สถิติจากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI ในปี 2563 พบว่า ปริมาณขยะทะเลของประเทศไทยมีมากเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งที่มาของขยะทะเลเหล่านี้ก็มาจากการพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนบนบก ซึ่งผลกระทบจากขยะเหล่านี้ส่งผลโดยตรงทั้งกับบรรดาสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ในมหาสมุทร ส่งไม้ต่อเป็นวัฏจักรไปถึงระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลง สู่การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน โดยเฉพาะกับผู้อยู่อาศัยบ้านใกล้เรือนเคียงที่ยังต้องมีความสัมพันธ์กับท้องทะเลอยู่เสมอ ซึ่งก็รวมถึงชุมชนในจังหวัดระยองด้วยเช่นกัน หากแต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้คนในชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นหน้าที่ของหน่วยงานนวัตกรรมที่จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือเพื่อให้อนาคตของโลกขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

พัฒนาการของทุ่นกักขยะลอยน้ำ : จากความร่วมมือ สู่โมเดลการใช้งานจริง
จากการทำงานสร้างสรรค์โครงการเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกันมายาวนานมากกว่า 10 ปี ระหว่างเอสซีจี เคมิคอลส์และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และสังเกตเห็นถึงทุ่นกักขยะเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบเจอว่ามีขยะหลุดออกนอกทุ่นในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จึงได้เกิดความคิดในการพัฒนาทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง จนเกิดเป็น “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” รุ่น 1 (SCG – DMCR Litter Trap: Generation 1) จากการประยุกต์ใช้ท่อจากพลาสติก PE100 ที่แข็งแรงทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาทำงานร่วมกับวัสดุลอยน้ำ (Oil Booms) คล้ายเสื้อชูชีพ
ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่นแรกในปี 2561 พบว่าตัวทุ่นกักขยะสามารถทำงานได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยพลังงานจากธรรมชาติและกระแสน้ำ และสามารถรองรับขยะได้สูงสุดถึง 700 กิโลกรัมต่อชุด ซึ่งช่วยป้องกันขยะรั่วไหลจากแม่น้ำลงสู่ทะเลได้จำนวนมหาศาล แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความทนทานต่อการใช้งานในสภาพกลางแจ้งแดดและฝนที่ทำให้ต้องเปลี่ยนวัสดุบ่อย ๆ

ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE–Bone: SCG–DMCR Litter Trap Generation 2
จากการศึกษา รวบรวมปัญหา และวิเคราะห์การทำงานของทุ่นกักขยะรุ่นแรกเป็นเวลาร่วมปี จึงนำมาสู่การพัฒนา “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE-Bone” รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในตอนนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกระดับ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องความทนทานของวัสดุในการใช้งานกลางแจ้ง ด้วยการประยุกต์ใช้ทุ่นลอยน้ำจาก SCG Floating Solar Solutions ที่สามารถประกอบและขนย้ายได้ง่าย ซึ่งเดิมทีออกแบบมาเพื่อรองรับแผงโซลาร์เซลล์ จึงสามารถมั่นใจได้ในความแข็งแรงทนทานในการใช้งานกลางแจ้งภายใต้แสงแดดจัดตลอดทั้งวัน และคุณสมบัติในการลอยตัว อีกทั้งยังผลิตจากพลาสติกที่มีคุณสมบัติเป็น Food Grade ปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25 ปี แล้วยังสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้อีกด้วย

นอกจากตัวทุ่นเองแล้ว ยังมีการพัฒนาส่วนของแขนที่ยื่นออกจากปากทุ่น สำหรับดักกวาดขยะจำนวนมากให้เข้ามาส่วนหน้าปากทุ่น เมื่อประกอบกับกระแสน้ำที่กระเพื่อมตลอดเวลา ทั้งหมดจะช่วยผลักให้ประตูทุ่นเปิดออก และดันขยะเข้าไปเก็บด้านในทุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน ทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่น 2 นี้ ถูกติดตั้งและใช้งานบริเวณปากแม่น้ำ ช่วยป้องกันขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลได้แล้วกว่า 71 ตันด้วยทุ่นกักขยะ 37 ชุด ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศไทย เช่น ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา กระบี่ เป็นต้น และจะถูกติดตั้งทั่วปากแม่น้ำระยองเพิ่มอีก 10 จุด ซึ่งสอดประสานกับโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมการบริโภค และคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ทุ่นกักขยะลอยน้ำ ยังเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ในปี 2563 ด้วยเอกลักษณ์ด้านกลไกการทำงานของทุ่นกักขยะ ซึ่งมีบานพับเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำ ทำให้ขยะไม่สามารถหลุดรอดออกไปได้เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บขยะในแหล่งน้ำได้จริง
เมื่อนวัตกรรมที่ดีสอดประสานกับความปรารถนาดีจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ชุมชนเติบโตและพัฒนาอย่างดีต่อไป นอกจากผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างขยะที่ลดการเล็ดลอดลงแหล่งน้ำและท้องทะเลโดยทุ่นกักขยะ และคุณค่าใหม่ของขยะที่เกิดจากการหมุนเวียนใช้ผ่านการรีไซเคิล ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนระยองยังเป็นเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม ที่จะย้อนกลับมาสร้างความสุขให้ชาวระยองได้อย่างยั่งยืน

พัฒนาการของทุ่นกักขยะลอยน้ำ : จากความร่วมมือ สู่โมเดลการใช้งานจริง
จากการทำงานสร้างสรรค์โครงการเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกันมายาวนานมากกว่า 10 ปี ระหว่างเอสซีจี เคมิคอลส์และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และสังเกตเห็นถึงทุ่นกักขยะเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบเจอว่ามีขยะหลุดออกนอกทุ่นในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จึงได้เกิดความคิดในการพัฒนาทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง จนเกิดเป็น “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” รุ่น 1 (SCG – DMCR Litter Trap: Generation 1) จากการประยุกต์ใช้ท่อจากพลาสติก PE100 ที่แข็งแรงทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาทำงานร่วมกับวัสดุลอยน้ำ (Oil Booms) คล้ายเสื้อชูชีพ
ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่นแรกในปี 2561 พบว่าตัวทุ่นกักขยะสามารถทำงานได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยพลังงานจากธรรมชาติและกระแสน้ำ และสามารถรองรับขยะได้สูงสุดถึง 700 กิโลกรัมต่อชุด ซึ่งช่วยป้องกันขยะรั่วไหลจากแม่น้ำลงสู่ทะเลได้จำนวนมหาศาล แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความทนทานต่อการใช้งานในสภาพกลางแจ้งแดดและฝนที่ทำให้ต้องเปลี่ยนวัสดุบ่อย ๆ

ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE–Bone: SCG–DMCR Litter Trap Generation 2
จากการศึกษา รวบรวมปัญหา และวิเคราะห์การทำงานของทุ่นกักขยะรุ่นแรกเป็นเวลาร่วมปี จึงนำมาสู่การพัฒนา “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE-Bone” รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในตอนนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกระดับ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องความทนทานของวัสดุในการใช้งานกลางแจ้ง ด้วยการประยุกต์ใช้ทุ่นลอยน้ำจาก SCG Floating Solar Solutions ที่สามารถประกอบและขนย้ายได้ง่าย ซึ่งเดิมทีออกแบบมาเพื่อรองรับแผงโซลาร์เซลล์ จึงสามารถมั่นใจได้ในความแข็งแรงทนทานในการใช้งานกลางแจ้งภายใต้แสงแดดจัดตลอดทั้งวัน และคุณสมบัติในการลอยตัว อีกทั้งยังผลิตจากพลาสติกที่มีคุณสมบัติเป็น Food Grade ปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25 ปี แล้วยังสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้อีกด้วย

นอกจากตัวทุ่นเองแล้ว ยังมีการพัฒนาส่วนของแขนที่ยื่นออกจากปากทุ่น สำหรับดักกวาดขยะจำนวนมากให้เข้ามาส่วนหน้าปากทุ่น เมื่อประกอบกับกระแสน้ำที่กระเพื่อมตลอดเวลา ทั้งหมดจะช่วยผลักให้ประตูทุ่นเปิดออก และดันขยะเข้าไปเก็บด้านในทุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน ทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่น 2 นี้ ถูกติดตั้งและใช้งานบริเวณปากแม่น้ำ ช่วยป้องกันขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลได้แล้วกว่า 71 ตันด้วยทุ่นกักขยะ 37 ชุด ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศไทย เช่น ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา กระบี่ เป็นต้น และจะถูกติดตั้งทั่วปากแม่น้ำระยองเพิ่มอีก 10 จุด ซึ่งสอดประสานกับโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมการบริโภค และคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ทุ่นกักขยะลอยน้ำ ยังเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ในปี 2563 ด้วยเอกลักษณ์ด้านกลไกการทำงานของทุ่นกักขยะ ซึ่งมีบานพับเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำ ทำให้ขยะไม่สามารถหลุดรอดออกไปได้เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บขยะในแหล่งน้ำได้จริง
เมื่อนวัตกรรมที่ดีสอดประสานกับความปรารถนาดีจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ชุมชนเติบโตและพัฒนาอย่างดีต่อไป นอกจากผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างขยะที่ลดการเล็ดลอดลงแหล่งน้ำและท้องทะเลโดยทุ่นกักขยะ และคุณค่าใหม่ของขยะที่เกิดจากการหมุนเวียนใช้ผ่านการรีไซเคิล ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนระยองยังเป็นเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม ที่จะย้อนกลับมาสร้างความสุขให้ชาวระยองได้อย่างยั่งยืน