Chivit-D by SCG (ชีวิตดี บาย เอสซีจี) ตื่นเช้ามาด้วยรอยยิ้มกับชีวิตดีที่รออยู่
เพราะการมีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเป็นพื้นฐานสำคัญของความสุขในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ร้าน Chivit-D by SCG ไลฟ์สไตล์ช็อปและคอมมูนิตี้สำหรับผู้สูงวัยที่มีทั้งสินค้า บริการ และกิจกรรมที่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ ด้วยแนวคิดของร้านที่ต่อยอดมาจากการความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของเอสซีจี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ SCG Eldercare Solution บริการและนวัตกรรมที่ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงวัยภายในบ้านหรือที่พักอาศัย ทั้งยังสอดคล้องกับเทรนด์ของสังคมประเทศไทยปัจจุบันซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ชีวิตวัยเกษียณหรือเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ คุณภาพชีวิตที่คิดมาให้ สินค้าและบริการที่ Chivit-D by SCG นำเสนอ ผ่านการคัดสรรมาจากการศึกษาความต้องการของลูกค้า รวมทั้งปัญหาหรืออุปสรรคจากประสบการณ์จริงของลูกค้าในการดำเนินชีวิตประจำวัน มาตั้งเป็นโจทย์ในการค้นหาผลิตภัณฑ์และวิธีการแก้ไขปัญหา ตามคอนเซ็ปต์ที่ว่า “รู้ดีเรื่องสุขภาพ และรู้ใจรุ่นใหญ่วัยอิสระ” ทั้งสินค้าและบริการจัดสรรเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ครอบคลุมกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน สินค้าเพื่อสุขภาพ พร้อมกิจกรรมที่รู้ใจ ภายในพื้นที่ 500 ตารางเมตร ร้าน Chivit-D by SCG ได้นำเสนอสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่ขนมและอาหารเพื่อสุขภาพ…
Smart Mobile Medication Cart รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ นวัตกรรมเพื่อการดูแลที่ครบวงจร
รถเข็นสำหรับจ่ายยา นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดูแลผู้ป่วยใน ทั้งการนำจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่ห้องพักตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน รวมถึงการทำหัตถการต่าง ๆ การเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลชั้นนำอย่างเครือ BDMS หรือ กรุงเทพดุสิตเวชการให้ความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอื่น ๆ เมื่อกล่าวถึงรถเข็นจ่ายยาที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีทั้งการประยุกต์ใช้รถเข็นโลหะธรรมดาที่ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะเจาะจง และแบบที่มีลิ้นชักเก็บยาโดยเฉพาะซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณารถเข็นแต่ละประเภทที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะของเครือ BDMS และธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ซึ่งมีประสบการณ์ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาแล้วด้วยความเชี่ยวชาญทั้งการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ พร้อมพันธมิตรที่พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจร เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทาง BDMS มีแนวคิดที่จะปรับการบริหารจัดการการจ่ายยาให้เป็นระบบปิด หรือ close-loop medication ให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อแพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วข้อมูลจะต้องถูกส่งตรงไปยังรถเข็นจ่ายยาได้ทันที เพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ทีมงานของเอสซีจีได้เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานจริงของทั้งทีมแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจ่ายยาทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อได้รับทราบข้อมูลความต้องการครบถ้วนแล้วเอสซีจีจึงออกแบบรถเข็นให้มีลิ้นชักจ่ายยาจำนวน 6 ลิ้นชัก ตรงตามจำนวนห้องของผู้ป่วยที่พยาบาลแต่ละท่านต้องดูแลรับผิดชอบ โดยมีระบบล็อคลิ้นชักที่ต้องใช้การสแกนข้อมูลเลขผู้ป่วยเพื่อยืนยันตัวตนก่อน และจะปลดล็อคได้เฉพาะลิ้นชักที่กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยท่านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจ่ายยา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลเองก็ต้องล็อกอินเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือบันทึกประวัติการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ลิ้นชักทั้งหมดจะล็อคอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่สามารถเปิดใช้งานได้ครั้งละ 1 ลิ้นชักเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด สับสน โดยจะต้องสแกนรหัสผู้ป่วยเพื่อปลดล็อคทุกครั้งเมื่อต้องการบรรจุยาจากห้องยาเข้าลิ้นชัก…
ส่องเทรนด์วัสดุ ผ่านเลนส์นักออกแบบระดับโลกในงาน K 2019
ในงาน K 2019 งานแสดงนวัตกรรมพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ประเทศเยอรมนี นอกจากนวัตกรรมของพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงานพลาสติกที่ทันสมัย และนวัตกรรมเพื่อตอบหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ผสานความร่วมมือ และมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างจริงจังแล้ว ภายในงานยังมีการนำเสนออีกแง่มุมของวัสดุผ่านมุมมองของนักออกแบบชื่อดังอย่าง คริส เลฟเทอรี่ (Chris Lefteri) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการออกแบบ เจ้าของสตูดิโอ CLD ณ กรุงลอนดอน และกรุงโซล และเจ้าของผลงานเขียนเกี่ยวกับการออกแบบวัสดุที่ได้รับการตีพิมพ์มากมายหลายเล่ม ก่อนจะเข้าร่วมดีไซน์ทัวร์กับคริส ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษของงาน K 2019 ครั้งนี้ All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคริสอย่างใกล้ชิดที่บูทของเอสซีจี คริสเล่าว่า “เทรนด์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การทำให้วัสดุมีความยั่งยืนมากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่นักออกแบบต่างคำนึงถึงในการออกแบบสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศแถบยุโรป ซึ่งจะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจก็คือ การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจใคร่รู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของสินค้าหรือที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยเรื่องราวเหล่านี้มีส่วนในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค และสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้” เส้นทางดีไซน์ทัวร์ที่คริสพาผู้สนใจ ซึ่งมีทั้งนักออกแบบ นักข่าว…
Passion for a Better World: นวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืนในงาน K2019
งาน K2019 ถือเป็นงานแสดงสินค้าที่คนในอุตสาหกรรมให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นงานแสดงนวัตกรรมสินค้าพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดขึ้นทุก 3 ปี ณ เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี โดยในปีนี้มีกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกรวมถึงองค์กรสถาบันชั้นนำระดับโลกกว่า 3,330 แห่งเข้าร่วมจัดแสดง ภายในงานเต็มไปด้วยผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกว่า 225,000 คนจาก 165 ประเทศหมุนเวียนเข้ามาชมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และแลกเปลี่ยนโอกาสทางธุรกิจกันอย่างไม่ขาดสายตลอดระยะเวลา 8 วันของการจัดงาน ประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการทั่วโลกก็คือ พลาสติกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Plastics for Sustainable Development) ซึ่งเป็นหนึ่งในธีมหลักของงาน K2019 และยังเห็นได้อย่างชัดเจนจากบูทของผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลกที่ต่างขนเอานวัตกรรมที่เป็นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบวัสดุ กระบวนการผลิต หรือสินค้าปลายทางที่จะสามารถกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลกที่เน้นความยั่งยืน และสอดคล้องกับผลสำรวจของงานที่เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน ติดอันดับ 1 ใน 3 หัวข้อที่ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจสูงสุด ในปีนี้ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีได้เข้าร่วมเป็นผู้จัดแสดงในงานอีกเช่นเคย โดยภายในพื้นที่จัดแสดง เอสซีจีได้นำนวัตกรรมและเรื่องราวต่าง…
“ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย” นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ยั่งยืน
“ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย” นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยของประชาชนที่ยั่งยืน นำร่องติดตั้งเป็นห้องน้ำสาธารณะที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9 ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดตัว “ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย” หรือ SCG Reinvented Toilet ห้องน้ำพร้อมระบบบำบัดกากของเสียที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแบบครบวงจร สามารถแยกน้ำและกากของเสียออกจากกันได้ 100% โดยไม่มีของเสียที่ปนเปื้อนออกสู่ระบบระบายน้ำ และแม่น้ำลำคลอง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ สามารถหมุนเวียนน้ำที่ใช้ในระบบกลับมาใช้ได้อีก และยังนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในลักษณะสารปรับปรุงดิน ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย หรือ เอไอที เพื่อสร้างสุขอนามัยขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาในช่วงต้นจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ล่าสุด ได้นำร่องติดตั้งเป็นห้องน้ำสาธารณะที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9 นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดเผยว่า ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย หรือ SCG Reinvented Toilet…
เท้าเทียมเพื่อชีวิตใหม่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
คนเราทุกคนนั้น หากมีปัจจัยพื้นฐานของชีวิตดี สามารถดำรงชีวิตได้ปกติ ย่อมส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นดึงศักยภาพในตนเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่สำหรับผู้พิการที่สูญเสียอวัยวะสำคัญอย่าง “ขา” ไปนั้น ย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการยากไร้ที่อาจขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว รวมถึงอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น จนลดทอนโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พร้อมด้วยพันธมิตร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์และการออกแบบนวัตกรรมจากวัสดุเคมีภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และบริษัท รับเบอร์โซล จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตรองเท้าชั้นนำของประเทศ เห็นความสำคัญในการสร้างโอกาสให้กับผู้พิการ โดยนำความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละบริษัทมาร่วมกันสร้างประโยชน์ให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากพระราชปณิธานของสมเด็จย่า โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้พิการทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ตลอดจนประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ กระบวนการทำงานแบบผสานความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง และสามารถนำศักยภาพที่พวกเขามีมาเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศของเราต่อไป ก้าวแรก มูลนิธิขาเทียมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้พิการขาขาดยากไร้ตามพระราชปณิธานของสมเด็จย่ามาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาอุปกรณ์และชิ้นส่วนของขาเทียมเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพและทนทานขึ้น จึงร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพมาร่วมพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ขจรพงศ์ ภู่สิทธิกุล Marketing and…
รวมพลังยกระดับสุขาภิบาลของโลก
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
จะดีไหม ถ้าในพื้นที่กันดารห่างไกลทั่วโลก จะสามารถเข้าถึงสุขาและระบบสุขาภิบาลพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม จะดีไหม ถ้าสุขานั้นมีระบบบำบัดที่สามารถเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นปุ๋ยและน้ำที่สะอาดพอจนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะดีไหม ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วจากการผสานความร่วมมือของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) บริษัทธรรมสรณ์ จำกัด และ บริษัททีเบลโก้ จำกัด ที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ยกระดับสุขาภิบาลของโลกให้ทุกคน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีสุขอนามัยที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง และจะดีที่สุด ถ้าระบบนี้ได้นำไปใช้จริงในอนาคต ที่มาของความร่วมมือ ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยระบบ Zyclone Cube ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียจากสุขาครบวงจรที่ใช้หลักฟิสิกส์ง่าย ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วงและหลักการหมุนเหวี่ยง จนสามารถแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลว และกากออกจากกันทันที โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการลดการปนเปื้อนสารได้มากถึง 50% รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ผลพลอยได้คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อในการเกษตรและน้ำอุปโภคได้อย่างปลอดภัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานครั้งนี้ว่า “การยกระดับสุขาภิบาลของประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ บทบาทของ AIT ในฐานะที่เป็นสถาบัน พัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เราทำวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังต้องการนำนวัตกรรมส่งไปให้ประชาชนได้ใช้…
CiBot™ ฟีเจอร์ใหม่ ตรวจได้ครบทั้ง 3 ฟังก์ชั่น “ค่าคาร์บอน ค่าความบวม และค่าความโก่ง”
ครั้งแรกของโลก CiBotTM หุ่นยนต์ตรวจสอบท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัย ละเอียด แม่นยำ ลดต้นทุน ล่าสุดตรวจได้ครบทั้ง 3 ฟังก์ชั่น “ค่าคาร์บอน ค่าความบวม และค่าความโก่ง” อีกก้าวของการยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพการตรวจท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พัฒนา “หุ่นยนต์ไซบอท (CiBotTM)” ฟีเจอร์ใหม่ เพิ่มความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุท่อ (Coil) ในเตาปฏิกรณ์ได้พร้อมกันถึง 3 ฟังก์ชั่น ทั้งปริมาณคาร์บอนที่แทรกซึมในเนื้อท่อ (Carburization) ความบวม (Bulging) และความโก่ง (Bowing) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลก ทำให้สามารถตรวจวัดสภาพและประเมินอายุการใช้งานของท่อได้อย่างปลอดภัย ละเอียด แม่นยำ รวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิต ลดการสูญเสีย และส่งผลดีไปถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อม ต่อยอด แรกเริ่ม หุ่นยนต์ไซบอท ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณคาร์บอนที่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อโลหะของท่อ หรือที่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า คาร์บูไรเซชั่น (Carburization) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่อเปราะ แตกหัก และรั่วได้ อันเป็นความเสียหายหลักที่เกิดขึ้นกับวัสดุท่อในเตาปฏิกรณ์โรงงานปิโตรเคมี ซึ่งความเสียหายประเภทนี้คิดเป็น…
แสงกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน
มากกว่า 30% ของพื้นที่ในประเทศไทย คือพื้นที่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจกล่าวได้ว่ามันคือพื้นที่แห่งชีวิต เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำต่าง ๆ บึง บ่อ ทะเลสาบ หนอง คลอง แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตลอดสายที่ได้ไหลผ่าน บนผืนน้ำระยิบระยับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงาม ปลาที่แหวกว่าย มันยังพอจะเป็นอะไรได้อีกนะ? นักคิดค้น และนักวิทยาศาสตร์ ยกมือตอบว่ามันยังเป็นโอกาสในการช่วยโลกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ อย่างที่เราทราบว่านักวิทยาศาสตร์สามารถนำแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มานานเกินครึ่งทศวรรษแล้ว นวัตกรรมโซลาร์เซลล์พัฒนาประสิทธิภาพมาต่อเนื่องจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขวางอย่างในปัจจุบันในฐานะพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ไร้ขีดจำกัด ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีขั้นตอนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานสะอาด ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตโซนร้อน มีความเข้มข้นของรังสีติดอันดับของโลก ทำให้เรามีศักยภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับเข้มข้น แต่คนทั่วไป เวลาที่พูดถึง “พลังงานแสงอาทิตย์” อาจนึกถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Solar Rooftop ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือเห็น Solar Farm ที่ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน แต่ที่จริงแล้ว การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์…
ส่องโอกาสและทิศทางนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ใครเริ่มก่อน คนนั้นได้เปรียบ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ การที่จำนวนประชากรที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุนี้มนุษย์เราจึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรทางธรรมชาติ นำมาซึ่ง “นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Innovation)” ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ขณะนี้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ บริษัทเริ่มหันมาใส่ใจการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานาน บอกกับเราว่า นี่เป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและ SMEs เช่นกัน เพราะใครเดินนำเส้นทางนี้เป็นคนแรก ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์สูงสุด โอกาสเป็น “คนแรก” มาถึงแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังน้อยมาก สาเหตุก็เพราะผู้ประกอบการยังกังวลที่จะเปลี่ยนแปลง หรือก้าวออกจาก “ความคุ้นชิน” ไปยังสิ่งที่ยัง “ไม่มั่นใจ” การก้าวไปเป็นคนแรกบนเส้นทางนี้อาจต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิตปัจจุบัน มีความเสี่ยงสูง ผู้ประกอบการหลายคนจึงมักรอให้ใครสักคนเป็นคนลองเริ่มก่อน ทว่า อ.สิงห์กลับมองเห็นตรงข้าม นี่คือโอกาสดีที่สุดสำหรับคนแรกที่กล้าก้าวไปก่อน และเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน…