มอก. 2921-2562 มาตรฐานภาชนะเมลามีน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน
ชีวิตประจำวันของทุกคนย่อมหนีไม่พ้นเรื่องอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารอย่างจาน ชาม หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทำจากเมลามีนก็เป็นหนึ่งในประเภทของภาชนะที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ด้วยจุดเด่นในเรื่องความทนทาน การล้างทำความสะอาดทำได้ง่าย ลวดลายสีสันหลากหลาย และราคาที่จับต้องได้ จานชามเมลามีนจึงถูกเลือกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งกับร้านอาหาร และภายในครัวเรือน เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้ออกข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมใหม่ มอก. 2921 – 2562 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นเฉพาะด้านความปลอดภัยของการใช้งานภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนที่สัมผัสอาหาร ในโอกาสนี้ เราได้รับเกียรติจาก คุณธนะ อัลภาชน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะมาเล่าถึงภาพรวมของมาตรฐานใหม่นี้ และความเปลี่ยนแปลงในวงการภาชนะเมลามีนที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานเพื่อส่งต่อความปลอดภัยไปถึงผู้บริโภค จากมาตรฐานทั่วไป สู่ข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จากการสำรวจภาชนะเมลามีนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดโดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มากกว่า 30% ของภาชนะเมลามีนสำหรับบรรจุอาหารมีสารอันตรายหลุดออกมาปนเปื้อนระหว่างการใช้งาน นั่นทำให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจำเป็นจะต้องกำหนด มอก. ตัวใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานภาชนะเมลามีนโดยเฉพาะ “มาตรฐานเก่า จากเดิม มอก. 524-2539 ซึ่งปัจจุบันปรับมาเป็น มอก. 655 เล่ม 4 -2561 เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเรื่องคุณภาพเครื่องใช้เมลามีนทั้งหมด…
SCG™ LLDPE S15 PU-stick series นวัตกรรมเพื่อลดขั้นตอนในการผลิตถังแช่ จากความร่วมมือระหว่างเอสซีจี และ COMOS
ความท้าทายของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การพัฒนาชิ้นงานให้ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าในท้องตลาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ตอบโจทย์ทั้งต่อผู้ผลิต และต่อโลก เช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กับ COMOS ที่ดำเนินมายาวนานกว่าสิบปี ระหว่างทางคือการแบ่งปันเทคนิค วิธีการทำงาน และความต้องการของลูกค้าผู้บริโภคเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่นเดียวกับ SCG™ LLDPE S15 PU-stick series เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดพิเศษ ที่เพิ่มความแข็งแรงในการยึดติดกับพอลิยูรีเทนมากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป ทำให้นำไปขึ้นรูปเป็นผนังชั้นนอกของถังแช่ที่สามารถยึด ติดกับชั้นโฟมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างทั้งสององค์กร วันนี้ เราจึงชวนคุณมาพูดคุยกับ คุณสุดใจ จิรยาภากร ประธานกรรมการ บริษัท โคมอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตถังแช่ชั้นนำของประเทศ และ คุณเลิศศักดิ์ เหล่าศรีไพบูลย์ Technical Service Engineer ตัวแทนจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงเส้นทางที่มากว่าจะเป็นเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษประสิทธิภาพสูงสำหรับถังแช่ จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ คุณสุดใจเริ่มต้นเข้าสู่วงการถังแช่จากภาวะที่ถังแช่สำหรับเก็บรักษาอาหารสดและอาหารทะเลขาดตลาดในช่วงที่เขาเป็นชาวประมง จึงใช้วิชาความรู้เชิงช่างในการหล่อถังสังกะสีสำหรับใช้งาน แต่ด้วยการประมงต้องอยู่กับน้ำเค็มเสมอ จึงเกิดการกัดกร่อนทำให้อายุการใช้งานสั้น นั่นทำให้เขาเริ่มมองหาวัสดุสำหรับผลิตถังแช่ทดแทนชนิดเดิม จนกลายมาเป็นถังแช่พลาสติกอย่างที่เห็นกันทุกวัน…
เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ช่วยทางธุรกิจคนสำคัญ แม้ในวันที่ต้องรักษาระยะห่าง
ไม่นานหลังการระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั่วโลกอย่างสิ้นเชิง ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำงาน แน่นอนว่าเราเห็นการเปิดรับและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่เช็คอินเข้างานจากที่บ้าน พักเที่ยงกับการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ช่วงบ่ายเข้าประชุมผ่านห้องประชุมออนไลน์ ตกดึกกดสั่งซื้อของทางแอปพลิเคชัน ทุกคนล้วนสนิทชิดเชื้อกับโลกดิจิทัลมากขึ้นในทุกขณะ วิถีการทำงานในองค์กรก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในสภาวการณ์โรคระบาด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไปพร้อมกับการสนองนโยบายทางสังคม ซึ่งนั่นเองเป็นจุดที่ทำให้องค์กรต้องก้าวสู่การทำงานในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว วันนี้เราได้มาร่วมพูดคุยกับ คุณสัญญา จินดาประเสริฐ Digital Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในส่วนสำนักงานและสายการผลิต พร้อมกับช่วยตอบโจทย์ลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสำนักงาน “เคยมีคนถามไว้ว่า อะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Transformation คำตอบที่ทุกคนเลือกคือ COVID-19” คุณสัญญาเริ่มต้นจากการอธิบายให้เห็นภาพรวมของโลกดิจิทัลหลังการมาถึงของ COVID-19 โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงสำคัญในเรื่องการพัฒนาแนวทางการทำงานในแบบดิจิทัล “ในส่วนขององค์กร เราเองใช้งานระบบดิจิทัลกันมาหลายปีแล้วแต่ใช้กับเพียงบางส่วนงานเท่านั้น แต่ตอนนี้กลายมาเป็นการใช้งานระบบดิจิทัลกันทั้งองค์กร เราพยายามทำให้องค์กรเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ทุกคนใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างเต็มที่ แรกสุดเราจึงเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการทำงานหลาย ๆ อย่างจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การประชุมออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติของทุกคน…
Automation อีกขั้นของนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อราว 260 ปีที่แล้ว มนุษย์ก็ไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้กระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราคิดหาหนทางที่จะผลิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง และลดการใช้แรงงานมนุษย์ในส่วนที่มีความเสี่ยงกันมาโดยตลอด ปัจจุบันผู้ผลิตจำนวนมากจึงเลือกใช้นวัตกรรม Automation ซึ่งก็คือระบบที่เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่จะผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันให้พุ่งทะยานขึ้นไปเรื่อย ๆ Unmanned Stacker (ซ้าย) Automatic Barcode Sticking Machine (ขวา) การเข้ามาของ Automation ทำให้แต่ละโรงงานสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีขึ้น ผลิตสินค้าได้คุณภาพสม่ำเสมอ สามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนดเวลา เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มกำลังการผลิต และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานในโรงงานได้อย่างมีนัยสำคัญ Automation จึงตอบรับกับสถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้น จนกลายมาเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมแทบทุกประเภทในปัจจุบัน Automated Guided Vehicle (AGV) นวอินเตอร์เทค เป็นตัวอย่างของบริษัทที่พัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญไปสู่นวัตกรรม Automation จากพื้นฐานทักษะการขึ้นรูป (Machining) ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Injection…
ค้นหาโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคตกับศูนย์ i2P แหล่งรวมไอเดียเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่
ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วกว่าที่เคย ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งสร้างสรรค์ไอเดียให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงเพื่อที่จะอยู่รอด เติบโต และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกเข้ากับสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งรับ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดมาตรฐานการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ก็ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้ผู้ประกอบการธุรกิจยุคใหม่ต้องตื่นตัว เตรียมพร้อมปรับตัว พัฒนาสินค้า หรือบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่เสมอ และต้องทำให้ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย การจะสร้างสรรค์สินค้าให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก ไม่ว่าจะเป็น Health & Well Being, Digitization และเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจกันมากขึ้นอย่าง Sustainbility ให้ได้นั้น ทุกธุรกิจต่างต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด อาทิ เมื่อกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่ธุรกิจในแวดวงพลาสติกให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทุกภาคส่วนตลอดทั้ง Value Chain ก็ต้องเร่งทำความเข้าใจวงจรของสินค้า พัฒนาการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงคุณค่าของทรัพยากร ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเปลี่ยนขยะหลังการใช้งานปลายทางให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อันเป็นวาระสำคัญระดับโลกในขณะนี้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนทั้ง Value Chain ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร่วมสร้างสรรค์คุณค่า มุ่งพัฒนานวัตกรรม …
