Close
|

ค้นหา

November 20, 2020

จากแกลลอนน้ำยาล้างไต สู่กระถางต้นไม้รีไซเคิล ความร่วมมือระหว่างเอสซีจี และ BDMS

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เคล็ดลับสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ความร่วมมือ ช่วยกันระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของแต่ละองค์กรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ เช่นเดียวกับความร่วมมือระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) เครือข่ายโรงพยาบาลชั้นนำของไทย จากที่ได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์เพื่อยกระดับการใช้งานให้แก่ทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุพอลิเมอร์ที่เหมาะสมมาแล้วหลายโปรเจกต์ นำมาสู่ความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดเป็นโครงการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทางการแพทย์อย่างแกลลอนน้ำยาล้างไตให้กลายเป็นกระถางต้นไม้สำหรับประดับตกแต่งภายในอาคาร มองเป้าหมายเดียวกัน เศรษฐกิจหมุนเวียนคือหลักการที่ทั้งสององค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทางเอสซีจีมีแนวปฎิบัติ SCG Circular Way เช่นเดียวกันกับ BDMS ที่มีนโยบายสิ่งแวดล้อม BDMS Earth Healthcare จึงเป็นที่มาของความร่วมมือผสานความเชี่ยวชาญที่แตกต่างเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน คุณเสริมศักดิ์ คำพิทูลย์ ผู้อำนวยการฝ่าย Customer Experience Management โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรว่า BDMS ได้เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนและสังคม จึงได้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม BDMS Earth Healthcare ซึ่งประกอบด้วย…

November 19, 2020

Smart Mobile Medication Cart รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ นวัตกรรมเพื่อการดูแลที่ครบวงจร

รถเข็นสำหรับจ่ายยา นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดูแลผู้ป่วยใน ทั้งการนำจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่ห้องพักตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน รวมถึงการทำหัตถการต่าง ๆ การเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลชั้นนำอย่างเครือ BDMS หรือ กรุงเทพดุสิตเวชการให้ความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอื่น ๆ เมื่อกล่าวถึงรถเข็นจ่ายยาที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีทั้งการประยุกต์ใช้รถเข็นโลหะธรรมดาที่ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะเจาะจง และแบบที่มีลิ้นชักเก็บยาโดยเฉพาะซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณารถเข็นแต่ละประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะของเครือ BDMS และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ซึ่งมีประสบการณ์ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาแล้วด้วยความเชี่ยวชาญทั้งการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ พร้อมพันธมิตรที่พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจร เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทาง BDMS มีแนวคิดที่จะปรับการบริหารจัดการการจ่ายยาให้เป็นระบบปิด หรือ close-loop medication ให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อแพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วข้อมูลจะต้องถูกส่งตรงไปยังรถเข็นจ่ายยาได้ทันที เพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ทีมงานของเอสซีจีได้เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานจริงของทั้งทีมแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจ่ายยาทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อได้รับทราบข้อมูลความต้องการครบถ้วนแล้วเอสซีจีจึงออกแบบรถเข็นให้มีลิ้นชักจ่ายยาจำนวน 6 ลิ้นชัก ตรงตามจำนวนห้องของผู้ป่วยที่พยาบาลแต่ละท่านต้องดูแลรับผิดชอบ โดยมีระบบล็อคลิ้นชักที่ต้องใช้การสแกนข้อมูลเลขผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตนก่อน และจะปลดล็อคได้เฉพาะลิ้นชักที่กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยท่านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจ่ายยา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลเองก็ต้องล็อกอินเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือบันทึกประวัติการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ลิ้นชักทั้งหมดจะล็อคอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถเปิดใช้งานได้ครั้งละ 1 ลิ้นชักเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด สับสน โดยจะต้องสแกนรหัสผู้ป่วยเพื่อปลดล็อคทุกครั้งเมื่อต้องการบรรจุยาจากห้องยาเข้าลิ้นชัก…

January 16, 2020

“นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาขยะในทะเล” ความร่วมมือเพื่อโลกที่ยั่งยืน

จากข้อมูลปี 2561 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่จัดการขยะไม่ถูกต้องและปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และ 80% ของขยะทะเลทั้งหมดมาจากกิจกรรมบนบกที่เกิดจากชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน เหล่านี้เป็นอีกส่วนที่สร้างความวิตกถึงปัญหาในการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากปัญหาขยะในทะเลจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศในทะเล สัตว์น้ำน้อยใหญ่ และแนวปะการังแล้ว ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สุขอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วปัญหาขยะในทะเลไม่ใช่เรื่องไกลตัวของประชาชนทุกคนเลย คุณโสภณ​ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย และผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากปัญหาขยะทะเลในภาพกว้างว่า “ปัจจุบันปัญหาขยะทะเลสร้างผลเสียอย่างร้ายแรงในหลาย ๆ มิติ ที่เห็นประจักษ์ชัดเจนก็คือสภาพภูมิทัศน์ทางทะเลที่ไม่สวยงาม สิ่งที่ตามมาก็คือสุขอนามัยที่แหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งเรื่องรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของระบบเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และภาคการผลิตโดยรวม ผลเสียจึงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่อยู่ริมทะเลเท่านั้น ขยะทะเลจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราทุกคนเลย” สิ่งที่เราต้องยอมรับประการหนึ่ง คือ แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายและแนวคิดในการยกให้ปัญหาขยะทะเลเป็นวาระแห่งชาติ แต่เนื่องจากบุคลากรที่มีจำกัดย่อมไม่เพียงพอต่อการปฎิบัติงานทุกพื้นที่ในประเทศ หัวใจสำคัญของการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นจังหวะและโอกาสอันดีที่ทางเอสซีจีได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทาง ทช. โดยใช้ความถนัดในเรื่องนวัตกรรมเข้ามาเสริมและเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดขยะทะเล …

May 17, 2019

เท้าเทียมเพื่อชีวิตใหม่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

คนเราทุกคนนั้น หากมีปัจจัยพื้นฐานของชีวิตดี สามารถดำรงชีวิตได้ปกติ ย่อมส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นดึงศักยภาพในตนเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่สำหรับผู้พิการที่สูญเสียอวัยวะสำคัญอย่าง “ขา” ไปนั้น ย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการยากไร้ที่อาจขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว รวมถึงอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น จนลดทอนโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พร้อมด้วยพันธมิตร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์และการออกแบบนวัตกรรมจากวัสดุเคมีภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และบริษัท รับเบอร์โซล จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตรองเท้าชั้นนำของประเทศ เห็นความสำคัญในการสร้างโอกาสให้กับผู้พิการ โดยนำความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละบริษัทมาร่วมกันสร้างประโยชน์ให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากพระราชปณิธานของสมเด็จย่า โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้พิการทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ตลอดจนประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ กระบวนการทำงานแบบผสานความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง และสามารถนำศักยภาพที่พวกเขามีมาเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศของเราต่อไป ก้าวแรก มูลนิธิขาเทียมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้พิการขาขาดยากไร้ตามพระราชปณิธานของสมเด็จย่ามาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาอุปกรณ์และชิ้นส่วนของขาเทียมเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพและทนทานขึ้น จึงร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพมาร่วมพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ขจรพงศ์ ภู่สิทธิกุล Marketing and…

February 4, 2019

รวมพลังยกระดับสุขาภิบาลของโลก
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

จะดีไหม ถ้าในพื้นที่กันดารห่างไกลทั่วโลก จะสามารถเข้าถึงสุขาและระบบสุขาภิบาลพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม จะดีไหม ถ้าสุขานั้นมีระบบบำบัดที่สามารถเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นปุ๋ยและน้ำที่สะอาดพอจนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะดีไหม ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วจากการผสานความร่วมมือของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) บริษัทธรรมสรณ์ จำกัด และ บริษัททีเบลโก้ จำกัด ที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ยกระดับสุขาภิบาลของโลกให้ทุกคน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีสุขอนามัยที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง และจะดีที่สุด ถ้าระบบนี้ได้นำไปใช้จริงในอนาคต ที่มาของความร่วมมือ             ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยระบบ Zyclone Cube ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียจากสุขาครบวงจรที่ใช้หลักฟิสิกส์ง่าย ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วงและหลักการหมุนเหวี่ยง จนสามารถแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลว และกากออกจากกันทันที โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการลดการปนเปื้อนสารได้มากถึง 50% รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ผลพลอยได้คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อในการเกษตรและน้ำอุปโภคได้อย่างปลอดภัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานครั้งนี้ว่า      “การยกระดับสุขาภิบาลของประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ บทบาทของ AIT ในฐานะที่เป็นสถาบัน พัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เราทำวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังต้องการนำนวัตกรรมส่งไปให้ประชาชนได้ใช้…

November 13, 2018

SCG™ HDPE TR117WC พลาสติกเกรดเฉพาะเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้านความปลอดภัยของเคเบิลใยแก้วนำแสง

SCG™ HDPE TR117WC พลาสติกเกรดเฉพาะเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้านความปลอดภัยของเคเบิลใยแก้วนำแสง ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญระหว่างทีโอทีและธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี โลกปัจจุบัน การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากทั้งในระดับธุรกิจและในชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม มีภาระกิจสำคัญในการดูแล พัฒนาให้การสื่อสารดำเนินการได้ตลอดเวลา ซึ่งหนึ่งในส่วนที่สำคัญคือ การพัฒนาสายส่งสัญญานซึ่งยังมีจุดที่พัฒนาต่อยอดได้อีกหลายประการ จึงเกิดเป็นความร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้นำเรื่องวัสดุพลาสติก อันนำไปสู่การทำวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนาวัสดุพลาสติกหุ้มสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประสิทธิภาพสูงสุดโดยเน้นที่ความปลอดภัยเป็นหลัก จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เอสซีจี และทีโอทีมีความต้องการตรงกันคือต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน จากความคิดที่เห็นตรงกันในด้านการสร้างสวัสดิภาพที่ดีให้กับประชาชน จึงเกิดเป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจาก 2 ฝ่าย โดยตัวแทนทางเอสซีจี เล่าให้ฟังว่า บมจ.ทีโอที เป็นองค์กรที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย และสนใจที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ของสายเคเบิลเพื่อลดปัญหาและเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนไทย เราจึงอยากใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุของเอสซีจี มาช่วยเหลือและทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์เดียวกัน ทางด้านคุณนฤทธิ์สมเจริญ สำเภาพล ผู้จัดการส่วนบริการทดสอบและสอบเทียบ สถาบันนวัตกรรมทีโอที ตัวแทนจากบริษัท ทีโอที…

August 21, 2018

รวมพลังคิดค้นสิ่งใหม่ แผ่นรองใต้หลังคา PVC แก้ปัญหาหลังคารั่วอย่างลงตัว

ด้วยสภาพอากาศเมืองไทย ที่ใคร ๆ ก็รู้ว่า แดดแรง ฝนหนัก จัดเต็มตามฤดูกาล แถมฝนนอกฤดูก็แอบมาทักทายกันบ่อยๆ คนไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ หลังคาอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ก็เช่นเดียวกัน ต้องพร้อมเสมอในการทำหน้าที่ป้องกันแสงแดด และสายฝน คุ้มครองทั้งผู้อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินอันเป็นที่รักอย่างแข็งขัน เมื่อหลังคามีบทบาทสำคัญมากเช่นนี้ การทำหน้าที่อยู่คู่กับบ้านโบราณอันทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์มายาวนานหลายสิบปี อย่าง ‘บ้านหลวงวิจิตรวาทการ’ ก็ย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหารั่วซึมแล้ว ไม่เพียงสิ่งของเครื่องใช้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์จะเสียหายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้อาศัยเป็นอย่างมาก SCG Roof Renovation ผู้ชำนาญเรื่องหลังคาครบวงจร และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุพอลิเมอร์ ได้ร่วมกันพัฒนาแผ่นรองใต้หลังคาจากวัสดุ PVC (PVC Sheet Sub Roof) ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย และออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกการรั่วซึมของหลังคา ทั้งองศาการวางกระเบื้องที่ผิดตำแหน่ง หรือการเสื่อมสภาพจากการใช้งานที่ยาวนานหลายสิบปี อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการตั้งแต่ช่างผู้ติดตั้ง ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา เหนียวและทนทาน สามารถตัดตามระยะที่ต้องการแล้วนำไปติดตั้งได้ทันที โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการติดตั้งให้ยุ่งยากซับซ้อน ที่สำคัญผู้อยู่อาศัยก็จะได้รับความสะดวกสบายตั้งแต่กระบวนการติดตั้ง…

May 7, 2018

พลังแห่งความร่วมมือ แก้ปัญหาการอุดตันของระบบลำเลียงวัตถุดิบการผลิตปูนด้วย PE Sheet

คงจะเคยได้ยินกันว่า การทำธุรกิจเพียงลำพังอาจจะทำได้รวดเร็ว แต่หากมีการจับมือทำงานร่วมกันย่อมส่งเสริมผลประโยชน์ให้ธุรกิจมีความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่า เหมือนดั่ง “พลาสติก” กับ “เหล็ก” ที่ใครจะรู้วันหนึ่งสามารถนำมาใช้คู่กันอย่างเหมาะสม ภายใต้โครงการความร่วมมือตลอดทั้ง Value Chain  เริ่มต้นจากปัญหาการอุดตันในฮอปเปอร์ที่ใช้ลำเลียงวัตถุดิบของโรงปูนแก่งคอย หรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ในธุรกิจซิเมนต์ – ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ของเอสซีจี เมื่อทีมของเอสซีจี เคมิคอลส์ รับรู้ถึงปัญหานี้ จึงนำเอาความเชี่ยวชาญด้านวัสดุพอลิเมอร์มาช่วยหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว โดยครั้งนี้เอสซีจี เคมิคอลส์จับมือกับบริษัท แอร์โรคลาส  ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าพลาสติกในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีเครื่องจักรและความชำนาญในการผลิตแผ่น PE sheet โดยใช้เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษจากเอสซีจี เคมิคอลส์ จนเกิดเป็นโซลูชั่นใหม่ให้กับโรงปูนแก่งคอยโดยทำหน้าที่เป็นคนหาโซลูชั่น ตั้งแต่การหาวัสดุที่จะมาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว หาผู้ผลิต และนำไปติดตั้งที่โรงงานลูกค้า และนี่คือเรื่องราวของพลังแห่งความร่วมมือ จุดเริ่มต้นการร่วมมือ คุณเอกวัฒน์ วิทูรปกรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด กล่าวถึงการทำงานร่วมมือกันครั้งนี้ว่า เกิดจากการพูดคุยที่มีเคมีตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นความสนุกในการคุยเรื่องธุรกิจ ไอเดีย หรือนวัตกรรม รวมไปถึงปรัชญาของบริษัทที่ตรงกันคือ…

September 30, 2017

ร่วมคิด ร่วมใช้ ร่วมพัฒนา สู่นวัตกรรม “ถุงคลุมกล้องผ่าตัดสมอง” ช่วยคนไทยเข้าถึงบริการทางการแพทย์

แม้ว่ามาตรฐานทางการแพทย์และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยจะดีขึ้นกว่าในอดีตมาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์ ทำให้เราต้องสูญเสียเงินมหาศาล เพื่อนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศที่มีราคาแพงมาก ซึ่งอาจทำให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานไม่ทัดเทียมกัน       ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์ของ 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการ “The One”  ภายใต้สโลแกน “ร่วมคิด ร่วมใช้ ร่วมพัฒนา” พร้อมดึงให้เอสซีจี เคมิคอลส์ เข้ามาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมพลาสติกสำหรับวงการแพทย์ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ กิจควรดี (ประสาทศัลยแพทย์ ) ภาควิชาศัลยศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล่าถึงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ว่า “เราริเริ่มโครงการ The One เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ทางการแพทย์ระหว่างคณะแพทย์ฯ ของสามสถาบัน ซึ่งต่อมาก็มีแนวคิดว่าควรร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และเห็นว่าน่าจะเริ่มจากวัสดุทางการแพทย์ที่ส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกหรือกระดาษที่ใช้แล้วทิ้ง ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เคยทำงานร่วมกับเอสซีจี เคมิคอลส์มาก่อนเชื่อมั่นว่าเอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งเป็นมืออาชีพด้านวัสดุพอลิเมอร์น่าจะช่วยเราได้…

June 30, 2017

ฉีกกรอบโลกเมลามีน “ศิลา” สัมผัสแบบธรรมชาติ

หลายคนคงจะคุ้นหน้า คุ้นตากับจาน ชาม “เมลามีน” ที่มีสีสัน ลวดลายธรรมดา และผิวสัมผัสที่ไม่แตกต่างกับจานชามทั่วไป แต่ตอนนี้คงต้องแปลกใจกับนวัตกรรมใหม่ “เมลามีนศิลา” ซึ่งมีทั้ง รูปลักษณ์ ผิวสัมผัสคล้ายกับหินธรรมชาติ ด้วยน้ำหนัก และความทนทานซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมลามีน โดยผู้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ของวงการเมลามีนโลก รังสรรค์ผลิตภัณฑ์โดย “บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)” ซึ่งเป็นเจ้าแห่งผู้ผลิตเมลามีนรายใหญ่ที่สุดของโลกเลยก็ว่าได้             “เมลามีนศิลา” เกิดจากความสร้างสรรค์และร่วมมือกัน ระหว่าง ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ และ เอสซีจี เคมิคอลส์ โดย ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ผู้อำนวยการส่วนการตลาดต่างประเทศ Export Director บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ได้เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของโครงการพัฒนา “เมลามีนศิลา” ไว้ว่า “เมื่อสองปีก่อนนั้น ศรีไทยฯ ได้มีแนวคิดว่าต้องการจะทำสินค้าเมลามีนของเราให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยให้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ ที่คุ้นเคยกัน มีลักษณะคล้ายธรรมชาติมากขึ้น จึงทำให้คิดถึงผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนหิน ซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ และต้องการสิ่งที่เหมือนธรรมชาติ…
[elementor-template id="3478"]