“จากภูผา…สู่มหานที” สานต่อศาสตร์พระราชา สู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
โครงการรักษ์น้ำ “จากภูผา…สู่มหานที” ของ เอสซีจี เกิดจากความตั้งใจที่จะถ่ายทอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนให้ชุมชนเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง โดยน้อมนำพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่เพียงช่วยรักษาแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งสายธารความสำเร็จจากภูผา สู่มหานทีอย่างแท้จริง “ต้นน้ำ” เป็นป่าไม้ จุดเริ่มต้นสายธารแห่งความสำเร็จด้วย “ฝายชะลอน้ำ” หากความสำเร็จเปรียบได้เหมือนสายน้ำ ก็ย่อมมีจุดเริ่มต้นที่เป็นรากฐานให้กับความสำเร็จจุดต่อ ๆ ไป เอสซีจี เริ่มต้นสายธารความสำเร็จด้วยการเข้าร่วมกับชุมชน จิตอาสา ภาครัฐ และภาคเอกชน สร้าง ฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ คืนสมดุลสู่ระบบนิเวศ แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างเห็นผลจริง โดยเริ่มต้นจากชุมชนต้นน้ำ จ.ลำปาง ก่อนถ่ายทอดไปสู่ชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันโครงการนี้สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 75,500 ฝาย มีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 87,000…
ส่องโอกาสและทิศทางนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ใครเริ่มก่อน คนนั้นได้เปรียบ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ การที่จำนวนประชากรที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุนี้มนุษย์เราจึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรทางธรรมชาติ นำมาซึ่ง “นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Innovation)” ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ขณะนี้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ บริษัทเริ่มหันมาใส่ใจการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานาน บอกกับเราว่า นี่เป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและ SMEs เช่นกัน เพราะใครเดินนำเส้นทางนี้เป็นคนแรก ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์สูงสุด โอกาสเป็น “คนแรก” มาถึงแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังน้อยมาก สาเหตุก็เพราะผู้ประกอบการยังกังวลที่จะเปลี่ยนแปลง หรือก้าวออกจาก “ความคุ้นชิน” ไปยังสิ่งที่ยัง “ไม่มั่นใจ” การก้าวไปเป็นคนแรกบนเส้นทางนี้อาจต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิตปัจจุบัน มีความเสี่ยงสูง ผู้ประกอบการหลายคนจึงมักรอให้ใครสักคนเป็นคนลองเริ่มก่อน ทว่า อ.สิงห์กลับมองเห็นตรงข้าม นี่คือโอกาสดีที่สุดสำหรับคนแรกที่กล้าก้าวไปก่อน และเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน…