emisspro® x Bangchak เป้าหมายร่วมกันที่นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
Climate Emergency หรือภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ ถูกประกาศอย่างเป็นสากลสำหรับประชากรโลกเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนเห็นปัญหา และต้องรีบลงมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด ในบทบาทผู้ผลิตต้นน้ำ SCGC และบริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่างเล็งเห็นถึงประเด็นปัญหานี้เป็นอย่างมาก และดำเนินการเร่งมือแก้ปัญหาผ่านการวางวิสัยทัศน์ที่การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เช่นเดียวกัน นำไปสู่การลงมือในภาคปฏิบัติด้วยการนำ ‘นวัตกรรมสีเขียว’ อย่าง emisspro® ที่ช่วยตอบโจทย์ ถนอมรักษาโลกให้อยู่กับเราอย่างยาวนานที่สุด emisspro® นวัตกรรมการลดพลังงานในเตาเผา โดยทั่วไปแล้ว เตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรมจัดเป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้พลังงานสูงที่สุด ในขณะเดียวกันก็สูญเสียความร้อนมากเช่นกัน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสีเขียวสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจึงถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานไปพร้อมกับลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก จนออกมาเป็น emisspro® (อิมิสโปร) หรือสารเคลือบสำหรับเตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรม ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองผู้จัดการใหญ่ New Business, SCGC เล่าถึงที่มาของนวัตกรรมสีเขียวนี้ไว้ว่า “SCGC ให้ความสำคัญกับ Climate Emergency เป็นอย่างมากมาหลายปี และช่วงปีที่ผ่านมาก็ได้มีการประกาศเป้าหมายเรื่องการเป็นผู้นำในการลดคาร์บอน emisspro® ก็เป็นหนึ่งในวิธีในการลดการใช้พลังงานในเตาเผา ซึ่งเราเริ่มต้นใช้งานในอุตสาหกรรมโอเลฟินส์ของ…
‘โลก’ บ้านหลังใหญ่ของทุกคน กับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
เราทุกคนอยู่ร่วมกันในบ้านหลังใหญ่หลังนี้ที่เรียกว่า ‘โลก’ หน้าที่ของพวกเราจึงเป็นการช่วยถนอมรักษาสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในปัจจุบัน และยั่งยืนยาวนานไปจนถึงอนาคต การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ลองเริ่มต้นจากสิ่งรอบตัว เราชวนคุณสำรวจเรื่องราวเริ่มจากพื้นที่ใกล้ตัว ออกไปจนถึงภาพใหญ่ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่พลังความสามัคคีจะช่วยสานต่อโลกอันสวยงามนี้กลับมาส่งผลดีกลับคืนต่อตัวเรา พื้นที่รอบบ้าน ชวนเริ่มกับสิ่งใกล้ตัวอย่างพื้นที่รอบบ้าน ง่ายที่สุดคือการจัดการพื้นที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะกับการใช้งานข้าวของทุกชิ้นภายในบ้านอย่างคุ้มค่า และคัดแยกประเภทของขยะก่อนส่งต่อสู่การกำจัดต่อไป การจัดการอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ข้าวของแต่ละชิ้นใช้งานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในวงรอบชีวิตหนึ่ง ยกตัวอย่างในการดูแลที่เป็นพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งชุมชน เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น โครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ซึ่งมีการสร้างและขับเคลื่อนโมเดลการจัดการขยะที่เหมาะกับชุมชน โดยนำแนวทาง “บวร” ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน เข้าเชื่อมโยงกับ “ธนาคารขยะ” ภายในชุมชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการแบบครบทั้งระบบ นับเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้และเข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยลดการสร้างขยะ เพิ่มการรีไซเคิล และทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกประเภท ซึ่งตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ถึงตุลาคม 2565 สามารถนำขยะเข้าสู่ระบบแล้วกว่า 240 ตัน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 483,375 kgCO2eq …
K 2022 เปิดประตูแห่งนวัตกรรมสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับโลก
หนึ่งในงานประจำทุก 3 ปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของนวัตกรรมสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง นั่นก็คืองาน K Fair ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี และในปีที่ผ่านมากับ K 2022 นับเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและองค์กรระดับโลกกว่า 3,300 รายมาร่วมจัดแสดงงาน นับเป็นการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมไปพร้อมกับการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมพลาสติกและยางของโลก สำหรับประเด็นสำคัญของ K 2022 รอบนี้โฟกัสไปที่สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับนวัตกรรม โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อที่นับเป็นทิศทางที่สำคัญของวงการพลาสติก ที่ทุกองค์กรต่างสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจหมุนเวียน กับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวัสดุใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต (2) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นร่วมกันของคนทั้งโลก และ (3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งนับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมในทุกมิติ SCGC ‘INNOVATION THAT’S REAL’ K 2022 เป็นอีกหนึ่งเวทีระดับโลกที่ SCGC ได้เข้าร่วมจัดแสดงนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘Innovation That’s Real’ นำเสนอการขับเคลื่อนโลกด้วยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation) ควบคู่ไปกับสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง…
Green Certificate การรับรองมาตรฐานสำหรับคนหัวใจสีเขียว
เพราะความรักโลกไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นสิ่งที่เข้ามาอยู่ในหัวใจของทุกคนโดยอัตโนมัติไปแล้ว จากพฤติกรรมที่ใส่ใจต่อสินค้าและบริการของผู้บริโภคมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักข้าวของที่ตัวเองใช้เพื่อให้ทิ้งได้อย่างถูกต้อง ไปจนถึงการค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เป็นตัวจุดประกายให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องคิดค้นและเดินทางค้นหาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์รักโลกของผู้ใช้งาน พร้อมกันกับเป็นตัวเร่งให้สังคมตระหนักถึงผลิตภัณฑ์สีเขียวมากยิ่งขึ้น ฉลากมาตรฐานและการรับรองจึงเป็นเหมือนสื่อกลางที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฝั่งของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มาพบกัน แม้จะเป็นการรับรองที่วัสดุ อันเป็นต้นทางของการผลิตสินค้าต่าง ๆ ก็ตาม และกระตุ้นทั้งห่วงโซ่อุปทานให้ออกเดินบนเส้นทางสีเขียวไปพร้อมกัน เราจึงชวนคุณมาทำความรู้จักการรับรองสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับผลิตภัณฑ์น่าสนใจจาก SCGC ที่ได้รับการรับรองเรียบร้อยแล้วไปด้วยกัน 01 ฉลาก Circular Mark โดย คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับกลุ่ม PPP Plastics สัญลักษณ์ที่แสดงถึงการหมุนเวียนผลิตภัณฑ์เป็นการรับรองและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพสินค้า และเป็นการรับประกันการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่สร้างวงรอบการหมุนเวียนวัสดุ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก SCGC : เม็ดพลาสติก HDPE จากเทคโนโลยี SMX™ เกรด SMX551BU ผลิตถังบรรจุสารเคมีที่ทนทาน, เกรด SX002J และ SX002JA ผลิตฝาขวดน้ำอัดลมที่เบาและบางลงได้, เกรด…
Recyclable Packaging Solution โซลูชันครบวงจรที่คิดมาเพื่อบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่รีไซเคิลได้จริง
บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging) เป็นหนึ่งในสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวในชีวิตประจำวันของเราแทบทุกคนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นซองขนม ซองใส่อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง และซองบรรจุภัณฑ์ชนิดเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและน้ำยาทำความสะอาด ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย และความสะดวกในการใช้งาน แต่หากเป็นบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่เกิดจากการประกอบกันของวัสดุหลายชนิด ก็อาจแปรเปลี่ยนกลายเป็นขยะที่นำไปรีไซเคิลต่อได้ยาก หรือต้องกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง SCGC ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากจุดเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของ Recyclable Packaging Solution ซึ่งได้มีการคิดค้นและพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกพอลิโอเลฟินส์เป็นองค์ประกอบหลักและเป็นหนึ่งในโซลูชันภายใต้ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งมีโจทย์สำคัญในการทำให้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวสามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราชวน คุณรุ่งทิพย์ จงสืบโชค Food and Beverage Business Director, SCGC พูดคุยถึงเป้าหมายของ SCGC ในการพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ และการมี Recyclable Packaging Solution ที่ตอบความต้องการของทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ “SCGC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่รีไซเคิลได้ แต่ต้องตอบโจทย์ทั้งการใช้งานได้จริงและมีราคาที่เหมาะสม…
LION กับ SCGC GREEN POLYMER™ จับมือเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน และเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ยังคงจำเป็นเสมอมา ซึ่งผู้ผลิตนวัตกรรมพลาสติกอย่าง SCGC ก็ได้มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน โดยมีผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคของเมืองไทยอย่าง LION เป็นผู้รับไม้ต่อ เพื่อให้เกิดการส่งต่อถึงมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง ในครั้งนี้ LION และ SCGC จับมือกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยโซลูชันภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคยกันดี และยังสอดคล้องไปกับทิศทางในการบริหารธุรกิจ ‘เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพในทุกภารกิจ’ ของ LION ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมโดยคำนึงถึงการมีสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค พนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญไปพร้อมกัน ผลิตภัณฑ์ของ LION กับความมุ่งมั่นสู่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสมศักดิ์ ศรีสอาดรักษ์ ผู้จัดการบริหารธุรกิจสหพัฒน์ ฝ่ายการตลาด บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ถึงวิสัยทัศน์ของ LION ผ่านบรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อแนวคิดรักษ์โลกถึงมือผู้บริโภคโดยตรง “ตลอดระยะเวลา 53…
COP26 การประชุมจากความร่วมมือของทุกชาติเพื่อโลกที่ยั่งยืน
เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา คำว่า COP26 กลายมาเป็นหัวเรื่องสำคัญที่ผู้คนพูดถึงกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแวดวงระดับภาครัฐ องค์กรเอกชน หรือแม้กระทั่งผู้คนในสังคมเองก็ตาม COP26 หรือ The 26th Session of the Conference of the Parties คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในระดับโลก โดยจะจัดขึ้นทุกปี แต่ถูกหยุดพักไปในปี 2020 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ก่อนจะกลับมาจัดงานขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปี 2021 ที่ผ่านมา ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ โดยมีผู้นำประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ หนึ่งในหัวเรื่องสำคัญของการประชุมครั้งที่ 26 นี้ คือ เรื่องการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายใน ‘ข้อตกลงปารีส’ หรือ…
พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 นับเป็นวาระสำคัญและพันธกิจร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในทศวรรษใหม่นี้ ความร่วมมือร่วมใจจากนานาประเทศผ่านการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นความตื่นตัวอย่างสูงของสังคมโลกที่มีต่อวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบันที่ใกล้ชิดผู้คนเข้ามาเป็นลำดับ กับประเทศไทยเองก็เช่นกัน หัวเรื่องที่เราให้ความสำคัญครอบคลุมสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยเฉพาะการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน ก๊าซเรือนกระจกในเมืองไทย : แผนปฏิบัติการเพื่อลดปริมาณลง ประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยที่มาของก๊าซเรือนกระจกอันดับแรกคือ ภาคพลังงาน อยู่ที่ราว 253 ล้านตันคาร์บอนฯ ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย และนับเป็นอันดับ 20 ของประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 0.8% ของทั้งโลก จากการจัดลำดับโดยองค์กร Climate Watch ในปี 2561 ในส่วนของภาคพลังงานเอง จึงเกิดเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 เฉพาะในด้านพลังงานและขนส่ง ตั้งเป้าหมายผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน อาคาร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง และที่สำคัญคือ การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเข้ามาร่วมในการใช้งานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด…
SCGC™ PP P945J พลาสติกพอลิโพรพิลีนไหลตัวสูง ลดของเสียจากกระบวนการผลิต เพื่อโลกที่ยั่งยืน
พลาสติกล้วนเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในฐานะวัสดุสำหรับผลิตอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกรอบด้าน ประโยชน์สำคัญที่ได้จากการใช้งานผลิตภัณฑ์จากพลาสติกจึงเป็นเรื่องความทนทาน และการใช้งานทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าจนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน นอกจากความคุ้มค่าในมุมของผู้บริโภคแล้ว ในมุมของผู้ผลิตเองก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการลดปริมาณการผลิตชิ้นงานที่ไม่ผ่านมาตรฐานให้เหลือน้อยที่สุด หรือแม้แต่ในกระบวนการจัดเก็บและขนส่งสินค้า ซึ่งต้องมีการจัดเก็บที่ดีเพื่อเลี่ยงไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายจนต้องทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะกับชิ้นงานพลาสติกขนาดใหญ่ อย่างถังน้ำขนาด 200 ลิตร กล่องเก็บของขนาดใหญ่ หรือแม้แต่เก้าอี้พลาสติก ซึ่งวิธีการจัดเก็บและขนส่งจำเป็นจะต้องวางซ้อนทับขึ้นไปเป็นชั้นในโกดังเพื่อประหยัดพื้นที่ แต่นั้นก็อาจทำให้พบปัญหารอยขาว (Stress Whitening Mark) ซึ่งเกิดจากน้ำหนักจากการกดทับที่มากจนเกินไป เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้สังเกตถึงปัญหาจากสภาพการจัดเก็บพร้อมกับขนส่งที่เกิดขึ้นนี้ และได้พูดคุย รวมถึงทำงานร่วมกันกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด จึงได้เริ่มต้นพัฒนาเม็ดพลาสติกเกรดใหม่ที่จะตอบโจทย์ผู้ขึ้นรูปพลาสติกในด้านนี้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับเรื่องรอยขาวของความเสียหายจากการวางซ้อนทับในขั้นตอนการจัดเก็บสินค้า เม็ดพลาสติกที่ให้คุณสมบัติทั้งด้านความแข็งแรงสูงและยังคงความเหนียว SCGC™ PP P945J เป็นเม็ดพลาสติกประเภท Polypropylene Block Copolymer ที่เหมาะกับการผลิตสินค้าประเภทกล่องเก็บของขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีด (Injection Molding) ด้วยคุณสมบัติที่ไหลตัวดี มีดัชนีการไหล (Melt Flow Rate: MFR) อยู่ที่…
5 วิสาหกิจชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรม
ชุมชน คือหน่วยเล็ก ๆ ของสังคม แต่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะชุมชนคือกำลังสำคัญที่ช่วยพัฒนาสังคม ทั้งการเสริมสร้างสมาชิกในสังคม รวมทั้งแขกผู้มาเยือน ทั้งองค์กรที่อยู่รายรอบชุมชนและนักท่องเที่ยว ให้เติบโตไปพร้อมกันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เช่นเดียวกันกับเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC และวิสาหกิจชุมชน 5 แห่งที่ร่วมแรง ร่วมมือ และร่วมใจกันยกระดับผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ SCGC ดำเนินการมาโดยตลอด ผนวกรวมเข้ากับอัตลักษณ์ท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านผลิตภัณฑ์จากผู้คนในชุมชน ผลิดอกออกผลเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ยกระดับรายได้ชุมชน เพื่อเป็นฟันเฟืองสำหรับเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนส่วนรวมได้ผ่านกำไรและรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากความร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน และ SCGC แล้ว การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมสร้างธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ขยายต่อสู่การพัฒนาและนวัตกรรมในระดับชาติต่อไป นวัตกรรมวิสาหกิจชุมชนงานผ้า : สร้างเครือข่าย ทอ ย้อม เย็บ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน 01 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อ.ปลวกแดง…