INNOVATION - Mar, 22 2022
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประเมินสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนน ว่าประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 9 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ในเอเชีย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่ผู้คนจำเป็นต้องขับรถยาว ๆ หรือเดินทางไกลกลับบ้าน ยิ่งเป็นช่วงที่เกิดการเสียชีวิตจากการโดยสารรถยนต์เพิ่มมากขึ้นเป็นประจำทุกปี นวัตกรรมจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้คน เช่นเดียวกันกับอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เรื่องของอุปกรณ์และส่วนประกอบของรถยนต์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ตระหนักถึงการออกแบบ และเร่งสร้างการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น เพื่อการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่เองและเพื่อนร่วมทาง เม็ดพลาสติก SCGC™ PP P765J กับงานชิ้นส่วนรถยนต์ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC จึงร่วมมือกับบริษัท แกรนด์ สยาม คอมโพสิต จำกัด หรือ GSC ในการพัฒนาเม็ดพลาสติก SCGC™ PP P765J สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ ที่จะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร โดยเม็ดพลาสติกตัวนี้จะนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนแผงประตูด้านข้างรถยนต์ (Door trims) แผงควบคุมคอนโซล รถยนต์ (Instrumental panel) และกันชนหน้า-หลัง (Front-rear bumper) เทคโนโลยีของเม็ดพลาสติกชนิดใหม่นี้มีความพิเศษมากขึ้นในคุณสมบัติของการทนแรงกระแทกสูงเป็นพิเศษ…
INNOVATION - Nov, 16 2021
หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงพยาบาลนั่นคือ รถเข็นผู้ป่วย สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่ต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว เพื่อความสะดวกในการรักษาพยาบาล นำมาซึ่งโจทย์ในการพัฒนารถเข็นผู้ป่วยให้ตอบสนองความต้องการอย่างรอบด้าน ตลอดจนเรื่องฟังก์ชันการใช้งานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีม Medical and Well-Being Business และ Design Catalyst ของเอสซีจี เคมิคอลส์ และเครือ BDMS ไม่ว่าจะเป็นถังทิ้งเข็มฉีดยา รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ หรือกระถางต้นไม้รีไซเคิลจากแกลลอนน้ำยาล้างไต ที่ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการยกระดับการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น และการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วของโรงพยาบาลมาทำให้เกิดประโยชน์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรทั้งสอง จนนำมาสู่งานออกแบบ “Smart Transfer Wheelchair” รถเข็นผู้ป่วยดีไซน์ใหม่ ที่แก้ปัญหาต่าง ๆ ของรถเข็นแบบเดิม ๆ และการปรับโฉมให้ดูทันสมัย ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงพยาบาลในเวลาเดียวกัน Design Research ค้นหาจุดด้อย เปลี่ยนเป็นจุดเด่น จากความเชี่ยวชาญของทีม Medical and Well-Being Business และ Design…
INNOVATION - Nov, 15 2021
นวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบันใช้เวลาในการคิดค้นพัฒนา รวมถึงระยะเวลาในการเข้าถึงคนทั่วโลกสั้นลงเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อคนทั่วโลกไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลและความรู้ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยุคสมัยของธุรกิจทั่วโลกด้วยเช่นกันที่มักมีเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่และองค์กรต่าง ๆ นำไปปรับใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไปอย่างรวดเร็ว จากเทรนด์สู่การเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำธุรกิจ หากย้อนกลับไปเพียงไม่กี่ปีก่อน “Digital Transformation” เป็นเทรนด์ใหม่ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและพยายามนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ “Circular Economy” หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดการเกิดขยะที่อาจหลุดลอดไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ไปจนถึงเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว และกลับมาถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบันอย่างเรื่อง “Climate Emergency” หรือภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์กรยุคใหม่ที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งการผลักดันของนโยบายของภาครัฐ และความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการปรับตัวของเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน SCG GREEN POLYMER™ การปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของห่วงโซ่อุปทานจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และความตั้งใจที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง จึงได้ก่อเกิดเป็น SCG GREEN POLYMER™ โซลูชันของพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมของวงการ พร้อมที่จะร่วมมือกับเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมโซลูชันที่ตอบโจทย์…
INNOVATION - Jul, 23 2021
โจทย์ที่ท้าทายสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคนี้ คือการเพิ่มคุณภาพสินค้าควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตทั้งสำหรับเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาผลิตภัณฑ์และโซลูชันอันดีเพื่อตอบเรื่องความยั่งยืน ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจากผู้ผลิต การใช้งานสำหรับผู้บริโภค ไปจนถึงการจัดการที่ปลายทาง เพื่อหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ให้คุ้มค่าและเป็นมิตรกับโลกของเราให้มากที่สุด SMX™ Technology – Innovation for Sustainability SMX™ Technology เป็นผลลัพธ์จากนวัตกรรมการผลิต ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อการผลิตเม็ดพลาสติกประเภท HDPE ที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้น มีความสมดุลระหว่างคุณสมบัติความแข็งแรง (High Strength) และความเหนียว (Stiffness) ที่ตอบความต้องการของอุตสาหกรรม ทั้งด้านคุณสมบัติในการใช้งาน และสามารถลดปริมาณพลาสติกในการผลิตชิ้นงานให้น้อยลงโดยยังคงความแข็งแรงได้เหมือนเดิม จากนวัตกรรมดังกล่าว ส่งผลต่อทั้งวัฏจักรการผลิตและการบริโภคซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพราะเมื่อใช้เม็ดพลาสติกน้อยลง โดยที่ยังมีคุณสมบัติที่จำเป็นของสินค้าปลายทางครบถ้วนดังเดิม นั่นหมายถึงการใช้ทรัพยากรทั้งวัสดุตั้งต้นอย่างเม็ดพลาสติกและพลังงานระหว่างการผลิตอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเมื่อสินค้าปลายทางมีน้ำหนักเบาลง น้ำหนักระหว่างการขนส่งจึงลดลงด้วย ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการขนส่งได้อีกทางหนึ่ง ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกหลากหลาย จาก SMX™ Technology จากจุดเริ่มต้นที่นวัตกรรม…
INNOVATION VDO - Apr, 21 2021
ความท้าทายของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การพัฒนาชิ้นงานให้ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าในท้องตลาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ตอบโจทย์ทั้งต่อผู้ผลิต และต่อโลก เช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กับ COMOS ที่ดำเนินมายาวนานกว่าสิบปี ระหว่างทางคือการแบ่งปันเทคนิค วิธีการทำงาน และความต้องการของลูกค้าผู้บริโภคเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่นเดียวกับ SCG™ LLDPE S15 PU-stick series เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดพิเศษ ที่เพิ่มความแข็งแรงในการยึดติดกับพอลิยูรีเทนมากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป ทำให้นำไปขึ้นรูปเป็นผนังชั้นนอกของถังแช่ที่สามารถยึด ติดกับชั้นโฟมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างทั้งสององค์กร วันนี้ เราจึงชวนคุณมาพูดคุยกับ คุณสุดใจ จิรยาภากร ประธานกรรมการ บริษัท โคมอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตถังแช่ชั้นนำของประเทศ และ คุณเลิศศักดิ์ เหล่าศรีไพบูลย์ Technical Service Engineer ตัวแทนจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงเส้นทางที่มากว่าจะเป็นเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษประสิทธิภาพสูงสำหรับถังแช่ จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ คุณสุดใจเริ่มต้นเข้าสู่วงการถังแช่จากภาวะที่ถังแช่สำหรับเก็บรักษาอาหารสดและอาหารทะเลขาดตลาดในช่วงที่เขาเป็นชาวประมง จึงใช้วิชาความรู้เชิงช่างในการหล่อถังสังกะสีสำหรับใช้งาน แต่ด้วยการประมงต้องอยู่กับน้ำเค็มเสมอ จึงเกิดการกัดกร่อนทำให้อายุการใช้งานสั้น นั่นทำให้เขาเริ่มมองหาวัสดุสำหรับผลิตถังแช่ทดแทนชนิดเดิม จนกลายมาเป็นถังแช่พลาสติกอย่างที่เห็นกันทุกวัน…
INNOVATION - Apr, 21 2021
ในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องที่ทั้งโลกต้องดำเนินการเร่งด่วนคือการคิดค้นหาวิธีการและอุปกรณ์เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 นี้ และถึงแม้สถานการณ์จะสร่างซาจากการเริ่มฉีดวัคซีนในหลายประเทศ หากแต่การพัฒนานวัตกรรมป้องกัน COVID-19 ยังคงต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดยั้ง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ เช่นเดียวกันกับที่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมป้องกัน COVID-19 เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นมากที่สุด โดยทำงานร่วมกับทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของชิ้นงานที่ตอบความต้องการใช้งานสูงสุด ในเวลาอันเร่งด่วน จวบจนปัจจุบัน ทีมทำงานของทางเอสซีจียังคงเดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์ ด้วยการสังเกต รับฟังคำติชม และข้อเสนอแนะจากการใช้งานจริง จนนำมาสู่การต่อยอดพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมรุ่นใหม่ 2 ตัว เพื่อการใช้งานจริงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า อุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้สำหรับงานทันตกรรมแบบปรับระยะได้ (Flexi Dent Guard) จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม Dent Guard หรืออุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อลดการสัมผัสละอองน้ำและการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างการทำงานทันตกรรม จากกเดิมที่เป็นโครงเหล็กเคลือบสี ครอบด้วยพลาสติก PVC แบบใส ต่อยอดมาสู่นวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งทันตแพทย์และคนไข้ขณะใช้งานมากขึ้น โดยยังคงคุณสมบัติการใช้งานและการดูแลรักษาที่ง่ายเช่นเคย ส่วนที่ถูกนำมาพัฒนาต่อคือ โครงอุปกรณ์ที่สามารถปรับระยะได้ตามสรีระและความถนัดของแพทย์ ซึ่งสามารถง้างออกได้เพื่อให้คนไข้สามารถลุกบ้วนน้ำได้สะดวก โดยไม่ต้องถอดอุปกรณ์ครอบศรีษะจากเก้าอี้ ทำงานร่วมกันกับส่วนหน้าต่างสำหรับมองฟันคนไข้ ซึ่งผลิตจากแผ่นอะคริลิคใสวางครอบอยู่ด้านบน ช่วยเพิ่มการมองเห็นให้กับทันตแพทย์ขณะปฏิบัติงานได้ใกล้ชิดและชัดเจนขึ้น โดยมีหมุดล็อคแผ่นอะคริลิกกับโครงเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานอีกระดับ …
INNOVATION - Apr, 21 2021
ชีวิตประจำวันของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้ทุกสิ่งรอบตัวต้องเปลี่ยนแปลงตาม ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการหลีกเลี่ยงการสัมผัส การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือการใช้ชีวิตอยู่ติดบ้านให้มากขึ้น นั่นทำให้ในมุมมองของผู้ประกอบการทั้งในแง่อุตสาหกรรมการผลิตและภาคส่วนธุรกิจ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้กระบวนการทำงานสอดคล้องกับพฤติกรรมรูปแบบใหม่ยิ่งขึ้น ‘นวัตกรรม’ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกหยิบมาใช้เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับทุกคน ทั้งนวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์เฉพาะหน้า รวมไปถึงการพัฒนาผลลัพธ์จากนวัตกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อไปในระยะยาว ทั้งหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเทรนด์ใหม่ และขับเคลื่อนเทรนด์ที่มีอยู่เดิมให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น Acceleration: คีย์เวิร์ดของชีวิตกับโควิด-19 การใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนตั้งแต่ระดับจุลภาคอย่างวิถีชีวิต ไปจนถึงมหภาคอย่างอุตสาหกรรม มีคำว่า ‘การเร่งความเร็ว’ หรือ Acceleration มาเป็นหลักสำคัญในการทำงาน เริ่มต้นจากความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะให้ปลอดจากการสัมผัสเชื้อให้ได้มากที่สุด อย่างที่เอสซีจีเอง มีการพัฒนากล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ผลิตจากอะคริลิก Shinkolite และชุด DIY Aerosol Guard สำหรับส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับการใช้งานเฉพาะหน้าให้ทันท่วงที ก่อนจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างอุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้สำหรับงานทันตกรรมแบบปรับระยะได้ (Flexi Dent Guard) อีกทั้งแคปซูลความดันลบขนาดเล็ก สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ (Isolation Capsule) ที่มีหลายหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อเข้าเครื่อง…
INNOVATION - Dec, 15 2020
ตลอดระยะเวลาของการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค อุตสาหกรรมยานยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานวัสดุพลาสติกอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถทดแทนวัสดุเดิมอย่างเหล็กได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านความแข็งแรง น้ำหนักที่เบาลง สามารถตอบรับการออกแบบที่หลากหลาย และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้งานรถยนต์ได้มากขึ้นอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันพลาสติกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะส่วนประกอบหลักของการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งภายในและภายนอก เทรนด์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันนั้น ผู้ผลิตต่างก็กำลังมองหารถยนต์ที่สามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ดังนั้นหากผู้ผลิตสามารถลดน้ำหนักของชิ้นส่วนรถยนต์ด้วยการใช้วัสดุพลาสติกที่ขึ้นรูปชิ้นส่วนได้บางลงและมีน้ำหนักเบาลงโดยที่ยังคงความแข็งแรงเท่าเดิมได้ ก็จะส่งผลให้น้ำหนักโดยรวมของรถยนต์ทั้งคันลดลงนั่นเอง ส่งผลดีต่อทั้งผู้ใช้งานรถยนต์ในแง่ของการประหยัดน้ำมัน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ จากความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์ข้างต้นจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกพอลิโพรพิลีนคอมพาวนด์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์อย่างบริษัท แกรนด์ สยาม คอมโพสิต จำกัด หรือ GSC ต้องนำมาวิเคราะห์และแปลงเป็นค่าคุณสมบัติของวัสดุพลาสติกต้นทางที่ต้องการและคิดค้นกระบวนการคอมพาวนด์ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สินค้าพอลิโพรพิลีนคอมพาวนด์ที่ตรงกับความต้องการใช้งานมากที่สุด จึงเป็นที่มาของการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง GSC และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในการพัฒนาเม็ดพลาสติก SCGTM PP P1085J สำหรับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ใช้งานภายนอกที่บางลงและมีน้ำหนักเบาลง ทาง GSC เริ่มต้นด้วยการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติหลักของชิ้นงานพลาสติกที่ต้องการ กล่าวคือต้องมีความแข็งแรง รับแรงกระแทกได้ดี (high impact) คงรูปได้ดี (high stiffness) ตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ใช้งานรถยนต์ โดยเพิ่มคุณสมบัติของการไหลตัวที่ดีเพื่อให้ขึ้นรูปชิ้นงานที่บางลงได้ คุณสมบัติเหล่านี้ถูกส่งต่อให้กับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เพื่อทำการคิดค้นวิจัยเม็ดพลาสติกพอลิโพรพิลีนเกรดใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการอย่างครบถ้วน…
INNOVATION VDO - Dec, 15 2020
นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อราว 260 ปีที่แล้ว มนุษย์ก็ไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้กระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราคิดหาหนทางที่จะผลิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง และลดการใช้แรงงานมนุษย์ในส่วนที่มีความเสี่ยงกันมาโดยตลอด ปัจจุบันผู้ผลิตจำนวนมากจึงเลือกใช้นวัตกรรม Automation ซึ่งก็คือระบบที่เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่จะผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันให้พุ่งทะยานขึ้นไปเรื่อย ๆ Unmanned Stacker (ซ้าย) Automatic Barcode Sticking Machine (ขวา) การเข้ามาของ Automation ทำให้แต่ละโรงงานสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีขึ้น ผลิตสินค้าได้คุณภาพสม่ำเสมอ สามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนดเวลา เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มกำลังการผลิต และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานในโรงงานได้อย่างมีนัยสำคัญ Automation จึงตอบรับกับสถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้น จนกลายมาเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมแทบทุกประเภทในปัจจุบัน Automated Guided Vehicle (AGV) นวอินเตอร์เทค เป็นตัวอย่างของบริษัทที่พัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญไปสู่นวัตกรรม Automation จากพื้นฐานทักษะการขึ้นรูป (Machining) ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Injection…
INNOVATION VDO - Dec, 15 2020
ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วกว่าที่เคย ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งสร้างสรรค์ไอเดียให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงเพื่อที่จะอยู่รอด เติบโต และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกเข้ากับสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งรับ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดมาตรฐานการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ก็ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้ผู้ประกอบการธุรกิจยุคใหม่ต้องตื่นตัว เตรียมพร้อมปรับตัว พัฒนาสินค้า หรือบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่เสมอ และต้องทำให้ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย การจะสร้างสรรค์สินค้าให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก ไม่ว่าจะเป็น Health & Well Being, Digitization และเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจกันมากขึ้นอย่าง Sustainbility ให้ได้นั้น ทุกธุรกิจต่างต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด อาทิ เมื่อกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่ธุรกิจในแวดวงพลาสติกให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทุกภาคส่วนตลอดทั้ง Value Chain ก็ต้องเร่งทำความเข้าใจวงจรของสินค้า พัฒนาการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงคุณค่าของทรัพยากร ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเปลี่ยนขยะหลังการใช้งานปลายทางให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อันเป็นวาระสำคัญระดับโลกในขณะนี้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนทั้ง Value Chain ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร่วมสร้างสรรค์คุณค่า มุ่งพัฒนานวัตกรรม …
INNOVATION VDO - Nov, 20 2020
การเลือกใช้พลังงานสะอาด จากนิยามคือ พลังงานที่ไม่สร้างมลพิษในกระบวนการผลิตนั้น นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอีกวิธีในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งในประเทศไทยก็มีการใช้โซลาร์เซลล์ทั้งแบบติดตั้งบนพื้นดิน ติดตั้งบนหลังคา และติดตั้งบนผิวน้ำ ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยติดตั้งที่บ่อเก็บน้ำภายในโรงงานของเอสซีจีในปี 2017 เป็นที่แรก คุณพิสันติ์ เอื้อวิทยา Emerging Businesses Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจรว่า “เอสซีจีเล็งเห็นว่า พลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ส่งผลดีหลายประการ ทั้งเป็นการผลิตพลังงานใช้เอง พร้อมกับช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประกอบกับเห็นโอกาสของพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญทั้งด้าน วัสดุพลาสติก และการออกแบบมาพัฒนาร่วมกับคู่ธุรกิจจนเกิดเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเฉพาะของเอสซีจีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว” คุณสมบัติพิเศษของทุ่นลอยน้ำจากการใช้วัสดุและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ หลักการทำงานของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ คือ การติดตั้งทุ่นพลาสติกบนพื้นที่ผิวน้ำเพื่อเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์ จึงต้องการทุ่นที่มีความคงทนแข็งแรง มีแรงลอยตัวดี และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดสามารถตอบโจทย์ได้ด้วย การใส่ใจลงรายละเอียดการออกแบบดีไซน์ตัวทุ่นลอยน้ำ…
INNOVATION - Nov, 19 2020
ในยุคปัจจุบันนี้ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มหันมาใส่ใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นได้จากพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลงไป เจ้าของแบรนด์สินค้าเองต่างก็คำนึงถึงปลายทางของสินค้าหลังการใช้งานมากขึ้น หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวปฎิบัติของทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า ผู้ใช้งานสินค้า ไปจนถึงปลายทางการจัดการหลังการใช้งานสินค้า เมื่อกล่าวถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกลุ่มประเภทสินค้าที่มีการใช้วัสดุพลาสติกสูงที่สุดและใช้งานกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากประโยชน์ในการปกป้องคุณภาพและยืดอายุของสินค้าที่บรรจุภายใน จะพบว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว หรือ Flexible Packaging มักผลิตจากฟิล์มที่ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุหลายประเภท ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายได้ในชิ้นเดียว ตัวอย่างเช่น ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื้น มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรักษาสินค้าภายในได้ ทนต่ออุณหภูมิขณะใช้งาน และพิมพ์ได้สวยงาม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัวมักจะประกอบด้วยชั้นต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ 3 ส่วนหลักๆ แตกต่างกันไป ผู้ผลิตจึงนิยมเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติโดดเด่นและเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละส่วน ดังนี้ ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่เป็นชั้นพิมพ์ ใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ฉลาก หรือสื่อสารแบรนด์สินค้า หรือเพื่อความสวยงาม โดยวัสดุสำหรับฟิล์มชั้นนี้จะต้องมีความแข็ง ทรงรูป (High Stiffness) ไม่ยืดย้วย (Low Elongation) เพื่อการพิมพ์ที่สวยงาม…
INNOVATION - Nov, 19 2020
รถเข็นสำหรับจ่ายยา นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดูแลผู้ป่วยใน ทั้งการนำจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่ห้องพักตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน รวมถึงการทำหัตถการต่าง ๆ การเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลชั้นนำอย่างเครือ BDMS หรือ กรุงเทพดุสิตเวชการให้ความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอื่น ๆ เมื่อกล่าวถึงรถเข็นจ่ายยาที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีทั้งการประยุกต์ใช้รถเข็นโลหะธรรมดาที่ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะเจาะจง และแบบที่มีลิ้นชักเก็บยาโดยเฉพาะซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณารถเข็นแต่ละประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะของเครือ BDMS และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ซึ่งมีประสบการณ์ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาแล้วด้วยความเชี่ยวชาญทั้งการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ พร้อมพันธมิตรที่พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจร เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทาง BDMS มีแนวคิดที่จะปรับการบริหารจัดการการจ่ายยาให้เป็นระบบปิด หรือ close-loop medication ให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อแพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วข้อมูลจะต้องถูกส่งตรงไปยังรถเข็นจ่ายยาได้ทันที เพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ทีมงานของเอสซีจีได้เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานจริงของทั้งทีมแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจ่ายยาทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อได้รับทราบข้อมูลความต้องการครบถ้วนแล้วเอสซีจีจึงออกแบบรถเข็นให้มีลิ้นชักจ่ายยาจำนวน 6 ลิ้นชัก ตรงตามจำนวนห้องของผู้ป่วยที่พยาบาลแต่ละท่านต้องดูแลรับผิดชอบ โดยมีระบบล็อคลิ้นชักที่ต้องใช้การสแกนข้อมูลเลขผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตนก่อน และจะปลดล็อคได้เฉพาะลิ้นชักที่กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยท่านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจ่ายยา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลเองก็ต้องล็อกอินเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือบันทึกประวัติการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ลิ้นชักทั้งหมดจะล็อคอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถเปิดใช้งานได้ครั้งละ 1 ลิ้นชักเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด สับสน โดยจะต้องสแกนรหัสผู้ป่วยเพื่อปลดล็อคทุกครั้งเมื่อต้องการบรรจุยาจากห้องยาเข้าลิ้นชัก…
INNOVATION VDO - Nov, 19 2020
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ทุกคน และมีความสำคัญในทุกมิติของการใช้ชีวิต ตั้งแต่การเป็นพื้นที่ในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุก ๆ วันของการอยู่อาศัย เช่นเดียวกันกับ SC Asset กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่คำนึงถึงคุณภาพของชีวิตและความเป็นอยู่ของลูกบ้านเป็นสำคัญ All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอนันต์ เจนเลื่อย ผู้จัดการโครงการพัฒนาทรัพย์สินแนวราบ กลุ่ม 3 A บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบรรยากาศสงบร่มรื่นที่แฝงไปด้วยความหรูหราของโครงการหมู่บ้านบางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ 2 ถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้แก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน การออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยให้ตรงใจผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “SC Asset เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม โดยจุดประสงค์หลักคือต้องการให้ลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือโครงการของ SC Asset สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างครบวงจรภายในพื้นที่อยู่อาศัย” “ยกตัวอย่างโครงการหมู่บ้านบางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ 2 ที่เรานั่งคุยกันอยู่นี้ มีคอนเซ็ปต์แบบนอร์ดิก (Nordic)…
INNOVATION VDO - Sep, 8 2020
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเขตร้อนอย่างเอเชียและแอฟริกา รวมถึงประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยปีละ 100,000 คน และเสียชีวิตกว่า 100 คน เนื่องจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและแพร่กระจายโรคได้อย่างกว้างขวาง โจทย์สำคัญในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกจึงอยู่ที่การป้องกันการเกิดโรคด้วยการลดจำนวนการขยายพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง สถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส (Institut Pasteur) สถาบันวิจัยชั้นนำระดับโลกซึ่งศึกษาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมากว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้งโครงการ Defeat Dengue Program ได้ร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์สารเติมแต่งพิเศษ (Functional Material) รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบจนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมกับดักยุงลายขึ้น ทำความรู้จักนวัตกรรมกับดักยุงลาย นวัตกรรมกับดักยุงลายนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนกับดักยุง ที่ทำหน้าที่ดึงดูดยุงลายให้เข้ามาวางไข่ และส่วนของสารพิเศษที่ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายในกับดัก หลักการสำคัญเริ่มแรกในการออกแบบกับดักจึงอยู่ที่การเรียนรู้พฤติกรรมตามธรรมชาติของยุงลาย และศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุง เพื่อนำมาสร้างกับดักที่เหมาะสม ทั้งเรื่องสีของวัสดุพลาสติก ขนาดและรูปแบบช่องว่างที่ให้ยุงบินเข้า ระดับน้ำ พื้นที่ว่างเพื่อการบินและลงมาเกาะวางไข่ภายในกับดัก…
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2563 ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แม้ในประเทศไทยจะมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคบ้างแล้ว ห้างร้านที่เคยปิดทำการนานนับเดือนเริ่มกลับมาให้บริการ ผู้คนเริ่มออกมาพบปะ ทำกิจกรรมกันในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น แต่เราทุกคนต่างก็มีหน้าที่ต้องระมัดระวัง ดูแลความสะอาดและคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันและปรับตัวให้เข้ากับวิถีปฏิบัติใหม่ ๆ กันอย่างเคร่งครัด เช่น สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ก้าวออกจากบ้าน สำหรับสถานที่ต่าง ๆ ก็ต้องเตรียมพร้อมด้วยอุปกรณ์ป้องกันเชื้อแบบต่าง ๆ ที่คิดค้นหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน All Around Plastics พาคุณผู้อ่านมารู้จักกับนวัตกรรมส่วนหนึ่งที่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ร่วมกันนำความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งด้านวัสดุและการออกแบบมาพัฒนาอุปกรณ์เพื่อป้องกันเชื้อในชีวิตประจำวันของคนไทยในยุค New Normal อย่างมีมาตรฐาน รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยให้แก่แพทย์และผู้ป่วยไปพร้อมกัน ปกป้องอย่างมั่นใจด้วยฉากกั้นอะคริลิกป้องกันเชื้อแบบสำเร็จรูป เมื่อผู้คนกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านอีกครั้ง ฉากกั้นกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่พบเห็นได้แทบทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงเรียน รถขนส่งสาธารณะ ร้านอาหาร ไปจนถึงแผงลอยริมถนน เพื่อทำหน้าที่จัดสรรพื้นที่อันจำกัดในภาวะที่เราต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างสบายใจ ช่วยกั้นป้องกันเชื้อ และละอองฝอยระหว่างการพูดคุยหรือติดต่องาน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อระหว่างกัน ฉากกั้นอะคริลิกป้องกันเชื้อแบบสำเร็จรูปและฉากกั้นอะคริลิกชนิดออกแบบพิเศษ ผลิตจากแผ่นอะคริลิก Shinkolite (ชินโคไลท์) เกรดพรีเมียมที่มีความแข็งแรงทนทาน ง่ายต่อการเช็ดล้างทำความสะอาด…
INNOVATION - Mar, 24 2020
หากลองสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากเรื่องใกล้ตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ หน้าจอสมาร์ทโฟนจากที่เคยเป็นเพียงอุปกรณ์สื่อสารที่เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย หรือสื่อบันเทิงต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมส่วนใหญ่ของชีวิตประจำวันที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่าย พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันก็ปรับเปลี่ยนไปตามการปรับตัวนำเสนอสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่ต้องเดินหน้าตามเทคโนโลยีที่เติบโตในแต่ละอุตสาหกรรม จนเรียกได้ว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต่างก็เป็นกลไกที่เอื้อให้ต่างฝ่ายต่างเกิดการปรับตัวในโลกยุคที่เทคโนโลยีรุดหน้าและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว All Around Plastics ฉบับนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอรพงศ์ เทียนเงิน Chief Executive Officer บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ถึงความสำคัญของดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การก้าวให้ทันเกมของดิจิทัลกลายมาเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการพัฒนาและเดินหน้าในระดับโลก รู้จักกับ Disruption และ Digital Transformation “Disruption ในนิยามของผมคือ อะไรก็ตามที่ทำให้การทำธุรกิจในรูปแบบปัจจุบันไม่สามารถคงอยู่ได้ ที่เห็นได้ชัดก็มีทั้งอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนที่เปลี่ยนทิศทางไปเป็นสื่อออนไลน์ การคมนาคมกับบริการผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือการค้าผ่านทางหน้าร้านดิจิทัล ซึ่งในธุรกิจทั้งหลาย เมื่อมองลึกลงไป สิ่งที่ทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็คือเทคโนโลยี เป็นที่มาของ Digital Transformation” เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงจากดิจิทัล อย่างแรกที่เห็นภาพได้ชัดเจนคือ…
INNOVATION VDO - Mar, 16 2020
เมื่อกล่าวถึง IoT หรือ Internet of Things ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อุปกรณ์สมาร์ททั้งหลายสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากที่เคยเป็นเรื่องใหม่ ฟังดูไกลตัว ปัจจุบัน IOT ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นและพัฒนาไปได้รวดเร็วจากปัจจัยด้านเทคโนโลยี 4G ที่กระจายทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยบวกกับ Cloud Storage หรือระบบการจัดเก็บข้อมูลขนาดมหึมาที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกแล้วนั้น ภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญของประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในวงการที่ดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เกษตรกรผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน นวัตกรรมบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร Agcura (แอคคูร่า) เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นเพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถทำการเกษตรได้แม่นยำด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์เข้ามาผสมผสานกับความรู้ทางด้านการเกษตร ทีมงาน Agcura เริ่มต้นจากการลงพื้นที่สอบถามและทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดกับเกษตรกรทั่วประเทศไทยเพื่อตั้งเป็นโจทย์สำหรับการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ โดย 3 ปัญหาหลักที่พบ ได้แก่ สภาพอากาศที่แปรปรวนไม่อาจคาดเดาได้ ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาการจัดการทรัพยากร ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับ ‘น้ำ’ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของผลผลิตและส่งผลต่อต้นทุน เนื่องจากการจัดการน้ำเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมและถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ด้วยปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปข้างต้นจึงกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่ว่า เกษตรกรจะทราบปริมาณน้ำที่เหมาะสมและช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการให้น้ำได้อย่างไร การทำงานของ Agcura…
INNOVATION - Jan, 14 2020
จากนวัตกรรมไฮไลท์ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอย่าง SMX™ Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพัฒนาและผลิตเม็ดพลาสติกประเภท HDPE (High Density Polyethylene) ให้มีคุณสมบัติแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของสินค้า บนแนวคิดที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น นำไปสู่การลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกให้น้อยลงได้ โดยที่สินค้ายังคงคุณสมบัติเชิงกล (Mechanical properties) ได้ดีเทียบเท่าเดิม นั่นเท่ากับว่าเม็ดพลาสติกที่พัฒนาให้มีความแข็งแรงขึ้นนั้น สามารถรองรับคุณสมบัติการใช้งานของสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ และหนึ่งในนั้นคือ เม็ดพลาสติก HDPE เกรด SMX™ 551BU สำหรับผลิตถังบรรจุสารเคมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1,000 ลิตร หรือ IBC (Intermediate Bulk Container) ซึ่งเป็นถังพลาสติกสำหรับบรรจุสารเคมีที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา หรือสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และกรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น โดยถัง IBC สามารถเรียงซ้อนได้หลายชั้น และเคลื่อนย้ายได้ด้วย forklift…
INNOVATION VDO - Jan, 7 2020
งาน K2019 ถือเป็นงานแสดงสินค้าที่คนในอุตสาหกรรมให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นงานแสดงนวัตกรรมสินค้าพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดขึ้นทุก 3 ปี ณ เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี โดยในปีนี้มีกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกรวมถึงองค์กรสถาบันชั้นนำระดับโลกกว่า 3,330 แห่งเข้าร่วมจัดแสดง ภายในงานเต็มไปด้วยผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกว่า 225,000 คนจาก 165 ประเทศหมุนเวียนเข้ามาชมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และแลกเปลี่ยนโอกาสทางธุรกิจกันอย่างไม่ขาดสายตลอดระยะเวลา 8 วันของการจัดงาน ประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการทั่วโลกก็คือ พลาสติกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Plastics for Sustainable Development) ซึ่งเป็นหนึ่งในธีมหลักของงาน K2019 และยังเห็นได้อย่างชัดเจนจากบูทของผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลกที่ต่างขนเอานวัตกรรมที่เป็นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบวัสดุ กระบวนการผลิต หรือสินค้าปลายทางที่จะสามารถกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลกที่เน้นความยั่งยืน และสอดคล้องกับผลสำรวจของงานที่เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน ติดอันดับ 1 ใน 3 หัวข้อที่ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจสูงสุด ในปีนี้ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีได้เข้าร่วมเป็นผู้จัดแสดงในงานอีกเช่นเคย โดยภายในพื้นที่จัดแสดง เอสซีจีได้นำนวัตกรรมและเรื่องราวต่าง…
INNOVATION VDO - Oct, 9 2019
หากพูดถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร นอกจากการใช้งานของผู้บริโภคในชีวิตประจำวันแล้ว ในกระบวนการผลิตอาหารก็มีความจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในการขนส่งวัตถุดิบระหว่างไลน์การผลิตด้วยเช่นกัน หน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทให้ตอบสนองความต้องการใช้งาน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เครือเบทาโกร กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจรชั้นนำของประเทศไทยก็เป็นองค์กรที่ใส่ใจและต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกในกระบวนการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพที่สุด จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างเครือเบทาโกรและธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พัฒนา SCG™ HDPE S111F for High Impact Film เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษที่มีความโดดเด่นเรื่องความแข็งแรงและความเหนียว จึงสามารถลดเนื้อวัสดุในการผลิตลงได้ ตอบโจทย์คุณสมบัติความต้องการของสายการผลิต และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รู้จักเครือเบทาโกร เครือเบทาโกร เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารแปรรูปที่ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพและความปลอดภัยที่ผู้บริโภคชาวไทยคุ้นเคยมาเป็นเวลานาน เบื้องหลังความสำเร็จของเครือเบทาโกรเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาดำเนินการบริษัทกว่า 52 ปี น.สพ. รุจเวทย์ ทหารแกล้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา เครือเบทาโกร กล่าวถึงจุดเริ่มต้นว่า “ธุรกิจของเบทาโกรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2510 จากอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ก่อนขยายสู่การผลิตและพัฒนาสายพันธุ์สัตว์ การทำฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ การแปรรูปเนื้อสัตว์ และการผลิตอาหาร เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ” …
ในปัจจุบัน เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม หลายคนอาจมองเห็นภาพของกลุ่มสตาร์ทอัพที่นำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ อย่างการใช้ดิจิทัลมาจัดข้อมูลปริมาณมหาศาล (Big Data) และสร้างซอฟต์แวร์เจ๋ง ๆ ที่จัดการทุกอย่างได้ภายในพริบตาอย่างที่เราคุ้นเคยกัน แต่เมื่อมองในภาพที่กว้างขึ้นกว่าเพียงการแก้ปัญหาความไม่สะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ในระดับอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีความซับซ้อน ก็ต้องการไอเดียใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน เอสซีจีเป็นองค์กรนวัตกรรมที่มุ่งมั่นสนับสนุนระบบนิเวศ (ecosystem) ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมในทุก ๆ ด้าน เพื่อค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการหาโซลูชั่นใหม่ ๆ มานำเสนอลูกค้าได้อย่างรอบด้านที่สุด นอกจากการส่งเสริมด้าน R&D ภายในองค์กรมาอย่างต่อเนี่อง รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพาร์ทเนอร์จากทั่วโลกแล้ว เอสซีจีได้ร่วมก่อตั้ง SPRINT Accelerator Thailand ขึ้นเพื่อเป็น ecosystem ที่ส่งเสริมและผลักดันกลุ่มสตาร์ทอัพด้าน Deep Tech ในประเทศไทยให้มีศักยภาพพร้อมสำหรับการทำธุรกิจ ช่วยเร่งการเติบโต ฝึกปรือฝีมือเพื่อลงสู่สนามจริงมาแล้วกว่า 3 รุ่น โดยร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมสนับสนุนด้านองค์ความรู้ เงินทุนและ networking อย่างเต็มเปี่ยม …
INNOVATION VDO - Jun, 28 2019
ความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความประมาทแม้เพียงเสี้ยววินาทีก็สามารถนำมาซึ่งความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก โดยหนึ่งในสาเหตุหลักคือภาวะหลับในของผู้ขับรถ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชัน “ขับดี” ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี นำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาประยุกต์ใช้ โดยนำมาใช้กับรถขนส่งสินค้าของบริษัทฯ เพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลความปลอดภัยให้กับพนักงาน และเพื่อนร่วมท้องถนน หวังดี “ที่เอสซีจี เรามีนโยบายด้านความปลอดภัยและนำมาใช้อย่างเคร่งครัด โดยเรื่องการขับขี่ปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เอสซีจีให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เป้าหมายของของเราคือ อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ ดังนั้นนอกจากการใช้กฎความปลอดภัยและรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญแล้ว เราได้พัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อมาช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนโดยโฟกัสที่ผู้ขับรถ” คุณโสภณ อารยะสถาพร Plant Reliability & Innovation Technology Center Manager บริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าให้ฟังถึงที่มาของแอปพลิเคชัน “ขับดี” ซึ่งเกิดจากการระดมสมองร่วมกันของทีมงานวิศวกรผู้ทำงานเกี่ยวกับระบบ Artificial Intelligence หรือ AI…
INNOVATION VDO - May, 17 2019
คนเราทุกคนนั้น หากมีปัจจัยพื้นฐานของชีวิตดี สามารถดำรงชีวิตได้ปกติ ย่อมส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นดึงศักยภาพในตนเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่สำหรับผู้พิการที่สูญเสียอวัยวะสำคัญอย่าง “ขา” ไปนั้น ย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการยากไร้ที่อาจขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว รวมถึงอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น จนลดทอนโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พร้อมด้วยพันธมิตร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์และการออกแบบนวัตกรรมจากวัสดุเคมีภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และบริษัท รับเบอร์โซล จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตรองเท้าชั้นนำของประเทศ เห็นความสำคัญในการสร้างโอกาสให้กับผู้พิการ โดยนำความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละบริษัทมาร่วมกันสร้างประโยชน์ให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากพระราชปณิธานของสมเด็จย่า โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้พิการทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ตลอดจนประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ กระบวนการทำงานแบบผสานความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง และสามารถนำศักยภาพที่พวกเขามีมาเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศของเราต่อไป ก้าวแรก มูลนิธิขาเทียมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้พิการขาขาดยากไร้ตามพระราชปณิธานของสมเด็จย่ามาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาอุปกรณ์และชิ้นส่วนของขาเทียมเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพและทนทานขึ้น จึงร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพมาร่วมพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ขจรพงศ์ ภู่สิทธิกุล Marketing and…
INNOVATION VDO - Feb, 4 2019
จะดีไหม ถ้าในพื้นที่กันดารห่างไกลทั่วโลก จะสามารถเข้าถึงสุขาและระบบสุขาภิบาลพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม จะดีไหม ถ้าสุขานั้นมีระบบบำบัดที่สามารถเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นปุ๋ยและน้ำที่สะอาดพอจนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะดีไหม ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วจากการผสานความร่วมมือของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) บริษัทธรรมสรณ์ จำกัด และ บริษัททีเบลโก้ จำกัด ที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ยกระดับสุขาภิบาลของโลกให้ทุกคน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีสุขอนามัยที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง และจะดีที่สุด ถ้าระบบนี้ได้นำไปใช้จริงในอนาคต ที่มาของความร่วมมือ ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยระบบ Zyclone Cube ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียจากสุขาครบวงจรที่ใช้หลักฟิสิกส์ง่าย ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วงและหลักการหมุนเหวี่ยง จนสามารถแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลว และกากออกจากกันทันที โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการลดการปนเปื้อนสารได้มากถึง 50% รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ผลพลอยได้คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อในการเกษตรและน้ำอุปโภคได้อย่างปลอดภัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานครั้งนี้ว่า “การยกระดับสุขาภิบาลของประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ บทบาทของ AIT ในฐานะที่เป็นสถาบัน พัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เราทำวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังต้องการนำนวัตกรรมส่งไปให้ประชาชนได้ใช้…
INNOVATION VDO - Jan, 4 2019
ประเทศไทยของเรามีขยะพลาสติกปีละราว ๆ 1.5 ล้านตันที่ยังไม่ถูกจัดการอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ การสร้างคุณค่าสูงสุดอย่างยั่งยืนให้กับพลาสติกตั้งแต่ต้นทางการผลิต การใช้ และวนกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy จึงเป็นโจทย์สำคัญอันเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เพื่อทำ “ถนนพลาสติกรีไซเคิล” ที่มีส่วนผสมของยางมะตอยกับ “พลาสติกที่ใช้แล้ว” นิยามของถนนพลาสติกรีไซเคิล การทำถนนยางมะตอยแบบดั้งเดิมที่คุ้นเคย ยางมะตอยที่ใช้มาจากการผสมระหว่างหินฝุ่น หินคลุกและ Asphalt Cement จากนั้นจึงทำการฉีดพ่นลงบนถนนที่ทำการบดอัดเตรียมที่ไว้เรียบร้อยแล้ว ขยะพลาสติกเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนประกอบหนึ่งในขั้นตอนการคลุกหิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของถนนยางมะตอยและเป็นการนำขยะพลาสติกมาหมุนเวียนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทดแทนการนำไปฝังกลบหรือเผากำจัด แนวคิดโครงการนี้เริ่มต้นจากบริษัทดาว เคมิคอล ได้ดำเนินการสร้างถนนยางมะตอยจากพลาสติกรีไซเคิลมาก่อนในประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ทางธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย จึงร่วมมือที่จะดำเนินการสร้างถนนพลาสติกรีไซเคิลเช่นนี้บ้างในประเทศไทย ผลพลอยได้จากการวิจัย แน่นอนว่าสภาพภูมิประเทศในอินเดียและอินโดนีเซียที่เคยสร้างถนนพลาสติกรีไซเคิลมาก่อนหน้าย่อมแตกต่างจากบ้านเรา โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมิบนพื้นผิวถนนและใต้ถนน การจะนำนวัตกรรมนี้มาใช้งานในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการค้นคว้า วิจัย และทดลองก่อน โดยนักวิจัยของธุรกิจเคมิคอลส์…
INNOVATION VDO - Nov, 13 2018
SCG™ HDPE TR117WC พลาสติกเกรดเฉพาะเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้านความปลอดภัยของเคเบิลใยแก้วนำแสง ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญระหว่างทีโอทีและธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี โลกปัจจุบัน การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากทั้งในระดับธุรกิจและในชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม มีภาระกิจสำคัญในการดูแล พัฒนาให้การสื่อสารดำเนินการได้ตลอดเวลา ซึ่งหนึ่งในส่วนที่สำคัญคือ การพัฒนาสายส่งสัญญานซึ่งยังมีจุดที่พัฒนาต่อยอดได้อีกหลายประการ จึงเกิดเป็นความร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้นำเรื่องวัสดุพลาสติก อันนำไปสู่การทำวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนาวัสดุพลาสติกหุ้มสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประสิทธิภาพสูงสุดโดยเน้นที่ความปลอดภัยเป็นหลัก จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เอสซีจี และทีโอทีมีความต้องการตรงกันคือต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน จากความคิดที่เห็นตรงกันในด้านการสร้างสวัสดิภาพที่ดีให้กับประชาชน จึงเกิดเป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจาก 2 ฝ่าย โดยตัวแทนทางเอสซีจี เล่าให้ฟังว่า บมจ.ทีโอที เป็นองค์กรที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย และสนใจที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ของสายเคเบิลเพื่อลดปัญหาและเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนไทย เราจึงอยากใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุของเอสซีจี มาช่วยเหลือและทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์เดียวกัน ทางด้านคุณนฤทธิ์สมเจริญ สำเภาพล ผู้จัดการส่วนบริการทดสอบและสอบเทียบ สถาบันนวัตกรรมทีโอที ตัวแทนจากบริษัท ทีโอที…
INNOVATION VDO - Oct, 22 2018
ครั้งแรกของโลก CiBotTM หุ่นยนต์ตรวจสอบท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัย ละเอียด แม่นยำ ลดต้นทุน ล่าสุดตรวจได้ครบทั้ง 3 ฟังก์ชั่น “ค่าคาร์บอน ค่าความบวม และค่าความโก่ง” อีกก้าวของการยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพการตรวจท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พัฒนา “หุ่นยนต์ไซบอท (CiBotTM)” ฟีเจอร์ใหม่ เพิ่มความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุท่อ (Coil) ในเตาปฏิกรณ์ได้พร้อมกันถึง 3 ฟังก์ชั่น ทั้งปริมาณคาร์บอนที่แทรกซึมในเนื้อท่อ (Carburization) ความบวม (Bulging) และความโก่ง (Bowing) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลก ทำให้สามารถตรวจวัดสภาพและประเมินอายุการใช้งานของท่อได้อย่างปลอดภัย ละเอียด แม่นยำ รวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิต ลดการสูญเสีย และส่งผลดีไปถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อม ต่อยอด แรกเริ่ม หุ่นยนต์ไซบอท ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณคาร์บอนที่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อโลหะของท่อ หรือที่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า คาร์บูไรเซชั่น (Carburization) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่อเปราะ แตกหัก และรั่วได้ อันเป็นความเสียหายหลักที่เกิดขึ้นกับวัสดุท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงานปิโตรเคมี ซึ่งความเสียหายประเภทนี้คิดเป็น…
INNOVATION VDO - Aug, 21 2018
ด้วยสภาพอากาศเมืองไทย ที่ใคร ๆ ก็รู้ว่า แดดแรง ฝนหนัก จัดเต็มตามฤดูกาล แถมฝนนอกฤดูก็แอบมาทักทายกันบ่อยๆ คนไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ หลังคาอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ก็เช่นเดียวกัน ต้องพร้อมเสมอในการทำหน้าที่ป้องกันแสงแดด และสายฝน คุ้มครองทั้งผู้อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินอันเป็นที่รักอย่างแข็งขัน เมื่อหลังคามีบทบาทสำคัญมากเช่นนี้ การทำหน้าที่อยู่คู่กับบ้านโบราณอันทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์มายาวนานหลายสิบปี อย่าง ‘บ้านหลวงวิจิตรวาทการ’ ก็ย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหารั่วซึมแล้ว ไม่เพียงสิ่งของเครื่องใช้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์จะเสียหายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้อาศัยเป็นอย่างมาก SCG Roof Renovation ผู้ชำนาญเรื่องหลังคาครบวงจร และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุพอลิเมอร์ ได้ร่วมกันพัฒนาแผ่นรองใต้หลังคาจากวัสดุ PVC (PVC Sheet Sub Roof) ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย และออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกการรั่วซึมของหลังคา ทั้งองศาการวางกระเบื้องที่ผิดตำแหน่ง หรือการเสื่อมสภาพจากการใช้งานที่ยาวนานหลายสิบปี อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการตั้งแต่ช่างผู้ติดตั้ง ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา เหนียวและทนทาน สามารถตัดตามระยะที่ต้องการแล้วนำไปติดตั้งได้ทันที โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการติดตั้งให้ยุ่งยากซับซ้อน ที่สำคัญผู้อยู่อาศัยก็จะได้รับความสะดวกสบายตั้งแต่กระบวนการติดตั้ง…
INNOVATION VDO - Aug, 17 2018
หากเปรียบ Chinaplas 2018 เป็นงานแฟชั่นโชว์ ก็ถือเป็นรันเวย์ที่สำคัญระดับโลกที่แวดวงสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกรู้จักกันดี เพราะเป็นงานที่แสดงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี สลับกันระหว่างนครกวางโจวและนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน ที่ผ่านมา Chinaplas ถือเป็นเวทีที่รวมเหล่าแบรนด์นวัตกรรมสินค้าพลาสติก หลายพันแบรนด์ ซึ่งล้วนเป็นแบรนด์ระดับแนวหน้า อย่าง Dow Chemical, Dupont, BASF, Borouge และ ExxonMobil เป็นต้น โดยในปีนี้มีแบรนด์ในอุตสาหกรรมพลาสติกร่วมออกแสดงสินค้าจำนวน 4,000 รายจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก บนพื้นที่ 340,000 ตรม. และมีผู้ร่วมเยี่ยมชมกว่า 180,000 คนจาก 150 ประเทศทั่วโลก และแน่นอนที่สุดธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ก็ได้นำสินค้าและนวัตกรรม ไปบุกบนรันเวย์อุตสาหกรรมพลาสติกระดับโลกในครั้งนี้เช่นกัน เอสซีจี ได้นำเสนอนวัตกรรมพลาสติกภายใต้แนวคิด “Your Complete Solutions Provider” โดยนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรให้กับลูกค้า ซึ่งนอกเหนือจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA)…
INNOVATION - Aug, 16 2018
ระยะเวลาเพียง 7 ปี จากการให้บริการครบวงจรของนวัตกรรมสินค้าและบริการ emisspro® (อิมิสโปร) สารเคลือบเตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน รายแรกและรายเดียวในอาเซียน สู่การยอมรับจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมขยายฐานการบริการจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กกล้ารีดร้อน และอุตสาหกรรมเซรามิก ล่าสุดต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เดินหน้า การเติบโตของนวัตกรรมสินค้าและบริการของ emisspro® สะท้อนผ่านประสบการณ์การทำงานตลอด 7 ปี สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีทีมวิศวกรผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคการพ่นเคลือบเตาที่เหมาะสมกับเตาประเภทต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทั้งหมดนี้เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้เป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ emisspro® ประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กกล้ารีดร้อน ตลอดจนอุตสาหกรรมเซรามิก โดยล่าสุด เอสซีจี เดินหน้าขยายการให้บริการนวัตกรรม emisspro® สู่อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันอย่างเต็มตัว โดยร่วมศึกษากับ GS Caltex หนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจการกลั่นน้ำมันชั้นนำของประเทศเกาหลีใต้ ให้บริการเคลือบเตาเผาประเภท Continuous Catalytic Reforming (CCR) และ Hydrogen Manufacturing…
INNOVATION VDO - May, 8 2018
มากกว่า 30% ของพื้นที่ในประเทศไทย คือพื้นที่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจกล่าวได้ว่ามันคือพื้นที่แห่งชีวิต เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำต่าง ๆ บึง บ่อ ทะเลสาบ หนอง คลอง แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตลอดสายที่ได้ไหลผ่าน บนผืนน้ำระยิบระยับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงาม ปลาที่แหวกว่าย มันยังพอจะเป็นอะไรได้อีกนะ? นักคิดค้น และนักวิทยาศาสตร์ ยกมือตอบว่ามันยังเป็นโอกาสในการช่วยโลกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ อย่างที่เราทราบว่านักวิทยาศาสตร์สามารถนำแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มานานเกินครึ่งทศวรรษแล้ว นวัตกรรมโซลาร์เซลล์พัฒนาประสิทธิภาพมาต่อเนื่องจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขวางอย่างในปัจจุบันในฐานะพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ไร้ขีดจำกัด ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีขั้นตอนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานสะอาด ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตโซนร้อน มีความเข้มข้นของรังสีติดอันดับของโลก ทำให้เรามีศักยภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับเข้มข้น แต่คนทั่วไป เวลาที่พูดถึง “พลังงานแสงอาทิตย์” อาจนึกถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Solar Rooftop ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือเห็น Solar Farm ที่ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน แต่ที่จริงแล้ว การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์…
INNOVATION VDO - May, 7 2018
คงจะเคยได้ยินกันว่า การทำธุรกิจเพียงลำพังอาจจะทำได้รวดเร็ว แต่หากมีการจับมือทำงานร่วมกันย่อมส่งเสริมผลประโยชน์ให้ธุรกิจมีความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่า เหมือนดั่ง “พลาสติก” กับ “เหล็ก” ที่ใครจะรู้วันหนึ่งสามารถนำมาใช้คู่กันอย่างเหมาะสม ภายใต้โครงการความร่วมมือตลอดทั้ง Value Chain เริ่มต้นจากปัญหาการอุดตันในฮอปเปอร์ที่ใช้ลำเลียงวัตถุดิบของโรงปูนแก่งคอย หรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ในธุรกิจซิเมนต์ – ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ของเอสซีจี เมื่อทีมของเอสซีจี เคมิคอลส์ รับรู้ถึงปัญหานี้ จึงนำเอาความเชี่ยวชาญด้านวัสดุพอลิเมอร์มาช่วยหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว โดยครั้งนี้เอสซีจี เคมิคอลส์จับมือกับบริษัท แอร์โรคลาส ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าพลาสติกในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีเครื่องจักรและความชำนาญในการผลิตแผ่น PE sheet โดยใช้เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษจากเอสซีจี เคมิคอลส์ จนเกิดเป็นโซลูชั่นใหม่ให้กับโรงปูนแก่งคอยโดยทำหน้าที่เป็นคนหาโซลูชั่น ตั้งแต่การหาวัสดุที่จะมาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว หาผู้ผลิต และนำไปติดตั้งที่โรงงานลูกค้า และนี่คือเรื่องราวของพลังแห่งความร่วมมือ จุดเริ่มต้นการร่วมมือ คุณเอกวัฒน์ วิทูรปกรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด กล่าวถึงการทำงานร่วมมือกันครั้งนี้ว่า เกิดจากการพูดคุยที่มีเคมีตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นความสนุกในการคุยเรื่องธุรกิจ ไอเดีย หรือนวัตกรรม รวมไปถึงปรัชญาของบริษัทที่ตรงกันคือ…
จากความต้องการของกลุ่มลูกค้าผู้ผลิตและผู้แปรรูปพลาสติกในงานอุตสาหกรรมที่มองหาเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงกว่าเดิม ซึ่งนับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังประกอบกับแนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติกที่ต้องการสินค้าที่บางลงแต่ยังคงความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน เพื่อให้พลาสติกนั้น ๆ คุ้มค่ามากขึ้น เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพอลิเมอร์ใหม่ซึ่งสามารถช่วยให้ชิ้นงานมีคุณภาพมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต และช่วยเพิ่มผลประกอบการให้ผู้ผลิตอีกทางหนึ่ง New PE หรือ เม็ดพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) เกรดพิเศษนี้ มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 สามารถนำไปขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกที่บางลง แต่ยังคงความแข็งแรงเอาไว้ โดยไม่กระทบต่อกระบวนการผลิตเดิม และไม่ต้องปรับเครื่องจักร ความสำเร็จอีกขั้นของเอสซีจี เคมิคอลส์ ในครั้งนี้ จะตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คุณภาพและความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นของ New PE นี้จะช่วยลดต้นทุนทางการผลิต อันเนื่องมาจากการประหยัดพลังงานและลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต อีกทั้งยังเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะสามารถนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเข้ามาผสมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตแต่ยังคงคุณภาพและความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์พลาสติกเอาไว้ด้วย นวัตกรรม New PE มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปผลิตพอลิเอทิลีนได้หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มชนิดบางพิเศษ บ่อยครั้งที่ผู้แปรรูปต้องประสบปัญหาความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพของเม็ดพลาสติก ทำให้ไม่สามารถผลิตแผ่นฟิล์มที่มีความบางมากๆ หรือมีความบางสม่ำเสมอกันทั่วทั้งแผ่นได้…
INNOVATION - Sep, 30 2017
“Sustainable, Bio-Degradable, Natural, And Eco-Friendly” นี่คือใจความสำคัญจากบทความ Packaging Trends to Watch 2017 ซึ่งสรุปให้เห็น “Sustainability Trends” ของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในปีนี้ ซึ่งเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจในทุกอุตสาหกรรม อย่างในธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลมก็มีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดเช่นกัน ผู้ผลิตเครื่องดื่มพยายามทุกวิธีเพื่อลดการใช้ทรัพยากรแม้แต่ฝาน้ำอัดลมพลาสติกที่แม้เป็นส่วนประกอบเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคปลายทางเป็นอย่างยิ่ง หากดูจากกราฟ Market Trend: Cap Weight Evaluation จะเห็นวิวัฒนาการของฝาน้ำอัดลมได้อย่างชัดเจนว่ามีความเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด จากฝาสองชิ้นเหลือเพียงชิ้นเดียว ความสูงของฝาลดลง รวมถึงน้ำหนักที่เบาลงเรื่อย ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความพยายามของผู้ผลิตเครื่องดื่มและผู้ผลิตฝาน้ำอัดลม (ผู้แปรรูป) ว่าให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจึงพยายามออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมเพื่อลดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตโดยที่ยังคงคุณภาพของสินค้าได้ตามมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภคปลายทาง เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ เอสซีจี เคมิคอลส์…
INNOVATION - Sep, 30 2017
แม้ว่ามาตรฐานทางการแพทย์และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยจะดีขึ้นกว่าในอดีตมาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์ ทำให้เราต้องสูญเสียเงินมหาศาล เพื่อนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศที่มีราคาแพงมาก ซึ่งอาจทำให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานไม่ทัดเทียมกัน ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์ของ 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการ “The One” ภายใต้สโลแกน “ร่วมคิด ร่วมใช้ ร่วมพัฒนา” พร้อมดึงให้เอสซีจี เคมิคอลส์ เข้ามาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมพลาสติกสำหรับวงการแพทย์ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ กิจควรดี (ประสาทศัลยแพทย์ ) ภาควิชาศัลยศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล่าถึงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ว่า “เราริเริ่มโครงการ The One เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ทางการแพทย์ระหว่างคณะแพทย์ฯ ของสามสถาบัน ซึ่งต่อมาก็มีแนวคิดว่าควรร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และเห็นว่าน่าจะเริ่มจากวัสดุทางการแพทย์ที่ส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกหรือกระดาษที่ใช้แล้วทิ้ง ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เคยทำงานร่วมกับเอสซีจี เคมิคอลส์มาก่อนเชื่อมั่นว่าเอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งเป็นมืออาชีพด้านวัสดุพอลิเมอร์น่าจะช่วยเราได้…
INNOVATION - Jun, 30 2017
ตลาดรถยนต์ทั่วโลกในปีที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราการเติบโตอยู่ที่ 5% ในปีที่ผ่านมา โดยในประเทศไทยมีการเติบโตที่ 2% และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์พัฒนารูปแบบรถยนต์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ซึ่งในปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่เน้นการประหยัดพลังงาน ความปลอดภัย ความสวยงามของรูปลักษณ์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และผู้พัฒนาเม็ดพลาสติกคอมพาวด์ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของผู้ขับขี่มาโดยตลอด จึงได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการทั้งผู้ขับขี่และผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในปัจจุบันและมองไปถึงอนาคตข้างหน้า ด้วยนวัตกรรม High Performance PP Products (HPPP) เอสซีจี เคมิคอลส์เป็นผู้ผลิตรายแรกในอาเซียนที่ได้นำเสนอนวัตกรรมสินค้าชนิดนี้ออกสู่ตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Surface Aesthetics (3 เกรด) และ High stiffness ( 2 เกรด) จุดเด่นของ HPPP ทั้งสองกลุ่มนี้เน้นการพัฒนาการไหลตัวของเม็ดพลาสติกไปในทางที่สูงขึ้น (Medium to High…
INNOVATION - Jun, 30 2017
หลายคนคงจะคุ้นหน้า คุ้นตากับจาน ชาม “เมลามีน” ที่มีสีสัน ลวดลายธรรมดา และผิวสัมผัสที่ไม่แตกต่างกับจานชามทั่วไป แต่ตอนนี้คงต้องแปลกใจกับนวัตกรรมใหม่ “เมลามีนศิลา” ซึ่งมีทั้ง รูปลักษณ์ ผิวสัมผัสคล้ายกับหินธรรมชาติ ด้วยน้ำหนัก และความทนทานซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมลามีน โดยผู้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ของวงการเมลามีนโลก รังสรรค์ผลิตภัณฑ์โดย “บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)” ซึ่งเป็นเจ้าแห่งผู้ผลิตเมลามีนรายใหญ่ที่สุดของโลกเลยก็ว่าได้ “เมลามีนศิลา” เกิดจากความสร้างสรรค์และร่วมมือกัน ระหว่าง ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ และ เอสซีจี เคมิคอลส์ โดย ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ผู้อำนวยการส่วนการตลาดต่างประเทศ Export Director บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ได้เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของโครงการพัฒนา “เมลามีนศิลา” ไว้ว่า “เมื่อสองปีก่อนนั้น ศรีไทยฯ ได้มีแนวคิดว่าต้องการจะทำสินค้าเมลามีนของเราให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยให้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ ที่คุ้นเคยกัน มีลักษณะคล้ายธรรมชาติมากขึ้น จึงทำให้คิดถึงผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนหิน ซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ และต้องการสิ่งที่เหมือนธรรมชาติ…
INNOVATION - Jun, 30 2017
เมื่อพูดถึงคำว่า “ดีไซน์” หลาย ๆ ท่านอาจมองเป็นเรื่องของแฟชั่นสำหรับสินค้าไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ แต่เชื่อมั๊ยครับว่า งานดีไซน์สามารถอยู่ในวงการไหนก็ได้ แม้แต่ในวงการแพทย์! ถูกต้องแล้วครับ ผมกำลังพูดถึง งานออกแบบ หรือ ดีไซน์ที่ถูกนำมาใช้สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ทำให้อุปกรณ์ทางการแพทย์มีรูปลักษณ์สวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ งานดีไซน์จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งาน นั่นก็คือ บุคคลกรทางการแพทย์ ผมและนักออกแบบจาก Design Catalyst by SCG Chemicals ทุกคน เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน โดยเน้นด้านฟังก์ชั่นที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามควบคู่ด้วย เราให้บริการกับลูกค้าในรูปแบบ Design Solution นั่นคือ ทำความเข้าใจและเข้าถึงปัญหาของลูกค้า ออกแบบให้ตรงกับการใช้งาน มีรูปลักษณ์ที่สวยงามน่าใช้ รวมไปถึงการแนะนำวัสดุที่ใช้การผลิต และช่วยควบคุมดูแลการผลิตให้ตรงกับแบบด้วย สำหรับครั้งนี้…
INNOVATION - Mar, 30 2017
การครองใจลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ แต่การจะมัดใจลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายองค์ประกอบที่จะทำให้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้รับการยอมรับ เช่นเดียวกับ emisspro® (อิมิสโปร) สารเคลือบเตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรม รายแรกและรายเดียวของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศจนมีการใช้งานในโรงงานจนครบ 100 เตาเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา emisspro® ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ หัวใจสำคัญอยู่ที่ประสิทธิภาพการดูดซับและปลดปล่อยรังสีความร้อนของสารเคลือบ สามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,600 องศาเซลเซียส สามารถยึดเกาะกับพื้นผิววัสดุทนไฟในโครงสร้างของเตาเผา ทนต่อสารเคมีและการขัดถู ทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากสภาพการใช้งานจริง ทำให้อายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งไม่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำไมจึงต้องใช้สารเคลือบเตาเผา? ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้ารีดร้อนและอุตสาหกรรมเซรามิก จำเป็นต้องใช้เตาเผา (Furnace) เพื่อให้ความร้อนสูงแก่วัตถุดิบจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ดังนั้น ต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพเตาเผาเพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การเคลือบด้านในเตาเผา นี่จึงเป็นที่มาของการพัฒนาสารเคลือบเตาเผา emisspro®…
INNOVATION - Mar, 30 2017
เมื่อโลกเราเดินหน้ามาถึงยุค Industry 4.0 ผมในฐานะนักประดิษฐ์หุ่นยนต์มองเห็นภาพในอนาคตที่เต็มไปด้วยหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานให้กับมนุษย์ได้ มีระบบ Automatic ควบคู่ไปกับ Robotic นั่นหมายถึง เราจะมีผู้ช่วยที่ชาญฉลาด สามารถสั่งการให้ทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ รับงานที่มีความเสี่ยงสูงได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เรามีเวลาเหลือที่จะไปทำเรื่องอื่น ๆ ได้มากขึ้น ที่ ๆ ผมทำงานอยู่ คือ “บริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในเอสซีจี เคมิคอลส์” เรานำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานเป็นเวลานานแล้ว แต่ความพีคอยู่ที่ เราเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานของเราเองครับ โดยมีผมกับเพื่อนอีกหลายคนร่วมกันคิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องจักร ผมยอมรับว่า ตอนแรก ๆ ผมสงสัยว่าทำไมไม่นำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศมาใช้เลย จะได้ไม่เสียเวลาพัฒนากันเอง แต่พอเริ่มทำหุ่นยนต์เองมาได้ซักพัก ก็เริ่มเข้าใจว่า นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมาก เพราะการซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานเลยอาจดูเหมือนง่าย แต่มันทำให้เราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศไปตลอด ถ้าเราเลือกที่จะพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด แล้วหันมา สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตัวเอง สิ่งนี้จะสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและประเทศชาติได้มากกว่า…
INNOVATION - Nov, 30 2016
พื้นที่กว้างใหญ่เกือบ 200,000 ตารางเมตร ได้ถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่ 17 Hall เพื่อจัดแสดงงาน “K 2016” งานนิทรรศการนวัตกรรมด้านพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผู้ผลิตพลาสติกจากทั่วโลกต่างนำนวัตกรรมสินค้าและเทคโนโลยีมาร่วมออกบูทกว่า 3,285 บูท งานใหญ่ระดับนี้ จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 19-26 ตุลาคม ที่ผ่านมา หากเปรียบเป็นการแข่งขันกีฬา K 2016 ก็จัดได้ว่าใหญ่ระดับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกของวงการพลาสติกและยาง เพราะมี “ตัวท็อป” ของอุตสาหกรรมนี้มารวมตัวกันมากมาย ซึ่งยกขบวนกันมา ตั้งแต่ผู้ผลิตชั้นนำที่มาออกบูทแสดงนวัตกรรมสินค้าและบริการ ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรต่าง ๆ ไปจนถึงลูกค้าที่มองหาคู่ค้า วัตถุดิบ และเทคโนโลยีสุดล้ำเพื่อพัฒนาสินค้าของตัวเองให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในจำนวนบูทกว่า 3,285 บูทจาก 61 ประเทศที่มาร่วมจัดแสดงนวัตกรรมในงาน K 2016 มี เอสซีจี…