SCG Floating Solar Solutions โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน
การเลือกใช้พลังงานสะอาด จากนิยามคือ พลังงานที่ไม่สร้างมลพิษในกระบวนการผลิตนั้น นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอีกวิธีในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งในประเทศไทยก็มีการใช้โซลาร์เซลล์ทั้งแบบติดตั้งบนพื้นดิน ติดตั้งบนหลังคา และติดตั้งบนผิวน้ำ ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยติดตั้งที่บ่อเก็บน้ำภายในโรงงานของเอสซีจีในปี 2017 เป็นที่แรก คุณพิสันติ์ เอื้อวิทยา Emerging Businesses Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจรว่า “เอสซีจีเล็งเห็นว่า พลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ส่งผลดีหลายประการ ทั้งเป็นการผลิตพลังงานใช้เอง พร้อมกับช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประกอบกับเห็นโอกาสของพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญทั้งด้าน วัสดุพลาสติก และการออกแบบมาพัฒนาร่วมกับคู่ธุรกิจจนเกิดเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเฉพาะของเอสซีจีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว” คุณสมบัติพิเศษของทุ่นลอยน้ำจากการใช้วัสดุและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ หลักการทำงานของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ คือ การติดตั้งทุ่นพลาสติกบนพื้นที่ผิวน้ำเพื่อเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์ จึงต้องการทุ่นที่มีความคงทนแข็งแรง มีแรงลอยตัวดี และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดสามารถตอบโจทย์ได้ด้วย การใส่ใจลงรายละเอียดการออกแบบดีไซน์ตัวทุ่นลอยน้ำ…
เปิดมุมมองบรรจุภัณฑ์พลาสติก วัสดุที่ตอบโจทย์การใช้งานและสิ่งแวดล้อม
ในโลกยุคปัจจุบันนี้สามารถกล่าวได้ว่า ‘พลาสติก’ คือวัสดุที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคนเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะพลาสติกมีสมบัติสามารถตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น ความใส ขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ดี นอกจากนี้เรื่องของความสะอาดและ ปลอดภัยเมื่อใช้กับอาหารก็เป็นอีกจุดเด่นสำคัญที่ทำให้พลาสติกได้รับความนิยม All Around Plastics ฉบับนี้จึงขอชวนทุกคนมาพบกับบทสัมภาษณ์อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ที่ปรึกษาสถาบันพลาสติก และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่จะมาพูดคุยเจาะลึกถึงพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์และเปิดมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมของพลาสติก ทั้งจากต้นทางการผลิตและปลายทางการใช้งานของผู้บริโภค มองบรรจุภัณฑ์พลาสติกในมุมการใช้งาน พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อ 113 ปีที่แล้วด้วยจุดประสงค์หลักก็เพื่อมาทดแทนการใช้วัสดุธรรมชาติ แก้ว และโลหะ โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้นำไปสู่การพัฒนาชนิดของพลาสติกต่าง ๆ ให้มีสมบัติที่สามารถครอบคลุมกับความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น พลาสติกจึงเป็นวัสดุที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ของใช้ภายในบ้านและสำนักงาน วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการเกษตร โดยกลุ่มสินค้าที่ใช้วัสดุพลาสติกสูงสุดก็คือ บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์อาหารมีการใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบหลักก็เนื่องมาจากประโยชน์ของพลาสติกที่มีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตามสมบัติที่ผู้ผลิตอาหารต้องการ เช่น สามารถสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย…
SC Asset กับความใส่ใจทุกมิติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ทุกคน และมีความสำคัญในทุกมิติของการใช้ชีวิต ตั้งแต่การเป็นพื้นที่ในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุก ๆ วันของการอยู่อาศัย เช่นเดียวกันกับ SC Asset กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่คำนึงถึงคุณภาพของชีวิตและความเป็นอยู่ของลูกบ้านเป็นสำคัญ All Around Plastics ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอนันต์ เจนเลื่อย ผู้จัดการโครงการพัฒนาทรัพย์สินแนวราบ กลุ่ม 3 A บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในบรรยากาศสงบร่มรื่นที่แฝงไปด้วยความหรูหราของโครงการหมู่บ้านบางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ 2 ถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้แก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน การออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยให้ตรงใจผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “SC Asset เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม โดยจุดประสงค์หลักคือต้องการให้ลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือโครงการของ SC Asset สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างครบวงจรภายในพื้นที่อยู่อาศัย” “ยกตัวอย่างโครงการหมู่บ้านบางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ 2 ที่เรานั่งคุยกันอยู่นี้ มีคอนเซ็ปต์แบบนอร์ดิก (Nordic)…
The Mosquito Trap นวัตกรรมกับดักยุงลาย ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเขตร้อนอย่างเอเชียและแอฟริกา รวมถึงประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยปีละ 100,000 คน และเสียชีวิตกว่า 100 คน เนื่องจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและแพร่กระจายโรคได้อย่างกว้างขวาง โจทย์สำคัญในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกจึงอยู่ที่การป้องกันการเกิดโรคด้วยการลดจำนวนการขยายพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง สถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส (Institut Pasteur) สถาบันวิจัยชั้นนำระดับโลกซึ่งศึกษาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมากว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้งโครงการ Defeat Dengue Program ได้ร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์สารเติมแต่งพิเศษ (Functional Material) รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบจนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมกับดักยุงลายขึ้น ทำความรู้จักนวัตกรรมกับดักยุงลาย นวัตกรรมกับดักยุงลายนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนกับดักยุง ที่ทำหน้าที่ดึงดูดยุงลายให้เข้ามาวางไข่ และส่วนของสารพิเศษที่ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายในกับดัก หลักการสำคัญเริ่มแรกในการออกแบบกับดักจึงอยู่ที่การเรียนรู้พฤติกรรมตามธรรมชาติของยุงลาย และศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุง เพื่อนำมาสร้างกับดักที่เหมาะสม ทั้งเรื่องสีของวัสดุพลาสติก ขนาดและรูปแบบช่องว่างที่ให้ยุงบินเข้า ระดับน้ำ พื้นที่ว่างเพื่อการบินและลงมาเกาะวางไข่ภายในกับดัก…
‘คุ้มค่า’ นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการขยะที่ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน
จากในฉบับก่อนหน้าที่เรานำเสนอเรื่องราวของ “ชุมชน LIKE (ไร้)ขยะ” ที่ทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ธนาคารขยะและเทศบาล ครั้งนี้จะขอเจาะลึกเรื่องราวของ แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” ผู้ช่วยสำคัญของธนาคารขยะในการจัดระเบียบข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้นทั้งกับผู้ซื้อและผู้ขาย คุณเฉลิมพล ฮุนพงษ์สิมานนท์ Circular Economy Business Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของแอปพลิเคชัน ‘คุ้มค่า’ ว่าเริ่มต้นจากความต้องการยกระดับจัดการขยะของประเทศไทยให้มีระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำความถนัดทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของเอสซีจีเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง “เรื่องของ Waste Management หรือการจัดการขยะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญมากที่จะทำให้ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะประเทศไทยมีสัดส่วนของขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ปะปนลงไปในหลุมฝังกลบขยะมากกว่า 70% ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีไม่ถึง 20% สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขยะซึ่งก็คือทรัพยากรที่มีคุณค่าถูกปนเปื้อนด้วยขยะอินทรีย์จนไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หากเรามีการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางก็คือ มีความเข้าใจในการแยกขยะที่เหมาะสม ขยะหลายๆ ประเภทก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้” เมื่อได้รับโจทย์ให้พัฒนาเครื่องมือในการส่งเสริมการจัดการขยะ ทีมงานของเอสซีจีจึงเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษากระบวนการทำงานจริงของการซื้อขายขยะ…