ในแวดวงการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก Qualy เป็นหนึ่งในแบรนด์สินค้าจากประเทศไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับโลกด้วยการกวาดรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้ง หัวใจสำคัญของความสำเร็จของ Qualy นอกเหนือจากรูปลักษณ์และฟังก์ชันการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อความสุข ความสะดวกสบาย และสร้างรอยยิ้มให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังมีเรื่องราวเบื้องหลังแนวคิดตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิต การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกที่สร้างคุณค่าทั้งกับผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม

All Around Plastics มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Qualy ถึงการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานดีไซน์เพื่อออกแบบพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Q: เทรนด์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างไรบ้าง
คุณธีรชัย : ยุคนี้เป็นเทรนด์ของการมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งในเรื่องแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำให้ผู้คนซื้อสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น พลาสติกเองก็เป็นองค์ประกอบที่อยู่ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นอาหารก็ต้องมีบรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้าก็มีเส้นใยพลาสติกอยู่ในนั้น จากภาพใหญ่จะมีอีกเทรนด์หนึ่งที่ซ้อนกันอยู่นั่นคือ เทรนด์ของการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่เห็นชัดเจนขึ้นทุกวันทั่วโลก ทำให้หลายองค์กรเริ่มมองเห็นและตระหนักว่าโลกของเรากำลังก้าวสู่สภาพที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต Qualy เองในฐานะผู้ผลิตจึงต้องมองหาวิธีการที่สามารถมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ได้ และเราก็มองเห็นองค์ความรู้ของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการบริโภคไปพร้อมกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด จากเดิมที่เรายังใช้ระบบเศรษฐกิจและการบริโภคแบบเส้นตรง (Linear Economy) ใช้แล้วทิ้ง เราจึงเชื่อว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยได้

Q: จากทฤษฎีเศรษฐกิจหมุนเวียน นำมาสู่การลงมือปฏิบัติในแบบ Qualy ได้อย่างไรบ้าง?
คุณธีรชัย : อันดับแรกคือเรื่องวัสดุที่เลือกใช้ เราพยายามเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ทรัพยากรใหม่อีก เพียงแต่ว่าในความรับรู้ของผู้บริโภคมักจะรู้สึกว่า สินค้าจากวัสดุรีไซเคิลเป็นสินค้าเกรดบีเกรดซี หรือมีภาพลักษณ์ที่ไม่สวยงาม
ดังนั้นอันดับต่อมา เราจึงจำเป็นต้องสร้างสรรค์การ Upcycling หรือเพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบเดิมที่มีในมือ โดยนำการออกแบบมาเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้สินค้าเหล่านี้ ในงานออกแบบของ Qualy ทุกชิ้นจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่ผลิตเป็นรูปสัตว์ทะเล วาฬ ปะการัง ม้าน้ำ หรือเต่า ก็เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ โดยจะมีเรื่องราวบอกเล่าอยู่ในฉลากหรือป้ายประชาสัมพันธ์สินค้าว่า ระบบนิเวศและสัตว์น้ำถูกทำร้ายจากพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไร หรือสินค้าที่เป็นรูปภูเขาน้ำแข็งก็เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวของน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายจากภาวะโลกร้อน ซึ่งนอกจากเรื่องคุณภาพและคุณสมบัติของวัสดุแล้ว เรายังต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้เป็นงานศิลปะที่ให้ไอเดียและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนด้วย หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นการให้ข้อมูลโดยรสื่อสารเรื่องราวทั้งหมดผ่านทางรูปลักษณ์และการเลือกใช้วัสดุ

และอันดับสุดท้ายเป็นเรื่องของการจัดการหลังใช้งาน ผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องสามารถรีไซเคิลได้ เพื่อวนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยสร้างวงจรที่ครบสมบูรณ์ ไม่ต้องใช้ทรัพยากรใหม่ หรือเสียพลังงานในการกำจัดขยะ ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนกระบวนการความคิดในอุดมคติที่ Qualy พยายามลงมือทำและประยุกต์เข้ากับงานดีไซน์ทุกชิ้น
Q: ความท้าทายในการทำงานกับวัสดุรีไซเคิล และกระบวนการ Upcycling Design
คุณธีรชัย : ความท้าทายจะเป็นเรื่องการยอมรับและความเข้าใจจากผู้ซื้อในเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบของชิ้นงาน ริ้วรอยไม่พึงประสงค์ หรือสีที่มีให้เลือกไม่มากนัก เพราะฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เราจะต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบก่อนว่า ริ้วรอยหรือคราบบนสินค้าที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการใช้วัสดุรีไซเคิล และลวดลายเหล่านี้แหละที่จะกลายมาเป็นอัตลักษณ์ หรือความงามในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากกระบวนการผลิต เป็นการเล่าเรื่องให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงที่มาของวัตถุดิบก่อนจะมาเป็นสินค้าในมือ เป็นความงามอีกแบบที่อาจจะสัมผัสไม่ได้ด้วยตา แต่ต้องใช้ใจด้วย ผู้ซื้อเองก็จะมีความรู้สึกที่ดีกับสินค้า พร้อมกับความรู้สึกที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลครั้งนี้ด้วย ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับธุรกิจที่ปกติแล้วลูกค้ามักจะต้องการสินค้าที่ผ่านระบบ QC ที่เรียบร้อยเหมือนกันทั้งหมด

Q: โปรเจ็คต์ความร่วมมือล่าสุดระหว่าง Qualy กับเอสซีจี ในการเลือกใช้ขยะพลาสติกมาเป็นวัสดุผลิตถังขยะแยกเศษอาหาร เป็นอย่างไรบ้าง
คุณธีรชัย : เรารู้จักกับทีมดีไซน์ คะตะลิสต์ ที่เป็นทีมออกแบบของเอสซีจีมานานแล้ว ซึ่งพอดีกับที่ผมสนใจเรื่องการจัดการขยะจากเศษอาหาร เพราะส่วนสำคัญที่ช่วยให้การรีไซเคิลพลาสติกได้ผลดียิ่งขึ้น คือการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะพลาสติก เราจึงโฟกัสไปที่ปัญหาขยะจากเศษอาหาร และได้พูดคุยกับทีมของเอสซีจีเพื่อหาจุดร่วมที่เป็นไปได้
เราคุยกันเยอะมาก เรียกว่าคิดใหญ่ไปถึงสังคมอุดมคติที่ทุกบ้านสามารถแยกและกำจัดขยะอินทรีย์ของตัวเองได้ด้วยเครื่องบดย่อย แต่เราจะเริ่มจากอะไรง่าย ๆ ก่อน จึงเกิดเป็นความร่วมมือในโปรเจ็คต์การทำถังขยะแยกเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่น ๆ ซึ่งเราเลือกใช้ถุงนมโรงเรียนมาเป็นวัสดุในการผลิต เพราะการเก็บขยะถุงนมจะเป็นโครงการที่เด็กทุกคนในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่นำถุงนมที่ดื่มแล้วไปตัด ล้าง ตากให้แห้ง จนได้เป็นขยะที่สะอาด สามารถส่งไปรีไซเคิลให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่ได้ นั่นเท่ากับว่าเม็ดพลาสติกนี้มีความร่วมมือ ความทุ่มเทของเด็ก ๆ อยู่ในนั้น แล้วยิ่งเด็ก ๆ ได้เห็นว่า ความพยายามของเขากลายมาเป็นสิ่งของที่ใช้งานได้ในทุกบ้าน เด็ก ๆ ก็จะมีความรักและความเข้าใจในสิ่งที่ทำอยู่นี้มากขึ้นด้วย ส่วนคนที่ซื้อก็จะได้รับรู้เรื่องราวการคัดแยกขยะที่แทรกอยู่ในสินค้า

Q: ฝากทิ้งท้ายถึงผู้อ่านทั้งบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก
คุณธีรชัย : สำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้บริโภค สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ช่วยสร้างวัฏจักรของเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครบวงจร อยากให้ช่วยกันอุดหนุนเพื่อให้เกิดความต้องการในตลาด ส่งผลไปถึงปลายทางของสินค้าที่เป็นขยะก็จะเริ่มมีมูลค่า เกิดการผลักดันให้เกิดการจัดการขยะที่ดี หรือเกิดนโยบายทางสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้นในอนาคต และการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจะช่วยลดต้นทุนในการรีไซเคิลได้มาก

ในส่วนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก เราอยากเห็นสังคมของผู้ประกอบการที่มาพูดคุย แลกเปลี่ยนทรรศนะ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเริ่มต้นทำแล้ว และยังเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ทำเงินได้ พร้อมกับรักษาโลกให้ยั่งยืนได้ในเวลาเดียวกันด้วย เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องที่ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ขอให้ผู้ประกอบการมองที่เป้าหมายปลายทางแล้วจึงหาพันธมิตรเข้ามาทำงานร่วมกัน

All Around Plastics มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Qualy ถึงการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานดีไซน์เพื่อออกแบบพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Q: เทรนด์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างไรบ้าง
คุณธีรชัย : ยุคนี้เป็นเทรนด์ของการมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งในเรื่องแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำให้ผู้คนซื้อสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น พลาสติกเองก็เป็นองค์ประกอบที่อยู่ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นอาหารก็ต้องมีบรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้าก็มีเส้นใยพลาสติกอยู่ในนั้น จากภาพใหญ่จะมีอีกเทรนด์หนึ่งที่ซ้อนกันอยู่นั่นคือ เทรนด์ของการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่เห็นชัดเจนขึ้นทุกวันทั่วโลก ทำให้หลายองค์กรเริ่มมองเห็นและตระหนักว่าโลกของเรากำลังก้าวสู่สภาพที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต Qualy เองในฐานะผู้ผลิตจึงต้องมองหาวิธีการที่สามารถมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ได้ และเราก็มองเห็นองค์ความรู้ของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการบริโภคไปพร้อมกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด จากเดิมที่เรายังใช้ระบบเศรษฐกิจและการบริโภคแบบเส้นตรง (Linear Economy) ใช้แล้วทิ้ง เราจึงเชื่อว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยได้

Q: จากทฤษฎีเศรษฐกิจหมุนเวียน นำมาสู่การลงมือปฏิบัติในแบบ Qualy ได้อย่างไรบ้าง?
คุณธีรชัย : อันดับแรกคือเรื่องวัสดุที่เลือกใช้ เราพยายามเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ทรัพยากรใหม่อีก เพียงแต่ว่าในความรับรู้ของผู้บริโภคมักจะรู้สึกว่า สินค้าจากวัสดุรีไซเคิลเป็นสินค้าเกรดบีเกรดซี หรือมีภาพลักษณ์ที่ไม่สวยงาม
ดังนั้นอันดับต่อมา เราจึงจำเป็นต้องสร้างสรรค์การ Upcycling หรือเพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบเดิมที่มีในมือ โดยนำการออกแบบมาเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้สินค้าเหล่านี้ ในงานออกแบบของ Qualy ทุกชิ้นจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่ผลิตเป็นรูปสัตว์ทะเล วาฬ ปะการัง ม้าน้ำ หรือเต่า ก็เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ โดยจะมีเรื่องราวบอกเล่าอยู่ในฉลากหรือป้ายประชาสัมพันธ์สินค้าว่า ระบบนิเวศและสัตว์น้ำถูกทำร้ายจากพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไร หรือสินค้าที่เป็นรูปภูเขาน้ำแข็งก็เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวของน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายจากภาวะโลกร้อน ซึ่งนอกจากเรื่องคุณภาพและคุณสมบัติของวัสดุแล้ว เรายังต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้เป็นงานศิลปะที่ให้ไอเดียและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนด้วย หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นการให้ข้อมูลโดยรสื่อสารเรื่องราวทั้งหมดผ่านทางรูปลักษณ์และการเลือกใช้วัสดุ

และอันดับสุดท้ายเป็นเรื่องของการจัดการหลังใช้งาน ผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องสามารถรีไซเคิลได้ เพื่อวนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยสร้างวงจรที่ครบสมบูรณ์ ไม่ต้องใช้ทรัพยากรใหม่ หรือเสียพลังงานในการกำจัดขยะ ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนกระบวนการความคิดในอุดมคติที่ Qualy พยายามลงมือทำและประยุกต์เข้ากับงานดีไซน์ทุกชิ้น
Q: ความท้าทายในการทำงานกับวัสดุรีไซเคิล และกระบวนการ Upcycling Design
คุณธีรชัย : ความท้าทายจะเป็นเรื่องการยอมรับและความเข้าใจจากผู้ซื้อในเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบของชิ้นงาน ริ้วรอยไม่พึงประสงค์ หรือสีที่มีให้เลือกไม่มากนัก เพราะฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เราจะต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบก่อนว่า ริ้วรอยหรือคราบบนสินค้าที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการใช้วัสดุรีไซเคิล และลวดลายเหล่านี้แหละที่จะกลายมาเป็นอัตลักษณ์ หรือความงามในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากกระบวนการผลิต เป็นการเล่าเรื่องให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงที่มาของวัตถุดิบก่อนจะมาเป็นสินค้าในมือ เป็นความงามอีกแบบที่อาจจะสัมผัสไม่ได้ด้วยตา แต่ต้องใช้ใจด้วย ผู้ซื้อเองก็จะมีความรู้สึกที่ดีกับสินค้า พร้อมกับความรู้สึกที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลครั้งนี้ด้วย ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับธุรกิจที่ปกติแล้วลูกค้ามักจะต้องการสินค้าที่ผ่านระบบ QC ที่เรียบร้อยเหมือนกันทั้งหมด

Q: โปรเจ็คต์ความร่วมมือล่าสุดระหว่าง Qualy กับเอสซีจี ในการเลือกใช้ขยะพลาสติกมาเป็นวัสดุผลิตถังขยะแยกเศษอาหาร เป็นอย่างไรบ้าง
คุณธีรชัย : เรารู้จักกับทีมดีไซน์ คะตะลิสต์ ที่เป็นทีมออกแบบของเอสซีจีมานานแล้ว ซึ่งพอดีกับที่ผมสนใจเรื่องการจัดการขยะจากเศษอาหาร เพราะส่วนสำคัญที่ช่วยให้การรีไซเคิลพลาสติกได้ผลดียิ่งขึ้น คือการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะพลาสติก เราจึงโฟกัสไปที่ปัญหาขยะจากเศษอาหาร และได้พูดคุยกับทีมของเอสซีจีเพื่อหาจุดร่วมที่เป็นไปได้
เราคุยกันเยอะมาก เรียกว่าคิดใหญ่ไปถึงสังคมอุดมคติที่ทุกบ้านสามารถแยกและกำจัดขยะอินทรีย์ของตัวเองได้ด้วยเครื่องบดย่อย แต่เราจะเริ่มจากอะไรง่าย ๆ ก่อน จึงเกิดเป็นความร่วมมือในโปรเจ็คต์การทำถังขยะแยกเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่น ๆ ซึ่งเราเลือกใช้ถุงนมโรงเรียนมาเป็นวัสดุในการผลิต เพราะการเก็บขยะถุงนมจะเป็นโครงการที่เด็กทุกคนในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่นำถุงนมที่ดื่มแล้วไปตัด ล้าง ตากให้แห้ง จนได้เป็นขยะที่สะอาด สามารถส่งไปรีไซเคิลให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่ได้ นั่นเท่ากับว่าเม็ดพลาสติกนี้มีความร่วมมือ ความทุ่มเทของเด็ก ๆ อยู่ในนั้น แล้วยิ่งเด็ก ๆ ได้เห็นว่า ความพยายามของเขากลายมาเป็นสิ่งของที่ใช้งานได้ในทุกบ้าน เด็ก ๆ ก็จะมีความรักและความเข้าใจในสิ่งที่ทำอยู่นี้มากขึ้นด้วย ส่วนคนที่ซื้อก็จะได้รับรู้เรื่องราวการคัดแยกขยะที่แทรกอยู่ในสินค้า

Q: ฝากทิ้งท้ายถึงผู้อ่านทั้งบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก
คุณธีรชัย : สำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้บริโภค สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ช่วยสร้างวัฏจักรของเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครบวงจร อยากให้ช่วยกันอุดหนุนเพื่อให้เกิดความต้องการในตลาด ส่งผลไปถึงปลายทางของสินค้าที่เป็นขยะก็จะเริ่มมีมูลค่า เกิดการผลักดันให้เกิดการจัดการขยะที่ดี หรือเกิดนโยบายทางสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้นในอนาคต และการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจะช่วยลดต้นทุนในการรีไซเคิลได้มาก

ในส่วนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก เราอยากเห็นสังคมของผู้ประกอบการที่มาพูดคุย แลกเปลี่ยนทรรศนะ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเริ่มต้นทำแล้ว และยังเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ทำเงินได้ พร้อมกับรักษาโลกให้ยั่งยืนได้ในเวลาเดียวกันด้วย เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องที่ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ขอให้ผู้ประกอบการมองที่เป้าหมายปลายทางแล้วจึงหาพันธมิตรเข้ามาทำงานร่วมกัน
ติดตามเรื่องราวของ Qualy เพิ่มเติมได้ที่ เฟสบุ๊กเพจ Qualy (www.facebook.com/Qualydesign) และ LINE: @qualydesign