การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นเรื่องที่สามารถเริ่มและปลูกฝังได้ในจิตใจของทุกคน รวมทั้งการนำไปใช้กับการดำเนินธุรกิจทุกประเภท เพียงคุณมีแนวคิดเริ่มต้นที่อยากจะลงมือทำ คุณย่อมพร้อมที่จะออกเดินทางตามหาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ และพร้อมเป็นต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริง
All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสเวน รัสมุสเซ่น Chief Innovator แห่ง Starboard แบรนด์ผลิตภัณฑ์กีฬาทางน้ำประเภทเซิร์ฟบอร์ด เขาคือผู้ที่หลงใหลในกีฬาเซิร์ฟบอร์ดตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนได้มีโอกาสเข้าสู่การเป็นนักกีฬาวินด์เซิร์ฟผู้ชนะรางวัลระดับโลกอย่าง Mistral Worlds ในปี 1983 และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Starboard ขึ้นในปี 1994 ความผูกพันกับสายน้ำนี้กลายเป็น passion และส่วนสำคัญในชีวิตของเขา
“ไม่ว่าจะเป็นกีฬาชนิดไหนที่เกี่ยวน้ำ อย่างเช่น การเล่นแพดเดิลบอร์ดที่เหมือนกับการยืนอยู่บนผืนน้ำ คุณจะได้เคลื่อนตัวไปตามจังหวะของสายน้ำ ดื่มด่ำบรรยากาศรอบด้าน มันเหมือนการทำสมาธิ ช่วยให้คุณได้เกิดไอเดียอะไรหลาย ๆ อย่าง นั่นเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับผม” จากธุรกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ บวกกับการตระหนักถึงทรัพยากรที่มีแต่จะหมดไปของโลกใบนี้ ทำให้เขาออกตามหานวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

“เพราะเรามีโลกอยู่แค่ใบเดียว และเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องรักษาโลกใบนี้ไว้ ที่ผ่านมามนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกหมดไปอย่างรวดเร็ว แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้คิดว่าจะเกิดผลอะไรขึ้นในอีกร้อยหรือพันปีข้างหน้าถ้ายังคงใช้ทรัพยากรกันอย่างทุกวันนี้ เราจึงต้องการเน้นย้ำในเรื่องวิธีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ความตระหนักนี้ทำให้เขาได้นำเอาหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาเป็นหลักในการขับเคลื่อนการทำงานขององค์กร
Circular Economy สู่วิธีการทำงานของ Starboard
“เราจะต้องเปลี่ยนการทำงานทั้งในด้านวัสดุและการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการรีไซเคิล และใช้วัสดุให้คุ้มค่าตามคุณสมบัติของมัน วัสดุบางประเภทอาจจะใช้งานได้ถึงร้อยครั้งหรือพันครั้ง ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนก่อน เพื่อนำไปสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การประยุกต์องค์ความรู้เรื่องหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าสู่กระบวนการทำงานของ Starboard เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งโครงการเพื่อสังคมล้วนมีจุดเริ่มต้นเดียวกันคือเรื่องความยั่งยืน คุณสเวน ให้ความสำคัญกับเรื่องวัสดุเป็นอย่างมาก นั่นทำให้เขาออกค้นหาว่า วัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วแต่ละชนิดจะสามารถนำมาชุบชีวิตเพื่อให้สามารถใช้งานใหม่อย่างมีคุณค่าสูงสุดได้อย่างไรบ้าง
“ที่ Starboard เราเริ่มตั้งแต่ศึกษาตัวสินค้าของเราว่าสามารถจะใช้วัตถุดิบที่สามารถใช้แล้วทดแทนได้ (Renewable resource) ได้ไหม ใช้สีย้อมจากธรรมชาติได้ไหม ใช้วัสดุรีไซเคิลได้ไหม โดยเฉพาะพลาสติกที่เราต้องนำมาใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์หลายประเภท เรามองหาวัตถุดิบทางเลือกต่าง ๆ อย่าง Bio Resin หรือ การนำเอาวัสดุรีไซเคิลมาผสม ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋าใส่เซิร์ฟบอร์ดของเราทุกใบล้วนมีส่วนผสมของเส้นใยที่ทำมาจากการรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกหรือสิ่งทอประเภท PET เป็นการนำคุณสมบัติของพลาสติกกลับมาใช้งานให้ได้อายุยืนยาวมากขึ้นก็คือการมองหาโอกาสในการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ จากวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างคุณประโยชน์สูงสุดให้กับวัสดุ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่ตอบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค”

