ว่ากันว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการได้ทดลองปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง เช่นเดียวกันกับฐานการเรียนรู้การจัดการขยะในโครงการ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ที่ริเริ่มโดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มาตั้งแต่ต้นปี 2562 ซึ่งขณะนี้กำลังแตกหน่อต่อผลไปสู่โรงเรียนนำร่อง 3 แห่งในจังหวัดระยอง ได้แก่ โรงเรียนบ้านมาบตาพุด โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า และโรงเรียนวัดมาบชะลูด เพื่อเป็นต้นแบบเรื่องการจัดการขยะ และพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ต่อไป

บ้าน วัด โรงเรียน ที่เชื่อมโยงไปกับธนาคารขยะชุมชน คือส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนบูรณาการการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยการเริ่มต้นที่โรงเรียนนั้น ก็เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ลงมือจัดการขยะด้วยตัวเอง เพื่อต่อยอดพฤติกรรมสู่คนในครอบครัว ขยายผลถึงระดับชุมชนได้จากการวางรากฐานให้กับเยาวชน
เริ่มต้นที่โรงเรียน
ในฐานการเรียนรู้การจัดการขยะสำหรับนักเรียนในโรงเรียนนำร่องทั้ง 3 นั้น เริ่มต้นจากการให้ความรู้เรื่องประเภทของวัสดุขยะในโรงเรียน ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับนักเรียนนั่นคือ ฐานถุงนมกู้โลก ที่ปลูกฝังเด็ก ๆ ให้ดื่มนมให้หมดไม่เหลือทิ้ง ก่อนจะนำไปจัดการโดยตัด ล้าง ตาก และรวบรวมเพื่อนำส่งรีไซเคิล สุดท้ายถุงนมเหล่านี้จะกลายมาเป็นสิ่งของใหม่ เช่น เก้าอี้พลาสติก กระถางต้นไม้ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการจัดการขยะภายในโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือกันของทุกคนในโรงเรียน

สำหรับขยะประเภทอื่น ๆ ทางเอสซีจีเองก็ร่วมมือกับโรงเรียน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในพื้นที่เพื่อให้ขยะแต่ละประเภทได้รับการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อย่างฐานโรงอาหารรักษ์โลก ที่ชวนนักเรียนรับประทานให้หมด ลดขยะเศษอาหาร แต่หากมีเศษอาหารเหลือก็ไปสู่ ฐานกรีนโคน ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย
รวมใจผู้คนในชุมชน
นอกจากนั้น ในโรงเรียนและวัดยังมีขยะจากธรรมชาติอย่างใบไม้จำนวนมาก ที่สามารถจัดการได้ผ่านฐานปุ๋ยไม่กลับกอง เปลี่ยนใบไม้กิ่งไม้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้เอง หรือฐานน้ำหมักชีวภาพ ที่นำใบไม้มาหมักทำสารปรุงดิน รวมทั้งขยะจำพวกขวดน้ำพลาสติก แก้ว กระป๋อง ที่รีไซเคิลได้ก็จัดให้มีธนาคารขยะชุมชน เป็นตัวกลางส่งต่อขยะรีไซเคิลไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป สร้างความภาคภูมิใจให้เด็ก ๆ และทำให้มีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากการขายขยะไปทำกิจกรรมในโรงเรียนอีกด้วย ทั้งหมดคือบทเรียนที่นักเรียนเรียนรู้จากการลงปฏิบัติจริง และสามารถนำไปต่อยอดให้กับสมาชิกในครอบครัวได้

การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม เริ่มต้นจากการปลูกฝังพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ให้กับหน่วยเล็ก ๆ อย่างเยาวชนในโรงเรียน เพื่อต่อขยายสู่ครอบครัว และชุมชน สามารถสร้างสรรค์ชุมชนที่มองเห็นคุณค่าและเข้าใจการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าผ่านกิจวัตรประจำวันที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก ถือเป็นรากฐานของการสร้างสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ที่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีให้ความสำคัญ

บ้าน วัด โรงเรียน ที่เชื่อมโยงไปกับธนาคารขยะชุมชน คือส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนบูรณาการการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยการเริ่มต้นที่โรงเรียนนั้น ก็เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ลงมือจัดการขยะด้วยตัวเอง เพื่อต่อยอดพฤติกรรมสู่คนในครอบครัว ขยายผลถึงระดับชุมชนได้จากการวางรากฐานให้กับเยาวชน
เริ่มต้นที่โรงเรียน
ในฐานการเรียนรู้การจัดการขยะสำหรับนักเรียนในโรงเรียนนำร่องทั้ง 3 นั้น เริ่มต้นจากการให้ความรู้เรื่องประเภทของวัสดุขยะในโรงเรียน ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับนักเรียนนั่นคือ ฐานถุงนมกู้โลก ที่ปลูกฝังเด็ก ๆ ให้ดื่มนมให้หมดไม่เหลือทิ้ง ก่อนจะนำไปจัดการโดยตัด ล้าง ตาก และรวบรวมเพื่อนำส่งรีไซเคิล สุดท้ายถุงนมเหล่านี้จะกลายมาเป็นสิ่งของใหม่ เช่น เก้าอี้พลาสติก กระถางต้นไม้ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการจัดการขยะภายในโรงเรียนที่เกิดจากความร่วมมือกันของทุกคนในโรงเรียน

สำหรับขยะประเภทอื่น ๆ ทางเอสซีจีเองก็ร่วมมือกับโรงเรียน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในพื้นที่เพื่อให้ขยะแต่ละประเภทได้รับการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อย่างฐานโรงอาหารรักษ์โลก ที่ชวนนักเรียนรับประทานให้หมด ลดขยะเศษอาหาร แต่หากมีเศษอาหารเหลือก็ไปสู่ ฐานกรีนโคน ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย
“เอสซีจีได้ร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อค้นหาปัญหา เรียนรู้ประเภทขยะในโรงเรียน พร้อมใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในพื้นที่ในการหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ขยะแต่ละประเภทได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมติดตามผลและพัฒนาต่อยอด จนเกิดเป็นแนวทางการจัดการขยะในโรงเรียนที่ปฏิบัติได้จริงอย่างยั่งยืน”– คุณวไลลักษณ์ จินต์หิรัณย์กุล ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ CSR หนึ่งในทีมงานขับเคลื่อนโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ
รวมใจผู้คนในชุมชน
นอกจากนั้น ในโรงเรียนและวัดยังมีขยะจากธรรมชาติอย่างใบไม้จำนวนมาก ที่สามารถจัดการได้ผ่านฐานปุ๋ยไม่กลับกอง เปลี่ยนใบไม้กิ่งไม้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้เอง หรือฐานน้ำหมักชีวภาพ ที่นำใบไม้มาหมักทำสารปรุงดิน รวมทั้งขยะจำพวกขวดน้ำพลาสติก แก้ว กระป๋อง ที่รีไซเคิลได้ก็จัดให้มีธนาคารขยะชุมชน เป็นตัวกลางส่งต่อขยะรีไซเคิลไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป สร้างความภาคภูมิใจให้เด็ก ๆ และทำให้มีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากการขายขยะไปทำกิจกรรมในโรงเรียนอีกด้วย ทั้งหมดคือบทเรียนที่นักเรียนเรียนรู้จากการลงปฏิบัติจริง และสามารถนำไปต่อยอดให้กับสมาชิกในครอบครัวได้

“ฐานการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ จากเอสซีจี ช่วยปลูกฝังเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะให้กับนักเรียนได้ดี เมื่อเด็ก ๆ ออกไปใช้ชีวิตในชุมชน ก็จะนำนิสัยนี้ติดตัวไป ช่วยบอกต่อพ่อแม่ว่าขยะนั้นสามารถเพิ่มรายได้และมีมูลค่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่าง โรงเรียน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่อย่างเอสซีจี ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่น ๆ ได้อีกด้วย”– คุณสนอง เพ็ชรฉกรรจ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชากลูกหญ้า
การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม เริ่มต้นจากการปลูกฝังพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ให้กับหน่วยเล็ก ๆ อย่างเยาวชนในโรงเรียน เพื่อต่อขยายสู่ครอบครัว และชุมชน สามารถสร้างสรรค์ชุมชนที่มองเห็นคุณค่าและเข้าใจการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าผ่านกิจวัตรประจำวันที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก ถือเป็นรากฐานของการสร้างสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ที่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีให้ความสำคัญ