ในวงจรของเศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้งานทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดคือหัวใจสำคัญที่ช่วยลดปริมาณขยะปลายทางที่นำไปสู่การกำจัด ดังนั้น สิ่งที่ต้องคิดไปพร้อม ๆ กันกับการกำจัดขยะคือการหันกลับมามองว่า พวกเราใช้งานข้าวของแต่ละชิ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง
เช่นเดียวกันกับพวงหรีด หนึ่งในของที่มีความจำเป็นทางจิตใจสำหรับระลึกถึงคนที่เรารักแม้ในวันที่จากไป หากแต่ภายหลังการใช้งานหรือหลังจากดอกไม้เหี่ยวเฉาลง พวงหรีดก็แปรสภาพกลายเป็นขยะหลากหลายประเภท ทั้งดอกไม้ ฟาง และโครงไม้ จากจุดนี้เองที่ทำให้ ‘คุณนนทิกานต์ อัศรัสกร’ ทายาทโรงงานผลิตเสื่อพลาสติก เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์จากครอบครัวของเธอสามารถสร้างคุณค่าทั้งในแง่ความสวยงามและการใช้สอย จนเกิดเป็นแบรนด์ ‘ลฤก’ พวงหรีดเสื่อพลาสติกรีไซเคิล 100%

เริ่มต้นจากพื้นเพเดิมที่ครอบครัวเป็นโรงงานผลิตเสื่อพลาสติกมากว่า 50 ปี ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมของคุณนนทิกานต์ที่ก่อร่างสร้างความคิดขึ้น พาเธอมาคิดต่อว่า ในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะสามารถช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับสร้างความเข้าใจอันดีในเรื่องการใช้งานพลาสติกอย่างเต็มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง เธอจึงคิดจะเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลในการผลิตเสื่อ แทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่อย่างที่เคยทำมา
“เราเห็นว่าผู้คนมองพลาสติกว่าเป็นปัญหา เลยมาคิดต่อว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เลยเริ่มจากลองใช้พลาสติกรีไซเคิลทดแทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ แต่ยังผลิตสินค้าเดิม คุณภาพยังคงเท่าเดิม เราพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลผลิตเป็นเสื่อพลาสติกได้ 100% พอประสบความสำเร็จในเรื่องวัสดุแล้ว ก็มามองต่อว่า เสื่อจะทำเป็นสินค้าอะไรได้บ้าง”

โจทย์ถัดไปเรื่องการมองหาสินค้าที่ต่อยอดจากการผลิตเสื่อพลาสติกรีไซเคิล คุณนนทิกานต์จึงโฟกัสไปที่รูปแบบของขยะ และเธอเองก็เห็นว่า ในพวงหรีด 1 พวง สามารถสร้างขยะได้หลากหลายรูปแบบ “เราเลยผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน จากต้นน้ำว่าเราใช้พลาสติกรีไซเคิลมาผลิต แล้วเราก็สามารถใช้ประโยชน์จากสินค้าตัวนี้ต่อไปได้ด้วย จึงเกิดเป็นพวงหรีดเสื่อ ซึ่งเสื่อเองก็เป็นของที่ใช้งานในวัดอยู่แล้ว”
การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเสื่อจึงเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนการออกแบบผืนเสื่อ เปลี่ยนภาพลักษณ์เสื่อพลาสติกทั้งเรื่องสีสันและลวดลายให้ดูร่วมสมัย เข้ากับผู้คนทุกยุคทุกวัย ก่อนมาสู่ขั้นตอนการออกแบบพวงหรีดเสื่ออย่างสวยงาม เพื่อให้เกียรติกับทั้งผู้ให้และผู้รับพวงหรีด พร้อมกับใช้งานภายในวัดได้เหมือนกับเป็นของตกแต่งอีกชิ้นหนึ่ง
“คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมกันเยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร” คุณนนทิกานต์เล่า “เพราะเราไม่มีคัมภีร์หรือข้อแนะนำอย่างเป็นทางการว่าจะต้องจัดการกับขยะรูปแบบไหนอย่างไร ต่างคนต่างมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เราจึงคิดว่าในฐานะผู้ผลิตสินค้าจากพลาสติกจึงควรเป็นจุดเริ่มต้น และมีส่วนร่วมเป็นกำลังสำคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลเป็นรูปธรรม และสร้างผลประโยชน์ร่วมกันให้กับทุกคนในสังคม”

เช่นเดียวกันกับทุกคนในสังคมที่การร่วมมือร่วมใจกันคิด เริ่มต้นจากหน่วยย่อยเล็ก ๆ ก็สามารถสร้างโลกที่สวยงามและอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับลูกหลานต่อไป
ติดต่อ ลฤก พวงหรีดเสื่อ
โทร. 08-1349-5349
www.facebook.com/laluekwreath/
เช่นเดียวกันกับพวงหรีด หนึ่งในของที่มีความจำเป็นทางจิตใจสำหรับระลึกถึงคนที่เรารักแม้ในวันที่จากไป หากแต่ภายหลังการใช้งานหรือหลังจากดอกไม้เหี่ยวเฉาลง พวงหรีดก็แปรสภาพกลายเป็นขยะหลากหลายประเภท ทั้งดอกไม้ ฟาง และโครงไม้ จากจุดนี้เองที่ทำให้ ‘คุณนนทิกานต์ อัศรัสกร’ ทายาทโรงงานผลิตเสื่อพลาสติก เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์จากครอบครัวของเธอสามารถสร้างคุณค่าทั้งในแง่ความสวยงามและการใช้สอย จนเกิดเป็นแบรนด์ ‘ลฤก’ พวงหรีดเสื่อพลาสติกรีไซเคิล 100%

เริ่มต้นจากพื้นเพเดิมที่ครอบครัวเป็นโรงงานผลิตเสื่อพลาสติกมากว่า 50 ปี ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมของคุณนนทิกานต์ที่ก่อร่างสร้างความคิดขึ้น พาเธอมาคิดต่อว่า ในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะสามารถช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับสร้างความเข้าใจอันดีในเรื่องการใช้งานพลาสติกอย่างเต็มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง เธอจึงคิดจะเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลในการผลิตเสื่อ แทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่อย่างที่เคยทำมา
“เราเห็นว่าผู้คนมองพลาสติกว่าเป็นปัญหา เลยมาคิดต่อว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เลยเริ่มจากลองใช้พลาสติกรีไซเคิลทดแทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ แต่ยังผลิตสินค้าเดิม คุณภาพยังคงเท่าเดิม เราพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลผลิตเป็นเสื่อพลาสติกได้ 100% พอประสบความสำเร็จในเรื่องวัสดุแล้ว ก็มามองต่อว่า เสื่อจะทำเป็นสินค้าอะไรได้บ้าง”

โจทย์ถัดไปเรื่องการมองหาสินค้าที่ต่อยอดจากการผลิตเสื่อพลาสติกรีไซเคิล คุณนนทิกานต์จึงโฟกัสไปที่รูปแบบของขยะ และเธอเองก็เห็นว่า ในพวงหรีด 1 พวง สามารถสร้างขยะได้หลากหลายรูปแบบ “เราเลยผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน จากต้นน้ำว่าเราใช้พลาสติกรีไซเคิลมาผลิต แล้วเราก็สามารถใช้ประโยชน์จากสินค้าตัวนี้ต่อไปได้ด้วย จึงเกิดเป็นพวงหรีดเสื่อ ซึ่งเสื่อเองก็เป็นของที่ใช้งานในวัดอยู่แล้ว”
การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเสื่อจึงเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนการออกแบบผืนเสื่อ เปลี่ยนภาพลักษณ์เสื่อพลาสติกทั้งเรื่องสีสันและลวดลายให้ดูร่วมสมัย เข้ากับผู้คนทุกยุคทุกวัย ก่อนมาสู่ขั้นตอนการออกแบบพวงหรีดเสื่ออย่างสวยงาม เพื่อให้เกียรติกับทั้งผู้ให้และผู้รับพวงหรีด พร้อมกับใช้งานภายในวัดได้เหมือนกับเป็นของตกแต่งอีกชิ้นหนึ่ง
“คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมกันเยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร” คุณนนทิกานต์เล่า “เพราะเราไม่มีคัมภีร์หรือข้อแนะนำอย่างเป็นทางการว่าจะต้องจัดการกับขยะรูปแบบไหนอย่างไร ต่างคนต่างมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เราจึงคิดว่าในฐานะผู้ผลิตสินค้าจากพลาสติกจึงควรเป็นจุดเริ่มต้น และมีส่วนร่วมเป็นกำลังสำคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลเป็นรูปธรรม และสร้างผลประโยชน์ร่วมกันให้กับทุกคนในสังคม”

เช่นเดียวกันกับทุกคนในสังคมที่การร่วมมือร่วมใจกันคิด เริ่มต้นจากหน่วยย่อยเล็ก ๆ ก็สามารถสร้างโลกที่สวยงามและอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับลูกหลานต่อไป
อย่างที่ทุกคนทราบดีว่า พลาสติกใช้งานได้ยาวนานมาก แต่ทุกคนไปมองที่ข้อเสียว่าทำไมมันถึงอยู่นาน ไม่สลายไปเสียที หรือเป็นภัยกับสิ่งแวดล้อม เรามองอีกมุมว่าอายุยาวนานเป็นข้อดีที่ว่า ทำให้มันกลับมาใช้งานได้อีกจวบจนหมดอายุขัย
ติดต่อ ลฤก พวงหรีดเสื่อ
โทร. 08-1349-5349
www.facebook.com/laluekwreath/