ในวันนี้เทคโนโลยี 5G ขยับเข้าใกล้คนไทยขึ้นอีกระดับหลังจากการประมูลคลื่นความถี่เสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่ง 5G นี้เองที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงมหาศาลให้กับประเทศไทยทั้งในภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรม

5G คือวิวัฒนาการของการสื่อสารแบบไร้สาย ยกตัวอย่างโทรศัพท์มือถือที่ไล่เรียงมาตั้งแต่ 1G – ยุคเสียงแอนะล็อก 2G – เสียงดิจิทัลและข้อความ SMS 3G – อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ 4G – อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และ 5G ที่ล้ำหน้าด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ ความเร็วที่สูงขึ้นในระดับกิกกะบิตต่อวินาที ความไวในการตอบสนองที่มากขึ้นกว่าเดิม 30-50 เท่า ซึ่งสำคัญต่อเทคโนโลยีที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดผ่านทางไกล (Remote Surgery) เป็นต้น และอันดับสุดท้ายคือ IoT หรือการรองรับจำนวนการเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 ล้านจุดต่อหนึ่งสถานีฐาน จากเดิมเพียง 10,000-100,000 จุด
ในภาคธุรกิจความรวดเร็วและแม่นยำที่เกิดจากนวัตกรรม 5G จะเป็นกุญแจสำคัญในการจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมทุกประเภทที่จะทำให้โลกใบเดิมก้าวสู่ยุค Industrial Connection หรือการเชื่อมต่อโดย 5G Module ซึ่งเป็นอุปกรณ์ chipset ที่ฝังลงในเครื่องจักร เช่น แขนกลอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือ AI ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันเองได้ ทั้งหมดนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาล

นอกจากการทำความเข้าใจ 5G ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบ Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถคงอยู่ต่อไปได้ให้กับแทบจะทุกอุตสาหกรรมแล้ว อุปกรณ์ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้เทคโนโลยี 5G ใช้งานได้จริงและส่งต่อบริการถึงผู้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญคือสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ทั้ง Value Chain ต้องร่วมกันค้นหาเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาสายเคเบิลให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ และเหมาะกับการใช้งานกับสภาพอากาศในประเทศไทย

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย คือการพัฒนาทั้งในเรื่องสัญญาณและอุปกรณ์ โดยเฉพาะในส่วน Outside Plant หรือระบบข่ายสายที่จำเพาะกับการใช้งานของประเทศไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมในเขตร้อน ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น สภาวะการใช้งาน รวมทั้งวิธีการใช้งานสายเคเบิลในพื้นที่ห่างไกล การสร้างมาตรฐานเหล่านี้เป็นจุดสำคัญสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นไปพร้อมกับเทคโนโลยี 5G ที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
“ข้อเด่นของ 5G คือ ความหน่วงน้อย ความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนต่ำ แต่ข้อด้อยคือ พื้นที่ในการควบคุมอยู่ในระยะไม่กว้างมาก ซึ่งจะเป็นสัดส่วนแปรผันกันคือ เมื่อพื้นที่ส่งต่อสัญญาณได้น้อย จึงต้องมีเสาอากาศทุก 300-400 เมตร ทำให้ต้องใช้ปริมาณสายเคเบิลมากขึ้น ซึ่งปัญหาของสายสื่อสารทุกชนิดในเมืองไทยคือ หากเกิดเหตุไฟไหม้ ไฟจะลามและสร้างความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนหรือยานพาหนะที่จอดอยู่ใต้เสาได้ ผู้ให้บริการจึงต้องการวัสดุหุ้มสายเคเบิลที่ช่วยป้องกันการลามไฟ ทนรังสียูวีสำหรับการใช้งานภายนอก รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน สามารถขึ้นรูปสายเคเบิลได้บาง ลดทัศนียภาพที่ไม่สวยงามจากการแขวนสายระโยงระยาง ไม่เป็นระเบียบ”
“ในแง่ความร่วมมือต้องมองว่าแต่ละ Value Chain ที่เกี่ยวข้องต่างจะนำความถนัดของตัวเองมาช่วยได้อย่างไร อย่าง TOT เราไม่ได้เป็นผู้ผลิต เราเป็นผู้ใช้งาน และเรามีเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนวัสดุสายเคเบิลจากทองแดงเป็นใยแก้วนำแสงทั้งหมดภายในปี 2568 ซึ่งเป็นโจทย์กลับไปที่ผู้ผลิตสาย และผู้ผลิตวัสดุ การรวมกลุ่มกันทำให้เราได้คุยกันครบ ทุกฝ่ายก็จะได้ระดมสมองร่วมกัน แล้วกลับไปพัฒนาในส่วนที่ตนเองถนัด ก็จะได้ผลเป็นสายเคเบิลหรือโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วน”

