นวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบันใช้เวลาในการคิดค้นพัฒนา รวมถึงระยะเวลาในการเข้าถึงคนทั่วโลกสั้นลงเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อคนทั่วโลกไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลและความรู้ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยุคสมัยของธุรกิจทั่วโลกด้วยเช่นกันที่มักมีเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่และองค์กรต่าง ๆ นำไปปรับใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไปอย่างรวดเร็ว

จากเทรนด์สู่การเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำธุรกิจ
หากย้อนกลับไปเพียงไม่กี่ปีก่อน “Digital Transformation” เป็นเทรนด์ใหม่ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและพยายามนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ “Circular Economy” หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดการเกิดขยะที่อาจหลุดลอดไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ไปจนถึงเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว และกลับมาถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบันอย่างเรื่อง “Climate Emergency” หรือภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์กรยุคใหม่ที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งการผลักดันของนโยบายของภาครัฐ และความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการปรับตัวของเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน
SCG GREEN POLYMER™ การปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของห่วงโซ่อุปทานจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และความตั้งใจที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง จึงได้ก่อเกิดเป็น SCG GREEN POLYMER™ โซลูชันของพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมของวงการ พร้อมที่จะร่วมมือกับเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมโซลูชันที่ตอบโจทย์ 4 ด้าน ได้แก่

(1) REDUCE: Enhance Material for Eco-efficiency
โซลูชันเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงอย่าง SMX™ Technology ซึ่งทำให้ได้เม็ดพลาสติก HDPE ที่มีความโดดเด่น มีความสมดุลระหว่างความแข็งแรง (High Strength) และความเหนียว (Stiffness) จึงสามารถลดปริมาณพลาสติกในการผลิตชิ้นงานให้น้อยลงได้ โดยยังคงความแข็งแรงได้เหมือนเดิม สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าได้หลากหลาย ทั้งฝาขวดน้ำอัดลมรุ่นเบาพิเศษ ฟิล์มเพื่องานอุตสาหกรรมที่ทนแรงกระแทกได้ดีเป็นพิเศษ ไปจนถึงถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแรงพิเศษ ผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice และที่สำคัญคือช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตได้มากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไปอีกด้วย
(2) RECYCLABLE: Design for Recyclability
โซลูชันเพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มที่ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุหลายประเภท (Multi-material Packaging) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่สามารถรีไซเคิลได้ยาก ให้กลายเป็นบรรจุภัณฑ์จากวัสดุอย่างพลาสติก PE หรือ PP เพียงชนิดเดียว (Mono-material Packaging) ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังมีคุณสมบัติทั้งในด้านการใช้งานและความสวยงามที่ตรงตามความต้องการของเจ้าของแบรนด์สินค้า

(3) RECYCLE: Mechanical & Advanced Recycling
โซลูชันเพื่อนำพลาสติกที่ใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทยมาหมุนเวียนรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดปริมาณขยะ และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ไปในตัว
สำหรับพลาสติกใช้แล้วที่มีการคัดแยกและทำความสะอาดเป็นอย่างดี จะถูกนำมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถบรรลุเจตนารมณ์ขององค์กรในการใช้วัสดุรีไซเคิลได้ และยังผ่านการรับรองมาตรฐาน Global Recycled Standard (GRS) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกที่รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอีกด้วย โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก เพื่อพัฒนาต่อยอด และขยายตลาดพลาสติกรีไซเคิลไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ทีมพลาส (Teamplas) ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ในไทยกว่า 30 ปี สุเอซ (SUEZ) ผู้นำด้านการรีไซเคิลพลาสติกในยุโรป และซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดในประเทศโปรตุเกส
ส่วนพลาสติกใช้แล้วที่อาจไม่ได้ถูกคัดแยกอย่างถูกต้องมากนัก ก็สามารถนำไปผ่านเทคโนโลยี Advanced Recycling หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Chemicals Recyclingให้กลับกลายเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Recycled Feedstock) สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ได้ ซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่ากับเม็ดพลาสติก virgin อีกทั้งยังผ่านการรับรองมาตรฐาน “ISCC PLUS” โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) ซึ่งเป็นการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ โดยนับได้ว่าเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนชั้นนำระดับโลกนี้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อรวบรวมพลาสติกใช้แล้วให้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น เว็บแอปพลิเคชัน KoomKah (คุ้มค่า) สำหรับบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธนาคารขยะ และ ReadyPlastic แพลตฟอร์มการซื้อขายเศษเม็ดพลาสติกจากภาคอุตสาหกรรมและจัดประมูลซื้อขายวัสดุเหลือใช้จากการผลิต

(4) RENEWABLE: Bioplastics
โซลูชันเพื่อให้เกิดเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Compostable) ด้วยสูตรผสมสำเร็จเฉพาะของเอสซีจี เคมิคอลส์ ที่พร้อมให้นำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าจำพวกฟิล์ม สำหรับใช้งานในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้เลย จึงเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการขึ้นรูปได้อย่างดี พร้อมกับคุณสมบัติที่ครบเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้งาน และยังผ่านการรับรองว่าย่อยสลายทางชีวภาพได้จริงจากสถาบันชั้นนำของโลกอย่าง DIN CERTCO ประเทศเยอรมันนี
และอีกหนึ่งโซลูชันเพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่กำลังจะหมดไปอย่างปิโตรเลียม (Fossil-Based) ในการผลิตพลาสติก คือการหันมาใช้ทรัพยากรที่สามารถปลูกทดแทนใหม่ได้อย่างพืช (Bio-based) ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาใช้งาน จึงช่วยลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย โดยได้มีการร่วมมือกับผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิลอย่าง บราสเคม (Braskem) ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย
ความสามารถในการปรับตัวและเปิดรับนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลกเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่อาจเป็นตัวชี้ชะตาความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาวได้ ควรมีการตั้งคำถามเพื่อถามตัวเองเสมอว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์อนาคตเผื่อไว้เพื่อให้เดินธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่หลงทาง
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SCG GREEN POLYMER™ ได้ที่ greenpolymer@scg.com

จากเทรนด์สู่การเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำธุรกิจ
หากย้อนกลับไปเพียงไม่กี่ปีก่อน “Digital Transformation” เป็นเทรนด์ใหม่ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและพยายามนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ “Circular Economy” หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดการเกิดขยะที่อาจหลุดลอดไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ไปจนถึงเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว และกลับมาถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบันอย่างเรื่อง “Climate Emergency” หรือภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์กรยุคใหม่ที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งการผลักดันของนโยบายของภาครัฐ และความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการปรับตัวของเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน
SCG GREEN POLYMER™ การปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของห่วงโซ่อุปทานจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และความตั้งใจที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง จึงได้ก่อเกิดเป็น SCG GREEN POLYMER™ โซลูชันของพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมของวงการ พร้อมที่จะร่วมมือกับเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมโซลูชันที่ตอบโจทย์ 4 ด้าน ได้แก่

(1) REDUCE: Enhance Material for Eco-efficiency
โซลูชันเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงอย่าง SMX™ Technology ซึ่งทำให้ได้เม็ดพลาสติก HDPE ที่มีความโดดเด่น มีความสมดุลระหว่างความแข็งแรง (High Strength) และความเหนียว (Stiffness) จึงสามารถลดปริมาณพลาสติกในการผลิตชิ้นงานให้น้อยลงได้ โดยยังคงความแข็งแรงได้เหมือนเดิม สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าได้หลากหลาย ทั้งฝาขวดน้ำอัดลมรุ่นเบาพิเศษ ฟิล์มเพื่องานอุตสาหกรรมที่ทนแรงกระแทกได้ดีเป็นพิเศษ ไปจนถึงถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแรงพิเศษ ผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice และที่สำคัญคือช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตได้มากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไปอีกด้วย
(2) RECYCLABLE: Design for Recyclability
โซลูชันเพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มที่ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุหลายประเภท (Multi-material Packaging) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่สามารถรีไซเคิลได้ยาก ให้กลายเป็นบรรจุภัณฑ์จากวัสดุอย่างพลาสติก PE หรือ PP เพียงชนิดเดียว (Mono-material Packaging) ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังมีคุณสมบัติทั้งในด้านการใช้งานและความสวยงามที่ตรงตามความต้องการของเจ้าของแบรนด์สินค้า

(3) RECYCLE: Mechanical & Advanced Recycling
โซลูชันเพื่อนำพลาสติกที่ใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทยมาหมุนเวียนรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดปริมาณขยะ และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ไปในตัว
สำหรับพลาสติกใช้แล้วที่มีการคัดแยกและทำความสะอาดเป็นอย่างดี จะถูกนำมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถบรรลุเจตนารมณ์ขององค์กรในการใช้วัสดุรีไซเคิลได้ และยังผ่านการรับรองมาตรฐาน Global Recycled Standard (GRS) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกที่รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอีกด้วย โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก เพื่อพัฒนาต่อยอด และขยายตลาดพลาสติกรีไซเคิลไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ทีมพลาส (Teamplas) ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ในไทยกว่า 30 ปี สุเอซ (SUEZ) ผู้นำด้านการรีไซเคิลพลาสติกในยุโรป และซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดในประเทศโปรตุเกส
ส่วนพลาสติกใช้แล้วที่อาจไม่ได้ถูกคัดแยกอย่างถูกต้องมากนัก ก็สามารถนำไปผ่านเทคโนโลยี Advanced Recycling หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Chemicals Recyclingให้กลับกลายเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Recycled Feedstock) สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ได้ ซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่ากับเม็ดพลาสติก virgin อีกทั้งยังผ่านการรับรองมาตรฐาน “ISCC PLUS” โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) ซึ่งเป็นการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ โดยนับได้ว่าเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนชั้นนำระดับโลกนี้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อรวบรวมพลาสติกใช้แล้วให้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น เว็บแอปพลิเคชัน KoomKah (คุ้มค่า) สำหรับบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธนาคารขยะ และ ReadyPlastic แพลตฟอร์มการซื้อขายเศษเม็ดพลาสติกจากภาคอุตสาหกรรมและจัดประมูลซื้อขายวัสดุเหลือใช้จากการผลิต

(4) RENEWABLE: Bioplastics
โซลูชันเพื่อให้เกิดเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Compostable) ด้วยสูตรผสมสำเร็จเฉพาะของเอสซีจี เคมิคอลส์ ที่พร้อมให้นำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าจำพวกฟิล์ม สำหรับใช้งานในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้เลย จึงเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการขึ้นรูปได้อย่างดี พร้อมกับคุณสมบัติที่ครบเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้งาน และยังผ่านการรับรองว่าย่อยสลายทางชีวภาพได้จริงจากสถาบันชั้นนำของโลกอย่าง DIN CERTCO ประเทศเยอรมันนี
และอีกหนึ่งโซลูชันเพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่กำลังจะหมดไปอย่างปิโตรเลียม (Fossil-Based) ในการผลิตพลาสติก คือการหันมาใช้ทรัพยากรที่สามารถปลูกทดแทนใหม่ได้อย่างพืช (Bio-based) ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาใช้งาน จึงช่วยลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย โดยได้มีการร่วมมือกับผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิลอย่าง บราสเคม (Braskem) ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย
ความสามารถในการปรับตัวและเปิดรับนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลกเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่อาจเป็นตัวชี้ชะตาความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาวได้ ควรมีการตั้งคำถามเพื่อถามตัวเองเสมอว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์อนาคตเผื่อไว้เพื่อให้เดินธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่หลงทาง
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SCG GREEN POLYMER™ ได้ที่ greenpolymer@scg.com