จากวัสดุรีไซเคิล ถึงมือผู้บริโภค
“สิ่งสำคัญเมื่อผลิตภัณฑ์ไปถึงมือผู้บริโภค คือการแบ่งปันเรื่องราวให้พวกเขาได้ทราบว่า วัตถุดิบของสินค้าชิ้นนี้มีที่มาจากอะไร ถึงแม้รูปลักษณ์ภายนอกจะดูเหมือน ๆ กัน เราก็จะใช้โลโก้ในการสื่อสารว่าแท้จริงแล้วสินค้าชิ้นนี้มีที่มาทั้งจากวัสดุรีไซเคิล อัพไซเคิล หรือมาจากวัสดุเหลือใช้ประเภทใดบ้าง”
นั่นเป็นที่มาของป้ายฉลากสินค้าที่ทำเหมือนกับฉลากคุณค่าทางสารอาหารที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหาร หากแต่เปลี่ยนจากส่วนประกอบของอาหารมาเป็นสัดส่วนของวัสดุรีไซเคิล หรือปริมาณคาร์บอนที่การผลิตสินค้านี้ช่วยลดไปได้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักว่าผู้บริโภคเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกนี้มีความอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน

“เมื่อผู้บริโภคได้เห็นสิ่งเหล่านี้ ความพิเศษคือเขาจะได้รับรู้เรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์หรือวัสดุเหล่านี้ ยกตัวอย่างถ้าเขารู้ว่า สินค้าชิ้นนี้ผลิตมาจากแหอวนซึ่งเก็บขึ้นมาจากขยะในท้องทะเล ผู้บริโภคจะรู้สึกได้ถึงความมีส่วนร่วมกับเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้เมื่อได้เป็นเจ้าของสินค้า ได้ใช้งาน และอยากบอกเล่าต่อให้กับเพื่อนฝูงฟัง”
“ในกลุ่มผู้บริโภคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลเป็นสินค้าระดับลักชัวรี่ในรูปแบบใหม่ ผู้คนอยากได้ของชิ้นพิเศษ ข้าวของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของมันต่อไปได้ หน้าที่ของเราจึงเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลเหล่านี้ให้สวยงามดึงดูดใจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าให้กับวัสดุรีไซเคิล”

‘พันธมิตร’ กุญแจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน
“สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ผมเชื่อว่าเราจะสามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้ดีนั่นก็คือ พันธมิตร อย่างที่ทราบว่าเราเป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ บริษัทหนึ่ง ในโลกนี้ยังมีไอเดีย องค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย เราจึงต้องสร้างพันธมิตร เรียนรู้และเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กร NGOs หรือแม้แต่สตาร์ทอัพที่จะช่วยสนับสนุนสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ให้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การที่เราได้ร่วมงานกับพาร์ลีย์ (Parley) องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมในการร่วมกันคิดค้นวัสดุสำหรับอุปกรณ์เซิร์ฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราได้แลกเปลี่ยนกันทั้งเรื่องวัสดุ การวิจัยและพัฒนา การทดลองใช้งาน การทดสอบ ไปจนถึงเรื่องการตลาด”
ปัจจุบันทาง Starboard เองได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเอสซีจีผ่านการลงนามความร่วมมือในโครงการ ‘Collaboration for Sustainable Future’ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนการสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังพฤติกรรมเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้กับเยาวชน

“ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนกับการเดินทางครั้งใหม่ของเราที่จะได้ร่วมงานกันในหลายส่วน และที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าคือ เราอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน จึงเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับการทำงานร่วมกัน และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น”
คุณสเวนได้ทิ้งท้ายถึงการสร้างโลกใบนี้ที่ยั่งยืนว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนก็ทำได้ “สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ในทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายตัวเราเองที่กำลังจะเดินหน้าต่อไปอีกสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้า เริ่มลงมือทำก่อนที่มันจะสายเกินไป นั่นคือสิ่งที่พวกเราต้องคิดถึงในขณะนี้ ซึ่งก็เป็นสิ่งเดียวกันกับที่ Starboard ตระหนักถึง นั่นคือการสนับสนุนให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจเรื่องความยั่งยืนอย่างจำเป็นเร่งด่วน และเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แค่การลดคาร์บอนฟุตปริ๊นท์ยังไม่เพียงพอ ทุกองค์กรสามารถเป็นองค์กร Climate Positive ได้ (กำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อย) โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ถ้าพวกเขาต้องการลงมือทำจริง ๆ”
All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสเวน รัสมุสเซ่น Chief Innovator แห่ง Starboard แบรนด์ผลิตภัณฑ์กีฬาทางน้ำประเภทเซิร์ฟบอร์ด เขาคือผู้ที่หลงใหลในกีฬาเซิร์ฟบอร์ดตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนได้มีโอกาสเข้าสู่การเป็นนักกีฬาวินด์เซิร์ฟผู้ชนะรางวัลระดับโลกอย่าง Mistral Worlds ในปี 1983 และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Starboard ขึ้นในปี 1994 ความผูกพันกับสายน้ำนี้กลายเป็น passion และส่วนสำคัญในชีวิตของเขา
“ไม่ว่าจะเป็นกีฬาชนิดไหนที่เกี่ยวน้ำ อย่างเช่น การเล่นแพดเดิลบอร์ดที่เหมือนกับการยืนอยู่บนผืนน้ำ คุณจะได้เคลื่อนตัวไปตามจังหวะของสายน้ำ ดื่มด่ำบรรยากาศรอบด้าน มันเหมือนการทำสมาธิ ช่วยให้คุณได้เกิดไอเดียอะไรหลาย ๆ อย่าง นั่นเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับผม” จากธุรกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ บวกกับการตระหนักถึงทรัพยากรที่มีแต่จะหมดไปของโลกใบนี้ ทำให้เขาออกตามหานวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

“เพราะเรามีโลกอยู่แค่ใบเดียว และเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องรักษาโลกใบนี้ไว้ ที่ผ่านมามนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกหมดไปอย่างรวดเร็ว แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้คิดว่าจะเกิดผลอะไรขึ้นในอีกร้อยหรือพันปีข้างหน้าถ้ายังคงใช้ทรัพยากรกันอย่างทุกวันนี้ เราจึงต้องการเน้นย้ำในเรื่องวิธีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ความตระหนักนี้ทำให้เขาได้นำเอาหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาเป็นหลักในการขับเคลื่อนการทำงานขององค์กร
Circular Economy สู่วิธีการทำงานของ Starboard
“เราจะต้องเปลี่ยนการทำงานทั้งในด้านวัสดุและการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการรีไซเคิล และใช้วัสดุให้คุ้มค่าตามคุณสมบัติของมัน วัสดุบางประเภทอาจจะใช้งานได้ถึงร้อยครั้งหรือพันครั้ง ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนก่อน เพื่อนำไปสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การประยุกต์องค์ความรู้เรื่องหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าสู่กระบวนการทำงานของ Starboard เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งโครงการเพื่อสังคมล้วนมีจุดเริ่มต้นเดียวกันคือเรื่องความยั่งยืน คุณสเวน ให้ความสำคัญกับเรื่องวัสดุเป็นอย่างมาก นั่นทำให้เขาออกค้นหาว่า วัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วแต่ละชนิดจะสามารถนำมาชุบชีวิตเพื่อให้สามารถใช้งานใหม่อย่างมีคุณค่าสูงสุดได้อย่างไรบ้าง
“ที่ Starboard เราเริ่มตั้งแต่ศึกษาตัวสินค้าของเราว่าสามารถจะใช้วัตถุดิบที่สามารถใช้แล้วทดแทนได้ (Renewable resource) ได้ไหม ใช้สีย้อมจากธรรมชาติได้ไหม ใช้วัสดุรีไซเคิลได้ไหม โดยเฉพาะพลาสติกที่เราต้องนำมาใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์หลายประเภท เรามองหาวัตถุดิบทางเลือกต่าง ๆ อย่าง Bio Resin หรือ การนำเอาวัสดุรีไซเคิลมาผสม ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋าใส่เซิร์ฟบอร์ดของเราทุกใบล้วนมีส่วนผสมของเส้นใยที่ทำมาจากการรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกหรือสิ่งทอประเภท PET เป็นการนำคุณสมบัติของพลาสติกกลับมาใช้งานให้ได้อายุยืนยาวมากขึ้นก็คือการมองหาโอกาสในการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ จากวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างคุณประโยชน์สูงสุดให้กับวัสดุ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่ตอบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค”

จากวัสดุรีไซเคิล ถึงมือผู้บริโภค
“สิ่งสำคัญเมื่อผลิตภัณฑ์ไปถึงมือผู้บริโภค คือการแบ่งปันเรื่องราวให้พวกเขาได้ทราบว่า วัตถุดิบของสินค้าชิ้นนี้มีที่มาจากอะไร ถึงแม้รูปลักษณ์ภายนอกจะดูเหมือน ๆ กัน เราก็จะใช้โลโก้ในการสื่อสารว่าแท้จริงแล้วสินค้าชิ้นนี้มีที่มาทั้งจากวัสดุรีไซเคิล อัพไซเคิล หรือมาจากวัสดุเหลือใช้ประเภทใดบ้าง”
นั่นเป็นที่มาของป้ายฉลากสินค้าที่ทำเหมือนกับฉลากคุณค่าทางสารอาหารที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหาร หากแต่เปลี่ยนจากส่วนประกอบของอาหารมาเป็นสัดส่วนของวัสดุรีไซเคิล หรือปริมาณคาร์บอนที่การผลิตสินค้านี้ช่วยลดไปได้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักว่าผู้บริโภคเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกนี้มีความอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน

“เมื่อผู้บริโภคได้เห็นสิ่งเหล่านี้ ความพิเศษคือเขาจะได้รับรู้เรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์หรือวัสดุเหล่านี้ ยกตัวอย่างถ้าเขารู้ว่า สินค้าชิ้นนี้ผลิตมาจากแหอวนซึ่งเก็บขึ้นมาจากขยะในท้องทะเล ผู้บริโภคจะรู้สึกได้ถึงความมีส่วนร่วมกับเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้เมื่อได้เป็นเจ้าของสินค้า ได้ใช้งาน และอยากบอกเล่าต่อให้กับเพื่อนฝูงฟัง”
“ในกลุ่มผู้บริโภคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลเป็นสินค้าระดับลักชัวรี่ในรูปแบบใหม่ ผู้คนอยากได้ของชิ้นพิเศษ ข้าวของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของมันต่อไปได้ หน้าที่ของเราจึงเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลเหล่านี้ให้สวยงามดึงดูดใจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าให้กับวัสดุรีไซเคิล”

‘พันธมิตร’ กุญแจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน
“สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ผมเชื่อว่าเราจะสามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้ดีนั่นก็คือ พันธมิตร อย่างที่ทราบว่าเราเป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ บริษัทหนึ่ง ในโลกนี้ยังมีไอเดีย องค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย เราจึงต้องสร้างพันธมิตร เรียนรู้และเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กร NGOs หรือแม้แต่สตาร์ทอัพที่จะช่วยสนับสนุนสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ให้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การที่เราได้ร่วมงานกับพาร์ลีย์ (Parley) องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมในการร่วมกันคิดค้นวัสดุสำหรับอุปกรณ์เซิร์ฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราได้แลกเปลี่ยนกันทั้งเรื่องวัสดุ การวิจัยและพัฒนา การทดลองใช้งาน การทดสอบ ไปจนถึงเรื่องการตลาด”
ปัจจุบันทาง Starboard เองได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเอสซีจีผ่านการลงนามความร่วมมือในโครงการ ‘Collaboration for Sustainable Future’ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนการสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังพฤติกรรมเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้กับเยาวชน

“ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนกับการเดินทางครั้งใหม่ของเราที่จะได้ร่วมงานกันในหลายส่วน และที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าคือ เราอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน จึงเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับการทำงานร่วมกัน และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น”
คุณสเวนได้ทิ้งท้ายถึงการสร้างโลกใบนี้ที่ยั่งยืนว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนก็ทำได้ “สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ในทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายตัวเราเองที่กำลังจะเดินหน้าต่อไปอีกสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้า เริ่มลงมือทำก่อนที่มันจะสายเกินไป นั่นคือสิ่งที่พวกเราต้องคิดถึงในขณะนี้ ซึ่งก็เป็นสิ่งเดียวกันกับที่ Starboard ตระหนักถึง นั่นคือการสนับสนุนให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจเรื่องความยั่งยืนอย่างจำเป็นเร่งด่วน และเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แค่การลดคาร์บอนฟุตปริ๊นท์ยังไม่เพียงพอ ทุกองค์กรสามารถเป็นองค์กร Climate Positive ได้ (กำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อย) โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ถ้าพวกเขาต้องการลงมือทำจริง ๆ”