Close
|

ค้นหา

November 24, 2020

กฎหมายภาษีอากร หน้าที่ทางกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการ

การเสียภาษีอากรถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายอันรวมถึงผู้ประกอบการในประเทศไทยด้วย ซึ่งหากจะพูดถึงภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในแง่มุมกฎหมายแล้ว เชื่อได้เลยว่า คนส่วนใหญ่ต้องรู้สึกว่ามันยาก และซับซ้อนมาก ๆ ซึ่งก็อยากบอกว่าเป็นเรื่องยากจริง ๆ ที่จะทำความเข้าใจในทุกเรื่องอย่างทะลุปรุโปร่งภายในระยะเวลาและพื้นที่ที่จำกัด ดังนั้น ในบทความนี้ เราจึงขอให้ความรู้ในแนวคิดและความแตกต่างของภาษีอากรพื้นฐานหลัก ๆ และทำความเข้าใจกฎหมายภาษีอากรมีอะไรบ้าง? โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จำง่าย ๆ ว่า เมื่อธุรกิจมีเงินได้ ก็ต้องเสียภาษี ภาษีประเภทนี้จึงเป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี โดยทั่วไปแล้วเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น คิดจากกำไรสุทธิของกิจการ (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตราร้อยละ 20) แต่ในบางกรณีเพื่อความเป็นธรรม กฎหมายก็กำหนดจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย หรือเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ขึ้นอยู่กับกิจการหรือเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น อัตราภาษีของผู้ประกอบการที่เป็น SMEs ก็จะมีอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า…

November 24, 2020

กฎหมายกับการประกอบธุรกิจออนไลน์… เรื่องง่าย ๆ ที่ไม่ควรละเลย

การใช้ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการปัจจุบัน ไม่ว่ารายเล็ก หรือรายใหญ่ล้วนให้ความสนใจ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการจับจ่ายใช้สอย ไม่ต้องเสียเวลาขับรถหาที่จอดหรือไปคอยเข้าคิวเป็นเวลานาน ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการประกอบธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ดูเหมือนว่าใคร ๆ ก็สามารถลุกขึ้นทำได้ ทว่าถ้าจะทำให้ถูกกฎหมายนั้น ผู้ประกอบการต้องมีความรู้และศึกษาให้เข้าใจก่อนลงมือทำ โอกาสนี้ เราจึงขอนำเสนอฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโลกออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเพื่อไม่ให้ปฏิบัติอย่างผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว และอาจก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 เป็นกฎหมายฉบับแรกเลยที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการออนไลน์ไม่ว่าจะเปิดเว็บไซต์เป็นร้านค้า หรือผ่านทาง Facebook, Instagram ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ได้ และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันการหลอกลวง หรือถูกโกง โดยผู้ประกอบการต้องนำเลขทะเบียนที่ได้จากการจดนั้น ไปแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์ด้วย สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน ขั้นตอนในการจดทะเบียน และค่าธรรมเนียม สามารถค้นหาข้อมูลที่เว็บไซต์หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กฎหมายขายตรงและการตลาดแบบตรง นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นลักษณะของการ “ตลาดแบบตรง” ตามพระราชบัญญัติขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ที่ต้องดำเนินการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการตลาดแบบตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก่อนดำเนินธุรกิจ มิฉะนั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ…

March 18, 2020

รู้ทันกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection) และความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงนี้ ทั้งในด้านเทคโนโลยีที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึงการถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Big Data, Data Tracking, Facial Recognition Surveillance หรือในด้านกฎหมาย เริ่มมาจากทางยุโรปที่ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation (GDPR) ตามมาด้วยอีกหลายประเทศที่ออกกฎหมายในลักษณะเดียวกัน สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีการประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งกำลังจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นี้แล้ว การที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีการรองรับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้บริโภคตระหนักและให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของตนเองมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่ทางธุรกิจโทรศัพท์ติดต่อผู้บริโภคเพื่อแนะนำโปรโมชัน หากผู้บริโภคไม่สนใจ นอกจากการตอบปฏิเสธว่าไม่สนใจแล้ว ผู้บริโภคยังสามารถสอบถามกลับได้ว่าผู้ติดต่อได้ข้อมูลของเขามาจากไหน ใช้ข้อมูลเพื่อติดต่อเขาได้อย่างไร และยังสามารถร้องเรียนได้อีกด้วย จึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ธุรกิจต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญเรื่องการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ มากขึ้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้…

May 23, 2018

สรุปพรบ.และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ควรรู้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนกล่าวถึง นอกจากมิติทางด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมแล้ว สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ภาคธุรกิจต้องคำนึงถึง หากต้องการก้าวสู่การเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี ในปัจจุบัน มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมจำนวนมากที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้น ๆ โดยเฉพาะหากเป็นธุรกิจที่มีโรงงานแล้ว การควบคุมมลพิษในด้านต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่ต้องดำเนินการให้อยู่ภายใต้กฎหมาย แนวคิดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญนั้น เป็นกฎหมายที่มีลักษณะของการควบคุมและป้องกันให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ โดยมีหลักการสำคัญที่เรียกว่า “ใครก่อมลพิษ คนนั้นจ่าย” ซึ่งถือว่าผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดมลพิษที่ตนเองได้ก่อให้เกิดขึ้น แนวคิดนี้จะแทรกอยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับ ในที่นี้ จึงขอนำเสนอภาพรวมและความมุ่งหมายของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎหมายหลักฉบับแรกที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการประกอบธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษ ด้วยการที่ภาคธุรกิจต้องจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางเสียง มลพิษอื่น ๆ  และของเสียอันตราย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษ หรือกระทั่งกรณีของโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น พรบ.โรงงาน…
[elementor-template id="3478"]