ตัวอย่าง ‘เมลามีน’ โฉมใหม่ที่เป็นมิตรในชีวิตประจำวันของทุกคน
เมลามีนคืออะไร? เป็นพลาสติกประเภทใด? เราต่างก็คุ้นเคยกับชื่อของเมลามีน ในฐานะภาชนะสำหรับบรรจุอาหารด้วยคุณสมบัติในเรื่องความทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน มีสีสันลวดลายให้เลือกหลากหลาย และราคาย่อมเยา จานชามเมลามีนจึงมักถูกใช้งานในครัวเรือน รวมไปถึงในศูนย์อาหารที่ต้องมีการเวียนใช้ภาชนะอยู่สม่ำเสมอ และเมื่อผ่านการใช้งานมาจนเสื่อมสภาพแล้วมักถูกกำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ เนื่องจากเมลามีนเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซตติง (Thermosetting) จึงไม่สามารถนำไปหลอมละลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลใหม่เหมือนเม็ดพลาสติกประเภทอื่น ๆ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เมลามีนที่น่าสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น เมลามีนเป็นวัสดุที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้อย่างหลากหลาย และมีการวิจัยพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ไปจนถึงการพัฒนาวิธีการรีไซเคิลให้สามารถนำผลิตภัณฑ์เมลามีนที่เสื่อมสภาพแล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ สร้างคุณค่าให้ตัววัสดุได้อย่างไม่รู้จบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ไปจนถึงการนำขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อทดแทนการใช้วัสดุประเภทอื่น ๆ ‘Melamic’ เมลามีนผสานเซรามิก วัสดุใหม่ที่สวยงามคงทนกว่าที่เคย อีกหนึ่งตัวอย่างพลิกมุมมองความเคยชินของเมลามีนจากภาชนะใส่อาหาร สู่การพัฒนาวัสดุใหม่ นั่นคือ Melamine Ceramics หรือในชื่อของ ‘Melamic’ (เมลามิก) ซึ่งมาพร้อมกับจุดเด่นจากคุณสมบัติของภาชนะที่สวยงามเหมือนกับเซรามิก แต่น้ำหนักเบากว่า ใช้งานสะดวก และทนทานต่อการแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือระหว่างการขนย้าย ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีการใช้งานภาชนะจำนวนมาก และมีรอบการใช้งานค่อนข้างสูง อย่างศูนย์อาหารต่าง ๆ ช่วยลดปริมาณภาชนะที่เสียหายและต้องทิ้งในแต่ละปีได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีการใช้งานภาชนะจากวัสดุเมลามิกจริงแล้ว ภายในโรงอาหารของเอสซีจี ‘Antibacterial…
ESG กุญแจสู่ความยั่งยืน เปิดประตูโลกใบใหม่กับการแก้ไขวิกฤตโลก
แนวคิด ESG ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบริหารองค์กรและดำเนินธุรกิจในยุคที่ความยั่งยืนคือหัวข้อหลัก โดยครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ E – Environmental หรือ สิ่งแวดล้อม S – Social หรือ สังคม และ G – Governance หรือ บรรษัทภิบาล ซึ่งเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้มีการขับเคลื่อน ESG ผ่านการออกนโยบายและการลงมือดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างยั่งยืนได้ จึงเป็นเรื่องของความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน’ ของ SCGC ซึ่งสะท้อนผ่านนวัตกรรมสินค้า บริการ และโซลูชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและอุตสาหกรรม ไปพร้อมกับการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เราได้รับเกียรติจาก คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ มาเล่าให้เราฟังถึงวิสัยทัศน์ มุมมอง และเส้นทางของ SCGC…
นวัตกรรม และเทคโนโลยี แนวทางลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในแบบฉบับของผู้ผลิตเพี่อความยั่งยืน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นที่ประจักษ์ในสายตาและกิจวัตรของทุกคน ชัดเจนตั้งแต่อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น หรือฤดูกาลที่แปรปรวนตลอดทั้งปีทั่วทุกภูมิภาคของโลก นั่นทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และมีการปรับกิจวัตรประจำวันให้ถนอมโลกมากยิ่งขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า การดูแลสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นจิตสำนึกร่วมของผู้คนทั่วทุกมุมโลกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตส่วนตัว