Recyclable Packaging Solution โซลูชันครบวงจรที่คิดมาเพื่อบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่รีไซเคิลได้จริง
บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging) เป็นหนึ่งในสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวในชีวิตประจำวันของเราแทบทุกคนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นซองขนม ซองใส่อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง และซองบรรจุภัณฑ์ชนิดเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและน้ำยาทำความสะอาด ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย และความสะดวกในการใช้งาน แต่หากเป็นบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่เกิดจากการประกอบกันของวัสดุหลายชนิด ก็อาจแปรเปลี่ยนกลายเป็นขยะที่นำไปรีไซเคิลต่อได้ยาก หรือต้องกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง SCGC ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากจุดเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของ Recyclable Packaging Solution ซึ่งได้มีการคิดค้นและพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกพอลิโอเลฟินส์เป็นองค์ประกอบหลักและเป็นหนึ่งในโซลูชันภายใต้ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งมีโจทย์สำคัญในการทำให้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวสามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราชวน คุณรุ่งทิพย์ จงสืบโชค Food and Beverage Business Director, SCGC พูดคุยถึงเป้าหมายของ SCGC ในการพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ และการมี Recyclable Packaging Solution ที่ตอบความต้องการของทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ “SCGC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่รีไซเคิลได้ แต่ต้องตอบโจทย์ทั้งการใช้งานได้จริงและมีราคาที่เหมาะสม…
LION กับ SCGC GREEN POLYMER™ จับมือเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน และเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ยังคงจำเป็นเสมอมา ซึ่งผู้ผลิตนวัตกรรมพลาสติกอย่าง SCGC ก็ได้มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน โดยมีผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคของเมืองไทยอย่าง LION เป็นผู้รับไม้ต่อ เพื่อให้เกิดการส่งต่อถึงมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง ในครั้งนี้ LION และ SCGC จับมือกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยโซลูชันภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคยกันดี และยังสอดคล้องไปกับทิศทางในการบริหารธุรกิจ ‘เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพในทุกภารกิจ’ ของ LION ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมโดยคำนึงถึงการมีสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค พนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญไปพร้อมกัน ผลิตภัณฑ์ของ LION กับความมุ่งมั่นสู่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสมศักดิ์ ศรีสอาดรักษ์ ผู้จัดการบริหารธุรกิจสหพัฒน์ ฝ่ายการตลาด บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ถึงวิสัยทัศน์ของ LION ผ่านบรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อแนวคิดรักษ์โลกถึงมือผู้บริโภคโดยตรง “ตลอดระยะเวลา 53…
COP26 การประชุมจากความร่วมมือของทุกชาติเพื่อโลกที่ยั่งยืน
เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา คำว่า COP26 กลายมาเป็นหัวเรื่องสำคัญที่ผู้คนพูดถึงกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแวดวงระดับภาครัฐ องค์กรเอกชน หรือแม้กระทั่งผู้คนในสังคมเองก็ตาม COP26 หรือ The 26th Session of the Conference of the Parties คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในระดับโลก โดยจะจัดขึ้นทุกปี แต่ถูกหยุดพักไปในปี 2020 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ก่อนจะกลับมาจัดงานขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปี 2021 ที่ผ่านมา ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ โดยมีผู้นำประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ หนึ่งในหัวเรื่องสำคัญของการประชุมครั้งที่ 26 นี้ คือ เรื่องการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายใน ‘ข้อตกลงปารีส’ หรือ…
พลังงานสะอาด และความร่วมมือ ทางเลือกเพื่อยับยั้งวิกฤตโลกร้อนอย่างยั่งยืน
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 นับเป็นวาระสำคัญและพันธกิจร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในทศวรรษใหม่นี้ ความร่วมมือร่วมใจจากนานาประเทศผ่านการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นความตื่นตัวอย่างสูงของสังคมโลกที่มีต่อวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบันที่ใกล้ชิดผู้คนเข้ามาเป็นลำดับ กับประเทศไทยเองก็เช่นกัน หัวเรื่องที่เราให้ความสำคัญครอบคลุมสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยเฉพาะการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน ก๊าซเรือนกระจกในเมืองไทย : แผนปฏิบัติการเพื่อลดปริมาณลง ประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยที่มาของก๊าซเรือนกระจกอันดับแรกคือ ภาคพลังงาน อยู่ที่ราว 253 ล้านตันคาร์บอนฯ ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย และนับเป็นอันดับ 20 ของประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 0.8% ของทั้งโลก จากการจัดลำดับโดยองค์กร Climate Watch ในปี 2561 ในส่วนของภาคพลังงานเอง จึงเกิดเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 เฉพาะในด้านพลังงานและขนส่ง ตั้งเป้าหมายผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน อาคาร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง และที่สำคัญคือ การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเข้ามาร่วมในการใช้งานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด…
SCGC™ PP P945J พลาสติกพอลิโพรพิลีนไหลตัวสูง ลดของเสียจากกระบวนการผลิต เพื่อโลกที่ยั่งยืน
พลาสติกล้วนเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในฐานะวัสดุสำหรับผลิตอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกรอบด้าน ประโยชน์สำคัญที่ได้จากการใช้งานผลิตภัณฑ์จากพลาสติกจึงเป็นเรื่องความทนทาน และการใช้งานทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าจนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน นอกจากความคุ้มค่าในมุมของผู้บริโภคแล้ว ในมุมของผู้ผลิตเองก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการลดปริมาณการผลิตชิ้นงานที่ไม่ผ่านมาตรฐานให้เหลือน้อยที่สุด หรือแม้แต่ในกระบวนการจัดเก็บและขนส่งสินค้า ซึ่งต้องมีการจัดเก็บที่ดีเพื่อเลี่ยงไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายจนต้องทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะกับชิ้นงานพลาสติกขนาดใหญ่ อย่างถังน้ำขนาด 200 ลิตร กล่องเก็บของขนาดใหญ่ หรือแม้แต่เก้าอี้พลาสติก ซึ่งวิธีการจัดเก็บและขนส่งจำเป็นจะต้องวางซ้อนทับขึ้นไปเป็นชั้นในโกดังเพื่อประหยัดพื้นที่ แต่นั้นก็อาจทำให้พบปัญหารอยขาว (Stress Whitening Mark) ซึ่งเกิดจากน้ำหนักจากการกดทับที่มากจนเกินไป เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้สังเกตถึงปัญหาจากสภาพการจัดเก็บพร้อมกับขนส่งที่เกิดขึ้นนี้ และได้พูดคุย รวมถึงทำงานร่วมกันกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด จึงได้เริ่มต้นพัฒนาเม็ดพลาสติกเกรดใหม่ที่จะตอบโจทย์ผู้ขึ้นรูปพลาสติกในด้านนี้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับเรื่องรอยขาวของความเสียหายจากการวางซ้อนทับในขั้นตอนการจัดเก็บสินค้า เม็ดพลาสติกที่ให้คุณสมบัติทั้งด้านความแข็งแรงสูงและยังคงความเหนียว SCGC™ PP P945J เป็นเม็ดพลาสติกประเภท Polypropylene Block Copolymer ที่เหมาะกับการผลิตสินค้าประเภทกล่องเก็บของขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีด (Injection Molding) ด้วยคุณสมบัติที่ไหลตัวดี มีดัชนีการไหล (Melt Flow Rate: MFR) อยู่ที่…
5 วิสาหกิจชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรม
ชุมชน คือหน่วยเล็ก ๆ ของสังคม แต่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะชุมชนคือกำลังสำคัญที่ช่วยพัฒนาสังคม ทั้งการเสริมสร้างสมาชิกในสังคม รวมทั้งแขกผู้มาเยือน ทั้งองค์กรที่อยู่รายรอบชุมชนและนักท่องเที่ยว ให้เติบโตไปพร้อมกันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เช่นเดียวกันกับเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC และวิสาหกิจชุมชน 5 แห่งที่ร่วมแรง ร่วมมือ และร่วมใจกันยกระดับผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ SCGC ดำเนินการมาโดยตลอด ผนวกรวมเข้ากับอัตลักษณ์ท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านผลิตภัณฑ์จากผู้คนในชุมชน ผลิดอกออกผลเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ยกระดับรายได้ชุมชน เพื่อเป็นฟันเฟืองสำหรับเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนส่วนรวมได้ผ่านกำไรและรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากความร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน และ SCGC แล้ว การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมสร้างธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ขยายต่อสู่การพัฒนาและนวัตกรรมในระดับชาติต่อไป นวัตกรรมวิสาหกิจชุมชนงานผ้า : สร้างเครือข่าย ทอ ย้อม เย็บ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน 01 วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี อ.ปลวกแดง…
บทบาทของ ‘เมลามีน’ โฉมใหม่ ที่เป็นมิตรในชีวิตประจำวันของทุกคน
เราต่างก็คุ้นเคยกับชื่อของเมลามีน ในฐานะภาชนะสำหรับบรรจุอาหารด้วยคุณสมบัติในเรื่องความทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน มีสีสันลวดลายให้เลือกหลากหลาย และราคาย่อมเยา จานชามเมลามีนจึงมักถูกใช้งานในครัวเรือน รวมไปถึงในศูนย์อาหารที่ต้องมีการเวียนใช้ภาชนะอยู่สม่ำเสมอ และเมื่อผ่านการใช้งานมาจนเสื่อมสภาพแล้วมักถูกกำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ เนื่องจากเมลามีนเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซตติง (Thermosetting) จึงไม่สามารถนำไปหลอมละลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลใหม่เหมือนเม็ดพลาสติกประเภทอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น เมลามีนเป็นวัสดุที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้อย่างหลากหลาย และมีการวิจัยพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ไปจนถึงการพัฒนาวิธีการรีไซเคิลให้สามารถนำผลิตภัณฑ์เมลามีนที่เสื่อมสภาพแล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ สร้างคุณค่าให้ตัววัสดุได้อย่างไม่รู้จบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ไปจนถึงการนำขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อทดแทนการใช้วัสดุประเภทอื่น ๆ Melamic ภาชนะที่สวยงามคงทนกว่าที่เคย พลิกมุมมองความเคยชินของเมลามีนจากภาชนะใส่อาหาร สู่การพัฒนาวัสดุใหม่ นั่นคือ Melamine Ceramics หรือในชื่อของ ‘Melamic’ (เมลามิก) ซึ่งมาพร้อมกับจุดเด่นจากคุณสมบัติของภาชนะที่สวยงามเหมือนกับเซรามิก แต่น้ำหนักเบากว่า ใช้งานสะดวก และทนทานต่อการแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือระหว่างการขนย้าย ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีการใช้งานภาชนะจำนวนมาก และมีรอบการใช้งานค่อนข้างสูง อย่างศูนย์อาหารต่าง ๆ ช่วยลดปริมาณภาชนะที่เสียหายและต้องทิ้งในแต่ละปีได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีการใช้งานภาชนะจากวัสดุเมลามิกจริงแล้ว ภายในโรงอาหารของเอสซีจี Antibacterial Melamine เปิดมิติใหม่ของวัสดุเพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งาน ในปี…
ESG กุญแจสู่ความยั่งยืน เปิดประตูโลกใบใหม่กับการแก้ไขวิกฤตโลก
แนวคิด ESG ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบริหารองค์กรและดำเนินธุรกิจในยุคที่ความยั่งยืนคือหัวข้อหลัก โดยครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ E – Environmental หรือ สิ่งแวดล้อม S – Social หรือ สังคม และ G – Governance หรือ บรรษัทภิบาล ซึ่งเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้มีการขับเคลื่อน ESG ผ่านการออกนโยบายและการลงมือดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างยั่งยืนได้ จึงเป็นเรื่องของความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน’ ของ SCGC ซึ่งสะท้อนผ่านนวัตกรรมสินค้า บริการ และโซลูชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและอุตสาหกรรม ไปพร้อมกับการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เราได้รับเกียรติจาก คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ มาเล่าให้เราฟังถึงวิสัยทัศน์ มุมมอง และเส้นทางของ SCGC…
นวัตกรรม และเทคโนโลยี แนวทางลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในแบบฉบับของผู้ผลิตเพี่อความยั่งยืน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นที่ประจักษ์ในสายตาและกิจวัตรของทุกคน ชัดเจนตั้งแต่อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น หรือฤดูกาลที่แปรปรวนตลอดทั้งปีทั่วทุกภูมิภาคของโลก นั่นทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และมีการปรับกิจวัตรประจำวันให้ถนอมโลกมากยิ่งขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า การดูแลสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นจิตสำนึกร่วมของผู้คนทั่วทุกมุมโลกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตส่วนตัว ไปจนถึงในระดับองค์กรที่ต่างมองหาโซลูชันที่เป็นมิตรกับโลกไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม ผู้ประกอบการในวงการพลาสติกเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้ขึ้นรูป ไปจนถึงเจ้าของแบรนด์สินค้า ต่างก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยทำให้โลกและชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC จึงได้นำทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ มาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้ประกอบการในวงการได้เลือกสรรวัสดุที่ทั้งคุณภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน วัสดุต้นทาง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อม สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่ต้นทาง ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั่นก็คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดคุณค่าสูงสุด หรือก็คือเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดพลาสติก เพื่อให้สามารถลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกในการขึ้นรูปชิ้นงานลงได้ โดยยังคงความแข็งแรงของชิ้นงานได้เช่นเดิม ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดการใช้ทรัพยากรแล้ว ยังช่วยลดพลังงานในการผลิตและการขนส่งลดได้อีกด้วย เป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศไปในตัว ยกตัวอย่างเช่น เม็ดพลาสติกจาก SMX™ Technology ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นงานได้หลากหลาย ตั้งแต่ถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ (IBC) ฟิล์มเพื่องานอุตสาหกรรม ไปจนถึงฝาขวดน้ำอัดลม หรือ…
ทุ่นกักขยะลอยน้ำ จาก HDPE-Bone ผู้ช่วยสำคัญในการดูแลความสะอาดของท้องทะเล
สถิติจากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI ในปี 2563 พบว่า ปริมาณขยะทะเลของประเทศไทยมีมากเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งที่มาของขยะทะเลเหล่านี้ก็มาจากการพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนบนบก ซึ่งผลกระทบจากขยะเหล่านี้ส่งผลโดยตรงทั้งกับบรรดาสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ในมหาสมุทร ส่งไม้ต่อเป็นวัฏจักรไปถึงระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลง สู่การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน โดยเฉพาะกับผู้อยู่อาศัยบ้านใกล้เรือนเคียงที่ยังต้องมีความสัมพันธ์กับท้องทะเลอยู่เสมอ ซึ่งก็รวมถึงชุมชนในจังหวัดระยองด้วยเช่นกัน หากแต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้คนในชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นหน้าที่ของหน่วยงานนวัตกรรมที่จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือเพื่อให้อนาคตของโลกขับเคลื่อนไปพร้อมกัน พัฒนาการของทุ่นกักขยะลอยน้ำ : จากความร่วมมือ สู่โมเดลการใช้งานจริง จากการทำงานสร้างสรรค์โครงการเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกันมายาวนานมากกว่า 10 ปี ระหว่างเอสซีจี เคมิคอลส์และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และสังเกตเห็นถึงทุ่นกักขยะเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบเจอว่ามีขยะหลุดออกนอกทุ่นในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง จึงได้เกิดความคิดในการพัฒนาทุ่นกักขยะที่มีกลไกประตูเปิด-ปิดได้ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง จนเกิดเป็น “ทุ่นกักขยะลอยน้ำ” รุ่น 1 (SCG – DMCR Litter Trap: Generation 1) จากการประยุกต์ใช้ท่อจากพลาสติก PE100 ที่แข็งแรงทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาทำงานร่วมกับวัสดุลอยน้ำ (Oil Booms) คล้ายเสื้อชูชีพ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานทุ่นกักขยะลอยน้ำรุ่นแรกในปี 2561 พบว่าตัวทุ่นกักขยะสามารถทำงานได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยพลังงานจากธรรมชาติและกระแสน้ำ…