ประชาชนทั่วไปคือผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจาก 5G ที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดในเรื่องความจุข้อมูล ความเร็ว ความเสถียรของสัญญาณ เทคโนโลยีของสัญญาณที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างแรก ๆ คืออุปกรณ์สำหรับงานระบบ โดยเฉพาะสายเคเบิลสำหรับส่งสัญญาณ ที่เป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
“หลังจากนี้สายเคเบิลต้องอยู่ได้ในระยะยาว อย่างน้อยการันตีที่ 30 ปี และจะย้ายลงไปอยู่ใต้ดินหมดแล้ว เราจึงต้องการวัสดุที่ซัพพอร์ต 5G ไซต์ใหม่ ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนออกแบบแล้วว่า ต้องออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานสัญญาณและความทนทานในส่วนใต้ดินที่มองไม่เห็นได้อย่างไร ดังนั้นการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมมาตั้งแต่ต้น ก็ช่วยการันตีได้ว่าคุณสมบัติสายเคเบิลจะตอบโจทย์การใช้งานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ การรวมตัวกันเพื่อพูดคุยกันในเรื่องคุณภาพมาตรฐานใหม่ ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ต้นทางอย่างเรื่องวัสดุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยพัฒนาอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่นี้มากที่สุด”

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมจากการพัฒนา 5G นอกจากเรื่องสายเคเบิลสำหรับติดตั้งบนเสาไฟฟ้าก็คือโครงการนำสายสัญญาณลงใต้ดินของกรุงเทพมหานคร ทีมงานของเอสซีจีเองได้เร่งศึกษาข้อมูลจากผู้วางระบบการติดตั้งสาย จนสามารถพัฒนาเม็ดพลาสติกที่เหมาะสมกับการใช้งาน 5G ตอบโจทย์คุณสมบัติที่ทุกฝ่ายใน Value Chain
“ในอนาคตสายเคเบิลในกรุงเทพจะถูกนำลงใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจำนวนการแขวนสายเคเบิลที่จำกัดโดยพื้นที่และน้ำหนักที่เสารับได้ การย้ายสายเคเบิลลงใต้ดินจะใช้ระบบการเดินสายผ่านท่อร้อยสาย (Microduct) ซึ่งต้องใช้สายเคเบิลที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ร้อยผ่านท่อด้วยวิธี Air Blow หรือการใช้ลมเป่าสายเข้าไปในท่อได้ วิธีนี้จะทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยคุณสมบัติของสายเคเบิลที่เหมาะสมต้องมีความบาง แต่แข็งแรง น้ำหนักเบา และสามารถบรรจุปริมาณใยแก้วนำแสงได้มาก”
“เอสซีจีนำเอาข้อมูลความต้องการของทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการนำไปพัฒนาวัสดุสำหรับผลิตสายเคเบิล รวมถึงต่อยอดไปยังการผลิตวัสดุสำหรับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ท่อร้อยสาย (Microduct) ซึ่งต้องการความเหนียวและทนทาน เพราะต้องฝังอยู่ใต้ดิน และการติดตั้งต้องมีการเจาะและลาก และการพัฒนาวัสดุสำหรับหุ้มสายไมโครเคเบิล (Jacketing) ซึ่งทั้งหมดเราต้องโฟกัสไปที่อายุการใช้งานที่ยาวนาน ความปลอดภัย กันการลามไฟ และต้องเหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมของเมืองร้อน”
จากการที่ทุกฝ่ายใน Value Chain ของวงการโทรคมนาคมประเทศไทยได้แบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมสมองเพื่อยกระดับมาตรฐานและความสามารถของวงการโทรคมนาคมไทยให้ทัดเทียมในระดับนานาชาติ ทำให้ทราบความต้องการใช้งานของแต่ละภาคส่วนได้อย่างชัดเจน การพัฒนาจึงดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลประโยชน์ท้ายสุดจึงเป็นของประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนชาวไทยผ่านเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน

ก้าวสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
สมาคมวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมโทรคมนาคม หรือ TITA ก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับความรู้ในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยและขยายผลไปสู่ระดับสากลต่อไป โดยประสานความร่วมมือของ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ ภาควิชาการ นำโดยภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้ผลิตสายเคเบิลชั้นนำ อาทิ บริษัท สยาม ไฟเบอร์ อ๊อพติคส์, ไทย ไฟเบอร์ออฟติค, เอชบีซี เทเลคอม ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ทีโอที และทรู และที่ปรึกษาด้านวัสดุโดยเอสซีจี

5G คือวิวัฒนาการของการสื่อสารแบบไร้สาย ยกตัวอย่างโทรศัพท์มือถือที่ไล่เรียงมาตั้งแต่ 1G – ยุคเสียงแอนะล็อก 2G – เสียงดิจิทัลและข้อความ SMS 3G – อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ 4G – อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และ 5G ที่ล้ำหน้าด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ ความเร็วที่สูงขึ้นในระดับกิกกะบิตต่อวินาที ความไวในการตอบสนองที่มากขึ้นกว่าเดิม 30-50 เท่า ซึ่งสำคัญต่อเทคโนโลยีที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดผ่านทางไกล (Remote Surgery) เป็นต้น และอันดับสุดท้ายคือ IoT หรือการรองรับจำนวนการเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 ล้านจุดต่อหนึ่งสถานีฐาน จากเดิมเพียง 10,000-100,000 จุด
ในภาคธุรกิจความรวดเร็วและแม่นยำที่เกิดจากนวัตกรรม 5G จะเป็นกุญแจสำคัญในการจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมทุกประเภทที่จะทำให้โลกใบเดิมก้าวสู่ยุค Industrial Connection หรือการเชื่อมต่อโดย 5G Module ซึ่งเป็นอุปกรณ์ chipset ที่ฝังลงในเครื่องจักร เช่น แขนกลอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือ AI ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันเองได้ ทั้งหมดนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาล

นอกจากการทำความเข้าใจ 5G ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบ Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถคงอยู่ต่อไปได้ให้กับแทบจะทุกอุตสาหกรรมแล้ว อุปกรณ์ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้เทคโนโลยี 5G ใช้งานได้จริงและส่งต่อบริการถึงผู้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญคือสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ทั้ง Value Chain ต้องร่วมกันค้นหาเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาสายเคเบิลให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ และเหมาะกับการใช้งานกับสภาพอากาศในประเทศไทย

TOT – ผู้ให้บริการเครือข่ายของภาครัฐ
คุณนฤทธิ์สมเจริญ สำเภาพล
ผู้จัดการส่วนบริการทดสอบและสอบเทียบ
สถาบันนวัตกรรม ทีโอที
บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย คือการพัฒนาทั้งในเรื่องสัญญาณและอุปกรณ์ โดยเฉพาะในส่วน Outside Plant หรือระบบข่ายสายที่จำเพาะกับการใช้งานของประเทศไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมในเขตร้อน ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น สภาวะการใช้งาน รวมทั้งวิธีการใช้งานสายเคเบิลในพื้นที่ห่างไกล การสร้างมาตรฐานเหล่านี้เป็นจุดสำคัญสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นไปพร้อมกับเทคโนโลยี 5G ที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
“ข้อเด่นของ 5G คือ ความหน่วงน้อย ความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนต่ำ แต่ข้อด้อยคือ พื้นที่ในการควบคุมอยู่ในระยะไม่กว้างมาก ซึ่งจะเป็นสัดส่วนแปรผันกันคือ เมื่อพื้นที่ส่งต่อสัญญาณได้น้อย จึงต้องมีเสาอากาศทุก 300-400 เมตร ทำให้ต้องใช้ปริมาณสายเคเบิลมากขึ้น ซึ่งปัญหาของสายสื่อสารทุกชนิดในเมืองไทยคือ หากเกิดเหตุไฟไหม้ ไฟจะลามและสร้างความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนหรือยานพาหนะที่จอดอยู่ใต้เสาได้ ผู้ให้บริการจึงต้องการวัสดุหุ้มสายเคเบิลที่ช่วยป้องกันการลามไฟ ทนรังสียูวีสำหรับการใช้งานภายนอก รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน สามารถขึ้นรูปสายเคเบิลได้บาง ลดทัศนียภาพที่ไม่สวยงามจากการแขวนสายระโยงระยาง ไม่เป็นระเบียบ”
“ในแง่ความร่วมมือต้องมองว่าแต่ละ Value Chain ที่เกี่ยวข้องต่างจะนำความถนัดของตัวเองมาช่วยได้อย่างไร อย่าง TOT เราไม่ได้เป็นผู้ผลิต เราเป็นผู้ใช้งาน และเรามีเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนวัสดุสายเคเบิลจากทองแดงเป็นใยแก้วนำแสงทั้งหมดภายในปี 2568 ซึ่งเป็นโจทย์กลับไปที่ผู้ผลิตสาย และผู้ผลิตวัสดุ การรวมกลุ่มกันทำให้เราได้คุยกันครบ ทุกฝ่ายก็จะได้ระดมสมองร่วมกัน แล้วกลับไปพัฒนาในส่วนที่ตนเองถนัด ก็จะได้ผลเป็นสายเคเบิลหรือโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วน”

TRUE – ผู้ให้บริการเครือข่ายของเอกชน
คุณปราโมทย์ จงวิริยะเจริญชัย
Engineering Specialist
ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ประชาชนทั่วไปคือผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจาก 5G ที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดในเรื่องความจุข้อมูล ความเร็ว ความเสถียรของสัญญาณ เทคโนโลยีของสัญญาณที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างแรก ๆ คืออุปกรณ์สำหรับงานระบบ โดยเฉพาะสายเคเบิลสำหรับส่งสัญญาณ ที่เป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
“หลังจากนี้สายเคเบิลต้องอยู่ได้ในระยะยาว อย่างน้อยการันตีที่ 30 ปี และจะย้ายลงไปอยู่ใต้ดินหมดแล้ว เราจึงต้องการวัสดุที่ซัพพอร์ต 5G ไซต์ใหม่ ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนออกแบบแล้วว่า ต้องออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานสัญญาณและความทนทานในส่วนใต้ดินที่มองไม่เห็นได้อย่างไร ดังนั้นการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมมาตั้งแต่ต้น ก็ช่วยการันตีได้ว่าคุณสมบัติสายเคเบิลจะตอบโจทย์การใช้งานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ การรวมตัวกันเพื่อพูดคุยกันในเรื่องคุณภาพมาตรฐานใหม่ ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ต้นทางอย่างเรื่องวัสดุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยพัฒนาอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่นี้มากที่สุด”

SCG – ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับสายเคเบิล
คุณถวิพัฒน์ ก้อนคำ
Cable Business Manager
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมจากการพัฒนา 5G นอกจากเรื่องสายเคเบิลสำหรับติดตั้งบนเสาไฟฟ้าก็คือโครงการนำสายสัญญาณลงใต้ดินของกรุงเทพมหานคร ทีมงานของเอสซีจีเองได้เร่งศึกษาข้อมูลจากผู้วางระบบการติดตั้งสาย จนสามารถพัฒนาเม็ดพลาสติกที่เหมาะสมกับการใช้งาน 5G ตอบโจทย์คุณสมบัติที่ทุกฝ่ายใน Value Chain
“ในอนาคตสายเคเบิลในกรุงเทพจะถูกนำลงใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจำนวนการแขวนสายเคเบิลที่จำกัดโดยพื้นที่และน้ำหนักที่เสารับได้ การย้ายสายเคเบิลลงใต้ดินจะใช้ระบบการเดินสายผ่านท่อร้อยสาย (Microduct) ซึ่งต้องใช้สายเคเบิลที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ร้อยผ่านท่อด้วยวิธี Air Blow หรือการใช้ลมเป่าสายเข้าไปในท่อได้ วิธีนี้จะทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยคุณสมบัติของสายเคเบิลที่เหมาะสมต้องมีความบาง แต่แข็งแรง น้ำหนักเบา และสามารถบรรจุปริมาณใยแก้วนำแสงได้มาก”
“เอสซีจีนำเอาข้อมูลความต้องการของทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการนำไปพัฒนาวัสดุสำหรับผลิตสายเคเบิล รวมถึงต่อยอดไปยังการผลิตวัสดุสำหรับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ท่อร้อยสาย (Microduct) ซึ่งต้องการความเหนียวและทนทาน เพราะต้องฝังอยู่ใต้ดิน และการติดตั้งต้องมีการเจาะและลาก และการพัฒนาวัสดุสำหรับหุ้มสายไมโครเคเบิล (Jacketing) ซึ่งทั้งหมดเราต้องโฟกัสไปที่อายุการใช้งานที่ยาวนาน ความปลอดภัย กันการลามไฟ และต้องเหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมของเมืองร้อน”
จากการที่ทุกฝ่ายใน Value Chain ของวงการโทรคมนาคมประเทศไทยได้แบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมสมองเพื่อยกระดับมาตรฐานและความสามารถของวงการโทรคมนาคมไทยให้ทัดเทียมในระดับนานาชาติ ทำให้ทราบความต้องการใช้งานของแต่ละภาคส่วนได้อย่างชัดเจน การพัฒนาจึงดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลประโยชน์ท้ายสุดจึงเป็นของประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนชาวไทยผ่านเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน

ก้าวสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
สมาคมวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมโทรคมนาคม หรือ TITA ก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับความรู้ในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยและขยายผลไปสู่ระดับสากลต่อไป โดยประสานความร่วมมือของ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ ภาควิชาการ นำโดยภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้ผลิตสายเคเบิลชั้นนำ อาทิ บริษัท สยาม ไฟเบอร์ อ๊อพติคส์, ไทย ไฟเบอร์ออฟติค, เอชบีซี เทเลคอม ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ทีโอที และทรู และที่ปรึกษาด้านวัสดุโดยเอสซีจี