Close
|

ค้นหา

November 20, 2020

มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวปฎิบัติเพื่อความยั่งยืนของทุกองค์กร

เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจและใส่ใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ มากขึ้น พวกเขาไม่เพียงมองหาสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญไปถึงกระบวนการแต่ละขั้นตอนของผู้ผลิต รวมถึงปลายทางการจัดการสินค้าหลังใช้งานด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาและคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ประกาศใช้ มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน – Circular Economy หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘มาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ (มตช.) เลขที่ 2 – 2562 แนวทางการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร’ ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำ BCG Economy Model มาใช้ เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดบนฐานการพัฒนายั่งยืน จากกลไกสำคัญที่ประกอบด้วยระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (B – Bio Economy) ที่เป็นการนำทรัพยากรภาคการเกษตรมาต่อยอดด้วยความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (C – Circular Economy) ที่เน้นการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจสีเขียว (G – Green Economy) ซึ่งมุ่งลดการสร้างมลพิษ ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน…

August 20, 2018

พร้อมหรือไม่? เมื่อไทยจะก้าวไปยุค 4.0

          Value Based Economy เป็นนิยามทางเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยในศักราชนี้ เมื่อไทยอยู่ในสถานะ “ประเทศกำลังพัฒนา” มาหลายทศวรรษโดยยังไม่มีทีท่าว่า จะขยับตัวเองจากเส้นทางกำลังพัฒนา สู่ถนนสายพัฒนาแล้วได้อย่างไร นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการเสนอแนวคิดปฏิวัติเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานแห่งนวัตกรรมและการสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืน โดยขับเคลื่อนด้วยความทันสมัยของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งรัฐบาลขานรับแนวคิดนี้ พร้อมกำหนดให้เป็นวิสัยทัศน์ชาติ Thailand 4.0 ยุคใหม่ประเทศไทยที่จะทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และเศรษฐกิจทั้งชาติเกิดความเข้มแข็ง มีการบูรณาการจากระดับธุรกิจรากแก้วจนถึงไม้ใหญ่แบบองค์กรระดับชาติ โดยตามวิสัยทัศน์แห่ง Thailand 4.0 มีฝันที่ต้องทำให้เป็นจริงใน 4 มิติ ได้แก่ – ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ โดยใช้นวัตกรรมมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ผนวกความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี ทั้งหมดนี้ทำให้ทุกภาคส่วนต้องหันกลับมาตระหนักถึงความสำคัญกับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเทเม็ดเงินลงไปในกิจกรรม R&D ให้ได้มากถึง 4% ของจีดีพีทั้งประเทศ และจะเพิ่มงบให้มากขึ้นเป็น 5-6%  ภายใน 5 ปี โดยรัฐบาลตั้งเป้าให้รายได้ประชาชาติต่อหัวของประชากรในประเทศไทย ขยับจาก 5,470 ดอลล่าร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 15,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคนต่อปีภายในปี…
[elementor-template id="3478"]