เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา คำว่า COP26 กลายมาเป็นหัวเรื่องสำคัญที่ผู้คนพูดถึงกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแวดวงระดับภาครัฐ องค์กรเอกชน หรือแม้กระทั่งผู้คนในสังคมเองก็ตาม
COP26 หรือ The 26th Session of the Conference of the Parties คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในระดับโลก โดยจะจัดขึ้นทุกปี แต่ถูกหยุดพักไปในปี 2020 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ก่อนจะกลับมาจัดงานขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปี 2021 ที่ผ่านมา ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ โดยมีผู้นำประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ

หนึ่งในหัวเรื่องสำคัญของการประชุมครั้งที่ 26 นี้ คือ เรื่องการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายใน ‘ข้อตกลงปารีส’ หรือ Paris Agreement ที่เกิดขึ้นมาในการประชุม COP21 ในปี 2015 โดยแต่ละประเทศจะต้องสร้างข้อกำหนดร่วม ในการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับชาติ และจะต้องนำเสนอแผนการใหม่ให้กับที่ประชุมในทุก 5 ปี ซึ่งการประชุม COP26 นับเป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศจะได้แถลงนโยบายของตัวเอง เพื่อสร้างให้เกิดความร่วมมือระดับโลก และเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่า เพื่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050
สรุป COP26 : นโยบายระดับชาติ สู่ภาคปฏิบัติของผู้คน
การประชุม COP26 เมื่อปีที่ผ่านมา ได้มีการสร้างแนวนโยบายและเป้าหมายร่วมกันระดับโลก ในหัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำไปสู่การสร้างภาคปฏิบัติสำหรับแต่ละประเทศต่อไป
โดยมีนโยบายสำคัญที่ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 พร้อมกับการรักษาอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (2) การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ (3) การระดมทุนจากประเทศพัฒนาแล้วเพื่อช่วยเหลือประเทศที่เหลือภายใต้คำมั่นที่จะต้องเดินทางไปสู่เป้าหมายเพื่อโลก และ (4) การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม

ในการที่จะทำให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 นั้น เริ่มต้นที่การรักษาทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นพื้นที่มีค่าสำหรับการดำรงชีวิตของระบบนิเวศ และการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยทุกประเทศจะต้องรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ ยุติการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมกันกับที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นจะช่วยสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในภูมิภาคเอเชีย
ก๊าซมีเทน คืออีกสาเหตุของปัญหาก๊าซเรือนกระจก สหรัฐอเมริกาจึงร่วมกันกับคณะกรรมธิการยุโรปในการประกาศ ‘ปฏิญญามีเทนโลก’ หรือ Global Methane Pledge โดยเป้าหมายเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนให้ได้ 30% ของอดีตที่เคยปลดปล่อยในปี 2020 โดยก๊าซมีเทนหลัก ๆ เกิดจากกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตพลังงานที่ภาคน้ำมันและก๊าซ

เป้าหมายสู่ความยั่งยืนของประเทศไทย
ในส่วนของประเทศไทยเอง ในเวที COP26 ได้มีการประกาศเป้าหมายสำคัญในการไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ภายในปี 2065 ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน นั้นหมายความว่า หากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ อันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตหรือขนส่งแล้ว จำเป็นจะต้องหาแนวทางในการดูดซับให้เท่ากับค่าที่ปลดปล่อยออกไป อาจโดยการปลูกป่าเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อให้ปลดปล่อยก๊าซน้อยลง เพื่อให้หักลบกันที่ค่าเป็นศูนย์ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้คนภายในประเทศต้องหันกลับมาประเมินองค์กรหรืออุตสาหกรรมของตัวเอง เพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตน

ในส่วนนโยบายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นับเป็นเส้นทางที่ท้าทายมากกว่า เพราะจะต้องมองการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างลึกซึ้ง และเป็นระบบตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อให้การจัดการครั้งใหญ่แต่ละครั้งเกิดผลสูงสุด ตั้งแต่ต้นน้ำที่กระบวนการผลิต ไปจนถึงปลายน้ำที่กระบวนการบริโภค และยาวไปถึงการจัดการขยะหลังการบริโภค
แน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นหรือฉับพลันรวดเร็ว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในการปรับเปลี่ยนความคิดในการบริโภค ภาคอุตสาหกรรมในการผลิต และนโยบายระดับประเทศที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการและประชาชน แล้วการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะร่วมเดินไปข้างหน้าพร้อมกับเพื่อนรอบโลก ช่วยให้โลกใบใหญ่ผืนนี้ยังคงอยู่และยืนยงยาวนานไปถึงรุ่นลูกหลานอย่างยั่งยืน
COP26 หรือ The 26th Session of the Conference of the Parties คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในระดับโลก โดยจะจัดขึ้นทุกปี แต่ถูกหยุดพักไปในปี 2020 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ก่อนจะกลับมาจัดงานขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปี 2021 ที่ผ่านมา ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ โดยมีผู้นำประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ

หนึ่งในหัวเรื่องสำคัญของการประชุมครั้งที่ 26 นี้ คือ เรื่องการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายใน ‘ข้อตกลงปารีส’ หรือ Paris Agreement ที่เกิดขึ้นมาในการประชุม COP21 ในปี 2015 โดยแต่ละประเทศจะต้องสร้างข้อกำหนดร่วม ในการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับชาติ และจะต้องนำเสนอแผนการใหม่ให้กับที่ประชุมในทุก 5 ปี ซึ่งการประชุม COP26 นับเป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศจะได้แถลงนโยบายของตัวเอง เพื่อสร้างให้เกิดความร่วมมือระดับโลก และเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่า เพื่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050
สรุป COP26 : นโยบายระดับชาติ สู่ภาคปฏิบัติของผู้คน
การประชุม COP26 เมื่อปีที่ผ่านมา ได้มีการสร้างแนวนโยบายและเป้าหมายร่วมกันระดับโลก ในหัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำไปสู่การสร้างภาคปฏิบัติสำหรับแต่ละประเทศต่อไป
โดยมีนโยบายสำคัญที่ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 พร้อมกับการรักษาอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (2) การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ (3) การระดมทุนจากประเทศพัฒนาแล้วเพื่อช่วยเหลือประเทศที่เหลือภายใต้คำมั่นที่จะต้องเดินทางไปสู่เป้าหมายเพื่อโลก และ (4) การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม

ในการที่จะทำให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 นั้น เริ่มต้นที่การรักษาทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นพื้นที่มีค่าสำหรับการดำรงชีวิตของระบบนิเวศ และการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยทุกประเทศจะต้องรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ ยุติการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมกันกับที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นจะช่วยสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในภูมิภาคเอเชีย
ก๊าซมีเทน คืออีกสาเหตุของปัญหาก๊าซเรือนกระจก สหรัฐอเมริกาจึงร่วมกันกับคณะกรรมธิการยุโรปในการประกาศ ‘ปฏิญญามีเทนโลก’ หรือ Global Methane Pledge โดยเป้าหมายเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนให้ได้ 30% ของอดีตที่เคยปลดปล่อยในปี 2020 โดยก๊าซมีเทนหลัก ๆ เกิดจากกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตพลังงานที่ภาคน้ำมันและก๊าซ

เป้าหมายสู่ความยั่งยืนของประเทศไทย
ในส่วนของประเทศไทยเอง ในเวที COP26 ได้มีการประกาศเป้าหมายสำคัญในการไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ภายในปี 2065 ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน นั้นหมายความว่า หากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ อันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตหรือขนส่งแล้ว จำเป็นจะต้องหาแนวทางในการดูดซับให้เท่ากับค่าที่ปลดปล่อยออกไป อาจโดยการปลูกป่าเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อให้ปลดปล่อยก๊าซน้อยลง เพื่อให้หักลบกันที่ค่าเป็นศูนย์ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้คนภายในประเทศต้องหันกลับมาประเมินองค์กรหรืออุตสาหกรรมของตัวเอง เพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตน

ในส่วนนโยบายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นับเป็นเส้นทางที่ท้าทายมากกว่า เพราะจะต้องมองการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างลึกซึ้ง และเป็นระบบตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อให้การจัดการครั้งใหญ่แต่ละครั้งเกิดผลสูงสุด ตั้งแต่ต้นน้ำที่กระบวนการผลิต ไปจนถึงปลายน้ำที่กระบวนการบริโภค และยาวไปถึงการจัดการขยะหลังการบริโภค
แน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นหรือฉับพลันรวดเร็ว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในการปรับเปลี่ยนความคิดในการบริโภค ภาคอุตสาหกรรมในการผลิต และนโยบายระดับประเทศที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการและประชาชน แล้วการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะร่วมเดินไปข้างหน้าพร้อมกับเพื่อนรอบโลก ช่วยให้โลกใบใหญ่ผืนนี้ยังคงอยู่และยืนยงยาวนานไปถึงรุ่นลูกหลานอย่างยั่งยืน