ในแวดวงเทคโนโลยี คำว่า Data หรือ ข้อมูล เป็นคำที่ได้รับพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเป็นเรื่องของข้อมูลแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือการนำข้อมูลไปใช้อย่างปลอดภัย นั่นทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงธุรกรรมการเงิน โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางอย่างที่ผ่านมา
สรุปประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
ขั้นตอนการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
ตัวอย่างการทำงานของระบบ B2P Blockchain Solution for Procure-to-Pay
เอสซีจีได้นำระบบ B2P มาใช้ในกระบวนการทำงานจริงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 และเห็นผลชัดเจนทั้งเรื่องการลดระยะเวลาตลอดกระบวนการทำงานได้ถึง 50% ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นโดยยังคงความโปร่งใสและปลอดภัย ทั้งนี้คู่ธุรกิจสามารถตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนต่อรายการได้ถึง 70% นอกจากนี้ยังนับเป็นการช่วยพนักงานในการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานในรูปแบบอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และนำทักษะเหล่านี้มาสร้างคุณค่าให้กับทั้งตนเองและองค์กรอีกด้วย
จากเดิมที่บล็อกเชนเคยถูกจำกัดอยู่แต่ในวงการ FinTech ในวันนี้บล็อกเชนกำลังจะมาสร้างแรงกระเพื่อมในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำนวัตกรรมตัวนี้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละองค์กรได้อย่างไร นับเป็นความท้าทายอย่างมาก ไม่เฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องก้าวให้ทันโลกยุคดิจิทัล เพราะทุกวันนี้ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราไปแล้ว
บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไร?
บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีใหม่ที่ถูกนำมาใช้ผ่านรูปแบบของเครือข่าย (Blockchain Network) โดยใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายแบบจุดต่อจุด หรือที่เราเรียกกันว่า Peer-to-Peer Network ที่การทำธุรกรรมทางการเงินหรือสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถตรวจสอบความถูกต้องโดยการสื่อสารระหว่างเจ้าของข้อมูลโดยตรงทั้งจากฝั่งต้นทางและปลายทางด้วยข้อได้เปรียบในเรื่องความปลอดภัยเนื่องจากไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการทำธุรกรรมอย่างที่ผ่านมา รวมทั้งยังช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ลงได้ ทำให้ในอนาคตคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบประโยชน์ของบล็อกเชน (Blockchain)

บล็อกเชน (Blockchain) ที่นำมาใช้ในธุรกิจประเทศไทย
ปัจจุบันมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างต่อเนื่อง และได้นำมาใช้จริงในธุรกิจที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการผลิต (Manufacturing) ธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (Supply Chain and Logistic) ธุรกิจประกันภัย (Insurance) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real estate) ธุรกิจอาหาร (Food) หรือแม้กระทั่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพรวมถึงโรงพยาบาล (Healthcare & Hospital) นั่นก็เพราะข้อดีเรื่องความโปร่งใส และการเข้าถึงข้อมูล การบันทึกหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สามารถทำได้โดยเจ้าของผู้มีสิทธิ์ในข้อมูลนั้น ๆ เท่านั้น จากข้อดีดังกล่าวบล็อกเชนยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาระหว่างองค์กร งานอสังหาริมทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่มีมูลค่า รวมทั้งการใช้สกุลเงินในโลกดิจิทัลที่เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของหลายคนมากขึ้นหลักการทำงานของบล็อกเชน (Blockchain)

‘ระบบ B2P’ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้บล็อกเชน (Blockchain) สำหรับงานวางบิลธุรกิจ
เช่นเดียวกันกับเอสซีจีที่ได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาทดลองใช้ในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง-วางบิล-ชำระเงิน หรือ B2P Blockchain Solution for Procure-to-Pay ระหว่างเอสซีจีและคู่ค้าธุรกิจกว่า 4,500 ราย โดยเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างเอสซีจี กับ บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ในการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้
เอสซีจีได้นำระบบ B2P มาใช้ในกระบวนการทำงานจริงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 และเห็นผลชัดเจนทั้งเรื่องการลดระยะเวลาตลอดกระบวนการทำงานได้ถึง 50% ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นโดยยังคงความโปร่งใสและปลอดภัย ทั้งนี้คู่ธุรกิจสามารถตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนต่อรายการได้ถึง 70% นอกจากนี้ยังนับเป็นการช่วยพนักงานในการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานในรูปแบบอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และนำทักษะเหล่านี้มาสร้างคุณค่าให้กับทั้งตนเองและองค์กรอีกด้วย
จากเดิมที่บล็อกเชนเคยถูกจำกัดอยู่แต่ในวงการ FinTech ในวันนี้บล็อกเชนกำลังจะมาสร้างแรงกระเพื่อมในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำนวัตกรรมตัวนี้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละองค์กรได้อย่างไร นับเป็นความท้าทายอย่างมาก ไม่เฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องก้าวให้ทันโลกยุคดิจิทัล เพราะทุกวันนี้ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราไปแล้ว