เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน ส่งเสริมเยาวชนไทยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
จากที่ All Around Plastics ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ซึ่งเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การแยกขยะเพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ และการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือของทุกหน่วยในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด โรงเรียน ธนาคารขยะ และเทศบาลนั้น ในครั้งนี้เราขอพาทุกคนมารู้จักกับกิจกรรมดี ๆ ที่จัดขึ้นที่โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 จังหวัดระยอง อีกหนึ่งหน่วยสำคัญที่จะสร้างเยาวชนคุณภาพให้แก่ชุมชน ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้จัดโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ขึ้นตั้งแต่ปี 2562 โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าไปศึกษาดูว่าแต่ละแห่งนั้นมีขยะประเภทไหนเกิดขึ้นบ้าง และควรจะจัดการกับขยะเหล่านั้นอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็ได้พบว่าโรงเรียน มีขยะพลาสติกที่สำคัญคือ ถุงบรรจุนมโรงเรียน ที่เด็กนักเรียนดื่มกันทุกวัน ซึ่งเป็นพลาสติกประเภท LLDPE ที่สามารถนำมารีไซเคิลและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เอสซีจีเข้าไปร่วมกับทางโรงเรียนในการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักประเภทของวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะวัสดุพลาสติกซึ่งมีแยกย่อยหลายประเภท ปลูกจิตสำนึกให้รู้จักใช้งานสิ่งของต่าง ๆ…
ถอดบทเรียนมาบจันทร์รอดภัยแล้ง ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของชุมชน
ปัญหาภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่เป็นรอยต่อระหว่างปี 2562 – 2563 นี้ที่สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปี All Around Plastics ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนบ้านมาบจันทร์ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่สามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคเพียงพอ สามารถรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้งในครั้งนี้ ตระหนักถึงปัญหา เร่งแก้ไขที่ต้นทาง เขายายดาตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากะเฉด – ป่าเพ – ป่าแกลง ครอบคลุมพื้นที่ 28,937 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบจำนวน 7 ตำบลจาก 2 อำเภอ แต่เมื่อป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตเริ่มถูกทำลายหลังจากการกำหนดให้เขายายดาเป็นพื้นที่สัมปทานทำไม้ อีกทั้งพื้นที่ป่าไม้บางส่วนถูกบุกรุกและแปรสภาพไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว สภาพการปกคลุมพื้นดินที่เปลี่ยนแปลงจากต้นไม้เล็กใหญ่ที่ขึ้นปะปนกันและมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่มีเรือนยอด(ความสูง)เพียงชั้นเดียว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำหลายประการ เมื่อฝนตกลงมาโดยไม่มีเรือนยอดหลายชั้นของต้นไม้ช่วยลดแรงตกกระทบของเม็ดฝน ผิวหน้าดินจึงถูกอัดแน่นและดูดซับน้ำฝนได้น้อยลง เกิดเป็นน้ำป่าไหลหลากเวลาที่ฝนตกหรือในช่วงฤดูฝน เมื่อไม่มีน้ำฝนซึมลงไปในดินจึงไม่มีน้ำในชั้นดินหล่อเลี้ยงลำธารหลังฝนหยุดหรือในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนไม่มีน้ำฝนไหลซึมลงไปสะสมเป็นแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ นอกจากนี้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมและความแห้งแล้งยังส่งผลให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย …
นวัตกรรมเส้นใยจากพลาสติกรีไซเคิลและใบสับปะรด จากแนวคิดจัดการขยะและวัสดุเหลือใช้ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ระยอง
จากจุดเริ่มต้นด้วยการทอผ้าไตรจีวรในงานจุลกฐินเมื่อปี 2556 มาในวันนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ประสบความสำเร็จกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตผืนผ้าจากเส้นใยที่ได้จากขยะเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรมอย่างใบสับปะรด และกำลังก้าวสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งใหม่กับผ้าทอผสมเส้นใยพลาสติกรีไซเคิล ผลงานจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่มุ่งส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน คุณพัทธกานต์ วัฒนสหโยธิน ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอปลวกแดง คือผู้นำคนสำคัญที่รวบรวมกลุ่มชาวบ้านและผลักดันการคิดต่อยอดเพื่อสร้างผืนผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดระยอง “จากเริ่มแรกที่เราทอผ้าจุลกฐินด้วยกี่โบราณเพียงอย่างเดียว ในปี 2558 เราเริ่มมีแนวคิดในการทำผ้าทอมือย้อมใบมังคุด ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าออกจำหน่าย ระหว่างนั้นก็มีความคิดตั้งคำถามว่า วัตถุดิบในครัวเรือนอะไรที่จะสามารถนำมาต่อยอดเป็นผ้าที่สะท้อนเรื่องราวของชุมชนได้บ้าง เราเลยมองไปที่คำขวัญของอำเภอปลวกแดง ซึ่งมีท่อนหนึ่งว่า ‘สับปะรดหวานฉ่ำ’ ซึ่งสับปะรดมันเป็นผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบลเรา พอปลูกเสร็จ ถึงเวลาเก็บเกี่ยวเกษตรกรก็จะเอาหักเอาแค่ผล แล้วก็ตีใบทิ้ง เราเลยมีความคิดที่ว่า ความเหนียวของใบสับปะรดน่าจะนำมาทอเป็นผ้าได้” กระบวนการพัฒนาเส้นใยสับปะรดจึงเริ่มต้นขึ้นจากความพยายามลองผิดลองถูก บวกกับการศึกษาจุดดีจุดด้อยจากตัวอย่างผ้าใยสับปะรดของประเทศฟิลิปปินส์ สู่การปรับกระบวนการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ใช้งาน และประสบความสำเร็จเป็นผ้าใยสับปะรดในปี 2561 โดยใช้เส้นใยสับปะรดผสมกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 40…
กิจกรรมเฉลิมราชย์ราชา ตามรอยปรัชญาความรับผิดชอบต่อสังคม
เมื่อความยั่งยืนคือโจทย์ของโลกยุคปัจจุบัน ความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อโลกใบนี้เท่านั้น หากยังเป็นมรดกความห่วงใยที่ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานถัดไปได้ และเป็นปรัชญาสำคัญที่เอสซีจีได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเสมอมา “ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม” หนึ่งในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ 4 ประการของเอสซีจี คือการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและทุกชุมชนที่เอสซีจีดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เอสซีจีถือปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีมหามงคลนี้ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เอสซีจีได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน พนักงาน และเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ ทำกิจกรรมสังคมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นผ่าน 3 กิจกรรมใหญ่ภายใต้โครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” และโครงการจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย กิจกรรมแรกคือ เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจำนวน 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุม มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของชาวไทย เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งของประเทศไทยในปีนี้ซึ่งหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีและยังคงทวีความรุนแรง จึงเกิดเป็นกิจกรรม เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง เอสซีจีได้มอบถังเก็บน้ำขนาด…
THE LIFESAVER™ ผู้พิทักษ์ชีวิต ความห่วงใยที่ส่งต่อสู่ชุมชน
ความปลอดภัย เป็นเรื่องจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรตระหนักไว้ในชีวิตประจำวัน เพราะพฤติกรรมตามความเคยชินหรือความเพิกเฉยต่อเรื่องความปลอดภัยอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาได้ โครงการ The LifesaverTM ผู้พิทักษ์ชีวิต จึงเกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นเตือนและส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทุกคน ไม่เพียงแค่เฉพาะในเวลาทำงาน แต่เป็นตลอดเวลาที่ใช้ชีวิต และความสำเร็จของโครงการนี้ เกิดขึ้นจากการวางแผนการทำงานที่ดีระหว่าง ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และชุมชนเนินพยอม ชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งและร่วมใจทำให้ความปลอดภัยเกิดขึ้นจริงในการใช้ชีวิตทุกวัน คุณสัญญา สายสมร ประธานชุมชนเนินพยอม (ซ้าย) และคุณสมชาย คชเดช ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี (ขวา ) บทสนทนาระหว่างคุณสมชาย คชเดช ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์ ตัวแทนจาก ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และคุณสัญญา สายสมร ประธานชุมชนเนินพยอม เป็นเครื่องยืนยันความร่วมมือตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการเกือบ 2 ปี และความสำเร็จที่กำลังก้าวสู่การขยายความปลอดภัยให้ทั้งจังหวัดระยอง โครงการ The LifesaverTM เกิดขึ้นได้อย่างไร คุณสมชาย : จริง ๆ โครงการนี้เริ่มต้นภายในองค์กร…
