หากลองสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากเรื่องใกล้ตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ หน้าจอสมาร์ทโฟนจากที่เคยเป็นเพียงอุปกรณ์สื่อสารที่เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย หรือสื่อบันเทิงต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมส่วนใหญ่ของชีวิตประจำวันที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่าย พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันก็ปรับเปลี่ยนไปตามการปรับตัวนำเสนอสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่ต้องเดินหน้าตามเทคโนโลยีที่เติบโตในแต่ละอุตสาหกรรม จนเรียกได้ว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต่างก็เป็นกลไกที่เอื้อให้ต่างฝ่ายต่างเกิดการปรับตัวในโลกยุคที่เทคโนโลยีรุดหน้าและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว
All Around Plastics ฉบับนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอรพงศ์ เทียนเงิน Chief Executive Officer บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ถึงความสำคัญของดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การก้าวให้ทันเกมของดิจิทัลกลายมาเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการพัฒนาและเดินหน้าในระดับโลก
คุณอรพงศ์ เทียนเงิน Chief Executive Officer บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด
“Disruption คือ อะไรก็ตามที่ทำให้การทำธุรกิจในรูปแบบปัจจุบันไม่สามารถคงอยู่ได้ ที่เห็นได้ชัดก็มีทั้งอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนที่เปลี่ยนทิศทางไปเป็นสื่อออนไลน์ การคมนาคมกับบริการผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือการค้าผ่านทางหน้าร้านดิจิทัล ซึ่งในธุรกิจทั้งหลาย เมื่อมองลึกลงไป สิ่งที่ทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็คือเทคโนโลยี เป็นที่มาของ Digital Transformation ในนิยามของผม”

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงจากดิจิทัล อย่างแรกที่เห็นภาพได้ชัดเจนคือ พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนที่เปลี่ยนไป แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีช่องว่างทางการตลาดอยู่เสมอ จึงเป็นโอกาสของผู้เล่นหน้าใหม่ที่สามารถใช้ข้อดีของโลกยุคดิจิทัลสร้างช่องทางใหม่ได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าร้านหรือไม่ต้องมีต้นทุนทางกายภาพเหมือนแต่ก่อน
“โลกย่อเหลือแค่หน้าจอห้านิ้ว แต่เป็นห้านิ้วที่ทำได้ทุกอย่าง ยกตัวอย่างสถาบันการเงิน ต้นทุนใหญ่จะเป็นเรื่องการบริหารจัดการ และกำลังคน แต่ปัจจุบันธนาคารเกิดใหม่หลายแห่งเริ่มต้นจากการทำแอปพลิเคชันออนไลน์ ฝั่งหนึ่งต้นทุนแทบไม่มี อีกฝั่งหนึ่งแบกต้นทุนมหาศาล จึงเป็นที่มาที่ว่า ใครก็ตามซึ่งอยู่ในโลกของกายภาพ จึงจำเป็นต้องมี Digital Transformation คือจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้สามารถแข่งขันในโลกยุคดิจิทัลได้”
นอกจากจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งเดิมที่มีอยู่ในตลาดแล้ว อีกกลุ่มคู่แข่งที่ต้องรับมือก็คือ กลุ่มที่เรียกว่า Born-Digital ซึ่งก็คือธุรกิจที่เกิดมาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเลย มีความสามารถประยุกต์และใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนกับบริษัทที่มีกายภาพเช่นในอดีต ทั้งหมดจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกอุตสาหกรรมจะต้องรีบแก้เกมให้ทันโลกและเหมาะสมกับบริบทของการทำงานภายในองค์กรของตน “ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มันเกิดขึ้นทั้งโลก จะเร็วหรือช้าก็เท่านั้นเอง และมี impact มาก”
หรือว่าโลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยน
เพราะ Disruption เกิดขึ้นทั่วทุกอุตสาหกรรม จึงเป็นสัญญาณที่ว่าตำราการบริหารธุรกิจแบบเก่าที่เกิดขึ้นมาเป็นร้อยปีอาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่เหมือนแต่ก่อน “คนที่ทำธุรกิจเดี๋ยวนี้ มันก็น่าคิดว่า ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ก็จะมี White Space ขึ้นมา โอกาสที่เราจะเติบโตเกิดได้สูงมาก ถ้าเราคิดออกว่าในโลกใบใหม่นี้เราจะทำอะไรได้”
การเปลี่ยนผ่านย่อมต้องมาพร้อมกับการเตรียมพร้อม การจัดการทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารที่จะต้องหาวิธีเปลี่ยนผ่านให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด และสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กรให้เติบโตไปพร้อมกับธรรมชาติขององค์กร

“พื้นฐานจริง ๆ ต้องมองว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพราะว่าสมัยก่อน เทคโนโลยีคือสิ่งซึ่งช่วยเสริมธุรกิจ เพราะฉะนั้นคำถามคือ เราต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง? อย่างแรกคือ บริษัทต้องสร้างตัวเองให้เป็น Technology Company เพราะมันไม่ใช่การซื้อเทคโนโลยีมาทำธุรกิจเหมือนเดิมอีกแล้ว ตัวเทคโนโลยีเองนี่แหละที่เป็นธุรกิจ”
ในแง่ของผู้ประกอบการแล้ว การปรับตัวในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการปรับทัศนคติให้เทคโนโลยีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการทำงาน “ต้องคิดว่าจะเอาเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจที่เราทำอยู่ให้แตกต่างได้อย่างไร ซึ่งโจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ยากมาก เพราะคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมมาเป็นเวลาหลายสิบปี ให้ลองคิดว่าของใหม่เป็นอย่างไร มันก็คิดไม่ออก เพราะทุกคนยังมีกรอบของความคิดที่ถูก shape มาด้วยเวลา”
ยกตัวอย่างในกรณีของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีการแยกหน่วยงานใหม่สำหรับ New Innovative Business นั่นคือ ‘ดิจิทัล เวนเจอร์ส’ ออกมาจากธนาคารหลัก เพื่อออกจากข้อจำกัดแบบเดิมที่เคยต้องพบในธุรกิจธนาคาร พนักงานก็ต้องมีคาแรคเตอร์แบบใหม่ “เห็นได้เลยว่าที่นี่ไม่มีใครใส่สูทเลยสักคน แล้วส่วนใหญ่เป็นเด็กซึ่งโตมากับโลกของเทคโนโลยี ด้วยวิธีนี้เราวิ่งเร็วกว่า แล้วก็ทำอะไรหลายอย่างได้สำเร็จ อย่างเช่น Blockchain ที่เราทำกับเอสซีจีก็เกิดขึ้นมาจากหน่วยงานนี้”
เพราะการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นเรื่องใกล้ตัวเรากว่าที่คิด การตื่นตัวและเตรียมพร้อมอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ในระดับบุคคลจนไปถึงระดับองค์กร อย่างที่คุณอรพงศ์ย้ำกับเราว่า “อยู่เฉย ๆ คือถอยหลัง เพราะโลกมันวิ่งไปข้างหน้าเร็ว” คนรู้ก่อนย่อมได้เปรียบกว่า สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่กำลังจะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงภายใน 2-3 ปีนี้ แบ่งเป็น 4 หัวเรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่

คุณอรพงศ์ยกตัวอย่างการปรับตัวของคนในอุตสาหกรรมพลาสติกต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า “อนาคตเป็นเรื่องของการรีไซเคิลแน่นอน อาจจะมีการติดเซ็นเซอร์ตรวจสอบกลับไปได้ว่าพลาสติกชิ้นนี้ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตขึ้นเมื่อไหร่ พอมี 5G ก็จะเช็กกลับไปได้ว่าพลาสติกชิ้นนี้มาจากที่ไหน แล้วไปที่ไหนต่อ อีกหน่อยผู้ผลิตอาจจะต้องวิ่งกลับมารับผิดชอบเอาพลาสติกชิ้นนี้กลับไปบริหาร ซึ่งเดี๋ยวนี้อะไรที่คิดว่าอีกไกล มันมาเร็วกว่าที่คิด”
คุณอรพงศ์ทิ้งท้ายถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงรุดหน้าไปรวดเร็วกว่าที่คิดว่า พื้นฐานของเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดเรื่องราวเหล่านี้มันมีอยู่ครบแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครมาประกอบใช้ ซึ่งการเลือกใช้ก็ต้องแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละองค์กร โดยสิ่งที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จก็คือการลองผิดลองถูก “เพราะโลกเดี๋ยวนี้คือการทดลอง ปัจจุบันลองได้ถูกกว่าเดิมเยอะ ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเลย เพียงแต่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ หรือถ้าไม่มี อย่างน้อยก็ต้องมีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาทดลอง”
All Around Plastics ฉบับนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอรพงศ์ เทียนเงิน Chief Executive Officer บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ถึงความสำคัญของดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การก้าวให้ทันเกมของดิจิทัลกลายมาเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการพัฒนาและเดินหน้าในระดับโลก

รู้จักกับ Disruption และ Digital Transformation คืออะไร
“Disruption คือ อะไรก็ตามที่ทำให้การทำธุรกิจในรูปแบบปัจจุบันไม่สามารถคงอยู่ได้ ที่เห็นได้ชัดก็มีทั้งอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนที่เปลี่ยนทิศทางไปเป็นสื่อออนไลน์ การคมนาคมกับบริการผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือการค้าผ่านทางหน้าร้านดิจิทัล ซึ่งในธุรกิจทั้งหลาย เมื่อมองลึกลงไป สิ่งที่ทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็คือเทคโนโลยี เป็นที่มาของ Digital Transformation ในนิยามของผม”

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงจากดิจิทัล อย่างแรกที่เห็นภาพได้ชัดเจนคือ พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนที่เปลี่ยนไป แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีช่องว่างทางการตลาดอยู่เสมอ จึงเป็นโอกาสของผู้เล่นหน้าใหม่ที่สามารถใช้ข้อดีของโลกยุคดิจิทัลสร้างช่องทางใหม่ได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าร้านหรือไม่ต้องมีต้นทุนทางกายภาพเหมือนแต่ก่อน
Digital Transformation ปรับเปลี่ยนเพื่อแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล
“โลกย่อเหลือแค่หน้าจอห้านิ้ว แต่เป็นห้านิ้วที่ทำได้ทุกอย่าง ยกตัวอย่างสถาบันการเงิน ต้นทุนใหญ่จะเป็นเรื่องการบริหารจัดการ และกำลังคน แต่ปัจจุบันธนาคารเกิดใหม่หลายแห่งเริ่มต้นจากการทำแอปพลิเคชันออนไลน์ ฝั่งหนึ่งต้นทุนแทบไม่มี อีกฝั่งหนึ่งแบกต้นทุนมหาศาล จึงเป็นที่มาที่ว่า ใครก็ตามซึ่งอยู่ในโลกของกายภาพ จึงจำเป็นต้องมี Digital Transformation คือจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้สามารถแข่งขันในโลกยุคดิจิทัลได้”
นอกจากจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งเดิมที่มีอยู่ในตลาดแล้ว อีกกลุ่มคู่แข่งที่ต้องรับมือก็คือ กลุ่มที่เรียกว่า Born-Digital ซึ่งก็คือธุรกิจที่เกิดมาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเลย มีความสามารถประยุกต์และใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนกับบริษัทที่มีกายภาพเช่นในอดีต ทั้งหมดจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกอุตสาหกรรมจะต้องรีบแก้เกมให้ทันโลกและเหมาะสมกับบริบทของการทำงานภายในองค์กรของตน “ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มันเกิดขึ้นทั้งโลก จะเร็วหรือช้าก็เท่านั้นเอง และมี impact มาก”
หรือว่าโลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยน
เพราะ Disruption เกิดขึ้นทั่วทุกอุตสาหกรรม จึงเป็นสัญญาณที่ว่าตำราการบริหารธุรกิจแบบเก่าที่เกิดขึ้นมาเป็นร้อยปีอาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่เหมือนแต่ก่อน “คนที่ทำธุรกิจเดี๋ยวนี้ มันก็น่าคิดว่า ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ก็จะมี White Space ขึ้นมา โอกาสที่เราจะเติบโตเกิดได้สูงมาก ถ้าเราคิดออกว่าในโลกใบใหม่นี้เราจะทำอะไรได้”
การเปลี่ยนผ่านย่อมต้องมาพร้อมกับการเตรียมพร้อม การจัดการทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารที่จะต้องหาวิธีเปลี่ยนผ่านให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด และสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กรให้เติบโตไปพร้อมกับธรรมชาติขององค์กร

“พื้นฐานจริง ๆ ต้องมองว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพราะว่าสมัยก่อน เทคโนโลยีคือสิ่งซึ่งช่วยเสริมธุรกิจ เพราะฉะนั้นคำถามคือ เราต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง? อย่างแรกคือ บริษัทต้องสร้างตัวเองให้เป็น Technology Company เพราะมันไม่ใช่การซื้อเทคโนโลยีมาทำธุรกิจเหมือนเดิมอีกแล้ว ตัวเทคโนโลยีเองนี่แหละที่เป็นธุรกิจ”
ในแง่ของผู้ประกอบการแล้ว การปรับตัวในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการปรับทัศนคติให้เทคโนโลยีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการทำงาน “ต้องคิดว่าจะเอาเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจที่เราทำอยู่ให้แตกต่างได้อย่างไร ซึ่งโจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ยากมาก เพราะคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมมาเป็นเวลาหลายสิบปี ให้ลองคิดว่าของใหม่เป็นอย่างไร มันก็คิดไม่ออก เพราะทุกคนยังมีกรอบของความคิดที่ถูก shape มาด้วยเวลา”
ยกตัวอย่างในกรณีของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีการแยกหน่วยงานใหม่สำหรับ New Innovative Business นั่นคือ ‘ดิจิทัล เวนเจอร์ส’ ออกมาจากธนาคารหลัก เพื่อออกจากข้อจำกัดแบบเดิมที่เคยต้องพบในธุรกิจธนาคาร พนักงานก็ต้องมีคาแรคเตอร์แบบใหม่ “เห็นได้เลยว่าที่นี่ไม่มีใครใส่สูทเลยสักคน แล้วส่วนใหญ่เป็นเด็กซึ่งโตมากับโลกของเทคโนโลยี ด้วยวิธีนี้เราวิ่งเร็วกว่า แล้วก็ทำอะไรหลายอย่างได้สำเร็จ อย่างเช่น Blockchain ที่เราทำกับเอสซีจีก็เกิดขึ้นมาจากหน่วยงานนี้”
นวัตกรรมที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหรือ Disruption โลกยุคใหม่
เพราะการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นเรื่องใกล้ตัวเรากว่าที่คิด การตื่นตัวและเตรียมพร้อมอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ในระดับบุคคลจนไปถึงระดับองค์กร อย่างที่คุณอรพงศ์ย้ำกับเราว่า “อยู่เฉย ๆ คือถอยหลัง เพราะโลกมันวิ่งไปข้างหน้าเร็ว” คนรู้ก่อนย่อมได้เปรียบกว่า สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่กำลังจะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงภายใน 2-3 ปีนี้ แบ่งเป็น 4 หัวเรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่

-
Distributed Ledger
-
Tokenization
-
เทคโนโลยี 5G
-
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์
คุณอรพงศ์ยกตัวอย่างการปรับตัวของคนในอุตสาหกรรมพลาสติกต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า “อนาคตเป็นเรื่องของการรีไซเคิลแน่นอน อาจจะมีการติดเซ็นเซอร์ตรวจสอบกลับไปได้ว่าพลาสติกชิ้นนี้ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตขึ้นเมื่อไหร่ พอมี 5G ก็จะเช็กกลับไปได้ว่าพลาสติกชิ้นนี้มาจากที่ไหน แล้วไปที่ไหนต่อ อีกหน่อยผู้ผลิตอาจจะต้องวิ่งกลับมารับผิดชอบเอาพลาสติกชิ้นนี้กลับไปบริหาร ซึ่งเดี๋ยวนี้อะไรที่คิดว่าอีกไกล มันมาเร็วกว่าที่คิด”
คุณอรพงศ์ทิ้งท้ายถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงรุดหน้าไปรวดเร็วกว่าที่คิดว่า พื้นฐานของเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดเรื่องราวเหล่านี้มันมีอยู่ครบแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครมาประกอบใช้ ซึ่งการเลือกใช้ก็ต้องแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละองค์กร โดยสิ่งที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จก็คือการลองผิดลองถูก “เพราะโลกเดี๋ยวนี้คือการทดลอง ปัจจุบันลองได้ถูกกว่าเดิมเยอะ ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเลย เพียงแต่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ หรือถ้าไม่มี อย่างน้อยก็ต้องมีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาทดลอง”