ถอดบทเรียนมาบจันทร์รอดภัยแล้ง ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของชุมชน
ปัญหาภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่เป็นรอยต่อระหว่างปี 2562 – 2563 นี้ที่สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปี All Around Plastics ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนบ้านมาบจันทร์ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่สามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคเพียงพอ สามารถรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้งในครั้งนี้ ตระหนักถึงปัญหา เร่งแก้ไขที่ต้นทาง เขายายดาตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากะเฉด – ป่าเพ – ป่าแกลง ครอบคลุมพื้นที่ 28,937 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบจำนวน 7 ตำบลจาก 2 อำเภอ แต่เมื่อป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตเริ่มถูกทำลายหลังจากการกำหนดให้เขายายดาเป็นพื้นที่สัมปทานทำไม้ อีกทั้งพื้นที่ป่าไม้บางส่วนถูกบุกรุกและแปรสภาพไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว สภาพการปกคลุมพื้นดินที่เปลี่ยนแปลงจากต้นไม้เล็กใหญ่ที่ขึ้นปะปนกันและมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่มีเรือนยอด(ความสูง)เพียงชั้นเดียว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำหลายประการ เมื่อฝนตกลงมาโดยไม่มีเรือนยอดหลายชั้นของต้นไม้ช่วยลดแรงตกกระทบของเม็ดฝน ผิวหน้าดินจึงถูกอัดแน่นและดูดซับน้ำฝนได้น้อยลง เกิดเป็นน้ำป่าไหลหลากเวลาที่ฝนตกหรือในช่วงฤดูฝน เมื่อไม่มีน้ำฝนซึมลงไปในดินจึงไม่มีน้ำในชั้นดินหล่อเลี้ยงลำธารหลังฝนหยุดหรือในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนไม่มีน้ำฝนไหลซึมลงไปสะสมเป็นแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ นอกจากนี้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมและความแห้งแล้งยังส่งผลให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย …
“จากภูผา…สู่มหานที” สานต่อศาสตร์พระราชา สู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
โครงการรักษ์น้ำ “จากภูผา…สู่มหานที” ของ เอสซีจี เกิดจากความตั้งใจที่จะถ่ายทอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนให้ชุมชนเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง โดยน้อมนำพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่เพียงช่วยรักษาแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งสายธารความสำเร็จจากภูผา สู่มหานทีอย่างแท้จริง “ต้นน้ำ” เป็นป่าไม้ จุดเริ่มต้นสายธารแห่งความสำเร็จด้วย “ฝายชะลอน้ำ” หากความสำเร็จเปรียบได้เหมือนสายน้ำ ก็ย่อมมีจุดเริ่มต้นที่เป็นรากฐานให้กับความสำเร็จจุดต่อ ๆ ไป เอสซีจี เริ่มต้นสายธารความสำเร็จด้วยการเข้าร่วมกับชุมชน จิตอาสา ภาครัฐ และภาคเอกชน สร้าง ฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ คืนสมดุลสู่ระบบนิเวศ แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างเห็นผลจริง โดยเริ่มต้นจากชุมชนต้นน้ำ จ.ลำปาง ก่อนถ่ายทอดไปสู่ชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันโครงการนี้สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 75,500 ฝาย มีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 87,000…