ภาชนะเมลามีน เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
Technical FAQ: ภาชนะจานเมลามีน เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย จานชามเมลามีน ทำมาจากอะไร? ภาชนะจานชามเมลามีนทำมาจาก เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) ในกลุ่มเทอร์มอเซต (Thermoset Plastic) ถูกนำมาผลิตเป็นจาน ชาม หรือภาชนะใส่อาหารที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะนอกจากความสวยงามของลวดลายที่หลากหลายแล้ว ความคงทนก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ร้านค้า ครัวเรือน ต่างเลือกใช้ภาชนะเมลามีนกันอย่างแพร่หลาย จากความนิยมใช้ภาชนะเมลามีนนี้เอง ทำให้มีภาชนะเลียนแบบที่ผลิตจากวัสดุที่มีลักษณะคล้ายเมลามีนวางจำหน่ายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมต่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร โดยเมื่อนำไปใช้งานแล้วสารเคมีจากภาชนะจะมีโอกาสปนเปื้อนลงสู่อาหารจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อสังเกตในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เมลามีนที่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมจึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว คุณสมบัติของเมลามีนและมาตรฐานความปลอดภัย คุณอุมา บริบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวัสดุสัมผัสอาหาร รองผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “ในปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการสำรวจภาชนะที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด แล้วนำมาตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FT-IR) พบว่ามีทั้งผลิตภัณฑ์เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) หรือเรียกว่าเมลามีน 100%…
การติดตั้งแผ่น Shinkolite ต้องคำนึงถึง “7S”
การติดตั้งแผ่นหลังคาอะคริลิกโปร่งแสง Shinkolite สำหรับส่วนต่อเติมในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโรงรถ กันสาด ศาลาในสวน หลังคาคลุมทางเดิน มีหลัก 7S ที่ทั้งช่างและเจ้าของบ้านเองควรรู้เพื่อประสิทธิภาพและความสวยงามของผลงาน Space: พื้นที่ต้องเป็นพื้นที่เปิดอย่างน้อย 2 ด้าน และห้ามติดตั้งใกล้แหล่งความร้อน เช่น เตาไฟ Save Cost: ต้องปรับพื้นที่หน้างานให้ใกล้เคียงกับการใช้แผ่นเพื่อลดการเสียเศษแผ่นที่จะส่งผลต่อราคา เช่น กันสาดยื่น 1 เมตร 1.5 เมตร 2 เมตร 2.5 เมตร เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ลงตัวพอดีแผ่น Structure: โครงสร้างต้องเตรียมระยะที่ถูกต้อง ระยะแป 50 เซนติเมตร ระยะจันทันห้ามเกิน 1.392 เมตร จันทันเชื่อมเสมอแป กรณีหลังคายื่นเกิน 6 เมตร ต้องทำโครงเป็นขั้นบันได …
การแก้ไขปัญหาขุยปาก Die สำหรับลูกค้ากลุ่มสายไฟ
ในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟ ตำหนิเพียงเล็กน้อยอย่าง ขุยบนเปลือกหุ้มสายไฟ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหุ้มเปลือกสายไฟ หากไม่ทำการปรับปรุงจะมีโอกาสสะสมพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังทั้งในแง่กระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุทั้งเรื่องต้นทุนและการทำงานหากไม่รีบทำการแก้ไข เพราะเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาที่ดีต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุดเสียก่อน ทางธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในฐานะของผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจึงริเริ่มให้ความช่วยเหลือกับผู้ผลิตในแบบรายต่อราย โดยร่วมวิเคราะห์และนำเสนอทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า Q: ขุยบนผิวสายไฟคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้กับตัวสายไฟและผู้ผลิต A: ขุยบนผิวสายไฟ คือเศษวัตถุดิบในเม็ดพลาสติกที่หลอมละลายได้ยากเกาะตัวกันเป็นก้อนบนผิวสายไฟ ซึ่งขุยเหล่านี้มักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณทางออกของเครื่อง Extruder สำหรับหุ้มเปลือกสายไฟ หากเป็นขุยเล็กๆ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ และสามารถแก้ไขปัญหาระหว่างผลิตได้ด้วยการขัดแต่งผิว แต่ก็จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงานหลังการผลิตอีกขั้น ซึ่งเสียทั้งเวลาและแรงงานโดยใช่เหตุ แต่หากเครื่องจักรเดินเครื่องต่อเนื่องยาวนาน ตัวขุยก็จะสะสมเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เครื่องจักรทำงาน หลุดติดไปกับผิวสายไฟซึ่งยากแก่การขัดแต่งผิว ทำให้สินค้าทั้งล็อตนั้นจะนับเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ชิ้นส่วนของขุยปาก Die ที่สะสมและหลุดติดกับผิวสายไฟ ทำให้เกิดของเสียในการผลิต Q: ปัญหาเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง A: สาเหตุหลัก ๆ…
เม็ดพลาสติกเพื่อการใช้งานพาเลทวางสินค้าโดยเฉพาะ
หนึ่งในกระบวนการสำคัญของอุตสาหกรรมทุกประเภท นอกจากขั้นตอนการผลิตแล้ว ยังมีการขนส่ง (Logistic) และเก็บรักษา (Storage) “พาเลทวางสินค้า” คืออุปกรณ์ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานทุกขั้นตอนเป็นไปได้ด้วยดี แม้จะถูกมองเป็นเพียงอุปกรณ์ผู้ช่วย แต่คุณสมบัติของวัสดุพลาสติกซึ่งเป็นเนื้อของพาเลทยังเป็นสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา อันเนื่องมาจากวิธีการใช้งานที่ต้องพบกับหลายปัจจัยที่ทำให้พาเลทเสียหายก่อนเวลาอันควร ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักหรือสภาวะอากาศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ธุรกิจเคมิคอลส์ ในเอสซีจี จึงทำการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก P483JU ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกประเภท PP (Polypropylene) ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานขึ้นรูปเป็นพาเลทพลาสติกโดยเฉพาะ ข้อเสียของพาเลทพลาสติก HDPE จากเดิม การใช้งานพาเลทพลาสติกชนิด HDPE (High Density Polyethylene) แบบที่ใช้กันทั่วไปมักจะพบปัญหาใหญ่อยู่หลายประการ ได้แก่ การแอ่นโค้งของพาเลทหลังจากบรรทุกของน้ำหนักมาก ๆ ไว้เป็นเวลานาน รอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นตามขอบมุมของพาเลท ซึ่งเกิดจากการใช้งานที่ได้รับแรงกดหรือแรงกระแทกสูง และปัญหารอยแตกระหว่างรอยเชื่อมของพาเลท ซึ่งมักพบในพาเลทประเภทที่มีการเชื่อมประกบจากการฉีดชิ้นงานสองชิ้นแล้วนำมาเชื่อมประกบกันด้วยความร้อน ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่เสียหายต่อกระบวนการทำงานเท่านั้น ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้าของลูกค้า เช่น บรรจุภัณฑ์สินค้าซึ่งอาจฉีกขาดเมื่อไปเกี่ยวเข้ากับพาเลทส่วนที่แตกร้าว พาเลทวางสินค้าจากพลาสติก PP เกรดพิเศษ จากปัญหาดังกล่าว ทางเอสซีจี ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุพอลิเมอร์ตั้งต้นเป็นสิ่งสำคัญในการปรับคุณภาพชิ้นงานพาเลท จึงเกิดเป็นเม็ดพลาสติกเกรด P483JU ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกประเภท…
สารเติมแต่ง Active Flow™
โรงงานหลายแห่งที่ใช้เครื่องจักรขึ้นรูปพลาสติกที่มีอายุใช้งานมานาน มักจะเจอปัญหาพลาสติกไหลตัวยาก ไม่ว่าจะใช้เม็ดใหม่ (virgin) หรือเม็ดรีไซเคิล ซึ่งปัญหานี้ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานในกระบวนการผลิต ต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากกว่าปกติ แถมยังได้ผลผลิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบางรายที่มีทุนหนาอาจตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ทันที เพื่อแก้ปัญหา แต่เอสซีจี เคมิคอลส์ มีทางออกที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และประหยัดมากกว่า เพียงแค่ใช้สารเติมแต่ง Active FlowTM ที่เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็ก (Low Molecular Weight Polyethylene) เปรียบเสมือนนักวิ่งตัวเล็กที่ช่วยพยุงนักวิ่งตัวโตให้วิ่งถึงเส้นชัยให้เร็วขึ้น ทำให้การไหลตัวเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิต (Productivity) กว่า 20% และช่วยประหยัดค่าไฟในกระบวนการผลิต (Cost Savings) ได้กว่า 20% ที่สำคัญยังนำไปใช้ได้กับหลากหลาย Application จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาพลาสติกไหลตัวยาก แค่ใช้สารเติมแต่ง Active FlowTM เครื่องจักรตัวเดิมก็ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพเหมือนของใหม่ ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินก้อนโตเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ แถมยังสามารถเอาเงินทุนก้อนเดียวกันไปใช้ประโยชน์อื่น เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไกลได้กว่าเดิม …
แผ่นอะคริลิกโปร่งแสง ShinkoLite รุ่นกันความร้อน (Heat Cut)
โปร่งสบาย คลายร้อน ตอบโจทย์เมืองร้อน ด้วยนวัตกรรมหลังคาอะคริลิกโปร่งแสง ShinkoLite รุ่น Heat Cut Q: อยากต่อเติมบ้านด้วยหลังคาโปร่งแสงแต่ไม่อยากให้บ้านร้อน ควรใช้วัสดุอะไร A: ปัจจุบันการออกแบบและต่อเติมบ้านสมัยใหม่ต้องการแสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามามากขึ้น เพื่อให้ความรู้สึกโปร่งสบายแม้อยู่ในพื้นที่จำกัด ดังนั้นจึงนิยมติดตั้งหลังคาโปร่งแสง เช่น กระจก พอลิคาร์บอเนต ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก โดยเฉพาะบริเวณหลังคาโรงจอดรถ หลังคากันสาด หลังคาทางเดินระหว่างอาคาร นอกจากจะดูโล่ง โปร่ง สบายตาแล้ว ยังลดการใช้พลังงานจากการเปิดไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน แต่แสงธรรมชาตินั้นมาพร้อมกับความร้อนเสมอ แผ่นอะคริลิกโปร่งแสง ShinkoLite รุ่นกันความร้อน (Heat Cut) จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของหลังคาโปร่งแสง ที่ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดแต่ยังคงตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยเมืองร้อนซึ่งต้องการแสงธรรมชาติภายในอาณาบริเวณบ้านมากขึ้น เพื่อทำให้บ้านดูโปร่ง สบายตา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาในครั้งนี้ 5 จุดเด่นของแผ่นอะคริลิกโปร่งแสง ShinkoLite รุ่นกันความร้อน (Heat…
P838C เม็ดพลาสติกสำหรับงานเคลือบ Laminate ถุงกระสอบพิมพ์ เพื่อคุณภาพสินค้าและการผลิตที่ดียิ่งขึ้น
ถุงกระสอบ (Small Woven Sack) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยความแข็งแรง ทนทานเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น อีกทั้งยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้ แต่ความแข็งแรงเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะดึงดูดใจผู้บริโภค ปัจจุบัน สีสันและหน้าตาของบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นผู้ผลิตถุงกระสอบจึงพัฒนาถุงกระสอบให้สวยงามยิ่งขึ้น กระสอบพิมพ์หรือกระสอบ Laminate จึงได้รับความนิยมจากตลาดที่เน้นความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ อาทิ กระสอบอาหารสัตว์ กระสอบข้าวสาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สำหรับคุณภาพและความสวยงามของกระสอบพิมพ์หรือกระสอบ Laminate ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของงานพิมพ์เท่านั้น แต่รวมถึงคุณภาพของการเคลือบหรือการ Laminate ด้วย ดังนั้น เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงพัฒนาเม็ดพลาสติก Polypropylene Copolymer เกรด P838C สำหรับงานเคลือบ (Extrusion Coating) และ งาน Lamination (Extrusion Lamination) ที่ใช้ในกลุ่ม Polypropylene (PP) ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้ตอบโจทย์งานเคลือบของผู้ผลิตกระสอบทั้งในด้านคุณภาพของสินค้าและต้นทุนการผลิต …
เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกด้วยกระบวนการ Rotational Molding
การขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกมีวิธีการที่หลากหลายซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อด้อย รวมไปถึงความเหมาะสมกับความต้องการของตลาด ต้นทุนและจำนวนการผลิตที่แตกต่างกัน สำหรับการขึ้นรูปด้วยกระบวนการผลิตแบบหมุนเหวี่ยง (Rotational Molding หรือ Rotomolding) นั้น จุดเด่นคือแม่พิมพ์ราคาไม่แพง เหมาะกับชิ้นงานที่จำนวนผลิตไม่เยอะ (100-10,000 ชิ้นต่อปี) และเหมาะกับชิ้นงานขนาดใหญ่ที่ด้านในมีความกลวง ชิ้นงานมีความหลากหลายของรูปทรง เช่น ถังบรรจุน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย และถังแช่น้ำแข็ง เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ได้ชิ้นงานที่หนา (3-20 มิลลิเมตร) ทนทาน และอายุการใช้งานยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามชิ้นงาน Rotomolding เช่น ถังแช่ขนาดใหญ่ที่มีหลุมลึก (เกิน 30 ซม. ขึ้นไป) ส่วนก้นชิ้นงานจะบางกว่าผนังด้านข้าง ทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่แข็งแรงทนทานและรองรับน้ำหนักได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธี Rotational Molding ทีม Technical Service Development (TS & D) เอสซีจี…
M545WC เม็ดพลาสติกสำหรับเปลือกหุ้มสายไฟฟ้าและสายไฟเบอร์ออฟติกที่มีความยืดหยุ่นสูง
ความต้องการใช้ไฟฟ้าและอินเตอร์เน็ตในบ้านเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับชีวิตในยุคนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเร่งดำเนินการติดตั้งสายไฟฟ้าและสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งการเลือกใช้สายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากส่วนประกอบภายในแล้ว เปลือกนอกหรือเปลือกหุ้มก็มีความสำคัญมากเช่นกันเพราะเป็นส่วนที่ช่วยปกป้องส่วนประกอบภายในของสายไฟฟ้าและสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ทั้งในช่วงการขนย้าย การติดตั้ง รวมไปถึงระหว่างการใช้งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืนและตอบสนองความต้องการตลอดวงจรธุรกิจ (Value Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตสายไปจนถึงผู้ใช้งานในกลุ่มสายไฟฟ้าและโทรคมนาคม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงมีความมุ่งมั่นในการรับฟังเสียงของผู้ใช้งานปลายทางจนนำมาสู่การพัฒนาเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อนำไปผลิตเปลือกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน จนพัฒนามาเป็น เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นปานกลาง (Medium Density Polyethylene, MDPE) เกรด M545WC ซึ่งมีจุดเด่น คือ ความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สายเคเบิลมีความสามารถในการดัดโค้งงอ (Bending) ในระหว่างการติดตั้งโดยที่เปลือกของสายเคเบิลไม่หักหรือขาดออกจากกันแล้ว ยังสามารถช่วยให้ง่ายต่อการปอกเปลือกนอกของสายเคเบิลอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว M545WC ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ดี ดังนี้ ด้านความสามารถในการขึ้นรูป มีความเสถียรทางความร้อน (Thermal Stability) – ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพทางความร้อน (Thermal Degradation) ของพลาสติกในระหว่างการผลิตขึ้นรูป มีความสามารถในการไหลตัวได้ดี (Flowability) –…