และ SCGC แล้ว การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมสร้างธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ขยายต่อสู่การพัฒนาและนวัตกรรมในระดับชาติต่อไป
นวัตกรรมวิสาหกิจชุมชนงานผ้า : สร้างเครือข่าย ทอ ย้อม เย็บ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน

01 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อ.ปลวกแดง จ.ระยอง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกรวมกับนวัตกรรมวัสดุด้วยการนำใบสับปะรด มาทำเป็นเส้นใย ทอเป็นผืนผ้าด้วยกี่กระตุก ใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เอกลักษณ์นี้การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ในงานประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย
โดย SCGC สนับสนุนกี่กระตุก และอยู่ระหว่างการนำผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาให้ผ้านุ่มขึ้น และต่อยอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพลาสติกรีไซเคิลผสมเส้นใยสับปะรด โดยเสื้อ 1 ตัว (ต้นแบบ) ลดขยะจากแก้วพลาสติก PET/PP 114 ใบ และใบสับปะรด 12 ใบ

02 วิสาหกิจชุมชน แตนบาติก ผ้ามัดย้อม อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
นวัตกรรมผ้าย้อมครามน้ำทะเล ที่นำน้ำทะเลเข้ามาทดแทนการใช้น้ำเกลือในกระบวนการย้อมผ้าคราม ซึ่งส่งผลให้สีติดทนนานขึ้น และการทำสีผงธรรมชาติจากเปลือกและใบมังคุด โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (โครงการ ITAP) มาช่วยคิดสูตร เป็นการนำวัตถุดิบเหลือใช้ในชุมชนมาสร้างคุณค่า และเป็นมิตร ปลอดภัยกับผู้บริโภค
นอกจากเทคนิคด้านสีแล้ว ยังมีเทคนิคการกัดลายและสร้างอัตลักษณ์บนผืนผ้า จนเกิดเป็นลาย “หงส์เหิน” ลายจากหน้าบันของโบสถ์วัดลุ่ม จ.ระยอง การพัฒนาเติบโตจนคว้ารางวัลสุดยอดเครือข่ายองค์ความรู้จังหวัดดีเด่น (Knowledge – Based OTOP : KBO) ระดับจังหวัด จากกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2562
นำนวัตกรรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พร้อมสร้างอัตลักษณ์อาหารระยอง

03 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านทิวลิป ชุมชนเนินพยอม อ.เมือง จ.ระยอง
ขนมเปี๊ยะ 8 เซียน มี 8 ไส้มาตรฐาน มีจุดเด่นที่ แป้งนุ่ม ไส้แน่น โดยมี SCGC เป็นพี่เลี้ยงในด้านนวัตกรรมอาหาร ตั้งแต่การพัฒนาสูตรไส้ขนม โดยนำอาหารขึ้นชื่อของ จ.ระยอง ต่อยอดเป็น ขนมเปี๊ยะไส้แกงระยอง เช่น แกงหมูชะมวง แกงไก่กระวาน แกงหมูหน่อสับปะรด
ในส่วนของคุณภาพขนม นวัตกรรมอาหารมีส่วนอย่างยิ่งทั้งเรื่องการพัฒนาสูตรยืดอายุขนมโดยไม่ใส่สารกันบูด จนได้รับมาตรฐาน อย. และ OTOP 3 ดาว และการผลิต ‘ขนมเปี๊ยะแช่แข็ง’ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมอาหาร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

04 วิสาหกิจชุมชน สร้างอาชีพชุมชนเกาะกก อ.เมือง จ.ระยอง
ผลิตภัณฑ์สินค้าจากข้าวและสมุนไพรชุมชน โดยแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่ ให้เป็นขนมข้าวไรซ์เบอรี่ชนิดแท่ง ภายใต้ชื่อ Rice Me (ไรซ์มี) ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาผืนนาแปลงสุดท้ายในมาบตาพุด
SCGC เอง มีส่วนร่วมในการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยออกแบบนวัตกรรมเครื่องจักร ที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมกับการเชิญสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (วช.) พัฒนาสูตรผลไม้ท้องถิ่น พร้อมนำผู้เชี่ยวชาญจัดทำข้อมูลโภชนาการ และปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถในการวางขายที่ร้านสะดวกซื้อระดับประเทศ จนได้รับรางวัลดีเด่นชุมชนสุขภาพดีวิถีไทย

05 วิสาหกิจชุมชน สละลอยแก้วและสละอบแห้งสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง
จากเกษตรกรผู้ปลูกสละที่ประสบปัญหาราคาสละตกต่ำ จึงนำสละพันธุ์สุมาลี มาแปรรูปเป็น สละลอยแก้วและสละอบแห้งช่วยยืดอายุของสละและเพิ่มมูลค่า โดยมี SCGC ช่วยต่อยอดนวัตกรรมการแปรรูป โดยร่วมกับ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (IFRPD) ม.เกษตรศาสตร์ แปรรูปสละสด ให้เป็นสละอบแห้ง ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ และสละแช่อิ่มอบแห้ง เก็บรักษาได้นานถึง 3 เดือน และได้รับมาตรฐาน อย. และ OTOP 4 ดาว
นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) ในโครงการ อว.จ้างงาน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ไอศกรีมจากสละ เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
นอกจากโครงการพัฒนาผ่านนวัตกรรมที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านทางวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่งแล้ว ทาง SCGC เอง ยังมีการจัดโครงการอบรมให้ความรู้กับกลุ่มร้านค้าชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปแบบห้องเรียน และเวิร์กชอป โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2017 จวบจนถึงปัจจุบัน
เพราะชุมชนคือบุคคลสำคัญที่ช่วยให้สังคมก้าวต่อไปได้ การส่งเสริมความยั่งยืนผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างนวัตกรรม จึงเป็นเหมือนการกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดพัฒนา และสร้างชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน