พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน

พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน
พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน
   การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 นับเป็นวาระสำคัญและพันธกิจร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในทศวรรษใหม่นี้
 
   ความร่วมมือร่วมใจจากนานาประเทศผ่านการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นความตื่นตัวอย่างสูงของสังคมโลกที่มีต่อวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบันที่ใกล้ชิดผู้คนเข้ามาเป็นลำดับ กับประเทศไทยเองก็เช่นกัน หัวเรื่องที่เราให้ความสำคัญครอบคลุมสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยเฉพาะการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน
 

 
ก๊าซเรือนกระจกในเมืองไทย :
แผนปฏิบัติการเพื่อลดปริมาณลง

 
   ประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยที่มาของก๊าซเรือนกระจกอันดับแรกคือ ภาคพลังงาน อยู่ที่ราว 253 ล้านตันคาร์บอนฯ ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย และนับเป็นอันดับ 20 ของประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 0.8% ของทั้งโลก จากการจัดลำดับโดยองค์กร Climate Watch ในปี 2561
 
   ในส่วนของภาคพลังงานเอง จึงเกิดเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 เฉพาะในด้านพลังงานและขนส่ง ตั้งเป้าหมายผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน อาคาร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง และที่สำคัญคือ การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเข้ามาร่วมในการใช้งานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด
 

 
Thai Solar Energy และ SCGC
รากฐานสู่ความยั่งยืนของพลังงานทดแทน

 
   บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพลังงานสะอาด รองรับความต้องการใช้งานพลังงานทั้งในประเทศ และครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวิสัยทัศน์ด้านพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีมาอย่างยาวนาน นับเป็นศักยภาพชั้นนำที่ช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยและภูมิภาคเล็งเห็นความสำคัญของพลังงานที่มาจากธรรมชาติ ไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับยุคสมัยและนานาชาติ
 

 
   ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ว่า “Climate Emergency เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่โลกนั้นร้อนขึ้นทุกวัน เราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำอยู่จะทำให้สภาวะโลกร้อนนั้นดีขึ้น และการลดก๊าซเรือนกระจกที่โลกมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญและติดตามดูแลมาโดยตลอด”
 
   เช่นเดียวกันกับเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ที่เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมวัสดุพลาสติกและวิศวกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” จึงคิดค้นและออกแบบทุ่นลอยน้ำสำหรับประกอบและติดตั้งโซลาร์ฟาร์มบนพื้นที่ผิวน้ำได้ ด้วยข้อดีที่ความแข็งแรงทนทานต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวนตลอดทั้งปี และใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม จากจุดนี้จึงขยายต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร หรือ SCGC Floating Solar Solutions
 
SCGC Floating Solar Solutions
โซลูชันพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

 

 
   ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองผู้จัดการใหญ่ New Business เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมที่จะช่วยยับยั้งวิกฤตโลกร้อนในครั้งนี้ไว้ว่า “ทาง SCGC พิจารณาว่า เรามีโซลูชันหรืออะไรที่ตอบโจทย์สังคมได้บ้าง จึงได้มองเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และสิ่งที่มากับเกษตรกรรมก็คืออ่างเก็บน้ำและเขื่อน ซึ่ง SCGC มีองค์ความรู้ด้านพลาสติก และสามารถขึ้นรูปพลาสติกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าน่าจะมีประโยชน์หากผลักดันเรื่องการทำโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำบนผิวน้ำที่ว่างเปล่า จึงเป็นจุดเริ่มต้นว่าทำไมเราถึงสนใจในเรื่องนี้”
 
   อุปกรณ์ทุ่นลอยน้ำของ SCGC นอกจากจุดเด่นที่ตัวเนื้อผลิตภัณฑ์พัฒนาจากความถนัดเฉพาะทางด้านพลาสติก โดยเลือกใช้เม็ดพลาสติกที่มี UV Stabilizer เพิ่มความทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งแล้ว ยังพัฒนาคุณสมบัติของทุ่นให้ครอบคลุมตั้งแต่การรองรับการติดตั้งหลากหลายรูปแบบ การใช้งานที่ทนแดดทนฝนทนคลื่น การดูแลรักษาที่ทำได้ง่าย รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้มีพื้นที่เปิดบนผิวน้ำกว่า 30% และสามารถนำวัสดุไปรีไซเคิลได้ต่อไป
 
   ดร.แคทลีน ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “Floating Solar Solutions ที่ดีที่สุดในประเทศไทยตอนนี้ บอกตรง ๆ ว่าคำตอบของเราคือ SCGC เพราะในแง่ของ Supplier ในการทำทุ่นลอยน้ำที่จะติดแผงโซลาร์บนนั้น ในแง่ของการออกแบบของ SCGC มีความแข็งแรง ทนทาน อยู่กลางแจ้งได้ เป็นที่มาของการเลือกส่วนประกอบทุ่นโซลาร์จาก SCGC”
 

 
   การลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยย่อมต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต เจ้าของกิจการ ไปจนถึงภาคประชาชนที่ตื่นตัวและพร้อมเรียนรู้การใช้งานพลังงานสะอาด และที่สำคัญคือ หน่วยงานผู้ให้บริการพร้อมคำปรึกษาในเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อค้นหาโซลูชันที่ตอบความต้องการที่แตกต่างกันตามรายบุคคล
 
   เพียงเท่านี้ก็สามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของประเทศไทยในระยะ 2 ที่ต้องการให้เหลือเพียง 111-139 ตันคาร์บอนฯ ภายในปี 2573 จนไปสิ้นสุดที่ปี 2593 ด้วยความตกลงปารีสกำหนดให้ประเทศที่ร่วมลงนามปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งเป็นเป้าหมายของโลกไปพร้อมกัน
 
   “สิ่งที่เราทุกคนช่วยกันได้ คือใช้พลังงานให้คุ้มค่า และลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถทำได้เลย เริ่มวันนี้คือวันที่ดีที่สุด ไม่ต้องรอวันพรุ่งนี้” ดร.สุรชา กล่าวทิ้งท้าย