รถเข็นสำหรับจ่ายยา นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดูแลผู้ป่วยใน ทั้งการนำจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่ห้องพักตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน รวมถึงการทำหัตถการต่าง ๆ การเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลชั้นนำอย่างเครือ BDMS หรือ กรุงเทพดุสิตเวชการให้ความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอื่น ๆ
เมื่อกล่าวถึงรถเข็นจ่ายยาที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีทั้งการประยุกต์ใช้รถเข็นโลหะธรรมดาที่ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะเจาะจง และแบบที่มีลิ้นชักเก็บยาโดยเฉพาะซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณารถเข็นแต่ละประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะของเครือ BDMS และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ซึ่งมีประสบการณ์ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาแล้วด้วยความเชี่ยวชาญทั้งการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ พร้อมพันธมิตรที่พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจร

เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ทาง BDMS มีแนวคิดที่จะปรับการบริหารจัดการการจ่ายยาให้เป็นระบบปิด หรือ close-loop medication ให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อแพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วข้อมูลจะต้องถูกส่งตรงไปยังรถเข็นจ่ายยาได้ทันที เพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ทีมงานของเอสซีจีได้เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานจริงของทั้งทีมแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจ่ายยาทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อได้รับทราบข้อมูลความต้องการครบถ้วนแล้วเอสซีจีจึงออกแบบรถเข็นให้มีลิ้นชักจ่ายยาจำนวน 6 ลิ้นชัก ตรงตามจำนวนห้องของผู้ป่วยที่พยาบาลแต่ละท่านต้องดูแลรับผิดชอบ โดยมีระบบล็อคลิ้นชักที่ต้องใช้การสแกนข้อมูลเลขผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตนก่อน และจะปลดล็อคได้เฉพาะลิ้นชักที่กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยท่านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจ่ายยา

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลเองก็ต้องล็อกอินเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือบันทึกประวัติการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ลิ้นชักทั้งหมดจะล็อคอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถเปิดใช้งานได้ครั้งละ 1 ลิ้นชักเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด สับสน โดยจะต้องสแกนรหัสผู้ป่วยเพื่อปลดล็อคทุกครั้งเมื่อต้องการบรรจุยาจากห้องยาเข้าลิ้นชัก และเมื่อต้องการนำยาออกมาเมื่อถึงห้องผู้ป่วย อีกทั้งยังมีหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงผลเพื่อช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของยาอีกครั้งก่อนจ่ายยาแก่ผู้ป่วย
การใช้งานที่สะดวกสบาย อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง
เมื่อออกแบบฟังก์ชันหลักของรถเข็นให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ปลอดภัยแล้ว การออกแบบยังต้องสามารถช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรผู้ใช้งานได้ดีด้วย ทีมงานของเอสซีจีจึงออกแบบที่จับ ล้อเลื่อนพร้อมตัวล็อค และขนาดของรถเข็นให้มีน้ำหนักเหมาะสม ใช้งานได้สะดวกสบาย รวมถึงออกแบบขนาดลิ้นชักให้มีความสูงเหมาะสมกับการเก็บขวดยาน้ำในแนวตั้ง ป้องกันการเกิดคราบที่คอขวดและป้องกันการหกเลอะเทอะจากการเก็บขวดยาในแนวนอนที่เคยเป็นข้อจำกัดของรถเข็นรูปแบบเดิม ๆ

จากการพูดคุยศึกษาการทำงานจริงของพยาบาล ทีมงานเอสซีจีจึงได้ออกแบบช่องใส่อุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ อย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น ช่องใส่พลาสเตอร์ เข็มฉีดยา ที่แขวนถังทิ้งเข็มฉีดยา ที่แขวนถุงน้ำเกลือ พื้นที่เก็บเอกสาร พื้นที่สำหรับวางถาดอาหารเหลว เป็นต้น
เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ช่วยเชื่อมต่อการทำงานอย่างครบวงจร
จุดเด่นสำคัญอีกหนึ่งอย่างของนวัตกรรมนี้ก็คือ การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดด้วยระบบดิจิทัล เพราะสิ่งที่ทำให้รถเข็นจ่ายยาธรรมดากลายมาเป็นรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะก็คือ “ข้อมูล” โดยการเพิ่มกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ทางกายภาพที่จับต้องได้กับข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการพัฒนาซอฟท์แวร์จากทีม Digital ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ทีมงานได้รับโจทย์ความต้องการจากโรงพยาบาล และได้พัฒนาระบบซอฟท์แวร์เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมของโรงพยาบาล เพิ่มความแม่นยำในการจ่ายยา ช่วยลดความผิดพลาดจากคน (human error) และยังทำให้มีระบบตรวจสอบที่ดีขึ้น เนื่องจากทุกกิจกรรมจะถูกบันทึกไว้ในระบบ สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะยังใช้ระบบเซนเซอร์สำหรับตรวจสอบสถานะการเปิด-ปิดของลิ้นชัก รวมถึงการวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นภายในลิ้นชักเก็บยา เพื่อตรวจสอบการเก็บรักษายาให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมตามมาตรฐาน JCI สร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพของยาให้แก่ผู้ป่วย ในอนาคตเราจะได้เห็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของในทางกายภาพกับข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ก้าวต่อไปของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อวงการแพทย์
ปัจจุบันรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะได้นำไปใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย โดยล่าสุด BDMS ได้ขยายผลการใช้งานไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ ในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล ซึ่งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ของรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 8 ลิ้นชักเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของทั้งสองโรงพยาบาล นับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พร้อมทำงานร่วมกันกับลูกค้าเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง และนำเสนอโซลูชันครบวงจรที่จะเปลี่ยนจากไอเดียให้ออกมาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่ยกระดับมาตรฐานการใช้งานสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันได้ที่ medandwellness@scg.com




เมื่อกล่าวถึงรถเข็นจ่ายยาที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีทั้งการประยุกต์ใช้รถเข็นโลหะธรรมดาที่ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะเจาะจง และแบบที่มีลิ้นชักเก็บยาโดยเฉพาะซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณารถเข็นแต่ละประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะของเครือ BDMS และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ซึ่งมีประสบการณ์ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาแล้วด้วยความเชี่ยวชาญทั้งการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ พร้อมพันธมิตรที่พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจร

เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ทาง BDMS มีแนวคิดที่จะปรับการบริหารจัดการการจ่ายยาให้เป็นระบบปิด หรือ close-loop medication ให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อแพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วข้อมูลจะต้องถูกส่งตรงไปยังรถเข็นจ่ายยาได้ทันที เพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ทีมงานของเอสซีจีได้เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานจริงของทั้งทีมแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจ่ายยาทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อได้รับทราบข้อมูลความต้องการครบถ้วนแล้วเอสซีจีจึงออกแบบรถเข็นให้มีลิ้นชักจ่ายยาจำนวน 6 ลิ้นชัก ตรงตามจำนวนห้องของผู้ป่วยที่พยาบาลแต่ละท่านต้องดูแลรับผิดชอบ โดยมีระบบล็อคลิ้นชักที่ต้องใช้การสแกนข้อมูลเลขผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตนก่อน และจะปลดล็อคได้เฉพาะลิ้นชักที่กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยท่านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจ่ายยา

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลเองก็ต้องล็อกอินเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือบันทึกประวัติการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ลิ้นชักทั้งหมดจะล็อคอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถเปิดใช้งานได้ครั้งละ 1 ลิ้นชักเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด สับสน โดยจะต้องสแกนรหัสผู้ป่วยเพื่อปลดล็อคทุกครั้งเมื่อต้องการบรรจุยาจากห้องยาเข้าลิ้นชัก และเมื่อต้องการนำยาออกมาเมื่อถึงห้องผู้ป่วย อีกทั้งยังมีหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงผลเพื่อช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของยาอีกครั้งก่อนจ่ายยาแก่ผู้ป่วย
การใช้งานที่สะดวกสบาย อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง
เมื่อออกแบบฟังก์ชันหลักของรถเข็นให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ปลอดภัยแล้ว การออกแบบยังต้องสามารถช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรผู้ใช้งานได้ดีด้วย ทีมงานของเอสซีจีจึงออกแบบที่จับ ล้อเลื่อนพร้อมตัวล็อค และขนาดของรถเข็นให้มีน้ำหนักเหมาะสม ใช้งานได้สะดวกสบาย รวมถึงออกแบบขนาดลิ้นชักให้มีความสูงเหมาะสมกับการเก็บขวดยาน้ำในแนวตั้ง ป้องกันการเกิดคราบที่คอขวดและป้องกันการหกเลอะเทอะจากการเก็บขวดยาในแนวนอนที่เคยเป็นข้อจำกัดของรถเข็นรูปแบบเดิม ๆ

จากการพูดคุยศึกษาการทำงานจริงของพยาบาล ทีมงานเอสซีจีจึงได้ออกแบบช่องใส่อุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ อย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น ช่องใส่พลาสเตอร์ เข็มฉีดยา ที่แขวนถังทิ้งเข็มฉีดยา ที่แขวนถุงน้ำเกลือ พื้นที่เก็บเอกสาร พื้นที่สำหรับวางถาดอาหารเหลว เป็นต้น
เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ช่วยเชื่อมต่อการทำงานอย่างครบวงจร
จุดเด่นสำคัญอีกหนึ่งอย่างของนวัตกรรมนี้ก็คือ การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดด้วยระบบดิจิทัล เพราะสิ่งที่ทำให้รถเข็นจ่ายยาธรรมดากลายมาเป็นรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะก็คือ “ข้อมูล” โดยการเพิ่มกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ทางกายภาพที่จับต้องได้กับข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการพัฒนาซอฟท์แวร์จากทีม Digital ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ทีมงานได้รับโจทย์ความต้องการจากโรงพยาบาล และได้พัฒนาระบบซอฟท์แวร์เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมของโรงพยาบาล เพิ่มความแม่นยำในการจ่ายยา ช่วยลดความผิดพลาดจากคน (human error) และยังทำให้มีระบบตรวจสอบที่ดีขึ้น เนื่องจากทุกกิจกรรมจะถูกบันทึกไว้ในระบบ สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะยังใช้ระบบเซนเซอร์สำหรับตรวจสอบสถานะการเปิด-ปิดของลิ้นชัก รวมถึงการวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นภายในลิ้นชักเก็บยา เพื่อตรวจสอบการเก็บรักษายาให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมตามมาตรฐาน JCI สร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพของยาให้แก่ผู้ป่วย ในอนาคตเราจะได้เห็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของในทางกายภาพกับข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ก้าวต่อไปของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อวงการแพทย์
ปัจจุบันรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะได้นำไปใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย โดยล่าสุด BDMS ได้ขยายผลการใช้งานไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ ในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล ซึ่งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ของรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 8 ลิ้นชักเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของทั้งสองโรงพยาบาล นับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พร้อมทำงานร่วมกันกับลูกค้าเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง และนำเสนอโซลูชันครบวงจรที่จะเปลี่ยนจากไอเดียให้ออกมาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่ยกระดับมาตรฐานการใช้งานสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันได้ที่ medandwellness@scg.com

“รถจ่ายยาอัจฉริยะคันนี้จะมาช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจ่ายยาทำได้อย่างปลอดภัยและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีโดยตรงแก่ผู้ป่วย”
คุณกัลยาณี ทวนสุวรรณ
ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการแพทย์
โรงพยาบาลกรุงเทพ

“อย่าหยุดคิด อย่าหยุดพัฒนางานด้านการพยาบาล เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยของเรา”
คุณพรพิมล เหล่างาม
ผู้อำนวยการฝ่ายพยาบาล
โรงพยาบาลกรุงเทพ

“การสร้างนวัตกรรมจะสำเร็จไม่ได้หากขาดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เมื่อได้รับโจทย์ที่ชัดเจนก็จะสามารถช่วยกันพัฒนานวัตกรรมที่ไม่เพียงตอบโจทย์โรงพยาบาลแต่ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของประเทศอีกด้วย”
คุณศุภธิดา รัตนสวัสดิ์
Medical and Well-being Business Manager
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี

“การนำเสนอโซลูชัน ไม่ใช่แค่การทำสินค้าออกไปขาย แต่เป็นการพยายามแก้ปัญหาให้ลูกค้าจากการทำงานร่วมกันในหลายส่วน อย่างการพัฒนารถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะประกอบไปด้วยงานออกแบบตั้งแต่โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงระบบซอฟท์แวร์ ซึ่งทีมทีมเดียวไม่สามารถทำได้หรือทำได้ดีในทุกเรื่อง การประสานความร่วมมือจึงมีความสำคัญมาก”
คุณภาณุมาศ อุณหสูต
Development Lead หน่วยงาน Digital
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี