Close
|

ค้นหา

February 3, 2020

จับมือกันสร้าง ‘ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ’

ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นเรื่องดีที่การพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องขยะที่เห็นได้ชัดเจนและมีผลกระทบมหาศาลทั้งต่อคน สัตว์ และสภาวะแวดล้อมในระดับโลก การจะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนภายในแต่ละท้องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือจากคนในชุมชน และการค้นหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม นอกจากการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้คุ้มค่าแล้ว “การแยกขยะ” ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน เพราะเป็นการนำวัสดุที่ยังคงใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง โดยเอสซีจีได้เริ่มทำโครงการจัดการขยะภายในองค์กรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้ชื่อ “บางซื่อโมเดล” มาตั้งแต่ปี 2561 และในปีนี้ได้ขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และแนวคิดในการบริหารจัดการขยะ โดยประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของชุมชนผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” โดยมุ่งเน้นการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากตัวเลขปริมาณขยะในจังหวัดระยองกว่า 306,000 ตันในปี 2561 นำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะที่สูงถึง 328 ล้านบาท ทั้งยังมีปริมาณขยะที่รีนำไปไซเคิลได้จริงเพียง 7% เท่านั้น เอสซีจีจึงวางเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นด้วยการให้ความรู้และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมไปถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนผ่านสามพฤติกรรมจำขึ้นใจ #ใช้ให้คุ้ม #แยกให้เป็น #ทิ้งให้ถูก โรงเรียน แหล่งสร้างเยาวชนคุณภาพ เพราะการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก ย่อมทำให้พวกเขาเติบโตมาเป็นกำลังสำคัญของชาติที่มีคุณภาพ นอกจากโรงเรียนจะมุ่งสร้างเด็กเก่งแล้ว ยังต้องการสร้างเด็กดีที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย…

January 21, 2020

STARBOARD กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นเรื่องที่สามารถเริ่มและปลูกฝังได้ในจิตใจของทุกคน รวมทั้งการนำไปใช้กับการดำเนินธุรกิจทุกประเภท เพียงคุณมีแนวคิดเริ่มต้นที่อยากจะลงมือทำ คุณย่อมพร้อมที่จะออกเดินทางตามหาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ และพร้อมเป็นต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริง All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสเวน รัสมุสเซ่น Chief Innovator แห่ง Starboard แบรนด์ผลิตภัณฑ์กีฬาทางน้ำประเภทเซิร์ฟบอร์ด เขาคือผู้ที่หลงใหลในกีฬาเซิร์ฟบอร์ดตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนได้มีโอกาสเข้าสู่การเป็นนักกีฬาวินด์เซิร์ฟผู้ชนะรางวัลระดับโลกอย่าง Mistral Worlds ในปี 1983 และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Starboard ขึ้นในปี 1994 ความผูกพันกับสายน้ำนี้กลายเป็น passion และส่วนสำคัญในชีวิตของเขา “ไม่ว่าจะเป็นกีฬาชนิดไหนที่เกี่ยวน้ำ อย่างเช่น การเล่นแพดเดิลบอร์ดที่เหมือนกับการยืนอยู่บนผืนน้ำ คุณจะได้เคลื่อนตัวไปตามจังหวะของสายน้ำ ดื่มด่ำบรรยากาศรอบด้าน มันเหมือนการทำสมาธิ ช่วยให้คุณได้เกิดไอเดียอะไรหลาย ๆ อย่าง นั่นเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับผม” จากธุรกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ บวกกับการตระหนักถึงทรัพยากรที่มีแต่จะหมดไปของโลกใบนี้ ทำให้เขาออกตามหานวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน …

January 17, 2020

ส่องเทรนด์วัสดุ ผ่านเลนส์นักออกแบบระดับโลกในงาน K 2019

ในงาน K 2019 งานแสดงนวัตกรรมพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ประเทศเยอรมนี นอกจากนวัตกรรมของพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงานพลาสติกที่ทันสมัย และนวัตกรรมเพื่อตอบหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ผสานความร่วมมือ และมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างจริงจังแล้ว ภายในงานยังมีการนำเสนออีกแง่มุมของวัสดุผ่านมุมมองของนักออกแบบชื่อดังอย่าง คริส เลฟเทอรี่ (Chris Lefteri) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการออกแบบ เจ้าของสตูดิโอ CLD ณ กรุงลอนดอน และกรุงโซล และเจ้าของผลงานเขียนเกี่ยวกับการออกแบบวัสดุที่ได้รับการตีพิมพ์มากมายหลายเล่ม ก่อนจะเข้าร่วมดีไซน์ทัวร์กับคริส ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษของงาน K 2019 ครั้งนี้ All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคริสอย่างใกล้ชิดที่บูทของเอสซีจี คริสเล่าว่า “เทรนด์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การทำให้วัสดุมีความยั่งยืนมากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่นักออกแบบต่างคำนึงถึงในการออกแบบสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศแถบยุโรป ซึ่งจะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจก็คือ การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจใคร่รู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของสินค้าหรือที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยเรื่องราวเหล่านี้มีส่วนในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค และสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้” เส้นทางดีไซน์ทัวร์ที่คริสพาผู้สนใจ ซึ่งมีทั้งนักออกแบบ นักข่าว…

January 16, 2020

“นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาขยะในทะเล” ความร่วมมือเพื่อโลกที่ยั่งยืน

จากข้อมูลปี 2561 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่จัดการขยะไม่ถูกต้องและปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และ 80% ของขยะทะเลทั้งหมดมาจากกิจกรรมบนบกที่เกิดจากชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน เหล่านี้เป็นอีกส่วนที่สร้างความวิตกถึงปัญหาในการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากปัญหาขยะในทะเลจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศในทะเล สัตว์น้ำน้อยใหญ่ และแนวปะการังแล้ว ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สุขอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วปัญหาขยะในทะเลไม่ใช่เรื่องไกลตัวของประชาชนทุกคนเลย คุณโสภณ​ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย และผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากปัญหาขยะทะเลในภาพกว้างว่า “ปัจจุบันปัญหาขยะทะเลสร้างผลเสียอย่างร้ายแรงในหลาย ๆ มิติ ที่เห็นประจักษ์ชัดเจนก็คือสภาพภูมิทัศน์ทางทะเลที่ไม่สวยงาม สิ่งที่ตามมาก็คือสุขอนามัยที่แหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งเรื่องรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของระบบเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และภาคการผลิตโดยรวม ผลเสียจึงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่อยู่ริมทะเลเท่านั้น ขยะทะเลจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราทุกคนเลย” สิ่งที่เราต้องยอมรับประการหนึ่ง คือ แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายและแนวคิดในการยกให้ปัญหาขยะทะเลเป็นวาระแห่งชาติ แต่เนื่องจากบุคลากรที่มีจำกัดย่อมไม่เพียงพอต่อการปฎิบัติงานทุกพื้นที่ในประเทศ หัวใจสำคัญของการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นจังหวะและโอกาสอันดีที่ทางเอสซีจีได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทาง ทช. โดยใช้ความถนัดในเรื่องนวัตกรรมเข้ามาเสริมและเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดขยะทะเล …

January 14, 2020

SMX™ 551BU นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรักษ์โลก ตอบโจทย์ Circular Economy

จากนวัตกรรมไฮไลท์ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอย่าง SMX™ Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพัฒนาและผลิตเม็ดพลาสติกประเภท HDPE (High Density Polyethylene) ให้มีคุณสมบัติแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของสินค้า บนแนวคิดที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น นำไปสู่การลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกให้น้อยลงได้ โดยที่สินค้ายังคงคุณสมบัติเชิงกล (Mechanical properties) ได้ดีเทียบเท่าเดิม นั่นเท่ากับว่าเม็ดพลาสติกที่พัฒนาให้มีความแข็งแรงขึ้นนั้น สามารถรองรับคุณสมบัติการใช้งานของสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ และหนึ่งในนั้นคือ เม็ดพลาสติก HDPE เกรด SMX™ 551BU สำหรับผลิตถังบรรจุสารเคมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1,000 ลิตร หรือ IBC (Intermediate Bulk Container) ซึ่งเป็นถังพลาสติกสำหรับบรรจุสารเคมีที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา หรือสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และกรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น โดยถัง IBC สามารถเรียงซ้อนได้หลายชั้น และเคลื่อนย้ายได้ด้วย forklift…

October 30, 2019

PCR ทางเลือกของธุรกิจด้วยวิธีคิดแบบ Circular Economy

ปัจจุบันวิกฤตสิ่งแวดล้อมของโลกทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกที หลาย ๆ เรื่องเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือน้อยลงจนน่าเป็นห่วง ปัญหามลภาวะ และปัญหาขยะที่เรียกได้ว่ากำลังล้นโลก บนโลกใบเดียวที่เราอาศัยอยู่ร่วมกันทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครต่างก็มีส่วนสร้างผลกระทบ และได้รับผลกระทบกลับมาอย่างแน่นอน เพราะเราทุกคนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต อย่างน้อยที่สุดก็ในฐานะผู้บริโภค หากมองบทบาทของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับพลาสติกในปัจจุบันซึ่งถือว่าอยู่ในกระบวนการต้นทางนั้น จะดีกว่าไหมถ้าหากเราเริ่มต้นปรับแนวคิด ใช้วิกฤตที่ยังมาไม่ถึงนี้เป็นโอกาสในการเปลี่ยนจากการผลิตแบบเศรษฐกิจเส้นตรง นำมา-ผลิต-ทิ้งไป (Linear Economy: Take-Make-Dispose) ที่นำทรัพยากรมาผลิตสินค้า และเมื่อเลิกใช้แล้วก็ทิ้งไป ไม่นำกลับมาใช้อีก ส่งผลให้ทรัพยากรที่มีจะหมดไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่มาของปัญหาขยะซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ผลิต-ใช้-วนกลับ (Circular Economy: Make-Use-Return) ที่จะเปลี่ยนกระบวนการของการผลิต การบริโภค และการใช้ชีวิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการของเสียให้ถูกนำกลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ เป็น เมื่อผ่านการใช้งานแล้วหากนำมาผ่านการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำกลับเข้าสู่ระบบไปสร้างมูลค่าให้ใช้งานต่อไปได้อีกครั้ง การใช้เม็ดพลาสติก PCR หรือ Post-Consumer Recycled Resin ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ได้รับความสนใจในกลุ่มผู้ใช้งานบรรจุภัณฑ์พลาสติก จะเห็นได้ว่าบรรดาเจ้าของแบรนด์สินค้ายักษ์ใหญ่เกือบทุกรายต่างออกนโยบายและประกาศเป้าหมายการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของตนเองให้ผลิตจาก PCR มากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป้าหมายการใช้…

October 5, 2019

SD Symposium 10 Years: Collaboration for Action พลังแห่งความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของความร่วมมือ และเชื่อว่าการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะเป็นกุญแจสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลง งานสัมมนา SD Symposium จึงดำเนินต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 โดยในปีนี้เอสซีจี ได้ประสานงานกับพันธมิตรกว่า 45 องค์กรจัดงานสัมมนาทางวิชาการภายใต้หัวข้อ “SD Symposium 10 Years: Circular Economy – Collaboration for Action” เพื่อระดมสมองและพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันประเทศไทยและอาเซียน ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้อย่างแท้จริง เส้นทางของ 10 ปี ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาของการจัดงาน SD Symposium หัวเรื่องสำคัญคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development ที่เอสซีจียกประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ พร้อมตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก มาร่วมหารือกับหลากหลายภาคส่วน ระดมความคิด…

October 5, 2019

“บางซื่อโมเดล” โครงการจัดการของเสียภายในเอสซีจี เพราะการจัดการขยะ คือ กุญแจสำคัญสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ จากหลักการ ผลิต-ใช้-วนกลับ ของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นการหมุนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสมนั้น หากจะกล่าวเจาะจงถึงสินค้าที่จับต้องได้ นอกจากการเลือกวัสดุและออกแบบตัวสินค้าโดยคำนึงถึงปลายทาง เพื่อให้ใช้งานแล้วนำกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนได้ และเกิดของเสียหรือขยะน้อยให้ที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่พร้อมจะรองรับขยะที่เกิดขึ้นกลับเข้าสู่วงจรให้ได้ การจัดการของเสีย หรือ Waste Management จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อขยะจากผู้ใช้งานส่งกลับเข้าระบบ โดยมีหลักการง่าย ๆ เริ่มต้นที่การแยกสิ่งที่มีมูลค่า ใช้ซ้ำได้ออกมาเพื่อส่งกลับเข้าวงจรการผลิตหรือรีไซเคิลออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อีกส่วนคือของเสียที่ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นขยะเศษอาหารนำไปทำปุ๋ย ทำเชื้อเพลิง หรือขยะอันตรายที่มีสารพิษก็ต้องนำไปทำลายโดยผู้เชี่ยวชาญให้ถูกวิธี เพราะการจัดการขยะนั้นต้องเริ่มจากสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะและทิ้งลงถังให้ถูกประเภท เอสซีจีเองก็ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กรด้วยเช่นกัน รวมถึงต้องการเป็นต้นแบบที่ดีด้านบริหารจัดการของเสีย โครงการบางซื่อโมเดล (Bang Sue Model) โครงการจัดการของเสียภายในเอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติ SCG Circular Way วิถีชีวิตที่จะช่วยให้เราและโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน…

September 9, 2019

เอสซีจี ผนึกกำลัง ดาว มุ่งแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน พัฒนาโซลูชั่นรีไซเคิลพลาสติกสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัท เอสซีจี ร่วมกับ ดาว ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ ในการรีไซเคิลพลาสติกอย่างครบวงจร  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก และป้องกันการหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม นำสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สำหรับพลาสติกในประเทศไทย มร.จิม ฟิทเทอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดาว กล่าวว่า “ภาคอุตสาหกรรมและทุกคนในสังคมจำเป็นต้องดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติก และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ โดยต้องจัดสรรงบประมาณให้กับเทคโนโลยีในการจัดเก็บ การบริหารจัดการขยะ การรีไซเคิล ตลอดจนการรุกตลาดใหม่ ๆ ปัจจุบัน ดาว ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกในการนำขยะพลาสติกมาใช้ประโยชน์และรีไซเคิลใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ  เมื่อทุ่มเททำงานอย่างจริงจังร่วมกันอย่างเช่นความร่วมมือกับเอสซีจีในครั้งนี้ เราจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกที่ยั่งยืนของเรา” ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง เอสซีจี และ ดาว ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากทั้ง 2 องค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร เพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการด้านการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) การรีไซเคิลพลาสติกกลับเป็นวัตถุดิบ (Feedstock…

June 28, 2019

ทั่วโลกขยับ! ผู้ประกอบการเร่งปรับ ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน

          เมื่อสถานการณ์ขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาถึงจุดวิกฤตที่ทั่วโลกต่างต้องให้ความสำคัญ เราในฐานะประชากรคนหนึ่งของโลกสามารถทำอะไรได้บ้าง? ในเมื่อขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่ทะเล พัดไปตามภูเขา หรือลงไปอยู่ในท้องของสัตว์น้อยใหญ่ ล้วนเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อการใช้งานพลาสติกและไม่จัดการให้มีประสิทธิภาพ หนทางแก้ไขจึงชัดเจนอยู่แล้วว่า มนุษย์ต้องเป็นผู้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ให้เร็วที่สุด ปัญหานี้ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งที่ต้องก้าวขึ้นมารับผิดชอบ หากแต่เป็นเรื่องของประชาคมโลกที่ต้องร่วมกันหาหนทางยุติและแก้ไข เมื่อสำรวจดูสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่ามีหลายภาคส่วนที่ตระหนักถึงความสำคัญและให้การตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งภาคเอกชน เช่น ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลกที่เริ่มออกนโยบายการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือรณรงค์ลดการใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง (single-use plastic) ซึ่งเป็นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เร็วที่สุด องค์กรนานาชาติก็เริ่มออกมาตรการและข้อบังคับเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกซึ่งขอยกตัวอย่างมาบางส่วน ดังนี้ ในปีพ.ศ. 2562 รัฐบาลของ 187 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีข้อตกลงที่จะเริ่มควบคุมการเคลื่อนที่ของขยะพลาสติกทั้งทางบกและทางทะเล องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ระบุว่า ทุกประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญานี้จะต้องวางเป้าหมายในการแก้ปัญหาการปะปนกันของขยะพลาสติก โดยพุ่งเป้าไปที่ประเทศที่เป็นผู้รับซื้อขยะปลายทาง โดยอนุญาตให้ขยะพลาสติกสามารถผสมปนเปกันได้เพียงแค่พลาสติกประเภท PE, PP และ PET เท่านั้น …
[elementor-template id="3478"]