Industrial Ecology : ต้นแบบพัฒนาการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน
นิคมอุตสาหกรรม ถือเป็นสถานที่หนึ่งที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ ด้วยเหตุนี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงนำแนวคิด ‘อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ’ หรือ Industrial Ecology มาใช้กับนิคมอุตสาหกรรมในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน ในรูปแบบที่เป็นเครือข่ายช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อีกทั้งมีการดูแลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน All Around Plastics ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากท่าน วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะมาเล่าความเป็นมาของแนวคิด อุตสาหกรรมเชิงนิเวศและตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ดำเนินนโยบายอย่างสำเร็จดียิ่ง จุดเริ่มต้นแนวคิด “Industrial Ecology หรือ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” แนวคิดอุตสาหกรรมเชิงนิเวศหรือ Industrial Ecology เป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนา ออกแบบอุตสาหกรรมให้คล้ายคลึงกับระบบนิเวศทางธรรมชาติบนหลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานให้คนรุ่นต่อไป ความจริงแล้ว คำว่า “Industrial Ecology” เป็นที่รู้จักในต่างประเทศตั้งแต่ปีค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) แต่สำหรับเมืองไทย กนอ. ได้นำแนวคิดนี้มาใช้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม…
เพื่อนช่วยเพื่อน ส่งต่อความตั้งใจ ร่วมสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ผู้ประกอบการหลายคน เมื่อได้ยินเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory อาจคิดว่าเป็นเรื่องยากในการปรับปรุงหรือพัฒนาโรงงานไปสู่แนวทางนี้ แต่หากได้ศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากเพื่อนผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการทำ Eco Factory มาแล้วก็อาจเป็นเรื่องง่ายกว่าที่เคยคิด เช่นเดียวกับความรู้สึกของ คุณภาคภูมิ ภูอุดม Executive Vice President บริษัท ที.เค.เอส.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่นำโรงงานของบริษัท ผ่านการตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในปี 2559 ด้วยความช่วยเหลือจาก “เพื่อน” ที่ยึดมั่นในแนวคิดเดียวกัน และเคียงข้างกันมาตลอดอย่าง เอสซีจี เคมิคอลส์ “บริษัท ที.เค.เอส.เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเหมือนกับเอสซีจี เคมิคอลส์” คุณภาคภูมิเริ่มต้นบท สนทนาในวันที่ คุณสุภาวิณี กฤษณาวัฒนา…