สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมาเป็นเวลาหลายสิบปี หากแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสถานการณ์เหล่านี้เริ่มทวีความรุนแรง คุกคามธรรมชาติ และเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น หลายภาคส่วนเริ่มเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องเร่งสร้างความร่วมมือร่วมใจเพื่อแก้ปัญหานี้ จึงเกิดเป็นคำว่า “Climate Emergency” หรือ “ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ” คือสิ่งที่กระตุ้นเตือนถึงความร้ายแรงของวิกฤตเพื่อให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนตระหนักถึงผลกระทบอย่างจริงจังและลงมือแก้ไขอย่างเร่งด่วน
เพราะสภาพการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงมาก และอาจถึงจุดที่ไม่อาจหวนกลับสู่สภาวะปกติได้ หรือ Point of No Return ผู้นำจากกว่า 200 ประเทศจึงรวมตัวและตั้งเป้าหมายลดโลกร้อนร่วมกัน โดยอ้างอิงตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ว่านับจากนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 อุณหภูมิโลกไม่ควรเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส และควรพยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายความว่าแนวทางการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้จะต้องเข้มข้นมากขึ้นกว่าที่เคย โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหลักสำคัญ

แนวคิดและเป้าหมายที่ผู้ประกอบการลงมือทำแบ่งออกเป็น แนวคิดการพิจารณาปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการเติบโตของธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตให้ได้มากที่สุด หรือต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่าปริมาณการปลดปล่อยจริงตามแนวคิดแบบสัมบูรณ์ และตั้งเป้าหมายให้ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเลย (Net Zero) เช่น การดึงคาร์บอนกลับมากักเก็บแทนการปลดปล่อยสู่บรรยากาศ หรือเปลี่ยนคาร์บอนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ รวมไปถึงการปลูกป่าเพื่อให้ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับปลดปล่อยออกซิเจนให้กับชั้นบรรยากาศ ซึ่งในงานประชุม World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ได้มีการตั้งเป้าว่าทั้งโลกจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero นี้ร่วมกันให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050

เอสซีจีซีได้กำหนดเป้าหมายระยะยาวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 28 ในปี พ.ศ.2573 (เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน พ.ศ. 2550) เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส และได้เริ่มพิจารณาเป้าหมายที่สอดคล้องกับการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป้าหมายเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Carbon อีกด้วย
โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ โครงการ STL สระบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์
โดยในภาคการผลิต เอสซีจีซี เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างการลดการใช้พลังงาน และใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการออกแบบหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานให้ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศน้อยที่สุด มีการพัฒนานวัตกรรมการนำความร้อนหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต เป็นต้น โดยอีกหนึ่งวิธีการสำคัญคือ การนำนวัตกรรมดิจิทัลมาช่วยในการจัดการโรงงาน เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหารูปแบบและวิธีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม รวมถึงวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรและวางแผนบำรุงรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่ง
โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำชุตสาธิต เอสซีจี สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ
นอกจากนี้ในมุมสินค้าและโซลูชัน เอสซีจียังได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น นวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ emisspro® (อีมิสโปร) นวัตกรรมสารเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เตาเผา ลดการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม
emisspro® (อีมิสโปร) นวัตกรรมสารเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรม
สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้าพลาสติกที่มองหาวัตถุดิบที่ตอบรับกับความต้องการของลูกค้าเจ้าของแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่ต่างก็ประกาศนโยบายลดคาร์บอน เอสซีจีได้นำเสนอสินค้าเม็ดพลาสติก HDPE คุณภาพสูง ผลิตจากเทคโนโลยี SMX ที่ให้คุณสมบัติแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม สามารถผลิตเป็นสินค้าที่มีความบางลง หรือใช้วัตถุดิบในปริมาณน้อยลงได้โดยยังคงคุณสมบัติการใช้งานได้ดีเช่นเดิม ส่งผลให้น้ำหนักของสินค้าเบาลงจึงช่วยลดพลังงานในการขนส่ง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ผลิตจากกระบวนการและความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งต่อไปถึงมือผู้บริโภคต่อไป
สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน โดยมีแผนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 นี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ซึ่งมีประเด็นเรื่องภาษีคาร์บอนอย่างเป็นระบบ โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้เตรียมความพร้อมข้อมูลทางด้านวิชาการ
อีกกลไกหนึ่งที่เป็นที่สนใจก็คือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรป หรือ Emission Trading System โดยมีการกำหนดระดับของก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กรเป็นเพดานเอาไว้ เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถทำการแลกเปลี่ยนกัน เช่น การซื้อคาร์บอนเครดิตจากองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนน้อย เพื่อให้ปริมาณโดยรวมยังอยู่ภายใต้เพดานที่กำหนด ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาการจัดการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญต่อปัญหาวิกฤตโลกร้อน หันมาร่วมแรงร่วมใจกันคิดค้นวิธีและลงมือแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก็ย่อมเชื่อได้ว่าโลกของเราจะยังสามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ส่งต่อไปให้กับลูกหลานรุ่นถัดไปให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เอสซีจีในฐานะผู้นำทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มีความมุ่งมั่นที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านทั้งนโยบายการดำเนินงานภายในองค์กร การคิดค้นนวัตกรรม การผลิตสินค้าและนำเสนอบริการ และยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสู่เป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและโลกใบนี้
Climate Emergency เรื่องเร่งด่วน ต้องรีบรับมือ
เพราะสภาพการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงมาก และอาจถึงจุดที่ไม่อาจหวนกลับสู่สภาวะปกติได้ หรือ Point of No Return ผู้นำจากกว่า 200 ประเทศจึงรวมตัวและตั้งเป้าหมายลดโลกร้อนร่วมกัน โดยอ้างอิงตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ว่านับจากนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 อุณหภูมิโลกไม่ควรเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส และควรพยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายความว่าแนวทางการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้จะต้องเข้มข้นมากขึ้นกว่าที่เคย โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหลักสำคัญ

แนวคิดและเป้าหมายที่ผู้ประกอบการลงมือทำแบ่งออกเป็น แนวคิดการพิจารณาปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการเติบโตของธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตให้ได้มากที่สุด หรือต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่าปริมาณการปลดปล่อยจริงตามแนวคิดแบบสัมบูรณ์ และตั้งเป้าหมายให้ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเลย (Net Zero) เช่น การดึงคาร์บอนกลับมากักเก็บแทนการปลดปล่อยสู่บรรยากาศ หรือเปลี่ยนคาร์บอนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ รวมไปถึงการปลูกป่าเพื่อให้ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับปลดปล่อยออกซิเจนให้กับชั้นบรรยากาศ ซึ่งในงานประชุม World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ได้มีการตั้งเป้าว่าทั้งโลกจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero นี้ร่วมกันให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050

เอสซีจีซีกับแผนงานเพื่อเดินทางไปสู้วิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน
เอสซีจีซีได้กำหนดเป้าหมายระยะยาวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 28 ในปี พ.ศ.2573 (เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน พ.ศ. 2550) เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส และได้เริ่มพิจารณาเป้าหมายที่สอดคล้องกับการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป้าหมายเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Carbon อีกด้วย

โดยในภาคการผลิต เอสซีจีซี เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างการลดการใช้พลังงาน และใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการออกแบบหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานให้ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศน้อยที่สุด มีการพัฒนานวัตกรรมการนำความร้อนหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต เป็นต้น โดยอีกหนึ่งวิธีการสำคัญคือ การนำนวัตกรรมดิจิทัลมาช่วยในการจัดการโรงงาน เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหารูปแบบและวิธีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม รวมถึงวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรและวางแผนบำรุงรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ในมุมสินค้าและโซลูชัน เอสซีจียังได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น นวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ emisspro® (อีมิสโปร) นวัตกรรมสารเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เตาเผา ลดการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม

สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้าพลาสติกที่มองหาวัตถุดิบที่ตอบรับกับความต้องการของลูกค้าเจ้าของแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่ต่างก็ประกาศนโยบายลดคาร์บอน เอสซีจีได้นำเสนอสินค้าเม็ดพลาสติก HDPE คุณภาพสูง ผลิตจากเทคโนโลยี SMX ที่ให้คุณสมบัติแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม สามารถผลิตเป็นสินค้าที่มีความบางลง หรือใช้วัตถุดิบในปริมาณน้อยลงได้โดยยังคงคุณสมบัติการใช้งานได้ดีเช่นเดิม ส่งผลให้น้ำหนักของสินค้าเบาลงจึงช่วยลดพลังงานในการขนส่ง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ผลิตจากกระบวนการและความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งต่อไปถึงมือผู้บริโภคต่อไป
อนาคตของประเทศไทย กับนโยบาย Climate Emergency
สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน โดยมีแผนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 นี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ซึ่งมีประเด็นเรื่องภาษีคาร์บอนอย่างเป็นระบบ โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้เตรียมความพร้อมข้อมูลทางด้านวิชาการ
อีกกลไกหนึ่งที่เป็นที่สนใจก็คือ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรป หรือ Emission Trading System โดยมีการกำหนดระดับของก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กรเป็นเพดานเอาไว้ เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถทำการแลกเปลี่ยนกัน เช่น การซื้อคาร์บอนเครดิตจากองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนน้อย เพื่อให้ปริมาณโดยรวมยังอยู่ภายใต้เพดานที่กำหนด ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาการจัดการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญต่อปัญหาวิกฤตโลกร้อน หันมาร่วมแรงร่วมใจกันคิดค้นวิธีและลงมือแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก็ย่อมเชื่อได้ว่าโลกของเราจะยังสามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ส่งต่อไปให้กับลูกหลานรุ่นถัดไปให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เอสซีจีในฐานะผู้นำทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มีความมุ่งมั่นที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านทั้งนโยบายการดำเนินงานภายในองค์กร การคิดค้นนวัตกรรม การผลิตสินค้าและนำเสนอบริการ และยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสู่เป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและโลกใบนี้