SUSTAINABILITY - Nov, 19 2020
เอสซีจีให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดแนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นหลักสำคัญที่เอสซีจีนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ SCG Circular Way เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการวนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบใหม่ หมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ จากจุดเริ่มต้นภายในองค์กร วันนี้เอสซีจีร่วมมือกับทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ระดับชุมชน มุ่งสู่เป้าหมายการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม และเดินหน้าขยายผลสู่ระดับประเทศในอนาคต ทำความรู้จัก PPP Plastics และระยองโมเดล เส้นทางสู่เป้าหมายการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในระดับประเทศย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อหาวิธีการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างเป็นระบบ โครงการ PPP Plastics (Public Private Partnership for Plastic and Waste Management) จึงเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อลดขยะพลาสติกในทะลไทยลงให้ได้อย่างน้อย 50% ภายในปี 2570 โดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีเข้าร่วมในฐานะ Co-founder และได้ร่วมออกความเห็นในการจัดทำ Road Map การจัดการขยะพลาสติก…
SUSTAINABILITY - Nov, 19 2020
ปัญหาภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่เป็นรอยต่อระหว่างปี 2562 – 2563 นี้ที่สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปี All Around Plastics ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนบ้านมาบจันทร์ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่สามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคเพียงพอ สามารถรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้งในครั้งนี้ ตระหนักถึงปัญหา เร่งแก้ไขที่ต้นทาง เขายายดาตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากะเฉด – ป่าเพ – ป่าแกลง ครอบคลุมพื้นที่ 28,937 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบจำนวน 7 ตำบลจาก 2 อำเภอ แต่เมื่อป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตเริ่มถูกทำลายหลังจากการกำหนดให้เขายายดาเป็นพื้นที่สัมปทานทำไม้ อีกทั้งพื้นที่ป่าไม้บางส่วนถูกบุกรุกและแปรสภาพไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว สภาพการปกคลุมพื้นดินที่เปลี่ยนแปลงจากต้นไม้เล็กใหญ่ที่ขึ้นปะปนกันและมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่มีเรือนยอด(ความสูง)เพียงชั้นเดียว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำหลายประการ เมื่อฝนตกลงมาโดยไม่มีเรือนยอดหลายชั้นของต้นไม้ช่วยลดแรงตกกระทบของเม็ดฝน ผิวหน้าดินจึงถูกอัดแน่นและดูดซับน้ำฝนได้น้อยลง เกิดเป็นน้ำป่าไหลหลากเวลาที่ฝนตกหรือในช่วงฤดูฝน เมื่อไม่มีน้ำฝนซึมลงไปในดินจึงไม่มีน้ำในชั้นดินหล่อเลี้ยงลำธารหลังฝนหยุดหรือในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนไม่มีน้ำฝนไหลซึมลงไปสะสมเป็นแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ นอกจากนี้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมและความแห้งแล้งยังส่งผลให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย …
SUSTAINABILITY - Nov, 19 2020
ทุกวันนี้ผู้คนต่างตระหนักและตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เราเริ่มสังเกตเห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยพร้อมที่จะแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน โรงเรียน และที่ทำงาน เพื่อให้การนำวัสดุต่าง ๆ ที่ยังมีคุณค่ากลับมารีไซเคิลใช้ใหม่นั้นเกิดขึ้นได้จริง แต่การลงมือปฏิบัติของภาคประชาชนอย่างเดียวไม่อาจสร้างแรงผลักดันในสังคมได้มากพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว โครงการ ‘มือวิเศษ x วน โดย PPP Plastics’ จึงเกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะส่งเสริมแนวคิดการนำพลาสติกกับมาใช้ใหม่ให้เข้าถึงกลุ่มคนที่กว้างขวางมากขึ้น ผ่านความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กรในนาม PPP Plastics ร่วมกับ โครงการ “วน” (Won Project) ตั้งจุดวางถังที่มีชื่อว่า “ถังวนถุง” เพื่อรับบริจาคถุงและบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกที่ใช้แล้วในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ชลบุรีและระยอง บรรดาถุงพลาสติกสะอาดที่เข้าสู่โครงการ ‘มือวิเศษ x วน โดย PPP Plastics’ จะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกที่สามารถวนกลับมาใช้งานผลิตเป็นถุงพลาสติกใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ ทำให้การใช้งานพลาสติกเป็นไปอย่างครบวงจร ไม่หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม โดยทางโครงการยินดีรับพลาสติกประเภทฟิล์มทั้ง HDPE และ LDPE หรือสังเกตง่าย ๆ คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนที่ดึงยืดได้นั่นเอง …
จากในฉบับก่อนหน้าที่เรานำเสนอเรื่องราวของ “ชุมชน LIKE (ไร้)ขยะ” ที่ทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ธนาคารขยะและเทศบาล ครั้งนี้จะขอเจาะลึกเรื่องราวของ แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” ผู้ช่วยสำคัญของธนาคารขยะในการจัดระเบียบข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้นทั้งกับผู้ซื้อและผู้ขาย คุณเฉลิมพล ฮุนพงษ์สิมานนท์ Circular Economy Business Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของแอปพลิเคชัน ‘คุ้มค่า’ ว่าเริ่มต้นจากความต้องการยกระดับจัดการขยะของประเทศไทยให้มีระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำความถนัดทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของเอสซีจีเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง “เรื่องของ Waste Management หรือการจัดการขยะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญมากที่จะทำให้ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะประเทศไทยมีสัดส่วนของขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ปะปนลงไปในหลุมฝังกลบขยะมากกว่า 70% ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีไม่ถึง 20% สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขยะซึ่งก็คือทรัพยากรที่มีคุณค่าถูกปนเปื้อนด้วยขยะอินทรีย์จนไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หากเรามีการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางก็คือ มีความเข้าใจในการแยกขยะที่เหมาะสม ขยะหลายๆ ประเภทก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้” เมื่อได้รับโจทย์ให้พัฒนาเครื่องมือในการส่งเสริมการจัดการขยะ ทีมงานของเอสซีจีจึงเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษากระบวนการทำงานจริงของการซื้อขายขยะ…
“โครงการอยู่ดี ร่ำรวย ปลูกกล้วยกับเอสซีจี” เพื่อกลุ่มผู้พิการ ตำบลนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เริ่มต้นบนผืนดินแห้งแล้งที่แม้แต่เหล่าวัชพืชก็ยังไม่อาจเติบโตได้ แต่ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของของกลุ่มผู้พิการในพื้นที่ ผู้ที่ต้องการจะพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ และพนักงานจิตอาสาของเอสซีจีที่ ที่มาช่วยกันทำให้ที่ดินรกร้างกลายเป็นแปลงกล้วยหอมที่เติบโตออกผลได้อย่างงดงาม จนทำให้ผู้คนมีความหวังงอกงามตามไปด้วย คุณสมชาย หงษ์สุวรรณ ผู้จัดการกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงบทบาทและความตั้งใจของเอสซีจีในการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชนตั้งแต่วันแรกที่เข้ามายังพื้นที่จังหวัดระยอง “การที่โรงงานของเรามาตั้งอยู่ที่ระยอง ก็ถือเป็นภารกิจที่เราต้องดูแลชุมชนรอบข้างด้วย เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีชีวิตที่เป็นสุข เอสซีจีเน้นการให้ความรู้แก่ชุมชนก่อน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างอาชีพ เราสนับสนุนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน การคิดค้นพัฒนาสินค้าที่มีเอกลักษณ์ การยกระดับมาตรฐานการทำงาน คอยเติมองค์ความรู้ พาไปศึกษาดูงาน เชื่อมโยงไปสู่เครือข่ายอื่น ๆ เพื่อให้ชุมชนมีพันธมิตรในการดำเนินงาน ต่อยอดการทำธุรกิจไปด้วยกันได้” โครงการอยู่ดี ร่ำรวย ปลูกกล้วยกับเอสซีจี มีที่มาจากการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยมาบชลูด ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง ซึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แปรรูปจากกล้วยนั้นขายดีจนกล้วยหอมที่เป็นวัตถุดิบขาดตลาด เอสซีจีจึงสร้างเครือข่ายพันธมิตรวัตถุดิบในพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยการแจกหน่อกล้วยให้ชุมชนต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาเจอพื้นที่แปลงใหญ่ขนาด10 ไร่ ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ของกลุ่มผู้พิการจังหวัดระยอง ที่แม้สภาพของดินจะไม่พร้อมสำหรับการปลูกพืชในระยะเริ่มต้น แต่เอสซีจีและกลุ่มผู้พิการมั่นใจในศักยภาพของคน และเชื่อมั่นว่าองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่นี้ได้…
SUSTAINABILITY - Feb, 3 2020
ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นเรื่องดีที่การพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องขยะที่เห็นได้ชัดเจนและมีผลกระทบมหาศาลทั้งต่อคน สัตว์ และสภาวะแวดล้อมในระดับโลก การจะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนภายในแต่ละท้องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือจากคนในชุมชน และการค้นหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม นอกจากการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้คุ้มค่าแล้ว “การแยกขยะ” ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน เพราะเป็นการนำวัสดุที่ยังคงใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง โดยเอสซีจีได้เริ่มทำโครงการจัดการขยะภายในองค์กรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้ชื่อ “บางซื่อโมเดล” มาตั้งแต่ปี 2561 และในปีนี้ได้ขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และแนวคิดในการบริหารจัดการขยะ โดยประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของชุมชนผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” โดยมุ่งเน้นการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากตัวเลขปริมาณขยะในจังหวัดระยองกว่า 306,000 ตันในปี 2561 นำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะที่สูงถึง 328 ล้านบาท ทั้งยังมีปริมาณขยะที่รีนำไปไซเคิลได้จริงเพียง 7% เท่านั้น เอสซีจีจึงวางเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นด้วยการให้ความรู้และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมไปถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนผ่านสามพฤติกรรมจำขึ้นใจ #ใช้ให้คุ้ม #แยกให้เป็น #ทิ้งให้ถูก โรงเรียน แหล่งสร้างเยาวชนคุณภาพ เพราะการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก ย่อมทำให้พวกเขาเติบโตมาเป็นกำลังสำคัญของชาติที่มีคุณภาพ นอกจากโรงเรียนจะมุ่งสร้างเด็กเก่งแล้ว ยังต้องการสร้างเด็กดีที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย…
การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นเรื่องที่สามารถเริ่มและปลูกฝังได้ในจิตใจของทุกคน รวมทั้งการนำไปใช้กับการดำเนินธุรกิจทุกประเภท เพียงคุณมีแนวคิดเริ่มต้นที่อยากจะลงมือทำ คุณย่อมพร้อมที่จะออกเดินทางตามหาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ และพร้อมเป็นต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริง All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสเวน รัสมุสเซ่น Chief Innovator แห่ง Starboard แบรนด์ผลิตภัณฑ์กีฬาทางน้ำประเภทเซิร์ฟบอร์ด เขาคือผู้ที่หลงใหลในกีฬาเซิร์ฟบอร์ดตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนได้มีโอกาสเข้าสู่การเป็นนักกีฬาวินด์เซิร์ฟผู้ชนะรางวัลระดับโลกอย่าง Mistral Worlds ในปี 1983 และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Starboard ขึ้นในปี 1994 ความผูกพันกับสายน้ำนี้กลายเป็น passion และส่วนสำคัญในชีวิตของเขา “ไม่ว่าจะเป็นกีฬาชนิดไหนที่เกี่ยวน้ำ อย่างเช่น การเล่นแพดเดิลบอร์ดที่เหมือนกับการยืนอยู่บนผืนน้ำ คุณจะได้เคลื่อนตัวไปตามจังหวะของสายน้ำ ดื่มด่ำบรรยากาศรอบด้าน มันเหมือนการทำสมาธิ ช่วยให้คุณได้เกิดไอเดียอะไรหลาย ๆ อย่าง นั่นเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับผม” จากธุรกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ บวกกับการตระหนักถึงทรัพยากรที่มีแต่จะหมดไปของโลกใบนี้ ทำให้เขาออกตามหานวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน …
SUSTAINABILITY - Jan, 17 2020
ในงาน K 2019 งานแสดงนวัตกรรมพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ประเทศเยอรมนี นอกจากนวัตกรรมของพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงานพลาสติกที่ทันสมัย และนวัตกรรมเพื่อตอบหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ผสานความร่วมมือ และมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างจริงจังแล้ว ภายในงานยังมีการนำเสนออีกแง่มุมของวัสดุผ่านมุมมองของนักออกแบบชื่อดังอย่าง คริส เลฟเทอรี่ (Chris Lefteri) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการออกแบบ เจ้าของสตูดิโอ CLD ณ กรุงลอนดอน และกรุงโซล และเจ้าของผลงานเขียนเกี่ยวกับการออกแบบวัสดุที่ได้รับการตีพิมพ์มากมายหลายเล่ม ก่อนจะเข้าร่วมดีไซน์ทัวร์กับคริส ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษของงาน K 2019 ครั้งนี้ All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคริสอย่างใกล้ชิดที่บูทของเอสซีจี คริสเล่าว่า “เทรนด์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การทำให้วัสดุมีความยั่งยืนมากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่นักออกแบบต่างคำนึงถึงในการออกแบบสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศแถบยุโรป ซึ่งจะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจก็คือ การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจใคร่รู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของสินค้าหรือที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยเรื่องราวเหล่านี้มีส่วนในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค และสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้” เส้นทางดีไซน์ทัวร์ที่คริสพาผู้สนใจ ซึ่งมีทั้งนักออกแบบ นักข่าว…