‘ถุงสปันบอนด์’ ถุงผ้าที่ไม่ใช่ผ้า แล้วจริง ๆ คืออะไร!?
ถุงผ้าสปันบอนด์คืออะไร ? ถุงผ้าสปันบอนด์ คือถุงที่มีผิวสัมผัสและลักษณะคล้ายผ้า แต่จริง ๆ แล้ว ทำมาจากพลาสติกชนิด PP (Polypropylene) ขึ้นรูปแบบสปันบอนด์ โดยการฉีดเส้นใยพลาสติกและอัดรีดเป็นแผ่นบาง ทำให้เกิดเป็นลักษณะเหมือนรูตาข่ายเล็ก ๆ ที่เกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ผ่านการถักทอ (Non-woven Fabric) มีน้ำหนักเบา กันน้ำได้บางส่วน ย้อมสีและทำสกรีนได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงเป็นที่นิยมของร้านค้า โดยนอกจากผลิตเป็นถุงชอปปิง เส้นใยสปันบอนด์ยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายวงการ ที่ใกล้ตัวเราก็เช่นเป็นส่วนประกอบของหน้ากากอนามัย แพมเพิร์ส ไส้กรองอากาศ หรือเป็นส่วนประกอบในเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อีกด้วย ข้อดีและข้อเสียของถุงสปันบอนด์ ปัจจุบันถุงสปันบอนด์ หรือ Non-woven bag เป็นหนึ่งในถุงทางเลือกที่หลายห้างร้านนำมาขายเพื่อรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยที่อาจยังไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับถุงนี้ ว่าจริง ๆ อาจมีมุมที่น่าเป็นห่วงกว่าที่คิด เพราะแม้ถุงสปันบอนด์จะมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตที่ต่ำกว่าถุงผ้าคอตตอน และใช้ซ้ำได้ แต่พลาสติกที่นำมาทำถุงสปันบอนด์นั้น มีข้อเสียคือแตกตัวง่ายเมื่อโดนแสง UV เพราะทำจากเกรดพลาสติกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เมื่ออยู่ในรูปแบบผืนบาง ๆ ยิ่งแตกตัวง่าย เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ถุงสปันบอนด์มักยุ่ยและหลุดเป็นเส้นใยเล็ก ๆ เหล่านี้คือ microplastic…
ใช้ ‘ถุงผ้า’ ลดโลกร้อนกว่า ‘ถุงพลาสติก’ จริงหรือ?
ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการเลิกแจกถุงพลาสติกชนิดบาง ซึ่งมีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน เพราะมีน้ำหนักเบา ปลิวง่าย คนมักใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีโอกาสหลุดรอดไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นขยะทะเล ผู้ประกอบการหลายเจ้าหันมาผลิตถุงทางเลือกแจกและขาย ในขณะที่ผู้บริโภคที่ไม่ได้นำถุงมา ก็ซื้อถุงใหม่มากขึ้น อยากชวนทุกคนตั้งคำถามว่า ท่ามกลางปัญหาสำคัญในยุคโลกเดือด (Global Boiling) การผลิตถุงทางเลือกมากขึ้นและเลิกใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง นั้นเป็นทางออกที่ดีของโลกเราจริง ๆ หรือเปล่า ถุงพลาสติกถูกสร้างมาเพื่อช่วยโลก ย้อนไปในปี 1959 วิศวกรชาวสวีเดน Sten Gustaf Thulin ได้ประดิษฐ์ถุงพลาสติกหูหิ้วขึ้น เพื่อทดแทนถุงกระดาษ ช่วยลดการตัดต้นไม้ เป็นวัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา ใช้ทรัพยากรในการผลิตต่อใบน้อย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทุกวันนี้แทบทุกพื้นที่บนโลก ใช้ประโยชน์จากถุงพลาสติก แต่ในขณะเดียวกัน ถุงพลาสติกใช้แล้วจำนวนมากก็กลายเป็นขยะที่ยากจะกำจัด เพราะพฤติกรรมการใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการทิ้งไม่ถูก Raoul Thulin ลูกชายของ Gustaf Sten Thulin กล่าวว่า “สำหรับคุณพ่อ การที่ผู้คนทิ้งขว้างถุงพลาสติกกันอย่างง่ายดาย คงเป็นเรื่องน่าประหลาด” …