ในโลกยุคปัจจุบันนี้สามารถกล่าวได้ว่า ‘พลาสติก’ คือวัสดุที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคนเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะพลาสติกมีสมบัติสามารถตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น ความใส ขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ดี นอกจากนี้เรื่องของความสะอาดและ ปลอดภัยเมื่อใช้กับอาหารก็เป็นอีกจุดเด่นสำคัญที่ทำให้พลาสติกได้รับความนิยม

All Around Plastics ฉบับนี้จึงขอชวนทุกคนมาพบกับบทสัมภาษณ์อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ที่ปรึกษาสถาบันพลาสติก และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่จะมาพูดคุยเจาะลึกถึงพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์และเปิดมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมของพลาสติก ทั้งจากต้นทางการผลิตและปลายทางการใช้งานของผู้บริโภค
พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อ 113 ปีที่แล้วด้วยจุดประสงค์หลักก็เพื่อมาทดแทนการใช้วัสดุธรรมชาติ แก้ว และโลหะ โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้นำไปสู่การพัฒนาชนิดของพลาสติกต่าง ๆ ให้มีสมบัติที่สามารถครอบคลุมกับความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น พลาสติกจึงเป็นวัสดุที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ของใช้ภายในบ้านและสำนักงาน วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการเกษตร โดยกลุ่มสินค้าที่ใช้วัสดุพลาสติกสูงสุดก็คือ บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์อาหารมีการใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบหลักก็เนื่องมาจากประโยชน์ของพลาสติกที่มีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตามสมบัติที่ผู้ผลิตอาหารต้องการ เช่น สามารถสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย ทนอุณหภูมิสูงที่ใช้ในการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ ทนอุณหภูมิเย็นจัดสำหรับอาหารแช่แข็งได้ ป้องกันไอน้ำและก๊าซออกซิเจนซึมผ่านได้ดี อันจะช่วยยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารได้ เป็นต้น
จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพลาสติกคือ สามารถขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบรรจุ หรือการนำไปใช้งาน เช่น ขวด กล่อง ถ้วย หลอด ถุง ซอง ตลอดจนสามารถออกแบบเพิ่มหน้าที่เสริม เช่น ถุงมีซิปที่เปิดและปิดใหม่ได้อย่างสะดวก ฝาขวดที่เปิดและปิดได้ด้วยมือเดียว หรือฝาปั๊มที่กดให้ผลิตภัณฑ์ออกมาในปริมาณที่แน่นอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์บนผิวพลาสติกได้อย่างสวยงาม อีกทั้งมีน้ำหนักเบา ช่วยลดค่าขนส่ง บวกกับราคาที่ต่ำกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น พลาสติกจึงกลายมาเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและทางการตลาดได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
หลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วพลาสติกเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้พลังงานและน้ำน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น และปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศต่ำกว่าด้วย เพียงแต่พลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย เพราะเป็นการมองที่ปลายทางหลังจากใช้สินค้าแล้ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคจำนวนมากที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ประกอบกับการขาดระบบการจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพ

สิ่งสำคัญที่อยากให้ผู้บริโภคเข้าใจก็คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีบทบาทที่สำคัญมาก ลองจินตนาการดูว่า หากไม่มีบรรจุภัณฑ์พลาสติกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ไปใช้บรรจุภัณฑ์อื่น ความสะดวกในการใช้งานจะลดลงอย่างมาก น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ราคาบรรจุภัณฑ์จะสูงขึ้นมาก ทำให้ราคาสินค้าสูงตาม สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นองค์การสหประชาชาติได้รายงานว่า ในแต่ละปีทั่วโลกอาหารเกิดความสูญเสียจากการเน่าเสียเป็นจำนวนถึง 1.3 พันล้านตัน ซึ่ง 30-40% ของอาหารเน่าเสียเหล่านี้เกิดจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เหมาะสม องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดแนวทางรณรงค์ให้ทุกประเทศช่วยกันใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เหมาะสมกับอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บอาหาร ลดการเน่าเสีย อันส่งผลให้มีปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นสู่ประชากรโลกที่ยังมีผู้ขาดแคลนอาหารอย่างมหาศาล
เป็นหน้าที่ของทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคในการใช้งานพลาสติกให้เกิดคุณค่าสูงสุดและยั่งยืนที่สุดด้วยหลักการ 4R ได้แก่ Reduce การลดปริมาณวัสดุ เช่น เลือกใช้เม็ดพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงมากขึ้นเพื่อลดความหนาหรือน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ได้ ออกแบบขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับขนาดสินค้า ไม่ให้ใหญ่เกินไป ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุดิบลงนั่นเอง Reuse/Returnable การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกซ้ำให้ได้มากที่สุด หรือ ใช้หมุนเวียนบรรจุสินค้าเดิม เช่น ตะกร้าพลาสติกบรรจุผลิตผลทางการเกษตร
Recycle ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมองตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ว่าจะใช้พลาสติกชนิดใดให้สามารถรีไซเคิลได้เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว และมองให้ไกลกว่าการรีไซเคิลครั้งเดียว เพื่อตอบโจทย์หลัก Circular Economy โดยการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ธรรมดา มูลค่าไม่สูง ตลอดจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Upcycling อันเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกได้อย่างดี สิ่งสำคัญเหนือสิ่งใดของ R นี้ คือ ผู้บริโภคต้องมีการแยกทิ้งบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถรวบรวมสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

สุดท้ายคือ Renewable การใช้วัสดุที่ผลิตจากพืช หรือที่เรียกว่า พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งถูกคิดค้นบนข้อดีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นที่ยอมรับว่าในขณะนี้พลาสติกชีวภาพยังทดแทนพลาสติกธรรมดาไม่ได้เต็มรูปแบบ ด้วยข้อจำกัดเรื่องสมบัติที่ยังป้องกันไอน้ำและก๊าซออกซิเจนได้ไม่ดีนัก รวมทั้งต้นทุนผลิตภัณฑ์สูงกว่า เนื่องจากราคาของเม็ดพลาสติกที่สูงกว่ามาก และความสูญเสียในกระบวนการผลิตสูงกว่า อันเกิดจากการควบคุมที่ยากกว่า ในปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชีวภาพผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ต้องการอายุการเก็บในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน เท่านั้น เช่น ถุงบรรจุผักผลไม้สดในเยอรมัน ห่อข้าวปั้น และถุงขนมปังที่ขายในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น
สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ สนใจและกำลังมองหาจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก คือ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวโน้มสำคัญทั่วโลก และมีความตื่นตังสูงขึ้นของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และเจ้าของแบรนด์ จะเพิกเฉยไม่ได้ จำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มนี้ด้วยหลักการ 4R ดังกล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำให้เกิดการลดประสิทธิภาพในการบรรจุ และประสิทธิภาพในการลำเลียงขนส่ง รวมทั้งไม่กระทบต่อความสะดวกในการใช้งาน และการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น การพัฒนาเม็ดพลาสติกเกรดใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในด้านที่ทำให้น้ำหนักลดลง และสามารถรีไซเคิลได้ ยังไม่เพียงพอ แต่ยังต้องสามารถเก็บรักษาให้อาหารมีอายุการเก็บได้ตามที่ต้องการดังเดิม นั่นแสดงว่าเม็ดพลาสติกใหม่นี้ได้มีการปรับสมบัติให้ป้องกันก๊าซออกซิเจนได้ดีขึ้นและความแข็งแรงทางกลสูงขึ้น
อาจารย์มยุรีได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน supply chain จะต้องร่วมมือกันในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสม สามารถตอบสนองหน้าที่ทุกด้านของบรรจุภัณฑ์ได้ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังต้องช่วยกันให้ความรู้ที่ถูกต้อง สื่อสารให้เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงประโยชน์และคุณค่าของพลาสติก รวมทั้งการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะอย่างถูกต้อง ส่วนรัฐนอกจากควรสนับสนุนภาคเอกชนแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ในการสร้างระบบการจัดการเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จต้องมาจากความร่วมมือและการสนับสนุนของทุกคนและทุกภาคส่วน เพื่อการรักษาทรัพยากรของโลกให้เกิดความยั่งยืน

All Around Plastics ฉบับนี้จึงขอชวนทุกคนมาพบกับบทสัมภาษณ์อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ที่ปรึกษาสถาบันพลาสติก และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่จะมาพูดคุยเจาะลึกถึงพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์และเปิดมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมของพลาสติก ทั้งจากต้นทางการผลิตและปลายทางการใช้งานของผู้บริโภค
มองบรรจุภัณฑ์พลาสติกในมุมการใช้งาน
พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อ 113 ปีที่แล้วด้วยจุดประสงค์หลักก็เพื่อมาทดแทนการใช้วัสดุธรรมชาติ แก้ว และโลหะ โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้นำไปสู่การพัฒนาชนิดของพลาสติกต่าง ๆ ให้มีสมบัติที่สามารถครอบคลุมกับความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น พลาสติกจึงเป็นวัสดุที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ของใช้ภายในบ้านและสำนักงาน วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการเกษตร โดยกลุ่มสินค้าที่ใช้วัสดุพลาสติกสูงสุดก็คือ บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์อาหารมีการใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบหลักก็เนื่องมาจากประโยชน์ของพลาสติกที่มีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตามสมบัติที่ผู้ผลิตอาหารต้องการ เช่น สามารถสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย ทนอุณหภูมิสูงที่ใช้ในการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ ทนอุณหภูมิเย็นจัดสำหรับอาหารแช่แข็งได้ ป้องกันไอน้ำและก๊าซออกซิเจนซึมผ่านได้ดี อันจะช่วยยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารได้ เป็นต้น
จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพลาสติกคือ สามารถขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบรรจุ หรือการนำไปใช้งาน เช่น ขวด กล่อง ถ้วย หลอด ถุง ซอง ตลอดจนสามารถออกแบบเพิ่มหน้าที่เสริม เช่น ถุงมีซิปที่เปิดและปิดใหม่ได้อย่างสะดวก ฝาขวดที่เปิดและปิดได้ด้วยมือเดียว หรือฝาปั๊มที่กดให้ผลิตภัณฑ์ออกมาในปริมาณที่แน่นอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์บนผิวพลาสติกได้อย่างสวยงาม อีกทั้งมีน้ำหนักเบา ช่วยลดค่าขนส่ง บวกกับราคาที่ต่ำกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น พลาสติกจึงกลายมาเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและทางการตลาดได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
มองบรรจุภัณฑ์พลาสติกในมุมสิ่งแวดล้อม
หลายคนอาจไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วพลาสติกเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้พลังงานและน้ำน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น และปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศต่ำกว่าด้วย เพียงแต่พลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย เพราะเป็นการมองที่ปลายทางหลังจากใช้สินค้าแล้ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคจำนวนมากที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ประกอบกับการขาดระบบการจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพ

สิ่งสำคัญที่อยากให้ผู้บริโภคเข้าใจก็คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีบทบาทที่สำคัญมาก ลองจินตนาการดูว่า หากไม่มีบรรจุภัณฑ์พลาสติกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ไปใช้บรรจุภัณฑ์อื่น ความสะดวกในการใช้งานจะลดลงอย่างมาก น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ราคาบรรจุภัณฑ์จะสูงขึ้นมาก ทำให้ราคาสินค้าสูงตาม สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นองค์การสหประชาชาติได้รายงานว่า ในแต่ละปีทั่วโลกอาหารเกิดความสูญเสียจากการเน่าเสียเป็นจำนวนถึง 1.3 พันล้านตัน ซึ่ง 30-40% ของอาหารเน่าเสียเหล่านี้เกิดจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เหมาะสม องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดแนวทางรณรงค์ให้ทุกประเทศช่วยกันใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เหมาะสมกับอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บอาหาร ลดการเน่าเสีย อันส่งผลให้มีปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นสู่ประชากรโลกที่ยังมีผู้ขาดแคลนอาหารอย่างมหาศาล
มองแนวโน้มบรรจุภัณฑ์พลาสติกในอนาคต
เป็นหน้าที่ของทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคในการใช้งานพลาสติกให้เกิดคุณค่าสูงสุดและยั่งยืนที่สุดด้วยหลักการ 4R ได้แก่ Reduce การลดปริมาณวัสดุ เช่น เลือกใช้เม็ดพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงมากขึ้นเพื่อลดความหนาหรือน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ได้ ออกแบบขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับขนาดสินค้า ไม่ให้ใหญ่เกินไป ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุดิบลงนั่นเอง Reuse/Returnable การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกซ้ำให้ได้มากที่สุด หรือ ใช้หมุนเวียนบรรจุสินค้าเดิม เช่น ตะกร้าพลาสติกบรรจุผลิตผลทางการเกษตร
Recycle ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมองตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ว่าจะใช้พลาสติกชนิดใดให้สามารถรีไซเคิลได้เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว และมองให้ไกลกว่าการรีไซเคิลครั้งเดียว เพื่อตอบโจทย์หลัก Circular Economy โดยการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ธรรมดา มูลค่าไม่สูง ตลอดจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Upcycling อันเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกได้อย่างดี สิ่งสำคัญเหนือสิ่งใดของ R นี้ คือ ผู้บริโภคต้องมีการแยกทิ้งบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถรวบรวมสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

สุดท้ายคือ Renewable การใช้วัสดุที่ผลิตจากพืช หรือที่เรียกว่า พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งถูกคิดค้นบนข้อดีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นที่ยอมรับว่าในขณะนี้พลาสติกชีวภาพยังทดแทนพลาสติกธรรมดาไม่ได้เต็มรูปแบบ ด้วยข้อจำกัดเรื่องสมบัติที่ยังป้องกันไอน้ำและก๊าซออกซิเจนได้ไม่ดีนัก รวมทั้งต้นทุนผลิตภัณฑ์สูงกว่า เนื่องจากราคาของเม็ดพลาสติกที่สูงกว่ามาก และความสูญเสียในกระบวนการผลิตสูงกว่า อันเกิดจากการควบคุมที่ยากกว่า ในปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชีวภาพผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ต้องการอายุการเก็บในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน เท่านั้น เช่น ถุงบรรจุผักผลไม้สดในเยอรมัน ห่อข้าวปั้น และถุงขนมปังที่ขายในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น
สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ สนใจและกำลังมองหาจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก คือ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวโน้มสำคัญทั่วโลก และมีความตื่นตังสูงขึ้นของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และเจ้าของแบรนด์ จะเพิกเฉยไม่ได้ จำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มนี้ด้วยหลักการ 4R ดังกล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำให้เกิดการลดประสิทธิภาพในการบรรจุ และประสิทธิภาพในการลำเลียงขนส่ง รวมทั้งไม่กระทบต่อความสะดวกในการใช้งาน และการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น การพัฒนาเม็ดพลาสติกเกรดใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในด้านที่ทำให้น้ำหนักลดลง และสามารถรีไซเคิลได้ ยังไม่เพียงพอ แต่ยังต้องสามารถเก็บรักษาให้อาหารมีอายุการเก็บได้ตามที่ต้องการดังเดิม นั่นแสดงว่าเม็ดพลาสติกใหม่นี้ได้มีการปรับสมบัติให้ป้องกันก๊าซออกซิเจนได้ดีขึ้นและความแข็งแรงทางกลสูงขึ้น
อาจารย์มยุรีได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน supply chain จะต้องร่วมมือกันในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะสม สามารถตอบสนองหน้าที่ทุกด้านของบรรจุภัณฑ์ได้ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังต้องช่วยกันให้ความรู้ที่ถูกต้อง สื่อสารให้เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงประโยชน์และคุณค่าของพลาสติก รวมทั้งการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะอย่างถูกต้อง ส่วนรัฐนอกจากควรสนับสนุนภาคเอกชนแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ในการสร้างระบบการจัดการเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จต้องมาจากความร่วมมือและการสนับสนุนของทุกคนและทุกภาคส่วน เพื่อการรักษาทรัพยากรของโลกให้เกิดความยั่งยืน
ความแตกต่างระหว่าง บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งสำหรับอาหาร
บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร ทำหน้าที่หลักในการเก็บรักษาคุณภาพและยืดอายุอาหาร จึงต้องมีการปิดให้มิดชิดและสนิท มีฉลากที่ระบุประเภทสินค้า ปริมาณบรรจุ วันหมดอายุ วิธีการบริโภค และผู้ผลิต ชัดเจนตามที่กฎหมายฉลากกำหนด ต่างจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งสำหรับอาหาร ซึ่งส่วนมากเป็นภาชนะบรรจุอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้วย จาน ชาม แก้ว หลอด ช้อน ส้อม ถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปิดสนิท เพราะไม่ได้มีหน้าที่ในการยืดอายุอาหาร แต่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ไม่ต้องมีฉลากที่สื่อสารรายละเอียดสินค้า ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยจึงมีการรณรงค์ให้ลดและเลิกการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวเพื่อลดขยะพลาสติกและส่งเสริมการแยกทิ้งให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้