ไปจนถึงในระดับองค์กรที่ต่างมองหาโซลูชันที่เป็นมิตรกับโลกไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม ผู้ประกอบการในวงการพลาสติกเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้ขึ้นรูป ไปจนถึงเจ้าของแบรนด์สินค้า ต่างก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยทำให้โลกและชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC จึงได้นำทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ มาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้ประกอบการในวงการได้เลือกสรรวัสดุที่ทั้งคุณภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน วัสดุต้นทาง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อม สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่ต้นทาง ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั่นก็คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดคุณค่าสูงสุด หรือก็คือเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดพลาสติก เพื่อให้สามารถลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกในการขึ้นรูปชิ้นงานลงได้ โดยยังคงความแข็งแรงของชิ้นงานได้เช่นเดิม ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดการใช้ทรัพยากรแล้ว ยังช่วยลดพลังงานในการผลิตและการขนส่งลดได้อีกด้วย เป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศไปในตัว ยกตัวอย่างเช่น เม็ดพลาสติกจาก SMX™ Technology ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นงานได้หลากหลาย ตั้งแต่ถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ (IBC) ฟิล์มเพื่องานอุตสาหกรรม ไปจนถึงฝาขวดน้ำอัดลม หรือ…
ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE-Bone ผู้ช่วยสำคัญในการดูแลความสะอาดของท้องทะเล
สถิติจากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI ในปี 2563 พบว่า ปริมาณขยะทะเลของประเทศไทยมีมากเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งที่มาของขยะทะเลเหล่านี้ก็มาจากการพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนบนบก ซึ่งผลกระทบจากขยะเหล่านี้ส่งผลโดยตรงทั้งกับบรรดาสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ในมหาสมุทร ส่งไม้ต่อเป็นวัฏจักรไปถึงระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลง สู่การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน โดยเฉพาะกับผู้อยู่อาศัยบ้านใกล้เรือนเคียงที่ยังต้องมีความสัมพันธ์กับท้องทะเลอยู่เสมอ ซึ่งก็รวมถึงชุมชนในจังหวัดระยองด้วยเช่นกัน หากแต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้คนในชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นหน้าที่ของหน่วยงานนวัตกรรมที่จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือเพื่อให้อนาคตของโลกขับเคลื่อนไปพร้อมกัน พัฒนาการของทุ่นกักขยะลอยน้ำ : จากความร่วมมือ สู่โมเดลการใช้งานจริง จากการทำงานสร้างสรรค์โครงการเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกันมายาวนานมากกว่า 10 ปี ระหว่างเอสซีจี เคมิคอลส์และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และสังเกตเห็นถึงทุ่นกักขยะเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบเจอว่ามีขยะหลุดออกนอกทุ่นในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จึงได้เกิดความคิดในการพัฒนาทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง จนเกิดเป็น “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” รุ่น 1 (SCG – DMCR Litter Trap: Generation 1) จากการประยุกต์ใช้ท่อจากพลาสติก PE100 ที่แข็งแรงทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาทำงานร่วมกับวัสดุลอยน้ำ (Oil Booms) คล้ายเสื้อชูชีพ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่นแรกในปี 2561 พบว่าตัวทุ่นกักขยะสามารถทำงานได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยพลังงานจากธรรมชาติและกระแสน้ำ…
นวัตกรรมเม็ดพลาสติกตอบเทรนด์อุตสาหกรรมยานยนต์
โจทย์สำคัญที่แวดวงอุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังมุ่งพัฒนาไปพร้อมกัน คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมตั้งแต่การลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ไปจนถึงการพัฒนาชิ้นงาน โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังคงประสิทธิภาพและคุณสมบัติเท่าเดิมหรือดีขึ้นได้ด้วย เช่นเดียวกันกับวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมกันกับการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุสำหรับผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้น โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เป้าหมายหลักสำหรับชิ้นส่วนพลาสติกในรถยนต์ คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีน้ำหนักเบาโดยยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม เพื่อช่วยลดน้ำหนักโดยรวมของรถยนต์ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้พลังงานในการขับเคลื่อนที่ลดลง จึงสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อนได้ โดยยังคงความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารขณะใช้งาน เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงออกแบบและพัฒนาเม็ดพลาสติก SCGTM PP P780J และ SCGTM PP P980J ที่แข็งแรงสูงและไหลตัวดี เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งภายในและภายนอกห้องโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นคอนโซลหน้ารถ กันชน หรือแผงหน้าปัดรถยนต์ คุณสมบัติพิเศษของเม็ดพลาสติก ที่ออกแบบเฉพาะเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ คุณสมบัติของเม็ดพลาสติกทั้งสองมีความแข็งแรงสูง เพื่อลดการใช้สารตัวเติมเสริมความแข็งแรง (Reinforcement Filler) ทำให้น้ำหนักของชิ้นงานลดลง และลดการปลดปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพและอนามัยของผู้โดยสาร โดยในส่วนกระบวนการผลิตชิ้นงาน เม็ดพลาสติกสามารถไหลตัวได้ดี จึงสามารถฉีดขึ้นรูปชิ้นงานที่ซับซ้อนและบางลงได้ ส่งผลให้ชิ้นงานมีน้ำหนักลดลง…
จากความร่วมมือสู่ความสำเร็จของแกลลอนน้ำยาล้างจานซันไลต์ จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR)
ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสนใจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จากที่เราเห็นผู้คนหันมาทำความรู้จักกับพลาสติกประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน เพื่อให้สามารถคัดแยกและส่งต่อพลาสติกใช้แล้วเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ยูนิลีเวอร์ ในฐานะแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และมีความมุ่งมั่นที่จะนำไปสู่การพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน โดยบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในภารกิจคือการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือที่เรียกกันว่า High Quality Post-Consumer Recycled Resin (High Quality PCR) ที่ผลิตมาจากพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วของผู้บริโภค แทนการใช้เม็ดพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาใหม่ ซึ่งความมุ่งมั่นของยูนิลีเวอร์นี้เองที่นำมาสู่ความร่วมมือกับเอสซีจี เคมิคอลส์ ในการพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติก PCR คุณภาพสูง ชนิด HDPE สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าในครัวเรือน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยังคงคุณสมบัติการใช้งานตามความต้องการของลูกค้า All Around Plastics ฉบับนี้ได้รับเกียรติจากคุณวิเวกอนันด์ ซิสท์ลา Regional R&D Director SEAA & Site ยูนิลีเวอร์ และคุณนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ Chief Technology Officer (CTO) – Polyolefins…
ลฤก พวงหรีดเสื่อ ระลึกถึงผู้จากไป พร้อมกับใส่ใจโลกของทุกคน
ในวงจรของเศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้งานทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดคือหัวใจสำคัญที่ช่วยลดปริมาณขยะปลายทางที่นำไปสู่การกำจัด ดังนั้น สิ่งที่ต้องคิดไปพร้อม ๆ กันกับการกำจัดขยะคือการหันกลับมามองว่า พวกเราใช้งานข้าวของแต่ละชิ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง เช่นเดียวกันกับพวงหรีด หนึ่งในของที่มีความจำเป็นทางจิตใจสำหรับระลึกถึงคนที่เรารักแม้ในวันที่จากไป หากแต่ภายหลังการใช้งานหรือหลังจากดอกไม้เหี่ยวเฉาลง พวงหรีดก็แปรสภาพกลายเป็นขยะหลากหลายประเภท ทั้งดอกไม้ ฟาง และโครงไม้ จากจุดนี้เองที่ทำให้ ‘คุณนนทิกานต์ อัศรัสกร’ ทายาทโรงงานผลิตเสื่อพลาสติก เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์จากครอบครัวของเธอสามารถสร้างคุณค่าทั้งในแง่ความสวยงามและการใช้สอย จนเกิดเป็นแบรนด์ ‘ลฤก’ พวงหรีดเสื่อพลาสติกรีไซเคิล 100% เริ่มต้นจากพื้นเพเดิมที่ครอบครัวเป็นโรงงานผลิตเสื่อพลาสติกมากว่า 50 ปี ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมของคุณนนทิกานต์ที่ก่อร่างสร้างความคิดขึ้น พาเธอมาคิดต่อว่า ในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะสามารถช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับสร้างความเข้าใจอันดีในเรื่องการใช้งานพลาสติกอย่างเต็มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง เธอจึงคิดจะเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลในการผลิตเสื่อ แทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่อย่างที่เคยทำมา “เราเห็นว่าผู้คนมองพลาสติกว่าเป็นปัญหา เลยมาคิดต่อว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เลยเริ่มจากลองใช้พลาสติกรีไซเคิลทดแทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ แต่ยังผลิตสินค้าเดิม คุณภาพยังคงเท่าเดิม เราพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลผลิตเป็นเสื่อพลาสติกได้ 100% พอประสบความสำเร็จในเรื่องวัสดุแล้ว ก็มามองต่อว่า เสื่อจะทำเป็นสินค้าอะไรได้บ้าง” โจทย์ถัดไปเรื่องการมองหาสินค้าที่ต่อยอดจากการผลิตเสื่อพลาสติกรีไซเคิล คุณนนทิกานต์จึงโฟกัสไปที่รูปแบบของขยะ…
อนาคตของโลกฝากไว้ในมือทุกคน เพียงเริ่มต้นจากการจัดการขยะ
ในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา การจัดการขยะคือเรื่องที่ประชากรโลกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ จากการที่เราเริ่มเห็นผลกระทบที่ปรากฏเป็นรูปธรรมจากขยะที่ไม่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องตามกระบวนการ ประเด็นที่ถูกพูดถึงนอกจากจะเป็นเรื่องการแยกขยะและจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดการเกิดขยะ และเพิ่มการหมุนเวียนวัสดุให้กลับมาใช้งานอย่างคุ้มค่าสูงสุด ผู้ประกอบการกับการปรับตัว ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ (Circular Economy) คือคีย์เวิร์ดที่ครอบคลุมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เริ่มต้นที่การผลิตอย่างรับผิดชอบ การใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การกำจัดอย่างถูกวิธี และการหมุนเวียนวัสดุนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดการเกิดขยะ ทั้งหมดนี้เป็นพันธกิจสำคัญสำหรับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่จะต้องปรับตัวในการทำธุรกิจที่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดของเสียให้น้อยลง เพิ่มคุณค่าของวัสดุให้มากขึ้น หันกลับมามองทางฝั่งของผู้ประกอบการเอง ในฐานะผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภค ยังต้องเพิ่มอีกข้อสำคัญ คือการปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากส่วนของเจ้าของแบรนด์ ที่ปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์เริ่มมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับคุณภาพของสินค้า ที่ยังคงตอบความต้องการของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น การปรับรูปลักษณ์การใช้งานให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลหลังใช้งานเสร็จ การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นวัสดุทางเลือกในการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการแนะนำการกำจัดอย่างถูกวิธี หรือเปิดช่องทางรับขยะจากการบริโภคให้กลับเข้ามาในระบบรีไซเคิลอีกครั้ง ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนผู้ผลิต นวัตกรรมเป็นคำตอบที่ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวัสดุและกระบวนการผลิตที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตั้งแต่การผลิตสินค้าที่ทนทาน อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ยืดวงรอบการใช้งานวัสดุอย่างคุ้มค่า…
ถอดรหัส ESG – แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ในแวดวงธุรกิจ ESG หรือ “แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” เป็นหนึ่งในหัวเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก นั่นก็เพราะวิสัยทัศน์และความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อมูลทางการเงินเลย คอลัมน์ Sustainability ครั้งนี้ เราจึงขอชวนคุณไปทำความรู้จักกับ ESG ไปด้วยกัน พร้อมกับถอดรหัสวิธีการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยการนำ ESG เข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก ความหมายของ ESG ESG ประกอบด้วย 3 คำสำคัญที่จำเป็นต้องจัดการเพื่อสร้างการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ได้แก่ E-Environmental สิ่งแวดล้อม, S-Social สังคม และ G-Governance ธรรมาภิบาล ซึ่งทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยสะท้อนบทบาทของธุรกิจในฐานะผู้มีความรับผิดชอบครอบคลุมต่อทุกภาคส่วนในการดำเนินงาน เริ่มจากประเด็น ‘E – สิ่งแวดล้อม’ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการทุกส่วนตั้งแต่ต้นทางในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ไปสู่ปลายทางที่การปลดปล่อยของเสีย ขยะ มลพิษ และก๊าซเรือนกระจก องค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบเพื่อสร้างสรรค์กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ถัดมาในประเด็น ‘S– สังคม’ สามารถมองภาพรวมได้ทั้งภายในองค์กรเอง…
ถุงขยะรักษ์โลกจากแนวคิด Closed-Loop (Closed-Loop Trash Bag) โมเดลต้นแบบจากความร่วมมือสู่สิ่งที่จับต้องได้จริง
Closed-Loop คืออะไร ? หากแปลตรงตัว ก็แปลว่าวงจรแบบปิด ซึ่งหากเทียบให้เห็นภาพก็น่าจะคล้ายคลึงกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างที่คุ้นเคยกัน เริ่มต้นที่วัสดุพลาสติกที่ใช้แล้ว หมุนเวียนกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล กลับมาเป็นวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ความพิเศษอยู่ที่ ไม่มีสิ่งใดหลุดรอดออกไปยังสิ่งแวดล้อมเลย วัสดุทุกชิ้นกลับสู่กระบวนการอย่างสมบูรณ์ นี่จึงเป็นความท้าทายของผู้พัฒนานวัตกรรมที่จะต้องทำให้กระบวนการผลิตและจัดการขยะสมบูรณ์แบบมากที่สุด นั่นจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างสององค์กร โดยมีผลประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายเดียวกันที่จะต้องไปให้ถึง ด้วยเป้าหมายของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่ต้องการผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กร จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างสององค์กรที่ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้อย่างจริงจัง อย่างเอสซีจี ซึ่งมี KoomKah เว็บแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการธนาคารขยะ รวมถึงส่งเสริมการนำขยะไปรีไซเคิลให้กลายเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์อีกครั้ง และบริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) (TPBI) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการวน (WON Project) ซึ่งเป็นโครงการที่รวบรวมพลาสติกประเภทที่ยืดได้ไปรีไซเคิลต่อ ทั้งสององค์กรต่างมองหาความเป็นไปได้ใหม่จากสิ่งรอบตัว จนสังเกตเห็นถึงพลาสติกยืดได้ที่ใช้แล้วในโรงงานและเกิดความคิดที่จะนำพลาสติกเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาใช้งานในโรงงานได้อีกครั้ง จึงเป็นที่มาของ Closed-Loop Trash Bag หรือถุงขยะรักษ์โลก ซึ่งนับว่าเป็นโมเดลต้นแบบในเรื่องนี้ได้อย่างดี ที่มาความร่วมมือ กว่าจะเป็นถุงขยะ Closed–Loop …