ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ – บทเรียนการจัดการขยะ กับ 3 โรงเรียนนำร่อง ที่เน้นให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
ว่ากันว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการได้ทดลองปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง เช่นเดียวกันกับฐานการเรียนรู้การจัดการขยะในโครงการ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ที่ริเริ่มโดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มาตั้งแต่ต้นปี 2562 ซึ่งขณะนี้กำลังแตกหน่อต่อผลไปสู่โรงเรียนนำร่อง 3 แห่งในจังหวัดระยอง ได้แก่ โรงเรียนบ้านมาบตาพุด โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า และโรงเรียนวัดมาบชะลูด เพื่อเป็นต้นแบบเรื่องการจัดการขยะ และพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ต่อไป บ้าน วัด โรงเรียน ที่เชื่อมโยงไปกับธนาคารขยะชุมชน คือส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนบูรณาการการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยการเริ่มต้นที่โรงเรียนนั้น ก็เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ลงมือจัดการขยะด้วยตัวเอง เพื่อต่อยอดพฤติกรรมสู่คนในครอบครัว ขยายผลถึงระดับชุมชนได้จากการวางรากฐานให้กับเยาวชน เริ่มต้นที่โรงเรียน ในฐานการเรียนรู้การจัดการขยะสำหรับนักเรียนในโรงเรียนนำร่องทั้ง 3 นั้น เริ่มต้นจากการให้ความรู้เรื่องประเภทของวัสดุขยะในโรงเรียน ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับนักเรียนนั่นคือ ฐานถุงนมกู้โลก ที่ปลูกฝังเด็ก ๆ ให้ดื่มนมให้หมดไม่เหลือทิ้ง ก่อนจะนำไปจัดการโดยตัด ล้าง…
จับมือกันสร้าง ‘ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ’
ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นเรื่องดีที่การพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องขยะที่เห็นได้ชัดเจนและมีผลกระทบมหาศาลทั้งต่อคน สัตว์ และสภาวะแวดล้อมในระดับโลก การจะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนภายในแต่ละท้องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือจากคนในชุมชน และการค้นหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม นอกจากการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้คุ้มค่าแล้ว “การแยกขยะ” ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน เพราะเป็นการนำวัสดุที่ยังคงใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง โดยเอสซีจีได้เริ่มทำโครงการจัดการขยะภายในองค์กรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้ชื่อ “บางซื่อโมเดล” มาตั้งแต่ปี 2561 และในปีนี้ได้ขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และแนวคิดในการบริหารจัดการขยะ โดยประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของชุมชนผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” โดยมุ่งเน้นการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากตัวเลขปริมาณขยะในจังหวัดระยองกว่า 306,000 ตันในปี 2561 นำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะที่สูงถึง 328 ล้านบาท ทั้งยังมีปริมาณขยะที่รีนำไปไซเคิลได้จริงเพียง 7% เท่านั้น เอสซีจีจึงวางเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นด้วยการให้ความรู้และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมไปถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนผ่านสามพฤติกรรมจำขึ้นใจ #ใช้ให้คุ้ม #แยกให้เป็น #ทิ้งให้ถูก โรงเรียน แหล่งสร้างเยาวชนคุณภาพ เพราะการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก ย่อมทำให้พวกเขาเติบโตมาเป็นกำลังสำคัญของชาติที่มีคุณภาพ นอกจากโรงเรียนจะมุ่งสร้างเด็กเก่งแล้ว ยังต้องการสร้างเด็กดีที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย…
“บางซื่อโมเดล” โครงการจัดการของเสียภายในเอสซีจี เพราะการจัดการขยะ คือ กุญแจสำคัญสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ จากหลักการ ผลิต-ใช้-วนกลับ ของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นการหมุนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสมนั้น หากจะกล่าวเจาะจงถึงสินค้าที่จับต้องได้ นอกจากการเลือกวัสดุและออกแบบตัวสินค้าโดยคำนึงถึงปลายทาง เพื่อให้ใช้งานแล้วนำกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนได้ และเกิดของเสียหรือขยะน้อยให้ที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่พร้อมจะรองรับขยะที่เกิดขึ้นกลับเข้าสู่วงจรให้ได้ การจัดการของเสีย หรือ Waste Management จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อขยะจากผู้ใช้งานส่งกลับเข้าระบบ โดยมีหลักการง่าย ๆ เริ่มต้นที่การแยกสิ่งที่มีมูลค่า ใช้ซ้ำได้ออกมาเพื่อส่งกลับเข้าวงจรการผลิตหรือรีไซเคิลออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อีกส่วนคือของเสียที่ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นขยะเศษอาหารนำไปทำปุ๋ย ทำเชื้อเพลิง หรือขยะอันตรายที่มีสารพิษก็ต้องนำไปทำลายโดยผู้เชี่ยวชาญให้ถูกวิธี เพราะการจัดการขยะนั้นต้องเริ่มจากสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะและทิ้งลงถังให้ถูกประเภท เอสซีจีเองก็ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กรด้วยเช่นกัน รวมถึงต้องการเป็นต้นแบบที่ดีด้านบริหารจัดการของเสีย โครงการบางซื่อโมเดล (Bang Sue Model) โครงการจัดการของเสียภายในเอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติ SCG Circular Way วิถีชีวิตที่จะช่วยให้เราและโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน…
ทั่วโลกขยับ! ผู้ประกอบการเร่งปรับ ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน
เมื่อสถานการณ์ขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาถึงจุดวิกฤตที่ทั่วโลกต่างต้องให้ความสำคัญ เราในฐานะประชากรคนหนึ่งของโลกสามารถทำอะไรได้บ้าง? ในเมื่อขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่ทะเล พัดไปตามภูเขา หรือลงไปอยู่ในท้องของสัตว์น้อยใหญ่ ล้วนเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อการใช้งานพลาสติกและไม่จัดการให้มีประสิทธิภาพ หนทางแก้ไขจึงชัดเจนอยู่แล้วว่า มนุษย์ต้องเป็นผู้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ให้เร็วที่สุด ปัญหานี้ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งที่ต้องก้าวขึ้นมารับผิดชอบ หากแต่เป็นเรื่องของประชาคมโลกที่ต้องร่วมกันหาหนทางยุติและแก้ไข เมื่อสำรวจดูสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่ามีหลายภาคส่วนที่ตระหนักถึงความสำคัญและให้การตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งภาคเอกชน เช่น ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลกที่เริ่มออกนโยบายการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือรณรงค์ลดการใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง (single-use plastic) ซึ่งเป็นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เร็วที่สุด องค์กรนานาชาติก็เริ่มออกมาตรการและข้อบังคับเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกซึ่งขอยกตัวอย่างมาบางส่วน ดังนี้ ในปีพ.ศ. 2562 รัฐบาลของ 187 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีข้อตกลงที่จะเริ่มควบคุมการเคลื่อนที่ของขยะพลาสติกทั้งทางบกและทางทะเล องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ระบุว่า ทุกประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญานี้จะต้องวางเป้าหมายในการแก้ปัญหาการปะปนกันของขยะพลาสติก โดยพุ่งเป้าไปที่ประเทศที่เป็นผู้รับซื้อขยะปลายทาง โดยอนุญาตให้ขยะพลาสติกสามารถผสมปนเปกันได้เพียงแค่พลาสติกประเภท PE, PP และ PET เท่านั้น …