Close
|

Interview

emisspro® x Bangchak เป้าหมายร่วมกันที่นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

Climate Emergency หรือภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ ถูกประกาศอย่างเป็นสากลสำหรับประชากรโลกเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนเห็นปัญหา และต้องรีบลงมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด ในบทบาทผู้ผลิตต้นน้ำ SCGC และบริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่างเล็งเห็นถึงประเด็นปัญหานี้เป็นอย่างมาก และดำเนินการเร่งมือแก้ปัญหาผ่านการวางวิสัยทัศน์ที่การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เช่นเดียวกัน นำไปสู่การลงมือในภาคปฏิบัติด้วยการนำ ‘นวัตกรรมสีเขียว’ อย่าง emisspro® ที่ช่วยตอบโจทย์ ถนอมรักษาโลกให้อยู่กับเราอย่างยาวนานที่สุด emisspro® นวัตกรรมการลดพลังงานในเตาเผา   โดยทั่วไปแล้ว เตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรมจัดเป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้พลังงานสูงที่สุด ในขณะเดียวกันก็สูญเสียความร้อนมากเช่นกัน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสีเขียวสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจึงถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไปพร้อมกับลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก จนออกมาเป็น emisspro® (อิมิสโปร) หรือสารเคลือบสำหรับเตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรม ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองผู้จัดการใหญ่ New Business, SCGC เล่าถึงที่มาของนวัตกรรมสีเขียวนี้ไว้ว่า “SCGC ให้ความสำคัญกับ Climate Emergency เป็นอย่างมากมาหลายปี และช่วงปีที่ผ่านมาก็ได้มีการประกาศเป้าหมายเรื่องการเป็นผู้นำในการลดคาร์บอน emisspro® ก็เป็นหนึ่งในวิธีในการลดการใช้พลังงานในเตาเผา ซึ่งเราเริ่มต้นใช้งานในอุตสาหกรรมโอเลฟินส์ของ…

ESG กุญแจสู่ความยั่งยืน เปิดประตูโลกใบใหม่กับการแก้ไขวิกฤตโลก

แนวคิด ESG ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบริหารองค์กรและดำเนินธุรกิจในยุคที่ความยั่งยืนคือหัวข้อหลัก โดยครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ E – Environmental หรือ สิ่งแวดล้อม S – Social หรือ สังคม และ G – Governance หรือ บรรษัทภิบาล ซึ่งเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้มีการขับเคลื่อน ESG ผ่านการออกนโยบายและการลงมือดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างยั่งยืนได้ จึงเป็นเรื่องของความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน’ ของ SCGC ซึ่งสะท้อนผ่านนวัตกรรมสินค้า บริการ และโซลูชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและอุตสาหกรรม ไปพร้อมกับการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เราได้รับเกียรติจาก คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ มาเล่าให้เราฟังถึงวิสัยทัศน์ มุมมอง และเส้นทางของ SCGC…

จากธุรกิจถังเก็บน้ำของครอบครัว สู่การเปลี่ยนแปลง ผ่านความคิดของคนรุ่นใหม่

เริ่มต้นจากถังเก็บน้ำเหล็กอาบสังกะสี ชนิดหมุดย้ำ พร้อมสัญลักษณ์รูปเรือใบที่คุ้นตา มาจนถึงถังเก็บน้ำพลาสติก และขยายต่อยอดธุรกิจไปสู่เฟอร์นิเจอร์พลาสติกของบริษัท เจริญมิตร จำกัด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการถังเก็บน้ำในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ทั้งกับถังเก็บน้ำสเตนเลส และถังเก็บน้ำพลาสติก ที่อยู่ยืนยาวมากว่า 53 ปี จนผ่านมาสู่มือของทายาทรุ่นที่สามอย่างคุณพลอย – พลอยชนก มิตรประเสริฐพร ที่เติบโตมาพร้อมกับกิจการของครอบครัวผ่านการดูแลชี้แนะของผู้เป็นบิดาอย่างคุณสันติ มิตรประเสริฐพร ซึ่งเป็นประธานบริษัท จึงสามารถผสานวัฒนธรรมองค์กรของเจริญมิตร เข้ากับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการทำธุรกิจควบคู่กับการดูแลโลกและสังคมอย่างยั่งยืนได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นของคนรุ่นใหม่ พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลง “ตั้งแต่เด็ก ๆ คุณพ่อก็จะพาพลอยเข้าโรงงานทุกวัน โรงงานนี้ก็เหมือนกับบ้าน พี่ ๆ พนักงานก็เหมือนกับครอบครัว เราเลยอยากทำให้ดีขึ้น อยากรักษามาตรฐานตรงนี้ให้อยู่ตลอดไป และอยากพัฒนาให้ดีที่สุด ซึ่งตั้งแต่พลอยเรียนจบมา คุณพ่อก็ให้ไปเป็นเด็กฝึกงานทั่วไป เลยขอไปอยู่โรงงานต่างจังหวัด เริ่มได้ดูสต็อก ตัดสต็อก ขายของ และที่สำคัญคือได้คุยกับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ใช้งานโดยตรง ทำให้ได้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ แล้วจึงได้นำมาพัฒนาการทำงานและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานยิ่งขึ้น” “จนถึงตอนนี้ พลอยทำงานได้ 4 ปีแล้ว ปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลการตลาด ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ตลาดทั้งในเรื่องเทรนด์​…

ชวนเปิดมุมมอง ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ เป็นเรื่องของทุกคน กับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่อยู่คู่กับการพัฒนาสภาพแวดล้อมของคนไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.​2536 โดยพันธกิจของสถาบัน คือการเป็นผู้เชื่อมต่อประสานการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดดุลยภาพด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับนานาชาติอย่างมหาวิทยาลัย Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นคลังสมองด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศติดต่อกันเป็นปีที่ 9 อีกทั้งยังเป็นหน่วยประสานและดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอีกจำนวนมากที่เชื่อมประสานทุกกลุ่มคนเข้าทั้งในและระหว่างประเทศ การพัฒนาสภาพแวดล้อมนั้น ครอบคลุมทั้งเรื่องระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงการสร้างเครือข่าย การฝึกอบรมบุคลากร การสื่อสารสู่ประชาชน และที่สำคัญนั่นคือ การออกฉลากสิ่งแวดล้อม สำหรับรับรองผลิตภัณฑ์ตลอดทั้งวัฏจักร ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดการที่ปลายทาง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดของเสียน้อยที่สุด วันนี้เราจึงชวนคุณมาพูดคุยกับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ถึงเรื่องภาพรวมของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทั้งของประเทศไทยและระดับโลก ไปจนถึงบทบาทของผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ที่จะช่วยสร้างจิตสำนึกรักษ์โลกไปด้วยกัน สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะบนโลกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? ดร.วิจารย์ : “ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกในตอนนี้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือว่าเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมสำคัญที่กระทบทั้งความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องเตรียมตัว ซึ่งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะอยู่กับเราไปอีกยาว และน่าจะมีผลกระทบมากกว่าปัญหาโควิด…

เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ช่วยทางธุรกิจคนสำคัญ แม้ในวันที่ต้องรักษาระยะห่าง

ไม่นานหลังการระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั่วโลกอย่างสิ้นเชิง ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำงาน แน่นอนว่าเราเห็นการเปิดรับและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่เช็คอินเข้างานจากที่บ้าน พักเที่ยงกับการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ช่วงบ่ายเข้าประชุมผ่านห้องประชุมออนไลน์ ตกดึกกดสั่งซื้อของทางแอปพลิเคชัน ทุกคนล้วนสนิทชิดเชื้อกับโลกดิจิทัลมากขึ้นในทุกขณะ วิถีการทำงานในองค์กรก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในสภาวการณ์โรคระบาด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไปพร้อมกับการสนองนโยบายทางสังคม ซึ่งนั่นเองเป็นจุดที่ทำให้องค์กรต้องก้าวสู่การทำงานในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว วันนี้เราได้มาร่วมพูดคุยกับ คุณสัญญา จินดาประเสริฐ Digital Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในส่วนสำนักงานและสายการผลิต พร้อมกับช่วยตอบโจทย์ลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสำนักงาน “เคยมีคนถามไว้ว่า อะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Transformation คำตอบที่ทุกคนเลือกคือ COVID-19” คุณสัญญาเริ่มต้นจากการอธิบายให้เห็นภาพรวมของโลกดิจิทัลหลังการมาถึงของ COVID-19 โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงสำคัญในเรื่องการพัฒนาแนวทางการทำงานในแบบดิจิทัล “ในส่วนขององค์กร เราเองใช้งานระบบดิจิทัลกันมาหลายปีแล้วแต่ใช้กับเพียงบางส่วนงานเท่านั้น แต่ตอนนี้กลายมาเป็นการใช้งานระบบดิจิทัลกันทั้งองค์กร เราพยายามทำให้องค์กรเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ทุกคนใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างเต็มที่ แรกสุดเราจึงเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการทำงานหลาย ๆ อย่างจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การประชุมออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติของทุกคน…

ส่องโอกาสและทิศทางนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ใครเริ่มก่อน คนนั้นได้เปรียบ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ การที่จำนวนประชากรที่มากขึ้นเรื่อย ๆ  ก็ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุนี้มนุษย์เราจึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรทางธรรมชาติ นำมาซึ่ง “นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Innovation)” ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ขณะนี้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ บริษัทเริ่มหันมาใส่ใจการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานาน บอกกับเราว่า นี่เป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและ SMEs เช่นกัน เพราะใครเดินนำเส้นทางนี้เป็นคนแรก ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์สูงสุด โอกาสเป็น “คนแรก” มาถึงแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังน้อยมาก สาเหตุก็เพราะผู้ประกอบการยังกังวลที่จะเปลี่ยนแปลง หรือก้าวออกจาก “ความคุ้นชิน” ไปยังสิ่งที่ยัง “ไม่มั่นใจ”  การก้าวไปเป็นคนแรกบนเส้นทางนี้อาจต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิตปัจจุบัน มีความเสี่ยงสูง ผู้ประกอบการหลายคนจึงมักรอให้ใครสักคนเป็นคนลองเริ่มก่อน ทว่า อ.สิงห์กลับมองเห็นตรงข้าม นี่คือโอกาสดีที่สุดสำหรับคนแรกที่กล้าก้าวไปก่อน และเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน…

ต่อยอดความแตกต่าง สร้างความร่วมมือสู่นวัตกรรมช่องเซอร์วิสโปร่งแสง ZERVEboard

‘แสงธรรมชาติ’ เป็นสิ่งหนึ่งที่บ้านและทาวน์เฮ้าส์ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ทว่าก็ยังมีพื้นที่บางจุดซึ่งอับแสงและทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเปิดไฟฟ้าหรือทำให้ห้องอับชื้น รู้สึกไม่สะอาดเท่าที่ควร ด้วยความตระหนักถึงข้อจำกัดเหล่านี้ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) จึงร่วมมือกับ บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สระบุรี) จำกัด และบริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด และบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาช่องเซอร์วิสโปร่งแสง เพื่อติดตั้งในห้องน้ำและเพดานบริเวณโถงบันได นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของช่องเซอร์วิสแห่งแรกของประเทศไทย ที่นอกจากช่วยเรื่องแสงสว่างแล้ว ยังช่วยให้บ้านสวยงาม ทันสมัย และประหยัดพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย จุดเริ่มต้นความร่วมมือ           จุดเริ่มต้นของความร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นจากไอเดียของสถาปนิกแบรนด์บ้านพฤกษาและเดอะคอนเนค ที่ต้องการนำเสนอ Smart Product ให้กับลูกค้าบ้านและทาวน์เฮ้าส์ กรุ๊ป 1…

นวนครพลาสติก – อาณาจักรแปรรูปพลาสติกที่เติบโตจากรุ่นสู่รุ่น

ย้อนไปหลายสิบปีก่อน เอกศิลปกรุงเทพ คือบริษัทที่ทำธุรกิจขายส่งและแปรรูปแผ่นอะคริลิกและพีวีซีสำหรับงานป้ายโฆษณา ถือเป็นธุรกิจแรกของครอบครัว ‘สิทธิจิตวัฒน์’ ที่บุกเบิกโดย คุณประสิทธิ์ สิทธิจิตวัฒน์ ด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์จึงเปิด บริษัท นวนครพลาสติก จำกัด ขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2537 เพื่อรองรับการแข่งขันที่มากขึ้น โดยเป็นผู้นำเข้า ผู้แทนจำหน่ายแผ่นพลาสติกและผู้แปรรูปพลาสติก รูปแบบแผ่น แท่ง และท่อ โดยมีประเภทพลาสติกที่หลากหลายกว่าเดิม เช่น PC, PP, PETG, PA6, MC NYLON, POM, HDPE, UHMW-PE, PEEK, PI, PTFE, ABS, HI.PS, PAI และ PEI เป็นต้น            ณ วันนี้ รุ่นคุณพ่อส่งไม้ต่อให้กับรุ่นลูก โดยมี คุณจักรพงศ์ สิทธิจิตวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอาณาจักรแห่งนี้ที่ดำเนินธุรกิจมา 2 ทศวรรษแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ…

Shinkolite Heat Cut Sheet ตอบโจทย์เรื่องกันความร้อนสำหรับหลังคาที่รอรถโดยสาร

หลายคนที่ผ่านย่านพระราม 9 คงได้เห็นการเปิดตัวของห้างขนาดใหญ่ใจกลางกรุงอย่าง Show DC ซึ่งเป็นศูนย์การค้าและเอ็นเตอร์เทนเม้นต์สุดหรูครบวงจรแห่งแรกของไทย และเป็น Entertainment Destination ที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การออกแบบตกแต่งศูนย์การค้าแห่งนี้เต็มไปด้วยแนวคิดสุดล้ำ และตอบสนองการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนั่นก็รวมถึงแนวคิดการออกแบบ Bangkok Bus Terminal ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและการขนส่งครบวงจรแห่งแรกของอาเซียน  นับเป็นหนึ่งในผลงานจากความร่วมมือของโครงการกับเอสซีจี เคมิคอลส์  โดย คุณกิตติคุณ ทัตตากร ภูมิสถาปนิก บริษัท จี แอล เอ.ดีไซน์ ผู้รับออกแบบให้โครงการ Show DC ได้บอกเล่าถึงโครงการนี้ให้เราฟังว่า            “แนวคิดตอนแรกที่ลูกค้าให้โจทย์มา คืออยากให้ Bangkok Bus Terminal เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางแห่งใหม่ของพระราม 9 เลย คือลูกค้าสามารถขึ้นรถไปยังจุดสำคัญต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ได้ที่นี่ หรือสามารถมาใช้บริการต่าง ๆ ของห้าง ก่อนขึ้นรถไปสนามบิน ไม่ว่าจะสุวรรณภูมิหรือดอนเมือง เราก็มีรถบริการรับส่งให้…

เมื่อสองผสานเป็นหนึ่ง When Two Become One

จากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา และการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติในอังกฤษและนอร์เวย์ ทำให้เอสซีจีสามารถสรรสร้างนวัตกรรมมากมาย ทั้งที่ใช้เทคโนโลยีนาโนและใช้เทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งนำความล้ำหน้ามาสู่วงการอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ ใน All Around Plastics ฉบับนี้ เรามาพูดคุยกับ คุณทีเนอ เรอร์วิค ประธานกรรมการบริษัท นอร์เนอร์ โฮลดิ้ง  ซึ่งแม้ขณะนี้จะเป็นบริษัทย่อยของเอสซีจี เคมิคอลส์แล้ว แต่ยังคงเป็นอิสระในการดำเนินการให้บริการที่ปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาและมีลูกค้าอยู่ทั่วโลก            ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปีในวงการ นอร์เนอร์เป็นผู้นำตลาดโลกในการให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ โดยนำเสนอทั้งการคิดค้นพัฒนานวัตกรรม บริการปรึกษาด้านกลยุทธ์ บริการทดสอบในห้องทดลอง นับตั้งแต่การแปลงก๊าซ การดัดแปลงพอลิเมอร์ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ ไปจนถึง สารเติมพอลิเมอร์ การอัดรีดพลาสติก และการนำพลาสติกไปใช้ขึ้นชิ้นงานพร้อมใช้ นับได้ว่าเป็นบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและผลิตผลในวงการอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง มาร่วมงานกับ เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้อย่างไร              นอร์เนอร์มาร่วมธุรกิจกับเอสซีจี เคมิคอลส์ได้สองปีแล้ว เราทุกคนดีใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเอสซีจี …

PE 112 มาตรฐานท่อส่งน้ำประปาระดับโลก ร่วมพัฒนาเพื่อผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

เมื่อการขยายตัวของประชากร และความเจริญทางสังคมเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคน้ำจืดซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็เป็นอีกพื้นที่ที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์ข้างต้น การเพิ่มขึ้นของปริมาณประชากรและนักท่องเที่ยว กลายเป็นสิ่งที่สวนทางกับปริมาณน้ำประปาที่สามารถผลิตได้ โดยพบว่าแหล่งน้ำจืดบนเกาะมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาในหน้าแล้ง ในขณะที่การนำน้ำทะเลไปผลิตน้ำประปา ก็มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนการผลิตที่สูง เนื่องจากต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก นั่นจึงเป็นโจทย์สำคัญที่การประปาส่วนภูมิภาค ในฐานะผู้รับผิดชอบพยายามศึกษาเพื่อเร่งแก้ปัญหา และนำมาซึ่งความร่วมมือในโครงการวางท่อส่งน้ำประปาลอดทะเลระหว่างอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีถึงเกาะสมุย ซึ่งมีระยะทางของท่อยาวกว่า 120 กิโลเมตร แบ่งเป็นการวางท่อบนบกจากอำเภอพุนพิน ไปยังพื้นที่ชายฝั่งที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร และจากชายฝั่งลอดทะเลอีก 20 กิโลเมตร เพื่อขึ้นฝั่งที่เกาะสมุย            โครงการดังกล่าว นับเป็นโครงการวางท่อส่งน้ำประปาลอดใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย คือเป็นท่อ HDPE 800 มม. PN10 วางลอดทะเลยาวประมาณ 20 กิโลเมตร นั่นจึงเป็นสิ่งที่การประปาส่วนภูมิภาคให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและกำกับดูแลงานวางท่อ ได้แก่ บริษัท วิค แอนด์…

ศรีไทยซุปเปอร์แวร์…Where the ‘SUPER’ is

การดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงนั้นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากองค์กรนั้น ๆ มีนโยบายที่ชัดเจนและบริหารธุรกิจให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ ดังเช่น บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ที่สั่งสมชื่อเสียงและสร้างความแข็งแกร่งมาอย่างยาวนานจนก้าวมาถึงปีที่ 53 ได้อย่างภาคภูมิใจ ปัจจุบัน บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ 3 ประเภท คือ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือนทำจากเมลามีน, ผลิตภัณฑ์พลาสติก และธุรกิจซื้อมาขายไป โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศกว่า 110 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น และมีโรงงานผลิตสินค้าใน 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และอินเดีย โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าบรรลุยอดขาย 20,000 ล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจัยที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคง นอกจากการเป็นบริษัทมหาชนที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งในการสนับสนุนการขยายกิจการได้อย่างต่อเนื่อง มีโรงงานผลิตสินค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายแล้ว คุณสนั่น อังอุบลกุล…

บูรณาการร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานระบบสายโทรคมนาคมไทย

ปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคนี้ โดยเฉพาะในที่ทำงานหรือที่บ้านที่มักใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่มักประสบปัญหาต่าง ๆ ในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณที่ล่าช้าหรือสัญญาณหลุดบ่อยครั้ง รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าวนั้นมาจากคุณภาพของสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไม่ได้มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการกำหนดมาตรฐานมอก.2050*, มอก. 2051* และมอก. 2052* ที่อ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60794 มาใช้ในการควบคุมมาตรฐานของสายเคเบิลใยแก้วนำแสงไว้ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เน้นทดสอบการดึงสายและการทดลองประสิทธิภาพในการนำส่งสัญญาณของสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ทว่ายังไม่ครอบคลุมการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาเคลือบสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Jacketing) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากวัสดุที่นำมาเคลือบสายไม่ได้คุณภาพ ไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศได้แล้ว ก็จะนำมาซึ่งการแตกชำรุดของสาย การส่งสัญญาณที่ไม่สม่ำเสมอ สูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซมบำรุงรักษา หรืออาจต้องลงทุนติดตั้งใหม่ ผลกระทบหนึ่งของการไม่ได้กำหนดมาตรฐาน Jacketing ข้างต้น จึงเป็นช่องโหว่สำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงจากต่างประเทศได้ผลิตและนำเข้าสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไม่ได้คุณภาพมาจำหน่ายให้แก่ผู้วางโครงข่ายการสื่อสารในประเทศไทย (Network Provider) โดยอาศัยราคาที่ถูกกว่าผู้ผลิต (Producer) ในประเทศไทย โดยเราอาจละเลยกันไปว่านั่นอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้วางโครงข่ายการสื่อสาร กระทบต่อการใช้งานของผู้บริโภค และอาจสูญเสียเม็ดเงินไปอย่างมหาศาล …
[elementor-template id="3478"]