แสงกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน
มากกว่า 30% ของพื้นที่ในประเทศไทย คือพื้นที่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจกล่าวได้ว่ามันคือพื้นที่แห่งชีวิต เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำต่าง ๆ บึง บ่อ ทะเลสาบ หนอง คลอง แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตลอดสายที่ได้ไหลผ่าน บนผืนน้ำระยิบระยับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงาม ปลาที่แหวกว่าย มันยังพอจะเป็นอะไรได้อีกนะ? นักคิดค้น และนักวิทยาศาสตร์ ยกมือตอบว่ามันยังเป็นโอกาสในการช่วยโลกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ อย่างที่เราทราบว่านักวิทยาศาสตร์สามารถนำแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มานานเกินครึ่งทศวรรษแล้ว นวัตกรรมโซลาร์เซลล์พัฒนาประสิทธิภาพมาต่อเนื่องจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขวางอย่างในปัจจุบันในฐานะพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ไร้ขีดจำกัด ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีขั้นตอนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานสะอาด ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตโซนร้อน มีความเข้มข้นของรังสีติดอันดับของโลก ทำให้เรามีศักยภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับเข้มข้น แต่คนทั่วไป เวลาที่พูดถึง “พลังงานแสงอาทิตย์” อาจนึกถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Solar Rooftop ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือเห็น Solar Farm ที่ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน แต่ที่จริงแล้ว การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์…
เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ เก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงอาทิตย์
กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีผลทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมามากขึ้นเป็นเหตุให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรสูงขึ้นตามไปด้วย ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นนี้อาจสร้างผลกระทบอันเลวร้ายต่อโลกของเราได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญด้วยความตระหนักถึงผลของวิกฤตพลังงานและสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและหาได้ง่ายที่สุดในธรรมชาติ การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มายังโลกมีการกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้แต่ละบริเวณได้รับรังสีไม่เท่ากัน การที่ประเทศไทยมีภูมิประเทศตั้งอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรจึงเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้เราได้รับพลังงานอย่างเหลือเฟือจากดวงอาทิตย์ (https://solargis.com/maps-and-gis-data/overview/) ประเทศไทยมีปริมาณแสงแดดเฉลี่ยอยู่ที่ 19-20 เมกะจูล/ตารางเมตร/วัน ปริมาณรังสีที่ส่องตรงมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมและมีความเข้มสูงสุดในช่วงฤดูร้อนก่อนที่จะลดระดับลงมาที่จุดต่ำสุดในเดือนธันวาคมของแต่ละปี ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงจัดเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในบางพื้นที่ เทคโนโลยีหลักในการนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์ออกมาใช้มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบโดยแบ่งเป็น การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมแสง (Concentrated Solar Power) เป็นเทคโนโลยีที่ดึงเอาพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาต้มน้ำจนเดือดและแปลงไปเป็นกระแสไฟฟ้าผ่านกังหันไอน้ำ ในขณะที่เทคโนโลยีโฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic) เป็นวิธีการที่ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาจากแสงอาทิตย์โดยตรงผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก” การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมแสง การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมแสงทำงานอย่างไร วัสดุสะท้อนแสงรวบรวมความร้อนเป็นจุดเดียวกันส่งไปยังตัวรับพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนของแสงอาทิตย์ที่ผ่านการรวมแสงถูกนำไปต้มน้ำจนเดือดกลายเป็นไอ กังหันไอน้ำทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า แผงโฟโตโวลตาอิกหรือโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าผ่านการทำงานของสารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวเมื่อสัมผัสกับแสง…