หลายบ้านเวลาออกไปชอปทีไร ชอบซื้อเสบียงอาหารตุนทั้งเนื้อสัตว์ ผลไม้ และขนม ทำให้บางครั้งเวลากลับมาดูอีกทีพบว่าของใกล้เสีย เหลือทิ้งกินไม่หมด สุดท้ายต้องลงเอยที่ถังขยะ กลายเป็นขยะเศษอาหาร หรือ Food Waste ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักเทคนิควิธีพร้อมแนะนำตัวช่วยอุปกรณ์ทั้งพลาสติกแรปอาหาร ถุงซิปล็อก และกล่องพลาสติก ที่จะช่วยเก็บอาหารได้นาน ยืดอายุได้กว่าเดิมไปพร้อมกัน การเก็บอาหารปรุงสุก เนื้อสัตว์ กับข้าวหรืออาหารที่ปรุงสุกประเภทต้มกับผัด ควรแบ่งเก็บเท่าปริมาณที่บริโภคแต่ละครั้ง และยังช่วยให้อาหารเย็นเร็วขึ้น โดยสามารถบรรจุลงในถุงซิปล็อกแบบสุญญากาศ หรือห่อด้วยฟิล์มถนอมอาหาร หรือบรรจุลงกล่องพลาสติก ปิดฝาสนิท ถ้ารับประทานได้หมดให้แช่ตู้เย็นธรรมดา แต่เกินกว่านั้นแช่ช่องแข็ง ยืดอายุจาก 1 วัน แช่ในช่องเย็น 2-4 วัน แช่ในช่องฟรีซ 3-4 เดือน การเก็บอาหารสด ผัก ผลไม้ ผักผลไม้ทั่วไปสามารถเก็บได้ในถุงซิปล็อกชนิดมีรูระบายอากาศ และแช่เย็น โดยควรเก็บแบบไม่ต้องล้างน้ำ จนกว่าจะถึงเวลากิน สำหรับกล้วย ให้ตัดที่ขั้วของกล้วยแล้วใช้ฟิล์มถนอมอาหารหุ้มบริเวณขั้ว ยืดอายุจาก 7 วัน เป็น 14 วัน …
ถุงพลาสติกหูหิ้ว (T-Shirt Bag) คือหนึ่งในพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มีการบริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการยกเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบบางในห้างสรรพสินค้าไปแล้ว แต่ในร้านค้าทั่วไปก็ยังมีการใช้ถุงพลาสติกกันอยู่บ้าง นั่นเป็นเพราะจริง ๆ แล้วถุงพลาสติกมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์และตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันของผู้คนอยู่ไม่น้อย ในการให้ความสะดวกสบาย บรรจุของรับน้ำหนักได้มาก กันน้ำได้ ใช้ซ้ำได้ และรีไซเคิลได้ แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง และทิ้งอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้มีการบริโภคที่เกินจำเป็น และเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม นั่นเอง ขณะเดียวกันในปัจจุบันผู้ผลิตก็มีแนวโน้มที่จะผลิตถุงที่มีความหนาและคงทนมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ดังนั้นเหล่าพ่อค้าแม่ขายและผู้บริโภคยุคใหม่ มาทำความรู้จักคุณสมบัติความแตกต่างของถุงหูหิ้วชนิดต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างถูกวิธีและคุ้มค่าที่สุดไปด้วยกัน ความแตกต่างของถุงหูหิ้วแต่ละประเภท ถุงหูหิ้วพลาสติก HDPE หรือถุงไฮเดน ลักษณะทั่วไป ขุ่นหรือทึบ แข็งแรง เมื่อขยำแล้วมีเสียงดัง หรือที่เราเรียกถุงก๊อบแก๊บ เนื้อเหนียวยืดได้ หากฉีก รอยขาดจะไม่เรียบ เหมาะกับใส่สินค้าทั่วไป หรือใส่ของที่มีจำนวนมากและมีน้ำหนัก เช่น ถุงใส่กล่องข้าว ถุงใส่ผลไม้ ถุงหูหิ้วพลาสติก LDPE หรือถุงไฮโซ ลักษณะทั่วไป ใส ขยำแล้วนิ่ม เสียงไม่ดัง เนื้อเหนียวยืดได้ดีมาก เจาะทะลุยาก หากฉีกขาด รอยขาดจะไม่เรียบ…
อากาศร้อน ๆ เย็น ๆ เรามักจะนึกถึงเครื่องดื่มอย่างเช่น ชานม กาแฟ น้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้ ที่ช่วยให้สดชื่น ดับกระหาย คลายความร้อน หรือสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย วันนี้ชวนเพื่อน ๆ มารู้จักกับ ‘แก้วน้ำพลาสติก’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เครื่องดื่มเหล่านี้ พร้อมแนวทางการใช้งานอย่างเหมาะสมและปลอดภัยไปพร้อมกัน วิธีเลือกแก้วพลาสติกเครื่องดื่มสำหรับร้านค้าคาเฟ วัตถุดิบพลาสติก Food Grade ควรตรวจสอบบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ผลิตว่าแก้วพลาสติกเป็น Food Grade (ปลอดภัยสำหรับอาหาร) หรือไม่ เพื่อยืนยันว่าวัตถุดิบพลาสติกที่นำมาใช้เหล่านี้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับอาหารและเครื่องดื่ม รูปแบบการใช้งาน การเลือกแก้วพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มให้เหมาะสม คุณควรดูว่าแก้วพลาสติกทำจากวัตถุดิบพลาสติกอะไร เช่น แก้วน้ำพลาสติก PET มักถูกใช้สำหรับเครื่องดื่มเย็น หากมีการใช้งานสำหรับเครื่องดื่มร้อน เช่น กาแฟหรือชา ควรเลือกแก้วที่มีความทนทานต่อความร้อนสูง เช่น แก้วกาแฟพลาสติกที่ทำจาก PP พร้อมการดูค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เหมาะกับการใช้งาน (Maximum Use Temperature) บนบรรจุภัณฑ์จะช่วยให้ทราบว่าแก้วพลาสติกนั้นเหมาะสมสำหรับการใช้งานกับเครื่องดื่มร้อนหรือไม่ หรือหากต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน ควรพิจารณาแก้วพลาสติกที่มีฝาปิดหรือฝาถอดออกได้ เพื่อป้องกันการหกเมื่อถูกคว่ำ พกพาได้สะดวก ปริมาณความจุ…
ถุงแกง หรือถุงพลาสติกใส่อาหารเป็นสิ่งที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องด้วยความสะดวกสบายและความหลากหลายในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่อาจยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้งานพลาสติกอย่างเหมาะสมและปลอดภัย เราจึงจะชวนมาทำความรู้จักแต่ละชนิดของถุงพลาสติกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ถุงแกง หรือ ถุงร้อนใส PP ใส มันวาว บาง ทนความร้อนได้มากกว่า 100°C ทนความชื้นและการซึมผ่านของอากาศได้ดีกว่าถุงร้อนขุ่น เหมาะสำหรับใช้กับอาหารร้อน เช่น น้ำเต้าหู้ โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว และสามารถใช้ใส่อาหารแห้งเก็บได้หลายวัน เพราะป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ค่อนข้างดี ข้อควรระวัง: ไม่ควรนําเข้าช่องแช่แข็งเพราะจะทำให้ฉีกขาดทะลุได้ เนื่องจากทนความเย็นได้ไม่ดี ถุงร้อนขุ่น HDPE ถุงขุ่น หนา ทนความร้อนได้ 100°C ทนความเย็นได้ถึง 0°C มากกว่าถุงร้อนใส สามารถใช้กับอาหารทั่วไปได้ ไม่ว่าจะเป็นของแห้งหรืออาหารที่มีความชื้นน้อย ทนต่อกรดและสารเคมี เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการความแข็งแรง เช่น การใช้เป็นถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าต่าง ๆ สำหรับใส่อาหารแบบชั่วคราว ข้อควรระวัง: ไม่เหมาะกับการใช้เพื่อถนอมอาหาร เพราะป้องกันการซึมผ่านของอากาศได้ไม่ดี ทำให้เกิดกลิ่นหืนหรือปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ และไม่ควรใช้กับอาหารร้อนเพราะอาจทำให้ถุงพลาสติกละลายและหลอมตัว …