Close
|

ค้นหา

November 20, 2020

มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวปฎิบัติเพื่อความยั่งยืนของทุกองค์กร

เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจและใส่ใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ มากขึ้น พวกเขาไม่เพียงมองหาสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญไปถึงกระบวนการแต่ละขั้นตอนของผู้ผลิต รวมถึงปลายทางการจัดการสินค้าหลังใช้งานด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาและคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ประกาศใช้ มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน – Circular Economy หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘มาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ (มตช.) เลขที่ 2 – 2562 แนวทางการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร’ ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำ BCG Economy Model มาใช้ เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดบนฐานการพัฒนายั่งยืน จากกลไกสำคัญที่ประกอบด้วยระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (B – Bio Economy) ที่เป็นการนำทรัพยากรภาคการเกษตรมาต่อยอดด้วยความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (C – Circular Economy) ที่เน้นการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจสีเขียว (G – Green Economy) ซึ่งมุ่งลดการสร้างมลพิษ ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน…

November 20, 2020

SCG Floating Solar Solutions โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน

การเลือกใช้พลังงานสะอาด จากนิยามคือ พลังงานที่ไม่สร้างมลพิษในกระบวนการผลิตนั้น นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอีกวิธีในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งในประเทศไทยก็มีการใช้โซลาร์เซลล์ทั้งแบบติดตั้งบนพื้นดิน ติดตั้งบนหลังคา และติดตั้งบนผิวน้ำ ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยติดตั้งที่บ่อเก็บน้ำภายในโรงงานของเอสซีจีในปี 2017 เป็นที่แรก คุณพิสันติ์ เอื้อวิทยา Emerging Businesses Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจรว่า “เอสซีจีเล็งเห็นว่า พลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ส่งผลดีหลายประการ ทั้งเป็นการผลิตพลังงานใช้เอง พร้อมกับช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประกอบกับเห็นโอกาสของพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญทั้งด้าน วัสดุพลาสติก และการออกแบบมาพัฒนาร่วมกับคู่ธุรกิจจนเกิดเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเฉพาะของเอสซีจีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว” คุณสมบัติพิเศษของทุ่นลอยน้ำจากการใช้วัสดุและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ หลักการทำงานของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ คือ การติดตั้งทุ่นพลาสติกบนพื้นที่ผิวน้ำเพื่อเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์ จึงต้องการทุ่นที่มีความคงทนแข็งแรง มีแรงลอยตัวดี และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดสามารถตอบโจทย์ได้ด้วย การใส่ใจลงรายละเอียดการออกแบบดีไซน์ตัวทุ่นลอยน้ำ…

November 19, 2020

Mono Material Packaging ถุงบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ ตอบโจทย์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ในยุคปัจจุบันนี้ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มหันมาใส่ใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ  จะเห็นได้จากพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลงไป เจ้าของแบรนด์สินค้าเองต่างก็คำนึงถึงปลายทางของสินค้าหลังการใช้งานมากขึ้น หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวปฎิบัติของทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า ผู้ใช้งานสินค้า ไปจนถึงปลายทางการจัดการหลังการใช้งานสินค้า เมื่อกล่าวถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกลุ่มประเภทสินค้าที่มีการใช้วัสดุพลาสติกสูงที่สุดและใช้งานกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากประโยชน์ในการปกป้องคุณภาพและยืดอายุของสินค้าที่บรรจุภายใน จะพบว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว หรือ Flexible Packaging มักผลิตจากฟิล์มที่ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุหลายประเภท ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายได้ในชิ้นเดียว ตัวอย่างเช่น ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื้น มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรักษาสินค้าภายในได้ ทนต่ออุณหภูมิขณะใช้งาน และพิมพ์ได้สวยงาม เป็นต้น ส่วนประกอบชั้นฟิล์มลามิเนตในถุงบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปแล้วซองหรือถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัวมักจะประกอบด้วยชั้นต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ 3 ส่วนหลักๆ แตกต่างกันไป ผู้ผลิตจึงนิยมเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติโดดเด่นและเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละส่วน ดังนี้ 1. ชั้นนอกสุด หรือชั้นพิมพ์ ทำหน้าที่เป็นชั้นพิมพ์ ใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ฉลาก หรือสื่อสารแบรนด์สินค้า หรือเพื่อความสวยงาม โดยวัสดุสำหรับฟิล์มชั้นนี้จะต้องมีความแข็ง ทรงรูป (High Stiffness) ไม่ยืดย้วย (Low Elongation)…

March 17, 2020

‘คุ้มค่า’ นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการขยะที่ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน

จากในฉบับก่อนหน้าที่เรานำเสนอเรื่องราวของ “ชุมชน LIKE (ไร้)ขยะ” ที่ทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ธนาคารขยะและเทศบาล ครั้งนี้จะขอเจาะลึกเรื่องราวของ แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” ผู้ช่วยสำคัญของธนาคารขยะในการจัดระเบียบข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้นทั้งกับผู้ซื้อและผู้ขาย คุณเฉลิมพล ฮุนพงษ์สิมานนท์ Circular Economy Business Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของแอปพลิเคชัน ‘คุ้มค่า’ ว่าเริ่มต้นจากความต้องการยกระดับจัดการขยะของประเทศไทยให้มีระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำความถนัดทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของเอสซีจีเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง “เรื่องของ Waste Management หรือการจัดการขยะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญมากที่จะทำให้ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะประเทศไทยมีสัดส่วนของขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ปะปนลงไปในหลุมฝังกลบขยะมากกว่า 70% ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีไม่ถึง 20% สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขยะซึ่งก็คือทรัพยากรที่มีคุณค่าถูกปนเปื้อนด้วยขยะอินทรีย์จนไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หากเรามีการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางก็คือ มีความเข้าใจในการแยกขยะที่เหมาะสม ขยะหลายๆ ประเภทก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้” เมื่อได้รับโจทย์ให้พัฒนาเครื่องมือในการส่งเสริมการจัดการขยะ ทีมงานของเอสซีจีจึงเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษากระบวนการทำงานจริงของการซื้อขายขยะ…

May 22, 2019

Circular Economy หมุนเวียนและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนา ต่างก็พบปัญหาขยะล้นเมืองได้ไม่ต่างกันหากยังไม่มีมาตรการจัดการขยะที่ดีพอ เนื่องจากปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นขยะจากครัวเรือน สถานพยาบาล ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร หรือขยะที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขยะเหล่านี้จะเพิ่มจำนวนทับถมกันไปเรื่อย ๆ จนคาดว่าจะแตะตัวเลข 3.4 พันล้านตัน ในปี 2050 เพิ่มขึ้นจาก 2.01 พันล้านตันในปี ค.ศ. 2016 หากเทียบให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เพิ่มขึ้นเป็นถึงร้อยละ 70 จากเดิมภายในเวลา 32 ปี พลาสติกกลายเป็นวัสดุที่ถูกจับตามองมากที่สุด โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าทั่วโลกเต็มไปด้วยกระแสความตื่นตัวเรื่องลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) รวมถึงข่าวสัตว์ทะเลที่ตายจากการบริโภคขยะพลาสติกในท้องทะเลเข้าไป ก็สร้างความสะเทือนใจจนทำให้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เริ่มลด ละการใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้งกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหัวข้อนี้ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลาย จนทำให้พจนานุกรม Collins ยกให้คำว่า Single-Use กลายเป็นคำแห่งปี 2018 เรื่องการจัดการขยะและการลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งยังได้รับความสำคัญจากหน่วยงานภาครัฐของหลาย ๆ ประเทศ เช่น ที่ประชุมรัฐสภายุโรปลงมติเห็นชอบให้สมาชิกสหภาพยุโรปออกกฎหมายยกเลิกการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2564…

December 8, 2018

Circular Economy : เศรษฐกิจหมุนเวียน สมดุลของธุรกิจ คุณภาพชีวิต และอนาคตโลก

ช่วงที่ผ่านมา หลาย ๆ ท่านอาจได้ยินคำว่า “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของหลายประเทศทั่วโลก โดยเมื่อกลางปีที่ผ่านมา เอสซีจี ได้ริเริ่มจุดประกายแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ภายใต้งาน SD Symposium งานสัมมนาระดับโลกในประเทศไทย ในแนวคิด “Circular Economy : The Future We Create”   Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค จนถึงการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่  ทั้งนี้มีการประเมินความต้องการใช้ทรัพยากรของโลก พบว่าในปีค.ศ. 2050 ความต้องการใช้ทรัพยากรของโลกจะเท่ากับ 1.3 แสนล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของปริมาณทรัพยากรบนโลกที่มีอยู่จริง พวกเราทุกคนจึงตกอยู่ในความเสี่ยงกับการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งมลภาวะจากการผลิตและการกำจัดของเสียจากผลิตภัณฑ์หลังการบริโภค นี่เองจึงเป็นที่มาของ “แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ “Circular…

November 5, 2018

CIRCULAR ECONOMY กรุงเทพมหานครกับระบบเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน

คำว่า Circular Economy อาจจะเป็นคำใหม่สำหรับประชาชนไทย หากแต่ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมผ่านการลงมือทำ หลาย ๆ โปรเจกต์ของทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น การรณรงค์แยกขยะ หรือความพยายามลดขยะที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เหล่านี้คือนิยามที่เป็นรูปธรรมของคำนี้ และโครงการทั้งหลายกำลังถูกสานต่อขึ้นเป็นภาพขององค์รวมในระดับประเทศ เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนที่เข้าใกล้ประชาชนและเห็นผลจริง All Around Plastics มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประเด็นนี้กับ คุณสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านผังเมือง สิ่งแวดล้อมและการคลัง เล่าให้เราฟังถึงความสำคัญของ Circular Economy รวมถึงบทบาทของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้วางยุทธศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของสังคม ผ่านกลยุทธ์ของกรุงเทพมหานครและพันธมิตรด้านความร่วมมือจากภาคเอกชน     มุมมองของท่านต่อ Circular Economy Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ในมุมมองของดิฉันที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมากว่า 30 ปี นับว่าเป็นแนวคิดที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป และด้วยนวัตกรรมในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้ นั่นทำให้ Circular Economy เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อส่งต่อให้กับรุ่นลูกหลานต่อไป บทบาทของภาครัฐและกรุงเทพมหานครต่อนโยบาย circular…

June 17, 2018

เศรษฐกิจหมุนเวียน – โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

หากเราลองสังเกตการทำงานของระบบสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ จะพบว่าธรรมชาติทำงานโดยไม่เคยทิ้ง ‘ขยะ’ หรือของเสียสู่โลก ห่วงโซ่อาหารที่เราเคยเรียนตอนเด็ก ๆ แสดงเป็นวงจรให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่งมีประโยชน์ต่ออีกสิ่งเสมอ เช่น กวางกินพืช เสือกินกวางต่อ และเมื่อเสือตายลง ก็มีหนอน จุลินทรีย์และผู้ย่อยสลายอื่น ๆ ทำหน้าที่ย่อยเสือ ซากพืชและสัตว์ต่าง ๆ กลายเป็นสารอาหารของพืช ใช้ประโยชน์ได้ต่อเป็นวงจรหมุนเวียนไป ดังนั้นทุกอย่างในธรรมชาติจึงนำไปใช้งานอย่างต่อเนื่องและหมุนเวียนในวงจรนี้ได้หมด ไม่มีส่วนใดต้องถูกทิ้งกลายเป็นขยะเมื่อเวลาผ่านไป หากมองกลับมาที่โลกของธุรกิจ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 150 ปีก่อน เศรษฐกิจของโลกเติบโตเท่าทวีคูณ การบริโภคเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เราทำงานบนระบบที่เรียกว่า ‘เศรษฐกิจเส้นตรง’ (Linear Economy) คือ การถลุง ผลิตและทิ้ง การ ‘ถลุง’ (take) หมายถึง การดึงทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จำนวนมหาศาลในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนจะนำทรัพยากรเหล่านั้นมาผ่านกระบวนการ ‘ผลิต’ (make) ขายให้ลูกค้านำไปใช้งาน เมื่อผลิตภัณฑ์หมดประโยชน์แล้วก็ ‘ทิ้ง’ (dispose) กลายเป็นขยะ สามขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของที่ ‘ทิ้ง’ ไป…
[elementor-template id="3478"]