ถอดบทเรียนมาบจันทร์รอดภัยแล้ง ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของชุมชน
ปัญหาภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่เป็นรอยต่อระหว่างปี 2562 – 2563 นี้ที่สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปี All Around Plastics ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนบ้านมาบจันทร์ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่สามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคเพียงพอ สามารถรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้งในครั้งนี้ ตระหนักถึงปัญหา เร่งแก้ไขที่ต้นทาง เขายายดาตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากะเฉด – ป่าเพ – ป่าแกลง ครอบคลุมพื้นที่ 28,937 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบจำนวน 7 ตำบลจาก 2 อำเภอ แต่เมื่อป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตเริ่มถูกทำลายหลังจากการกำหนดให้เขายายดาเป็นพื้นที่สัมปทานทำไม้ อีกทั้งพื้นที่ป่าไม้บางส่วนถูกบุกรุกและแปรสภาพไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว สภาพการปกคลุมพื้นดินที่เปลี่ยนแปลงจากต้นไม้เล็กใหญ่ที่ขึ้นปะปนกันและมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่มีเรือนยอด(ความสูง)เพียงชั้นเดียว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำหลายประการ เมื่อฝนตกลงมาโดยไม่มีเรือนยอดหลายชั้นของต้นไม้ช่วยลดแรงตกกระทบของเม็ดฝน ผิวหน้าดินจึงถูกอัดแน่นและดูดซับน้ำฝนได้น้อยลง เกิดเป็นน้ำป่าไหลหลากเวลาที่ฝนตกหรือในช่วงฤดูฝน เมื่อไม่มีน้ำฝนซึมลงไปในดินจึงไม่มีน้ำในชั้นดินหล่อเลี้ยงลำธารหลังฝนหยุดหรือในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนไม่มีน้ำฝนไหลซึมลงไปสะสมเป็นแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ นอกจากนี้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมและความแห้งแล้งยังส่งผลให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย …
The Mosquito Trap นวัตกรรมกับดักยุงลาย ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเขตร้อนอย่างเอเชียและแอฟริกา รวมถึงประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยปีละ 100,000 คน และเสียชีวิตกว่า 100 คน เนื่องจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและแพร่กระจายโรคได้อย่างกว้างขวาง โจทย์สำคัญในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกจึงอยู่ที่การป้องกันการเกิดโรคด้วยการลดจำนวนการขยายพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง สถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส (Institut Pasteur) สถาบันวิจัยชั้นนำระดับโลกซึ่งศึกษาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมากว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้งโครงการ Defeat Dengue Program ได้ร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์สารเติมแต่งพิเศษ (Functional Material) รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบจนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมกับดักยุงลายขึ้น ทำความรู้จักนวัตกรรมกับดักยุงลาย นวัตกรรมกับดักยุงลายนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนกับดักยุง ที่ทำหน้าที่ดึงดูดยุงลายให้เข้ามาวางไข่ และส่วนของสารพิเศษที่ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายในกับดัก หลักการสำคัญเริ่มแรกในการออกแบบกับดักจึงอยู่ที่การเรียนรู้พฤติกรรมตามธรรมชาติของยุงลาย และศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุง เพื่อนำมาสร้างกับดักที่เหมาะสม ทั้งเรื่องสีของวัสดุพลาสติก ขนาดและรูปแบบช่องว่างที่ให้ยุงบินเข้า ระดับน้ำ พื้นที่ว่างเพื่อการบินและลงมาเกาะวางไข่ภายในกับดัก…