รู้จักชนิดของถุงหูหิ้วพลาสติก แบบไหนเหมาะกับใส่สินค้าอะไร ?
ถุงพลาสติกหูหิ้ว (T-Shirt Bag) คือหนึ่งในพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มีการบริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการยกเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบบางในห้างสรรพสินค้าไปแล้ว แต่ในร้านค้าทั่วไปก็ยังมีการใช้ถุงพลาสติกกันอยู่บ้าง นั่นเป็นเพราะจริง ๆ แล้วถุงพลาสติกมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์และตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันของผู้คนอยู่ไม่น้อย ในการให้ความสะดวกสบาย บรรจุของรับน้ำหนักได้มาก กันน้ำได้ ใช้ซ้ำได้ และรีไซเคิลได้ แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง และทิ้งอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้มีการบริโภคที่เกินจำเป็น และเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม นั่นเอง ขณะเดียวกันในปัจจุบันผู้ผลิตก็มีแนวโน้มที่จะผลิตถุงที่มีความหนาและคงทนมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ดังนั้นเหล่าพ่อค้าแม่ขายและผู้บริโภคยุคใหม่ มาทำความรู้จักคุณสมบัติความแตกต่างของถุงหูหิ้วชนิดต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างถูกวิธีและคุ้มค่าที่สุดไปด้วยกัน ความแตกต่างของถุงหูหิ้วแต่ละประเภท ถุงหูหิ้วพลาสติก HDPE หรือถุงไฮเดน ลักษณะทั่วไป ขุ่นหรือทึบ แข็งแรง เมื่อขยำแล้วมีเสียงดัง หรือที่เราเรียกถุงก๊อบแก๊บ เนื้อเหนียวยืดได้ หากฉีก รอยขาดจะไม่เรียบ เหมาะกับใส่สินค้าทั่วไป หรือใส่ของที่มีจำนวนมากและมีน้ำหนัก เช่น ถุงใส่กล่องข้าว ถุงใส่ผลไม้ ถุงหูหิ้วพลาสติก LDPE หรือถุงไฮโซ ลักษณะทั่วไป ใส ขยำแล้วนิ่ม เสียงไม่ดัง เนื้อเหนียวยืดได้ดีมาก เจาะทะลุยาก หากฉีกขาด รอยขาดจะไม่เรียบ…
‘ถุงสปันบอนด์’ ถุงผ้าที่ไม่ใช่ผ้า แล้วจริง ๆ คืออะไร!?
ถุงผ้าสปันบอนด์คืออะไร ? ถุงผ้าสปันบอนด์ คือถุงที่มีผิวสัมผัสและลักษณะคล้ายผ้า แต่จริง ๆ แล้ว ทำมาจากพลาสติกชนิด PP (Polypropylene) ขึ้นรูปแบบสปันบอนด์ โดยการฉีดเส้นใยพลาสติกและอัดรีดเป็นแผ่นบาง ทำให้เกิดเป็นลักษณะเหมือนรูตาข่ายเล็ก ๆ ที่เกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ผ่านการถักทอ (Non-woven Fabric) มีน้ำหนักเบา กันน้ำได้บางส่วน ย้อมสีและทำสกรีนได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงเป็นที่นิยมของร้านค้า โดยนอกจากผลิตเป็นถุงชอปปิง เส้นใยสปันบอนด์ยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายวงการ ที่ใกล้ตัวเราก็เช่นเป็นส่วนประกอบของหน้ากากอนามัย แพมเพิร์ส ไส้กรองอากาศ หรือเป็นส่วนประกอบในเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อีกด้วย ข้อดีและข้อเสียของถุงสปันบอนด์ ปัจจุบันถุงสปันบอนด์ หรือ Non-woven bag เป็นหนึ่งในถุงทางเลือกที่หลายห้างร้านนำมาขายเพื่อรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยที่อาจยังไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับถุงนี้ ว่าจริง ๆ อาจมีมุมที่น่าเป็นห่วงกว่าที่คิด เพราะแม้ถุงสปันบอนด์จะมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตที่ต่ำกว่าถุงผ้าคอตตอน และใช้ซ้ำได้ แต่พลาสติกที่นำมาทำถุงสปันบอนด์นั้น มีข้อเสียคือแตกตัวง่ายเมื่อโดนแสง UV เพราะทำจากเกรดพลาสติกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เมื่ออยู่ในรูปแบบผืนบาง ๆ ยิ่งแตกตัวง่าย เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ถุงสปันบอนด์มักยุ่ยและหลุดเป็นเส้นใยเล็ก ๆ เหล่านี้คือ microplastic…
ใช้ ‘ถุงผ้า’ ลดโลกร้อนกว่า ‘ถุงพลาสติก’ จริงหรือ?
ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการเลิกแจกถุงพลาสติกชนิดบาง ซึ่งมีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน เพราะมีน้ำหนักเบา ปลิวง่าย คนมักใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีโอกาสหลุดรอดไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นขยะทะเล ผู้ประกอบการหลายเจ้าหันมาผลิตถุงทางเลือกแจกและขาย ในขณะที่ผู้บริโภคที่ไม่ได้นำถุงมา ก็ซื้อถุงใหม่มากขึ้น อยากชวนทุกคนตั้งคำถามว่า ท่ามกลางปัญหาสำคัญในยุคโลกเดือด (Global Boiling) การผลิตถุงทางเลือกมากขึ้นและเลิกใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง นั้นเป็นทางออกที่ดีของโลกเราจริง ๆ หรือเปล่า ถุงพลาสติกถูกสร้างมาเพื่อช่วยโลก ย้อนไปในปี 1959 วิศวกรชาวสวีเดน Sten Gustaf Thulin ได้ประดิษฐ์ถุงพลาสติกหูหิ้วขึ้น เพื่อทดแทนถุงกระดาษ ช่วยลดการตัดต้นไม้ เป็นวัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา ใช้ทรัพยากรในการผลิตต่อใบน้อย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทุกวันนี้แทบทุกพื้นที่บนโลก ใช้ประโยชน์จากถุงพลาสติก แต่ในขณะเดียวกัน ถุงพลาสติกใช้แล้วจำนวนมากก็กลายเป็นขยะที่ยากจะกำจัด เพราะพฤติกรรมการใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการทิ้งไม่ถูก Raoul Thulin ลูกชายของ Gustaf Sten Thulin กล่าวว่า “สำหรับคุณพ่อ การที่ผู้คนทิ้งขว้างถุงพลาสติกกันอย่างง่ายดาย คงเป็นเรื่องน่าประหลาด” …
รู้จักประเภทถุงแกงพลาสติกใส่อาหาร เลือกใช้แบบไหนถึงจะเหมาะ
ถุงแกง หรือถุงพลาสติกใส่อาหารเป็นสิ่งที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องด้วยความสะดวกสบายและความหลากหลายในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่อาจยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้งานพลาสติกอย่างเหมาะสมและปลอดภัย เราจึงจะชวนมาทำความรู้จักแต่ละชนิดของถุงพลาสติกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ถุงแกง หรือ ถุงร้อนใส PP ใส มันวาว บาง ทนความร้อนได้มากกว่า 100°C ทนความชื้นและการซึมผ่านของอากาศได้ดีกว่าถุงร้อนขุ่น เหมาะสำหรับใช้กับอาหารร้อน เช่น น้ำเต้าหู้ โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว และสามารถใช้ใส่อาหารแห้งเก็บได้หลายวัน เพราะป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ค่อนข้างดี ข้อควรระวัง: ไม่ควรนําเข้าช่องแช่แข็งเพราะจะทำให้ฉีกขาดทะลุได้ เนื่องจากทนความเย็นได้ไม่ดี ถุงร้อนขุ่น HDPE ถุงขุ่น หนา ทนความร้อนได้ 100°C ทนความเย็นได้ถึง 0°C มากกว่าถุงร้อนใส สามารถใช้กับอาหารทั่วไปได้ ไม่ว่าจะเป็นของแห้งหรืออาหารที่มีความชื้นน้อย ทนต่อกรดและสารเคมี เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการความแข็งแรง เช่น การใช้เป็นถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าต่าง ๆ สำหรับใส่อาหารแบบชั่วคราว ข้อควรระวัง: ไม่เหมาะกับการใช้เพื่อถนอมอาหาร เพราะป้องกันการซึมผ่านของอากาศได้ไม่ดี ทำให้เกิดกลิ่นหืนหรือปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ และไม่ควรใช้กับอาหารร้อนเพราะอาจทำให้ถุงพลาสติกละลายและหลอมตัว …
พลาสติกทำมาจากอะไร แล้วเกิดมาทำไมกันนะ!?
จริง ๆ แล้วพลาสติก คือวัสดุสังเคราะห์ที่มาทดแทนการใช้วัสดุธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากการนำน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติ มาผ่านกระบวนการกลั่น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (Polymerization) ด้วยการนำสารประกอบมาทำปฏิกิริยาให้ต่อกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่สายยาว ก็จะได้วัสดุพลาสติก โดยพลาสติกชนิดต่าง ๆ มีการใช้สารเติมแต่ง (Polymer additive) และสารปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะตอบโจทย์ตามผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ต้องการ ประวัติศาสตร์มุนษยชาติและพลาสติก ในรอบกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จแบบก้าวกระโดดของคนทั้งโลกที่นอกเหนือไปจากภารกิจเหยียบดวงจันทร์ของยานอะพอลโล 11 การคิดค้นวัคซีนโรคโปลิโอ การค้นพบปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน และอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังรวมไปถึง “พลาสติก” ด้วย สิ่งประดิษฐ์ด้านวัสดุศาสตร์สุดมหัศจรรย์นี้ได้เข้ามาพลิกโฉมภูมิทัศน์ทางธุรกิจ พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงปี 1960 แต่ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลับถูกเหมารวมว่าเป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหาขยะสิ่งแวดล้อม และสถานะความเป็นผู้ร้ายที่ทำลายธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตยังคงถูกผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ‘พลาสติก’ สุดยอดวัสดุที่เกิดจากความตั้งใจดี ลูกบิลเลียด ที่ผลิตจากเซลลูลอยด์ พลาสติกกึ่งสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก จอห์น เวสลีย์ ไฮเอตต์ (John Wesley Hyatt) พยายามค้นหาวัสดุทดแทนงาช้างเพื่อมาทำลูกบิลเลียด ซึ่งในขณะนั้นเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จนเป็นสาเหตุให้ช้างป่าในแถบแอฟริกาลามไปจนถึงเอเชียถูกไล่ล่าเพื่อเอางาจนเกือบสูญพันธุ์ บริษัทผู้ผลิตลูกบิลเลียดในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ประกาศให้รางวัล 10,000…