น้ำพริกเผาบ้านเพชร เมนูเด็ดสร้างรายได้
“กินอะไรทำไมแข็งแรงจัง” “น้ำพริก ผักต้ม” คือเมนูอันดับต้น ๆ ของผู้สูงอายุ รวมถึงคนที่มีสุขภาพดีมักตอบ เมื่อเจอคำถามนี้ แปลว่า เมนูนี้ต้องมีความพิเศษอะไรซ่อนอยู่แน่ ๆ จากอาหารง่าย ๆ ที่หลาย ๆ บ้านต้องมีติดตู้ไว้เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย แต่ “น้ำพริก” ก็เป็นเมนูหลักของอีกหลาย ครอบครัวเช่นกัน วันนี้ “น้ำพริกเผาบ้านเพชร” ถูกยกระดับให้กลายเป็น “สินค้า” ที่สร้างรายได้ให้กับคนในหลากหลายชุมชน โดยอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลายขั้นตอน จนครองใจลูกค้าทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน “น้ำพริกเผาบ้านเพชร” ของวิสาหกิจชุมชนหัวน้ำตก จ.ระยอง ที่มี พี่เล็ก-คุณเสาวลี ไตรลักษณ์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม เดิมที น้ำพริกนี้วางจำหน่ายในร้านอาหารของคุณเสาวลีอยู่แล้ว และมีลูกค้าขาประจำในพื้นที่มาสั่งซื้อไปรับประทาน เป็นระยะ ๆ วันหนึ่งได้มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของน้ำพริกเผาบ้านเพชร เมื่อพนักงานของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มาลงพื้นที่ ได้ลิ้มรสน้ำพริกและเห็นว่าสามารถต่อยอดพัฒนาสินค้าเพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้นได้ เพราะนอกจากจะเหมาะกับการนำไปใช้ปรุงอาหารและรับประทานกับข้าวเกรียบแล้ว น้ำพริกเผาบ้านเพชรยังรับประทานคู่กับผักต้มได้อย่างเอร็ดอร่อยอีกด้วย…
แตนบาติก วิสาหกิจชุมชนผู้เติบโตจากผ้าย้อมครามทะเล
กระแสงานดีไซน์ที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง โดยเฉพาะฟากฝั่งงานแฟชั่นดีไซน์ หนีไม่พ้นงานออกแบบสไตล์พื้นถิ่น ดังจะเห็นได้จากข่าวที่แบรนด์ดังทั่วโลกหันมาจับจ้องงานพื้นถิ่นของประเทศไทยแล้วนำไปพัฒนาต่อจนส่งเสียงให้คนทั่วโลกกลับมาจับตามองไลฟ์สไตล์ของบ้านเรา นี่เองจึงเป็นกุศโลบายอันดีที่ทำให้เอกลักษณ์แบบพื้นถิ่นกลับมาเติมแรงบันดาลใจให้กับผู้คนอีกครั้งหนึ่ง วิสาหกิจชุมชนคือความหวังที่จะสร้างพลังของชุมชนให้กลับมาเติบโตและรุ่มรวยทางวัฒนธรรมอีกครั้ง และที่จังหวัดระยองนี่เอง “วิสาหกิจชุมชนแตนบาติก” โดยคุณแตน – ไพลิน โด่งดัง แม้จะตั้งต้นจากกลุ่มคนผู้รักการทำผ้าบาติก แต่ไม่หยุดยั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้คนรุ่นใหม่หันมาชื่นชมและภูมิใจในสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลพลอยได้คือการสร้างวัฒนธรรมใหม่แบบร่วมสมัยให้กับจังหวัด โดยทั้งกระบวนการได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เมื่อมองจากภาพรวมและปัญหาที่แตนบาติกมีและทางบริษัทฯ คิดว่าน่าจะช่วยได้คือคือการสร้างอัตลักษณ์และตัวตนของแบรนด์ ทางเอสซีจี จึงเสนอแนะการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นอย่างน้ำทะเลเข้ามาทดแทนการใช้น้ำเกลือในกระบวนการย้อมผ้าคราม และเพียงการบอกเล่าเรื่องกระบวนการผลิตอาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความตระหนักถึงผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ จึงเสริมในเรื่องการใช้ลวดลายหงส์เหิน ซึ่งเป็นลวดลายจากหน้าบันของโบสถ์วัดลุ่ม โดยความร่วมมือกับหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง ถือเป็นจุดกำเนิดของผ้าย้อมครามทะเล ของดีเฉพาะที่จังหวัดระยองเท่านั้น พร้อมกันกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางเอสซีจียังเล็งเห็นถึงวิธีการดำเนินธุรกิจที่ต้องการสร้างประสิทธิภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนที่แข็งแรงและมั่นคง ด้วยการช่วยปูพื้นฐานด้านการดำเนินธุรกิจให้ตั้งแต่เริ่มต้น อย่างการทำบัญชี และการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นความรู้ที่นำไปใช้งานและเกิดผลต่อธุรกิจได้จริง อย่างการจัดอบรมการสร้างแบรนด์ โดยการเรียนรู้ผ่านทางกรณีศึกษาการสร้างแบรนด์และปรับตัวจากแบรนด์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างแนวความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดไอเดียเพื่อการใช้งานจริงในอนาคต รวมทั้งการวิเคราะห์บุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) เพื่อสร้างแบรนด์ของแตนบาติก ให้มีความชัดเจนทั้งในแง่งานออกแบบและสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ ลำดับถัดมาที่เอสซีจีเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจแตนบาติก คือการช่วยดำเนินการจดลิขสิทธิ์ เพื่อทำให้ผ้าย้อมครามทะเลเป็นสินค้าเฉพาะของแตนบาติกเท่านั้น อันจะต่อยอดเป็นวัฏจักรต่อไปถึงกลุ่มผู้ผลิตสินค้าตั้งต้น อย่างกลุ่มเสื้อ และกลุ่มกระเป๋า เพื่อหนุนเศรษฐกิจชุมชนต่อเนื่องทั้งระบบ…
“จากภูผา…สู่มหานที” สานต่อศาสตร์พระราชา สู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
โครงการรักษ์น้ำ “จากภูผา…สู่มหานที” ของ เอสซีจี เกิดจากความตั้งใจที่จะถ่ายทอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนให้ชุมชนเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง โดยน้อมนำพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่เพียงช่วยรักษาแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งสายธารความสำเร็จจากภูผา สู่มหานทีอย่างแท้จริง “ต้นน้ำ” เป็นป่าไม้ จุดเริ่มต้นสายธารแห่งความสำเร็จด้วย “ฝายชะลอน้ำ” หากความสำเร็จเปรียบได้เหมือนสายน้ำ ก็ย่อมมีจุดเริ่มต้นที่เป็นรากฐานให้กับความสำเร็จจุดต่อ ๆ ไป เอสซีจี เริ่มต้นสายธารความสำเร็จด้วยการเข้าร่วมกับชุมชน จิตอาสา ภาครัฐ และภาคเอกชน สร้าง ฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ คืนสมดุลสู่ระบบนิเวศ แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างเห็นผลจริง โดยเริ่มต้นจากชุมชนต้นน้ำ จ.ลำปาง ก่อนถ่ายทอดไปสู่ชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันโครงการนี้สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 75,500 ฝาย มีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 87,000…
เมื่อฉันเป็น…จิตอาสา บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์
ฉันเป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบมาเที่ยวทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ อย่างทะเลภาคตะวันออก เพราะการเดินทางสะดวก ขับรถมาไม่นานก็ได้เห็นทะเลและเกลียวคลื่นที่เล่นแสงระยิบระยับตัดกับท้องฟ้าใสแล้ว และหนึ่งในสถานที่ที่ฉันและเพื่อนชอบมาก ก็คือ “ระยอง” เพราะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งที่ฉันชอบมาก ๆ นั่นก็คือ อาหารทะเลสด ๆ และผลไม้ที่เลื่องลือว่าอร่อยที่สุดในสามโลกเลยทีเดียว แต่การมา “ระยอง” ของฉันในรอบนี้พิเศษกว่าทุก ๆ ครั้ง เพราะไม่ได้แค่มาเที่ยว กิน ช้อบ ตามปกติแบบที่เคยทำ แต่ครั้งนี้ ฉันอาสามาสร้าง “บ้านปลา” ร่วมกับเหล่าจิตอาสาอีกเกือบห้าร้อยคน ก็ด้วยฉันและเพื่อน ๆ ได้เห็นการแชร์ คลิปเรื่องบ้านปลาใน Social Media กับคำถามในคลิปที่กระตุกต่อมคิดของฉันที่ว่า “ถ้าไม่มีปลา แล้วเราจะอยู่ยังไง” นั่นสิ เป็นคำถามที่ดี ถ้าปลาหมดไป พวกเราคงต้องนำเข้าปลามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต่อไปปลาอาจจะแพงจนเรากินได้ไม่บ่อยเท่านี้ พอได้ยินข่าวว่าจะมีงาน “จิตอาสาสร้าง บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์” เพื่อช่วยประมงพื้นบ้านและช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในท้องทะเลไทย…
รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย
น้ำมีความสำคัญต่อทุกชีวิตเพราะ น้ำคือชีวิต เอสซีจี จึงจัดกิจกรรม ‘รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย’ ภายใต้โครงการ ‘SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต’ เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องการอนุรักษ์และบริหารจัดการน้ำ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-26 มิถุนายน 2560 ที่จังหวัดลำปางและเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน แบ่งเป็นแกนนำชุมชน 10 คนต่อจังหวัด และตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ 10 คนต่อจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และขอนแก่น กิจกรรมระยะที่ 2 จัดขึ้นในพื้นที่ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช กาญจนบุรี และขอนแก่น ตามลำดับ โดยชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในระยะแรกจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปลงมือปฏิบัติจริงพร้อมส่งต่อความรู้สู่ชุมชนบ้านเกิด ส่วนเยาวชนคนรุ่นใหม่จะเป็นเรี่ยวแรงหลักในการเผยแพร่ส่งต่อแนวพระราชดำริไปสู่เพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันให้รับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ร่วมกัน เรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ – ย้อนรอยต้นกำเนิดฝายตามเส้นทางของพ่อ …