Close
|

ค้นหา

May 5, 2023

K 2022 เปิดประตูแห่งนวัตกรรมสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับโลก

หนึ่งในงานประจำทุก 3 ปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของนวัตกรรมสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง นั่นก็คืองาน K Fair ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี และในปีที่ผ่านมากับ K 2022 นับเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและองค์กรระดับโลกกว่า 3,300 รายมาร่วมจัดแสดงงาน นับเป็นการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมไปพร้อมกับการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมพลาสติกและยางของโลก สำหรับประเด็นสำคัญของ K 2022 รอบนี้โฟกัสไปที่สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับนวัตกรรม โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อที่นับเป็นทิศทางที่สำคัญของวงการพลาสติก ที่ทุกองค์กรต่างสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจหมุนเวียน กับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวัสดุใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต (2) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นร่วมกันของคนทั้งโลก และ (3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งนับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมในทุกมิติ SCGC ‘INNOVATION THAT’S REAL’ K 2022 เป็นอีกหนึ่งเวทีระดับโลกที่ SCGC ได้เข้าร่วมจัดแสดงนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘Innovation That’s Real’ นำเสนอการขับเคลื่อนโลกด้วยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation) ควบคู่ไปกับสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง…

May 3, 2023

ออกแบบเม็ดพลาสติกตอบทุกความต้องการ ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

ในยุคที่ผู้ประกอบการต่างมองประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนเป็นวิสัยทัศน์สำคัญในการดำเนินธุรกิจ นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน อย่างการคิดหาวิธีที่จะสามารถลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกในการผลิตสินค้าลง แต่สินค้ายังคงความแข็งแรงในการใช้งานอยู่ นับเป็นโจทย์สำคัญของวงการ ซึ่ง SCGC ได้พัฒนาและวิจัยร่วมกับลูกค้าผู้ใช้งานเม็ดพลาสติกโดยตรงด้วยกระบวนการทำงานแบบลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ผ่านการทำเวิร์กชอปร่วมกับลูกค้าที่ศูนย์ i2P (Ideas to Products) อุปสรรคในอดีต สู่นวัตกรรมในอนาคต การพัฒนานวัตกรรมมักพบเจอกับอุปสรรคที่ทำให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นไปได้ยาก ตั้งแต่เรื่องระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ปี ขึ้นกับความซับซ้อน คุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่ต้องการ รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ความซับซ้อนของการตีโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานเพื่อออกแบบคุณสมบัติของเม็ดพลาสติก และที่สำคัญคือจะต้องสามารถนำไปใช้ในระดับเชิงพาณิชย์ (Commercial Scale) ได้ด้วย อีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือความแตกต่างระหว่างเครื่องมือทดสอบของนวัตกรกับผู้ใช้งานจริง ที่อาจใช้มาตรฐานการทดสอบหรืออุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ต้องมีการทดสอบที่หน้างานของผู้ใช้งานบ่อยครั้ง จนอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต อุปสรรคเหล่านี้ นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ SCGC จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้เพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการพัฒนาศักยภาพการทำงานด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ และความเชี่ยวชาญของหน่วยงาน Application Development Center (ADC) ในการช่วยออกแบบคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกและกระบวนการขึ้นรูปสินค้าต่าง ๆ รวมถึงการจำลองการทดสอบ โดยใช้ฐานข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในอดีตที่ถูกรวบรวมไว้…

September 14, 2022

Recyclable Packaging Solution โซลูชันครบวงจรที่คิดมาเพื่อบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่รีไซเคิลได้จริง

บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging) เป็นหนึ่งในสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวในชีวิตประจำวันของเราแทบทุกคนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นซองขนม ซองใส่อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง และซองบรรจุภัณฑ์ชนิดเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและน้ำยาทำความสะอาด ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย และความสะดวกในการใช้งาน แต่หากเป็นบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่เกิดจากการประกอบกันของวัสดุหลายชนิด ก็อาจแปรเปลี่ยนกลายเป็นขยะที่นำไปรีไซเคิลต่อได้ยาก หรือต้องกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง SCGC ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากจุดเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของ Recyclable Packaging Solution ซึ่งได้มีการคิดค้นและพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกพอลิโอเลฟินส์เป็นองค์ประกอบหลักและเป็นหนึ่งในโซลูชันภายใต้ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งมีโจทย์สำคัญในการทำให้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวสามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราชวน คุณรุ่งทิพย์ จงสืบโชค Food and Beverage Business Director, SCGC พูดคุยถึงเป้าหมายของ SCGC ในการพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ และการมี Recyclable Packaging Solution ที่ตอบความต้องการของทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ “SCGC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่รีไซเคิลได้ แต่ต้องตอบโจทย์ทั้งการใช้งานได้จริงและมีราคาที่เหมาะสม…

March 22, 2022

พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 นับเป็นวาระสำคัญและพันธกิจร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในทศวรรษใหม่นี้ ความร่วมมือร่วมใจจากนานาประเทศผ่านการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นความตื่นตัวอย่างสูงของสังคมโลกที่มีต่อวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบันที่ใกล้ชิดผู้คนเข้ามาเป็นลำดับ กับประเทศไทยเองก็เช่นกัน หัวเรื่องที่เราให้ความสำคัญครอบคลุมสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยเฉพาะการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน ก๊าซเรือนกระจกในเมืองไทย : แผนปฏิบัติการเพื่อลดปริมาณลง ประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยที่มาของก๊าซเรือนกระจกอันดับแรกคือ ภาคพลังงาน อยู่ที่ราว 253 ล้านตันคาร์บอนฯ ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย และนับเป็นอันดับ 20 ของประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 0.8% ของทั้งโลก จากการจัดลำดับโดยองค์กร Climate Watch ในปี 2561 ในส่วนของภาคพลังงานเอง จึงเกิดเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 เฉพาะในด้านพลังงานและขนส่ง ตั้งเป้าหมายผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน อาคาร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง และที่สำคัญคือ การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเข้ามาร่วมในการใช้งานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด…

March 22, 2022

ตัวอย่าง ‘เมลามีน’ โฉมใหม่ที่เป็นมิตรในชีวิตประจำวันของทุกคน

เมลามีนคืออะไร? เป็นพลาสติกประเภทใด? เราต่างก็คุ้นเคยกับชื่อของเมลามีน ในฐานะภาชนะสำหรับบรรจุอาหารด้วยคุณสมบัติในเรื่องความทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน มีสีสันลวดลายให้เลือกหลากหลาย และราคาย่อมเยา จานชามเมลามีนจึงมักถูกใช้งานในครัวเรือน รวมไปถึงในศูนย์อาหารที่ต้องมีการเวียนใช้ภาชนะอยู่สม่ำเสมอ และเมื่อผ่านการใช้งานมาจนเสื่อมสภาพแล้วมักถูกกำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ เนื่องจากเมลามีนเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซตติง (Thermosetting) จึงไม่สามารถนำไปหลอมละลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลใหม่เหมือนเม็ดพลาสติกประเภทอื่น ๆ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เมลามีนที่น่าสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น เมลามีนเป็นวัสดุที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้อย่างหลากหลาย และมีการวิจัยพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ไปจนถึงการพัฒนาวิธีการรีไซเคิลให้สามารถนำผลิตภัณฑ์เมลามีนที่เสื่อมสภาพแล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ สร้างคุณค่าให้ตัววัสดุได้อย่างไม่รู้จบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ไปจนถึงการนำขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อทดแทนการใช้วัสดุประเภทอื่น ๆ ‘Melamic’ เมลามีนผสานเซรามิก วัสดุใหม่ที่สวยงามคงทนกว่าที่เคย อีกหนึ่งตัวอย่างพลิกมุมมองความเคยชินของเมลามีนจากภาชนะใส่อาหาร สู่การพัฒนาวัสดุใหม่ นั่นคือ Melamine Ceramics หรือในชื่อของ ‘Melamic’ (เมลามิก) ซึ่งมาพร้อมกับจุดเด่นจากคุณสมบัติของภาชนะที่สวยงามเหมือนกับเซรามิก แต่น้ำหนักเบากว่า ใช้งานสะดวก และทนทานต่อการแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือระหว่างการขนย้าย ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีการใช้งานภาชนะจำนวนมาก และมีรอบการใช้งานค่อนข้างสูง อย่างศูนย์อาหารต่าง ๆ ช่วยลดปริมาณภาชนะที่เสียหายและต้องทิ้งในแต่ละปีได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีการใช้งานภาชนะจากวัสดุเมลามิกจริงแล้ว ภายในโรงอาหารของเอสซีจี ‘Antibacterial…

March 22, 2022

เบื้องหลังความปลอดภัยและแข็งแรงของรถยนต์ จากนวัตกรรมพลาสติกพอลิโพรพิลีนทนแรงกระแทกสูงพิเศษ

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประเมินสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนน ว่าประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 9 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ในเอเชีย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่ผู้คนจำเป็นต้องขับรถยาว ๆ หรือเดินทางไกลกลับบ้าน ยิ่งเป็นช่วงที่เกิดการเสียชีวิตจากการโดยสารรถยนต์เพิ่มมากขึ้นเป็นประจำทุกปี นวัตกรรมจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้คน เช่นเดียวกันกับอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เรื่องของอุปกรณ์และส่วนประกอบของรถยนต์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ตระหนักถึงการออกแบบ และเร่งสร้างการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น เพื่อการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่เองและเพื่อนร่วมทาง งานผลิตงานชิ้นส่วนรถยนต์ ความปลอดภัยของผู้โดยสารต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC จึงร่วมมือกับบริษัท แกรนด์ สยาม คอมโพสิต จำกัด หรือ GSC ในการพัฒนาเม็ดพลาสติก SCGC™ PP P765J สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ ที่จะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร โดยเม็ดพลาสติกตัวนี้จะนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนแผงประตูด้านข้างรถยนต์ (Door trims) แผงควบคุมคอนโซล รถยนต์ (Instrumental panel) และกันชนหน้า-หลัง (Front-rear bumper) แข็งแรงทนแรงกระแทรกสูง เทคโนโลยีของเม็ดพลาสติกชนิดใหม่นี้มีความพิเศษมากขึ้นในคุณสมบัติของการทนแรงกระแทกสูงเป็นพิเศษ (Ultra high…

November 16, 2021

Smart Transfer Wheelchair รถเข็นผู้ป่วยที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับทุกคน

หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงพยาบาลนั่นคือ รถเข็นผู้ป่วย สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่ต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว เพื่อความสะดวกในการรักษาพยาบาล นำมาซึ่งโจทย์ในการพัฒนารถเข็นผู้ป่วยให้ตอบสนองความต้องการอย่างรอบด้าน ตลอดจนเรื่องฟังก์ชันการใช้งานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีม Medical and Well-Being Business และ Design Catalyst ของเอสซีจี เคมิคอลส์ และเครือ BDMS ไม่ว่าจะเป็นถังทิ้งเข็มฉีดยา รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ หรือกระถางต้นไม้รีไซเคิลจากแกลลอนน้ำยาล้างไต ที่ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการยกระดับการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น และการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วของโรงพยาบาลมาทำให้เกิดประโยชน์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรทั้งสอง จนนำมาสู่งานออกแบบ “Smart Transfer Wheelchair” รถเข็นผู้ป่วยดีไซน์ใหม่ ที่แก้ปัญหาต่าง ๆ ของรถเข็นแบบเดิม ๆ และการปรับโฉมให้ดูทันสมัย ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงพยาบาลในเวลาเดียวกัน Design Research ค้นหาจุดด้อย เปลี่ยนเป็นจุดเด่น จากความเชี่ยวชาญของทีม Medical and Well-Being Business และ Design…

November 15, 2021

ก้าวให้ไว ปรับตัวไปกับนวัตกรรมและเทรนด์ต่าง ๆ อย่างยั่งยืนกับ SCG GREEN POLYMER™

นวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบันใช้เวลาในการคิดค้นพัฒนา รวมถึงระยะเวลาในการเข้าถึงคนทั่วโลกสั้นลงเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อคนทั่วโลกไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลและความรู้ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยุคสมัยของธุรกิจทั่วโลกด้วยเช่นกันที่มักมีเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่และองค์กรต่าง ๆ นำไปปรับใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไปอย่างรวดเร็ว จากเทรนด์สู่การเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำธุรกิจ หากย้อนกลับไปเพียงไม่กี่ปีก่อน “Digital Transformation” เป็นเทรนด์ใหม่ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและพยายามนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ “Circular Economy” หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดการเกิดขยะที่อาจหลุดลอดไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ไปจนถึงเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว และกลับมาถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบันอย่างเรื่อง “Climate Emergency” หรือภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์กรยุคใหม่ที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งการผลักดันของนโยบายของภาครัฐ และความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการปรับตัวของเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน SCG GREEN POLYMER™ การปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของห่วงโซ่อุปทานจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และความตั้งใจที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง จึงได้ก่อเกิดเป็น SCG GREEN POLYMER™ โซลูชันของพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมของวงการ พร้อมที่จะร่วมมือกับเจ้าของแบรนด์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมโซลูชันที่ตอบโจทย์…

July 23, 2021

SMX™ Technology เทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติก HDPE ที่ช่วยลดโลกร้อน

โจทย์ที่ท้าทายสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคนี้ คือการเพิ่มคุณภาพสินค้าควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตทั้งสำหรับเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาผลิตภัณฑ์และโซลูชันอันดีเพื่อตอบเรื่องความยั่งยืน ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจากผู้ผลิต การใช้งานสำหรับผู้บริโภค ไปจนถึงการจัดการที่ปลายทาง เพื่อหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ให้คุ้มค่าและเป็นมิตรกับโลกของเราให้มากที่สุด ข้อดีของนวัตกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกจาก SMX™ Technology SMX™ Technology เป็นผลลัพธ์จากนวัตกรรมกระบวณการผลิต ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อการผลิตเม็ดพลาสติกประเภท HDPE ที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้น มีความสมดุลระหว่างคุณสมบัติความแข็งแรง (High Strength) และความเหนียว (Stiffness) ที่ตอบความต้องการของอุตสาหกรรม ทั้งด้านคุณสมบัติในการใช้งาน และสามารถลดปริมาณพลาสติกในการผลิตชิ้นงานให้น้อยลงโดยยังคงความแข็งแรงได้เหมือนเดิม จากนวัตกรรมดังกล่าว ส่งผลต่อทั้งวัฏจักรการผลิตและการบริโภคซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพราะเมื่อใช้เม็ดพลาสติกน้อยลง โดยที่ยังมีคุณสมบัติที่จำเป็นของสินค้าปลายทางครบถ้วนดังเดิม นั่นหมายถึงการใช้ทรัพยากรทั้งวัสดุตั้งต้นอย่างเม็ดพลาสติกและพลังงานระหว่างการผลิตอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเมื่อสินค้าปลายทางมีน้ำหนักเบาลง น้ำหนักระหว่างการขนส่งจึงลดลงด้วย ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการขนส่งได้อีกทางหนึ่ง ผลิตภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกหลากหลายวิธีขึ้นรูป   จากจุดเริ่มต้นที่นวัตกรรม SMX™ Technology ต่อยอดสู่สินค้าเม็ดพลาสติก SCG™ HDPE ทั้งหมด…

April 21, 2021

SCG™ LLDPE S15 PU-stick series นวัตกรรมเพื่อลดขั้นตอนในการผลิตถังแช่ จากความร่วมมือระหว่างเอสซีจี และ COMOS

ความท้าทายของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การพัฒนาชิ้นงานให้ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าในท้องตลาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ตอบโจทย์ทั้งต่อผู้ผลิต และต่อโลก เช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กับ COMOS ที่ดำเนินมายาวนานกว่าสิบปี ระหว่างทางคือการแบ่งปันเทคนิค วิธีการทำงาน และความต้องการของลูกค้าผู้บริโภคเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่นเดียวกับ SCG™ LLDPE S15 PU-stick series เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดพิเศษ ที่เพิ่มความแข็งแรงในการยึดติดกับพอลิยูรีเทนมากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป ทำให้นำไปขึ้นรูปเป็นผนังชั้นนอกของถังแช่ที่สามารถยึด ติดกับชั้นโฟมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างทั้งสององค์กร วันนี้ เราจึงชวนคุณมาพูดคุยกับ คุณสุดใจ จิรยาภากร ประธานกรรมการ บริษัท โคมอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตถังแช่ชั้นนำของประเทศ และ คุณเลิศศักดิ์ เหล่าศรีไพบูลย์ Technical Service Engineer ตัวแทนจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงเส้นทางที่มากว่าจะเป็นเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษประสิทธิภาพสูงสำหรับถังแช่ จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ คุณสุดใจเริ่มต้นเข้าสู่วงการถังแช่จากภาวะที่ถังแช่สำหรับเก็บรักษาอาหารสดและอาหารทะเลขาดตลาดในช่วงที่เขาเป็นชาวประมง จึงใช้วิชาความรู้เชิงช่างในการหล่อถังสังกะสีสำหรับใช้งาน แต่ด้วยการประมงต้องอยู่กับน้ำเค็มเสมอ จึงเกิดการกัดกร่อนทำให้อายุการใช้งานสั้น นั่นทำให้เขาเริ่มมองหาวัสดุสำหรับผลิตถังแช่ทดแทนชนิดเดิม จนกลายมาเป็นถังแช่พลาสติกอย่างที่เห็นกันทุกวัน…
[elementor-template id="3478"]