Technical FAQ: ภาชนะเมลามีน เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย เมลามีน ถูกนำมาผลิตเป็นจาน ชาม หรือภาชนะใส่อาหารที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะนอกจากความสวยงามของลวดลายที่หลากหลายแล้ว ความคงทนก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ร้านค้า ครัวเรือน ต่างเลือกใช้ภาชนะเมลามีนกันอย่างแพร่หลาย จากความนิยมใช้ภาชนะเมลามีนนี้เอง ทำให้มีภาชนะเลียนแบบที่ผลิตจากวัสดุที่มีลักษณะคล้ายเมลามีนวางจำหน่ายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมต่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร โดยเมื่อนำไปใช้งานแล้วสารเคมีจากภาชนะจะมีโอกาสปนเปื้อนลงสู่อาหารจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อสังเกตในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เมลามีนที่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมจึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว คุณอุมา บริบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวัสดุสัมผัสอาหาร รองผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “ในปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการสำรวจภาชนะที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด แล้วนำมาตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FT-IR) พบว่ามีทั้งผลิตภัณฑ์เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) หรือเรียกว่าเมลามีน 100% ซึ่งถูกต้องตรงตามฉลากที่ระบุ และพบผลิตภัณฑ์ยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Urea-Formaldehyde) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจทำให้ดูคล้ายเมลามีน แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร โดยภาชนะที่พบนี้ หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เลย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องมีมาตรการในการรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจถึงคุณภาพของภาชนะใส่อาหารซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค” …
LIFESTYLES - Jan, 15 2019
การติดตั้งแผ่นหลังคาอะคริลิกโปร่งแสง Shinkolite สำหรับส่วนต่อเติมในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโรงรถ กันสาด ศาลาในสวน หลังคาคลุมทางเดิน มีหลัก 7S ที่ทั้งช่างและเจ้าของบ้านเองควรรู้เพื่อประสิทธิภาพและความสวยงามของผลงาน Space: พื้นที่ต้องเป็นพื้นที่เปิดอย่างน้อย 2 ด้าน และห้ามติดตั้งใกล้แหล่งความร้อน เช่น เตาไฟ Save Cost: ต้องปรับพื้นที่หน้างานให้ใกล้เคียงกับการใช้แผ่นเพื่อลดการเสียเศษแผ่นที่จะส่งผลต่อราคา เช่น กันสาดยื่น 1 เมตร 1.5 เมตร 2 เมตร 2.5 เมตร เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ลงตัวพอดีแผ่น Structure: โครงสร้างต้องเตรียมระยะที่ถูกต้อง ระยะแป 50 เซนติเมตร ระยะจันทันห้ามเกิน 1.392 เมตร จันทันเชื่อมเสมอแป กรณีหลังคายื่นเกิน 6 เมตร ต้องทำโครงเป็นขั้นบันได …
ในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟ ตำหนิเพียงเล็กน้อยอย่าง ขุยบนเปลือกหุ้มสายไฟ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหุ้มเปลือกสายไฟ หากไม่ทำการปรับปรุงจะมีโอกาสสะสมพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังทั้งในแง่กระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุทั้งเรื่องต้นทุนและการทำงานหากไม่รีบทำการแก้ไข เพราะเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาที่ดีต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุดเสียก่อน ทางธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในฐานะของผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจึงริเริ่มให้ความช่วยเหลือกับผู้ผลิตในแบบรายต่อราย โดยร่วมวิเคราะห์และนำเสนอทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า Q: ขุยบนผิวสายไฟคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้กับตัวสายไฟและผู้ผลิต A: ขุยบนผิวสายไฟ คือเศษวัตถุดิบในเม็ดพลาสติกที่หลอมละลายได้ยากเกาะตัวกันเป็นก้อนบนผิวสายไฟ ซึ่งขุยเหล่านี้มักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณทางออกของเครื่อง Extruder สำหรับหุ้มเปลือกสายไฟ หากเป็นขุยเล็กๆ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ และสามารถแก้ไขปัญหาระหว่างผลิตได้ด้วยการขัดแต่งผิว แต่ก็จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงานหลังการผลิตอีกขั้น ซึ่งเสียทั้งเวลาและแรงงานโดยใช่เหตุ แต่หากเครื่องจักรเดินเครื่องต่อเนื่องยาวนาน ตัวขุยก็จะสะสมเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เครื่องจักรทำงาน หลุดติดไปกับผิวสายไฟซึ่งยากแก่การขัดแต่งผิว ทำให้สินค้าทั้งล็อตนั้นจะนับเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ชิ้นส่วนของขุยปาก Die ที่สะสมและหลุดติดกับผิวสายไฟ ทำให้เกิดของเสียในการผลิต Q: ปัญหาเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง A: สาเหตุหลัก ๆ…
ความต้องการใช้ไฟฟ้าและอินเตอร์เน็ตในบ้านเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับชีวิตในยุคนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเร่งดำเนินการติดตั้งสายไฟฟ้าและสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งการเลือกใช้สายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากส่วนประกอบภายในแล้ว เปลือกนอกหรือเปลือกหุ้มก็มีความสำคัญมากเช่นกันเพราะเป็นส่วนที่ช่วยปกป้องส่วนประกอบภายในของสายไฟฟ้าและสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ทั้งในช่วงการขนย้าย การติดตั้ง รวมไปถึงระหว่างการใช้งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืนและตอบสนองความต้องการตลอดวงจรธุรกิจ (Value Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตสายไปจนถึงผู้ใช้งานในกลุ่มสายไฟฟ้าและโทรคมนาคม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงมีความมุ่งมั่นในการรับฟังเสียงของผู้ใช้งานปลายทางจนนำมาสู่การพัฒนาเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อนำไปผลิตเปลือกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน จนพัฒนามาเป็น เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นปานกลาง (Medium Density Polyethylene, MDPE) เกรด M545WC ซึ่งมีจุดเด่น คือ ความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สายเคเบิลมีความสามารถในการดัดโค้งงอ (Bending) ในระหว่างการติดตั้งโดยที่เปลือกของสายเคเบิลไม่หักหรือขาดออกจากกันแล้ว ยังสามารถช่วยให้ง่ายต่อการปอกเปลือกนอกของสายเคเบิลอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว M545WC ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ดี ดังนี้ ด้านความสามารถในการขึ้นรูป มีความเสถียรทางความร้อน (Thermal Stability) – ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพทางความร้อน (Thermal Degradation) ของพลาสติกในระหว่างการผลิตขึ้นรูป มีความสามารถในการไหลตัวได้ดี (Flowability) –…