Close
|

ค้นหา

May 27, 2019

“ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย” นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยของประชาชนที่ยั่งยืน

“ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย” นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยของประชาชนที่ยั่งยืน นำร่องติดตั้งเป็นห้องน้ำสาธารณะที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9   ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดตัว “ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย” หรือ SCG Reinvented Toilet  ห้องน้ำพร้อมระบบบำบัดกากของเสียที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแบบครบวงจร  สามารถแยกน้ำและกากของเสียออกจากกันได้ 100% โดยไม่มีของเสียที่ปนเปื้อนออกสู่ระบบระบายน้ำ และแม่น้ำลำคลอง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ สามารถหมุนเวียนน้ำที่ใช้ในระบบกลับมาใช้ได้อีก และยังนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในลักษณะสารปรับปรุงดิน ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย หรือ เอไอที เพื่อสร้างสุขอนามัยขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาในช่วงต้นจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์   ล่าสุด ได้นำร่องติดตั้งเป็นห้องน้ำสาธารณะที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9 นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดเผยว่า ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย หรือ SCG Reinvented Toilet…

February 4, 2019

รวมพลังยกระดับสุขาภิบาลของโลก
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

จะดีไหม ถ้าในพื้นที่กันดารห่างไกลทั่วโลก จะสามารถเข้าถึงสุขาและระบบสุขาภิบาลพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม จะดีไหม ถ้าสุขานั้นมีระบบบำบัดที่สามารถเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นปุ๋ยและน้ำที่สะอาดพอจนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะดีไหม ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วจากการผสานความร่วมมือของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) บริษัทธรรมสรณ์ จำกัด และ บริษัททีเบลโก้ จำกัด ที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ยกระดับสุขาภิบาลของโลกให้ทุกคน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีสุขอนามัยที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง และจะดีที่สุด ถ้าระบบนี้ได้นำไปใช้จริงในอนาคต ที่มาของความร่วมมือ             ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยระบบ Zyclone Cube ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียจากสุขาครบวงจรที่ใช้หลักฟิสิกส์ง่าย ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วงและหลักการหมุนเหวี่ยง จนสามารถแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลว และกากออกจากกันทันที โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการลดการปนเปื้อนสารได้มากถึง 50% รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ผลพลอยได้คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อในการเกษตรและน้ำอุปโภคได้อย่างปลอดภัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานครั้งนี้ว่า      “การยกระดับสุขาภิบาลของประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ บทบาทของ AIT ในฐานะที่เป็นสถาบัน พัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เราทำวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังต้องการนำนวัตกรรมส่งไปให้ประชาชนได้ใช้…
[elementor-template id="3478"]