มูลนิธิเอสซีจีส่งมอบ 2 นวัตกรรมกลุ่ม Mobile Isolation Unit เพื่อช่วยปกป้องแพทย์และพยาบาล ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19
มูลนิธิเอสซีจีส่งมอบ 2 นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ด้วยระบบควบคุมความดันอากาศ ช่วยปกป้องบุคลากรการแพทย์จากความเสี่ยงในการติดเชื้อ ประกอบด้วย นวัตกรรมห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะสำหรับการใช้ในห้องฉุกเฉิน (ห้องไอซียูโควิด หรือ Ward PUI) และนวัตกรรมห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ สำหรับการตรวจเชื้อที่ปลอดภัยสำหรับทีมแพทย์และผู้ป่วย โดยมีจุดเด่นที่สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้ใกล้เคียงกับโครงสร้างถาวร พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยระบบกรองเชื้อโรคที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มใช้แล้วแห่งแรกที่โรงพยาบาลราชวิถี ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานนวัตกรรม และเทคโนโลยี ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีได้พัฒนานวัตกรรมกลุ่ม Mobile Isolation Unit หรืออุปกรณ์ป้องกันเชื้อแบบเคลื่อนที่ ร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาล 3 แห่ง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานจริงของแพทย์มากที่สุด โดยเชื่อมั่นว่านวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยง และเสริมความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้ทีมแพทย์รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ การทำงานด้วยระบบควบคุมความดันอากาศ จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอากาศที่ไหลเข้าหรือออกจะถูกดูดหรือเป่าผ่านเครื่องปรับความดันเเละระบบกรองอากาศระดับ HEPA จึงมั่นใจได้ว่าอากาศที่กรองมีความสะอาด ปลอดภัยทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ ยังออกแบบโครงสร้างทุกชิ้นให้แข็งแรง มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบหลักเนื่องจากมีน้ำหนักเบาแต่คงความแข็งแรงทนทาน ติดตั้งรื้อถอนได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก ถือเป็นนวัตกรรมทางเลือกสำหรับโรงพยาบาล เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อปกป้องพวกเรา โดยวันนี้มูลนิธิเอสซีจี และเอสซีจี ได้นำมามอบให้กับโรงพยาบาลราชวิถีเป็นแห่งแรก” สำหรับนวัตกรรมกลุ่ม…
เอสซีจี ร่วมเปิดตัวโครงการ 7 Go Green Recycled Plastic Road
ซีพี ออลล์ ร่วมกับ เอสซีจี และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ต่อยอดแคมเปญลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดตัวโครงการ 7 Go Green Recycled Plastic Road เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นถนน นำร่องพัฒนาพื้นที่ลานจอดรถหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาสายไหม เป็นต้นแบบแห่งแรก หวังเป็นอีกแนวทางในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า “ โครงการ 7 Go Green Recycled Plastic Road เป็นโครงการที่จะช่วยจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม โดยร่วมกับ เอสซีจี และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในการวางแผนและดำเนินโครงการฯ …
เอสซีจี ผนึกกำลัง ดาว มุ่งแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน พัฒนาโซลูชั่นรีไซเคิลพลาสติกสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
บริษัท เอสซีจี ร่วมกับ ดาว ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ ในการรีไซเคิลพลาสติกอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก และป้องกันการหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม นำสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สำหรับพลาสติกในประเทศไทย มร.จิม ฟิทเทอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดาว กล่าวว่า “ภาคอุตสาหกรรมและทุกคนในสังคมจำเป็นต้องดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติก และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ โดยต้องจัดสรรงบประมาณให้กับเทคโนโลยีในการจัดเก็บ การบริหารจัดการขยะ การรีไซเคิล ตลอดจนการรุกตลาดใหม่ ๆ ปัจจุบัน ดาว ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกในการนำขยะพลาสติกมาใช้ประโยชน์และรีไซเคิลใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อทุ่มเททำงานอย่างจริงจังร่วมกันอย่างเช่นความร่วมมือกับเอสซีจีในครั้งนี้ เราจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกที่ยั่งยืนของเรา” ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง เอสซีจี และ ดาว ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากทั้ง 2 องค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร เพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการด้านการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) การรีไซเคิลพลาสติกกลับเป็นวัตถุดิบ (Feedstock…
เอสซีจี ร่วมกับ ทช. เดินหน้าแก้ปัญหาขยะในทะเล ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำ และเปิดตัวต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0”
เอสซีจี ร่วมกับ ทช. เดินหน้าแก้ปัญหาขยะในทะเล ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำ 20 ชุดให้ ทช. พร้อมนำร่อง 13 จังหวัด ล่าสุด เปิดตัวต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ 22 สิงหาคม 2562 – กรุงเทพฯ – ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี โดยนายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำจำนวน 20 ชุด ให้กับนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำไปขยายผลติดตั้งร่วมกับทุ่นของ ทช. ณ บริเวณปากแม่น้ำและลำคลองสาขา พร้อมนำร่องในพื้นที่ 13 จังหวัด เพื่อลดปริมาณขยะไหลลงสู่ทะเล คาดว่าจะช่วยกักขยะได้ 30 ตัน ภายใน 6 เดือน ล่าสุด เอสซีจีเปิดตัวต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0”…
คลังสำรองข้อมูลแห่งนอร์เวย์ ปกป้องข้อมูลสำคัญให้คงอยู่ตลอดไป
เป็นเวลากว่า 10,000 ปีมาที่แล้วมนุษย์เริ่มรู้จักเพาะปลูกพืชเพื่อให้เข้าถึงแหล่งอาหารได้มากขึ้นแทนการพึ่งพาธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้การเพาะปลูกเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างมาก ในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่มีปริมาณสูงขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นผลจากระบบเกษตรกรรรมพืชเดี่ยวกลับมีแนวโน้มสวนทางกัน พันธุ์พืชที่ค่อย ๆ สูญหายไปก็ไม่ต่างอะไรกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ที่ไม่อาจย้อนเวลากลับคืนมาได้ การก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลกเกษตรกรรมทำให้มนุษยชาติต้องเผชิญกับความท้าทายและร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รัฐบาลนอร์เวย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้จึงได้ก่อตั้งศูนย์กลางสำหรับเก็บรักษาพันธุ์พืชด้วยการสำรองเมล็ดของพืชนานาพรรณจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ 1,750 แห่งทั่วโลกและนำมาเก็บรวบรวมไว้ในดินแดนอันโดดเดี่ยวใกล้กับขั้วโลกเหนือ ภารกิจของโครงการนี้คือการปกป้องความหลายหลายของพันธุ์พืชที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ ตลอดจนอันตรายต่าง ๆ จากน้ำมือของมนุษย์ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นสถานที่คุ้มครองความหลากหลายของพันธุ์พืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2551 บนหมู่เกาะสวาลบาร์ดของประเทศนอร์เวย์ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก สถานที่จัดเก็บเมล็ดพืชอันหนาวเย็นนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Svalbard Global Seed Vault หรือ คลังเมล็ดพันธุ์พืชโลกสวาลบาร์ด สวาลบาร์ดเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยเหตุผลหลายประการ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิโลกจะปรับตัวสูงขึ้นแต่บริเวณขั้วโลกซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งตลอดทั้งปีอย่างสวาลบาร์ดจะช่วยคงความหนาวเย็นเอาไว้ได้ดีกว่าพื้นที่อื่น ๆ บนโลก พื้นที่แห่งนี้มีสภาพภูมิประเทศที่มั่นคงและแทบไม่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นสถานที่ใกล้ขั้วโลกเหนือเพียงแห่งเดียวที่มีสนามบินให้เที่ยวบินประจำได้ลงจอดด้วย คลังเมล็ดพันธุ์พืชโลกสวาลบาร์ดตั้งอยู่ลึกเข้าไป 120 เมตรในภูเขาหินทรายซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความร้อนและแช่แข็งคลังเมล็ดพันธุ์เอาไว้ หากระบบทำความเย็นเกิดขัดข้อง ห้องเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ทั้งสามห้องถูกสร้างขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 130 เมตร และติดตั้งสถานีสูบน้ำฉุกเฉินไว้สองแห่งเพื่อจัดการกับน้ำที่ซึมเข้ามา และป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เมล็ดพันธุ์พืชจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศซึ่งทำขึ้นจากแผ่นฟอยล์หนาสามชั้นและบรรจุลงในกล่องพลาสติก…
ภาชนะเมลามีน เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
Technical FAQ: ภาชนะจานเมลามีน เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย จานชามเมลามีน ทำมาจากอะไร? ภาชนะจานชามเมลามีนทำมาจาก เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) ในกลุ่มเทอร์มอเซต (Thermoset Plastic) ถูกนำมาผลิตเป็นจาน ชาม หรือภาชนะใส่อาหารที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะนอกจากความสวยงามของลวดลายที่หลากหลายแล้ว ความคงทนก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ร้านค้า ครัวเรือน ต่างเลือกใช้ภาชนะเมลามีนกันอย่างแพร่หลาย จากความนิยมใช้ภาชนะเมลามีนนี้เอง ทำให้มีภาชนะเลียนแบบที่ผลิตจากวัสดุที่มีลักษณะคล้ายเมลามีนวางจำหน่ายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมต่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร โดยเมื่อนำไปใช้งานแล้วสารเคมีจากภาชนะจะมีโอกาสปนเปื้อนลงสู่อาหารจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อสังเกตในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เมลามีนที่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมจึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว คุณสมบัติของเมลามีนและมาตรฐานความปลอดภัย คุณอุมา บริบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวัสดุสัมผัสอาหาร รองผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “ในปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการสำรวจภาชนะที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด แล้วนำมาตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FT-IR) พบว่ามีทั้งผลิตภัณฑ์เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) หรือเรียกว่าเมลามีน 100%…
Butter Cup อิ่มอร่อยในบรรยากาศแสนอบอุ่น
ในวันที่การจราจรหนาแน่น และแสงแดดก็แผดผิวจนแทบหลอมละลายเป็นช็อกโกแลตลาวา ก็นึกขึ้นได้ว่า ร้านบัตเตอร์คัพนี่แหละ ที่จะสามารถเยียวยาร่างกายและจิตใจของเราได้ บัตเตอร์คัพ คาเฟ่สไตล์ European Country แสนอบอุ่น ภายในใช้สีเหลือง เอิร์ธโทน ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ใส่ใจรายละเอียดด้วยการเลือกข้าวของตกแต่งที่น่ารัก อบอุ่น ให้ความรู้สึกเหมือนว่ากำลังนั่งเล่นอยู่ในบ้านของตัวเอง เมื่อมองออกไปด้านนอกก็มีสนามหญ้าสีเขียว พร้อมเก้าอี้นั่งใต้เงาแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านหลังคาอะคริลิกชินโคไลท์ (Shinkolite) ที่ให้ความรู้สึกโปร่ง สบายตา และผ่อนคลายไปกับบรรยากาศโซน outdoor ได้เป็นอย่างดี Do This : หากมาคนเดียวให้พกหนังสือเล่มโปรดมาสักเล่ม แล้วใช้เวลาไปกับตัวอักษรเหล่านั้นอย่างละเมียด ซึมซับบรรยากาศสบาย ๆ ไปพร้อมกับสั่งเครื่องดื่มสักแก้ว เค้กสักชิ้น แค่นี้ก็ชาร์จพลังได้เป็นอย่างดี หรือถ้ามากันแบบครอบครัวก็สามารถหามุมถ่ายรูป สมมติว่าที่นี่คือบ้านของเราก็ได้ Feel This : ก่อนที่จะเปิดประตูเข้ามาในร้าน อาจจะผ่านความวุ่นวายมาหลายอย่าง แต่เมื่อก้าวผ่านเข้ามาแล้ว เสียงรบกวนทั้งจากภายนอกและภายในจิตใจจะค่อย ๆ เบาลงอย่างน่าประหลาด หลังจากใช้เวลาที่นี่ไปพร้อมกับเมนูดี ๆ สักอย่างสองอย่าง…
เอสซีจี ร่วมกับ กปภ. นำร่องยกระดับมาตรฐานท่อประปาขนาดใหญ่ ด้วยนวัตกรรมพลาสติก PE112
เอสซีจี ร่วมกับ กปภ. นำร่องยกระดับมาตรฐานท่อประปาขนาดใหญ่ ด้วยนวัตกรรมพลาสติก PE112 จากเอสซีจี รายแรกของโลก โดยส่งน้ำลอดใต้ทะเลสู่เกาะสมุยเป็นครั้งแรกในไทย ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ยกระดับมาตรฐานการส่งน้ำประปาผ่านท่อขนาดใหญ่ลอดใต้ทะเลจาก อ. ขนอม จ. นครศรีธรรมราชไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร โดยได้นำ นวัตกรรมเม็ดพลาสติก PE112 จากเอสซีจี รายแรกของโลกมาใช้ในการผลิตท่อส่งน้ำลอดใต้ทะเล ซึ่งให้คุณสมบัติพิเศษ คือ ทนแรงดันสูงขึ้นร้อยละ 10 เทียบกับเม็ดพลาสติก PE100 ที่ใช้ทั่วไปในตลาด จึงมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัย สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ โครงการ “ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำประปาลอดใต้ทะเลไปยังเกาะสมุย” จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภคของชาวสมุย รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยว่า…
การแก้ไขปัญหาขุยปาก Die สำหรับลูกค้ากลุ่มสายไฟ
ในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟ ตำหนิเพียงเล็กน้อยอย่าง ขุยบนเปลือกหุ้มสายไฟ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหุ้มเปลือกสายไฟ หากไม่ทำการปรับปรุงจะมีโอกาสสะสมพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังทั้งในแง่กระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุทั้งเรื่องต้นทุนและการทำงานหากไม่รีบทำการแก้ไข เพราะเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาที่ดีต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุดเสียก่อน ทางธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในฐานะของผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจึงริเริ่มให้ความช่วยเหลือกับผู้ผลิตในแบบรายต่อราย โดยร่วมวิเคราะห์และนำเสนอทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า Q: ขุยบนผิวสายไฟคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้กับตัวสายไฟและผู้ผลิต A: ขุยบนผิวสายไฟ คือเศษวัตถุดิบในเม็ดพลาสติกที่หลอมละลายได้ยากเกาะตัวกันเป็นก้อนบนผิวสายไฟ ซึ่งขุยเหล่านี้มักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณทางออกของเครื่อง Extruder สำหรับหุ้มเปลือกสายไฟ หากเป็นขุยเล็กๆ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ และสามารถแก้ไขปัญหาระหว่างผลิตได้ด้วยการขัดแต่งผิว แต่ก็จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงานหลังการผลิตอีกขั้น ซึ่งเสียทั้งเวลาและแรงงานโดยใช่เหตุ แต่หากเครื่องจักรเดินเครื่องต่อเนื่องยาวนาน ตัวขุยก็จะสะสมเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เครื่องจักรทำงาน หลุดติดไปกับผิวสายไฟซึ่งยากแก่การขัดแต่งผิว ทำให้สินค้าทั้งล็อตนั้นจะนับเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ชิ้นส่วนของขุยปาก Die ที่สะสมและหลุดติดกับผิวสายไฟ ทำให้เกิดของเสียในการผลิต Q: ปัญหาเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง A: สาเหตุหลัก ๆ…
เม็ดพลาสติกเพื่อการใช้งานพาเลทวางสินค้าโดยเฉพาะ
หนึ่งในกระบวนการสำคัญของอุตสาหกรรมทุกประเภท นอกจากขั้นตอนการผลิตแล้ว ยังมีการขนส่ง (Logistic) และเก็บรักษา (Storage) “พาเลทวางสินค้า” คืออุปกรณ์ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานทุกขั้นตอนเป็นไปได้ด้วยดี แม้จะถูกมองเป็นเพียงอุปกรณ์ผู้ช่วย แต่คุณสมบัติของวัสดุพลาสติกซึ่งเป็นเนื้อของพาเลทยังเป็นสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา อันเนื่องมาจากวิธีการใช้งานที่ต้องพบกับหลายปัจจัยที่ทำให้พาเลทเสียหายก่อนเวลาอันควร ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักหรือสภาวะอากาศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ธุรกิจเคมิคอลส์ ในเอสซีจี จึงทำการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก P483JU ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกประเภท PP (Polypropylene) ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานขึ้นรูปเป็นพาเลทพลาสติกโดยเฉพาะ ข้อเสียของพาเลทพลาสติก HDPE จากเดิม การใช้งานพาเลทพลาสติกชนิด HDPE (High Density Polyethylene) แบบที่ใช้กันทั่วไปมักจะพบปัญหาใหญ่อยู่หลายประการ ได้แก่ การแอ่นโค้งของพาเลทหลังจากบรรทุกของน้ำหนักมาก ๆ ไว้เป็นเวลานาน รอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นตามขอบมุมของพาเลท ซึ่งเกิดจากการใช้งานที่ได้รับแรงกดหรือแรงกระแทกสูง และปัญหารอยแตกระหว่างรอยเชื่อมของพาเลท ซึ่งมักพบในพาเลทประเภทที่มีการเชื่อมประกบจากการฉีดชิ้นงานสองชิ้นแล้วนำมาเชื่อมประกบกันด้วยความร้อน ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่เสียหายต่อกระบวนการทำงานเท่านั้น ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้าของลูกค้า เช่น บรรจุภัณฑ์สินค้าซึ่งอาจฉีกขาดเมื่อไปเกี่ยวเข้ากับพาเลทส่วนที่แตกร้าว พาเลทวางสินค้าจากพลาสติก PP เกรดพิเศษ จากปัญหาดังกล่าว ทางเอสซีจี ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุพอลิเมอร์ตั้งต้นเป็นสิ่งสำคัญในการปรับคุณภาพชิ้นงานพาเลท จึงเกิดเป็นเม็ดพลาสติกเกรด P483JU ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกประเภท…